วานนี้ (5ก.พ.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.สวนป่าฉบับที่ พ.ศ. ...(ฉบับที่)... (แก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ.2535) ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2 โดยมีสาระที่สำคัญ เรื่องการนิยามคำว่า "สวนป่า" ซึ่งหมายความว่า ที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อทำการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ ตามบัญชีท้าย พ.ร.บ. ซึ่งได้แก้ไขเพิ่ม และถอนรายชื่อต้นไม้ออกจากบัญชีแนบท้ายได้ โดยให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา จากเดิมที่นำเข้าไปแต่ไม่สามารถนำออกได้
ทั้งนี้ ได้มีการตัดรายชื่อต้นไม้ที่อยู่ในบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ. จำนวน 8 รายการ จากที่ครม.เสนอเข้ามาจำนวน 66 รายการ อาทิ ยางพารา มะฮอกกานี โกงกาง ยูคาลิปตัส กระถิน สนประดิพัทธิ์ เสม็ด เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตเกษตรกร และเพื่อความเหมาะสม ส่วนผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ.สวนป่า เป็นไปตามด้วยความสมัครใจ โดยหากขึ้นทะเบียนแล้วก็จะได้รับสิทธิ์ต่างๆโดยไม่ต้องเสียค่าทะเบียน
สำหรับโทษผู้ที่ฝ่าฝืน จากเดิมมีทั้งโทษอาญา ทั้งจำคุกและปรับ กรรมาธิการฯ เห็นว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นการส่งเสริม ดังนั้นควรจะให้มีบทลงโทษทางปกครองแทน โดยดูเรื่องเจตนาเป็นหลัก หากมีการละเมิด ก็ใช้วิธีการตักเตือน และที่สุดคือ การถอนการขึ้นทะเบียนสวนป่า โดยผู้ทำสวนป่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่จัดทำบัญชีแสดงชนิดจำนวนไม้ที่ปลูกตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด กรรมาธิการได้ตัดโทษจำคุกออกเหลือเพียง โทษปรับ 10,000 บาท หรือหากทำบัญชีเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนกรณีความผิดจากการค้า มีไว้ในครอบครอง หรือนำไม้มาสวมตอ จะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขมาจาก พ.ร.บ.สวนป่า ปี 2535 ที่ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม และเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่า รวมทั้งเป็นปัญหาอุปสรรคในการแปรรูปไม้ และการออกใบรับรองไม้ ที่ได้มาจากการทำสวนป่า และความไม่ชัดเจนของสถานะของสัตว์ป่าหรือของป่าในสวนป่า ดังนั้นสมควรต้องแก้ไขหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนสวนป่า และปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแลและแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อเป็นมาตรการในการส่งเสริมและจูงใจให้มีการปลูกสร้างสวนป่า ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และกำหนดบทนิยามของป่า จากเดิมที่สวนป่ามีแค่ 2 ชนิด แต่ ของใหม่ได้เพิ่มขึ้นมาอีก 62 ชนิด เป็น 64 และที่ผ่านมาความต้องการไม้เพิ่มมากขึ้นหลังจาก 25 ปีที่ปิดป่า และ ตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มพื้นป่าเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2567 จากเดิมที่มี 32 เปอร์เซ็นต์
อีกทั้ง ยังสอดคล้องกับการส่งเสริมการค้าไม้ต่างประเทศ ให้นำไม้ ซึ่งมีที่มาที่ไปแปรรูปขายไปยังต่างประเทศ และสอดรับกับการจัดสรรที่ดินให้เอกชน ซึ่งบางพื้นที่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ ก็ให้ทำเป็นรูปแบบสหกรณ์ เพราะบางแปลงเหมาะกับการทำสวนป่า ทั้งนี้ ยังมีข้อที่น่าเป็นห่วงและได้พยายามแก้ไขทั้งเรื่องการจัดสรรที่ดิน การเปิดให้สามารถเคลื่อนย้ายไม้ได้ง่ายขึ้น หรือการอนุญาตให้ตั้งโรงเลื่อยไม้ ในพื้นที่รายแปลงตามที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวก
โดยหลังจากสมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง ในที่สุดที่ประชุม มีมติเห็นสมควรให้ประกาศใช้ พ.ร.บ.สวนป่าเป็นกฎหมายต่อไป ด้วยคะแนน 185 ต่อ 2 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง
ด้าน พล.อ.ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.สวนป่า กล่าวว่า ตนอยากทำความเข้าใจกับเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ กล่าวคือ ให้ประชาชนลงทะเบียนสวนป่าตามสมัครใจ โดยจะได้รับสิทธิ์ครอบคลุมไม่เสียค่าขึ้นทะเบียน จะทำการตัด ทำไม้ หรือขอใบรับรองจากกรมป่าไม้แบบยั่งยืนได้ การแปรรูปไม้ นำไม้เคลื่อนที่ การหาของป่า โดยไม่เสียค่าบำรุงหรือค่าภาคหลวง ยืนยันว่า จะไม่กระทบกับคนทั่วไป หรือผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ผู้ที่ทำสวนป่ารายย่อยที่ตัดต้นยางพาราไปส่งแค่โรงงาน หรือถ้านำออกไปในประเทศจีน ไม่ต้องใช้ใบรับรองต้นกำเนิด แต่ถ้านำออกไปยุโรป ต้องใช้ ฉะนั้นจะกระทบแต่กับผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายเท่านั้น
"โดยภาพรวม เราได้ทำ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มีความอ่อนตัวในทางปฏิบัติ เช่น บางคนทำบัญชีจำนวนไม้ผิดพลาด เดิมโทษมีทั้งทางอาญาจำคุก และโทษปรับ แต่เราเห็นว่าแก้ไข พ.ร.บ.นี้เพื่อส่งเสริม จึงต้องดูระดับว่าควรทำอย่างไร จึงได้ใช้โทษทางปกครอง คือ หากทำบัญชีผิดจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม จะถูกเจ้าหน้าที่ตักเตือนก่อน แต่ถ้ายังแสดงเจตนาไม่แก้ไข ก็จะมีโทษทางปกครอง คือ ถอนทะเบียนออกไป และไม่ให้ขึ้นทะเบียนสวนป่า ซึ่งจะต้องกลับไปเข้าพ.ร.บ.ป่าไม้ ป่า สงวนเช่นเดิม จะไม่ได้รับสิทธิในการเคลื่อนที่ไม้ การตั้งสถานที่แปรรูปไม้ การเก็บของป่า จะต้องมีการเสียภาคหลวง โดยจะเป็นการปรับดีกรีบทลงโทษให้ลดลง เว้นเรื่องโทษเกี่ยวกับการแปรรูปไม้ ที่ไปเอาไม้จากที่อื่นมาสวมตอ หรือแปรรูปก็ยังคงโทษไว้ตาม พ.ร.บ.เดิม หากในอนาคตทุกคนพร้อมและอยากจะเข้าร่วมก็จะมีการปรับปรุงกฎหมาย เพราะมีการเปิดทางให้เพิ่มเติมชื่อไม้ โดยเสนอความต้องการมาตามขั้นตอนเช่นทำประชาพิจารณ์เสนอผ่านกรมป่าไม้เพื่อส่งมายังครม. และพิจารณาให้ออกเป็น พระราชกฤษฎีกา รวมถึงหากเห็นควรให้ถอนชื่อต้นไม้ออกจากบัญชีท้ายได้ด้วยเช่นกัน " พล.อ.ดนัย กล่าว
ทั้งนี้ ได้มีการตัดรายชื่อต้นไม้ที่อยู่ในบัญชีแนบท้าย พ.ร.บ. จำนวน 8 รายการ จากที่ครม.เสนอเข้ามาจำนวน 66 รายการ อาทิ ยางพารา มะฮอกกานี โกงกาง ยูคาลิปตัส กระถิน สนประดิพัทธิ์ เสม็ด เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตเกษตรกร และเพื่อความเหมาะสม ส่วนผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ.สวนป่า เป็นไปตามด้วยความสมัครใจ โดยหากขึ้นทะเบียนแล้วก็จะได้รับสิทธิ์ต่างๆโดยไม่ต้องเสียค่าทะเบียน
สำหรับโทษผู้ที่ฝ่าฝืน จากเดิมมีทั้งโทษอาญา ทั้งจำคุกและปรับ กรรมาธิการฯ เห็นว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นการส่งเสริม ดังนั้นควรจะให้มีบทลงโทษทางปกครองแทน โดยดูเรื่องเจตนาเป็นหลัก หากมีการละเมิด ก็ใช้วิธีการตักเตือน และที่สุดคือ การถอนการขึ้นทะเบียนสวนป่า โดยผู้ทำสวนป่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่จัดทำบัญชีแสดงชนิดจำนวนไม้ที่ปลูกตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด กรรมาธิการได้ตัดโทษจำคุกออกเหลือเพียง โทษปรับ 10,000 บาท หรือหากทำบัญชีเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนกรณีความผิดจากการค้า มีไว้ในครอบครอง หรือนำไม้มาสวมตอ จะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขมาจาก พ.ร.บ.สวนป่า ปี 2535 ที่ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม และเป็นอุปสรรคต่อการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่า รวมทั้งเป็นปัญหาอุปสรรคในการแปรรูปไม้ และการออกใบรับรองไม้ ที่ได้มาจากการทำสวนป่า และความไม่ชัดเจนของสถานะของสัตว์ป่าหรือของป่าในสวนป่า ดังนั้นสมควรต้องแก้ไขหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนสวนป่า และปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแลและแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อเป็นมาตรการในการส่งเสริมและจูงใจให้มีการปลูกสร้างสวนป่า ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และกำหนดบทนิยามของป่า จากเดิมที่สวนป่ามีแค่ 2 ชนิด แต่ ของใหม่ได้เพิ่มขึ้นมาอีก 62 ชนิด เป็น 64 และที่ผ่านมาความต้องการไม้เพิ่มมากขึ้นหลังจาก 25 ปีที่ปิดป่า และ ตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มพื้นป่าเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2567 จากเดิมที่มี 32 เปอร์เซ็นต์
อีกทั้ง ยังสอดคล้องกับการส่งเสริมการค้าไม้ต่างประเทศ ให้นำไม้ ซึ่งมีที่มาที่ไปแปรรูปขายไปยังต่างประเทศ และสอดรับกับการจัดสรรที่ดินให้เอกชน ซึ่งบางพื้นที่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ ก็ให้ทำเป็นรูปแบบสหกรณ์ เพราะบางแปลงเหมาะกับการทำสวนป่า ทั้งนี้ ยังมีข้อที่น่าเป็นห่วงและได้พยายามแก้ไขทั้งเรื่องการจัดสรรที่ดิน การเปิดให้สามารถเคลื่อนย้ายไม้ได้ง่ายขึ้น หรือการอนุญาตให้ตั้งโรงเลื่อยไม้ ในพื้นที่รายแปลงตามที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวก
โดยหลังจากสมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง ในที่สุดที่ประชุม มีมติเห็นสมควรให้ประกาศใช้ พ.ร.บ.สวนป่าเป็นกฎหมายต่อไป ด้วยคะแนน 185 ต่อ 2 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง
ด้าน พล.อ.ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.สวนป่า กล่าวว่า ตนอยากทำความเข้าใจกับเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ กล่าวคือ ให้ประชาชนลงทะเบียนสวนป่าตามสมัครใจ โดยจะได้รับสิทธิ์ครอบคลุมไม่เสียค่าขึ้นทะเบียน จะทำการตัด ทำไม้ หรือขอใบรับรองจากกรมป่าไม้แบบยั่งยืนได้ การแปรรูปไม้ นำไม้เคลื่อนที่ การหาของป่า โดยไม่เสียค่าบำรุงหรือค่าภาคหลวง ยืนยันว่า จะไม่กระทบกับคนทั่วไป หรือผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ผู้ที่ทำสวนป่ารายย่อยที่ตัดต้นยางพาราไปส่งแค่โรงงาน หรือถ้านำออกไปในประเทศจีน ไม่ต้องใช้ใบรับรองต้นกำเนิด แต่ถ้านำออกไปยุโรป ต้องใช้ ฉะนั้นจะกระทบแต่กับผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายเท่านั้น
"โดยภาพรวม เราได้ทำ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มีความอ่อนตัวในทางปฏิบัติ เช่น บางคนทำบัญชีจำนวนไม้ผิดพลาด เดิมโทษมีทั้งทางอาญาจำคุก และโทษปรับ แต่เราเห็นว่าแก้ไข พ.ร.บ.นี้เพื่อส่งเสริม จึงต้องดูระดับว่าควรทำอย่างไร จึงได้ใช้โทษทางปกครอง คือ หากทำบัญชีผิดจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม จะถูกเจ้าหน้าที่ตักเตือนก่อน แต่ถ้ายังแสดงเจตนาไม่แก้ไข ก็จะมีโทษทางปกครอง คือ ถอนทะเบียนออกไป และไม่ให้ขึ้นทะเบียนสวนป่า ซึ่งจะต้องกลับไปเข้าพ.ร.บ.ป่าไม้ ป่า สงวนเช่นเดิม จะไม่ได้รับสิทธิในการเคลื่อนที่ไม้ การตั้งสถานที่แปรรูปไม้ การเก็บของป่า จะต้องมีการเสียภาคหลวง โดยจะเป็นการปรับดีกรีบทลงโทษให้ลดลง เว้นเรื่องโทษเกี่ยวกับการแปรรูปไม้ ที่ไปเอาไม้จากที่อื่นมาสวมตอ หรือแปรรูปก็ยังคงโทษไว้ตาม พ.ร.บ.เดิม หากในอนาคตทุกคนพร้อมและอยากจะเข้าร่วมก็จะมีการปรับปรุงกฎหมาย เพราะมีการเปิดทางให้เพิ่มเติมชื่อไม้ โดยเสนอความต้องการมาตามขั้นตอนเช่นทำประชาพิจารณ์เสนอผ่านกรมป่าไม้เพื่อส่งมายังครม. และพิจารณาให้ออกเป็น พระราชกฤษฎีกา รวมถึงหากเห็นควรให้ถอนชื่อต้นไม้ออกจากบัญชีท้ายได้ด้วยเช่นกัน " พล.อ.ดนัย กล่าว