นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้ (2 ก.พ.) ตนพร้อมไปรายงานตัวที่ กองทัพภาคที่ 1 ตามที่มีนายทหารติดต่อโทรศัพท์ประสานมา
ทั้งนี้ ไม่กังวลอะไร เพราะสิ่งที่พูดไป ก็พูดด้วยความหวังดีต่อประเทศชาติ ไม่ได้พูดในลักษณะไปยุยง หรือไปปลุกระดมให้ใครไปต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขณะเดียวกันมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดอะไร หรือสิ่งที่ตนพูดไปแล้วไม่ตรงกับความคิดของผู้มีอำนาจเป็นสิ่งผิดอย่างนั้นหรือ เราก็แค่อยากให้รัฐบาล และ คสช. ฟังเราบ้าง
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การเรียกบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล เข้ารายงานตัว ว่า เป็นเรื่องที่ คสช. ดำเนินการ โดยไม่ได้กำหนดตัวบุคคล หรือระยะเวลา แต่จะพิจารณาเมื่อเห็นว่า บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรม หรือให้ข้อมูลสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ การเชิญตัวมาปรับทัศนคติ ไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นฝ่ายใด คสช. พิจารณาที่เนื้อหาการพูด การแสดงความคิดเห็น บ้านเราเพิ่งผ่านความขัด แย้งมา จะให้ทุกอย่างราบเรียบไปหมด โรยด้วยกลีบกุหลาบคงไม่ได้ ผู้เห็นต่างยังมี ก็ให้เสนอแนะอย่างมีเหตุผล มุ่งหวังการปรับแก้ มองมุมดีรัฐบาลรับฟัง แต่ถ้าทิศทางไปในทางตรงกันข้าม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ในฐานะหัวหน้า คสช. ให้นโยบายแล้วว่า ให้ คสช. พิจารณาตามความเหมาะสม อะไรที่คิดว่าสุ่มเสี่ยงก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก็ให้เชิญมาพูดคุยกัน
** คงอัยการศึกดีกว่าใช้ ม.44
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีการเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ออกกฎ หรือระเบียบอื่นมาใช้แทนกฎอัยการศึก ว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่จากประเมินสถานการณ์ขณะนี้ ตนมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะใช้ยาแรง และยืนยันว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ยังไม่มีแรงกระเพื่อมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ส่วนผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้น คสช. จะพิจารณาเพื่อเชิญตัวมาพูดคุยแล้วคิดว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจกัน ซึ่งที่ผ่านนายกรัฐมนตรีมีนโยบายชัดเจน เช่น กรณีของสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า เราทำได้เพียงแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลได้เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง และแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ส่วนสหรัฐฯ จะทำอะไร เป็นเรื่องที่สังคมพิจารณาถึงมารยาทของเขา แต่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการทำให้เกิดความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น เพราะทั้งไทยและสหรัฐฯ ต่างฝ่ายต่างอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ ทุกคนต้องมีสังคม
เพราะฉะนั้น จึงไม่น่ามีอะไรที่หนักหน่วงรุนแรง สิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการจะทำอะไรก็ให้ทำไป ส่วนเราต้องอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี คงไปห้ามเขาไม่ได้ แต่รัฐบาลเอาประชาชนเป็นหลักว่าสังคมเข้าใจเรา
ด้านนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง กระแสข่าวที่ปรึกษาคสช. เตรียมเสนอหัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ในการควบคุมดูแลสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ตนไม่ทรายรายละเอียดว่ามีการเสนอจริงหรือไม่ ซึ่งอำนาจดังกล่าว เป็นเครื่องมือของคสช. จะใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับหัวหน้าคสช. ที่จะพิจารณาเหตุผล และความจำเป็น ส่วนตัวเห็นว่ากฎอัยการศึกที่ใช้อยู่เพื่อป้องกันไม่ให้มีการก่อกวน และเป็นการมุ่งไปสู่การปฏิรูป การสร้างความปรองดอง และเป็นการป้องกันคลื่นใต้น้ำ
ดังนั้น การคงกฎอัยการศึกไว้ จึงเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศในตอนนี้ ซึ่งต่างชาติอาจจะไม่เห็นด้วยกับกฎอัยการศึก เพราะเขาคิดตามรูปแบบตะวันตก ซึ่งแตกต่างจากบริบทของบ้านเรา ที่จำเป็นต้องคงไว้จัดการกับคลื่นใต้น้ำ แต่หากต่างชาติกดดันให้ยกเลิก ก็เป็นหน้าที่ของคสช. ที่จะพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ถ้าคสช. เห็นว่าคงกฎอัยการศึกไว้แล้วดี ก็ไม่จำเป็นต้องยกเลิก ขณะเดียวกันการจะใช้ มาตรา 44 หรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องยกเลิกกฎอัยการศึก โดยประกาศ ใช้ได้เป็นเรื่องๆไป ซึ่งส่วนนี้ไม่ต้องการพิจารณาจาก สนช. แต่เป็นดุลยพินิจของหัวหน้า คสช.โดยตรง
**ผู้ตรวจการชี้พอรับได้ ควบรวมกสม.
นายศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เห็นชอบให้ทำการยุบรวม และยกสถานะของผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็น “ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิของประชาชน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความซ้ำซ้อนว่า ก็พอรับได้กับข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินควบรวมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
เพราะเท่าที่ดูก็ยังคงอำนาจแบบพบกันครึ่งทาง จึงคิดว่าไม่มีอะไรเสียหาย แต่เรื่องการทำงานจะดีกว่าเดิมหรือไม่ ก็ต้องรอดู
ทั้งนี้การกำหนดให้มีกรรมการ11 คน อาจจะทำงานลำบาก ซึ่งกรณีนี้ กสม. เคยมีปัญหามาแล้ว จนทำให้ในรัฐธรรมนูญปี 50 ต้องลดจำนวนลงการกำหนดให้องค์กรใหญ่ในเชิงปฏิบัติทำงานยากขึ้น ถ้าจะทำก็ลองดู แต่เราเห็นสภาพปัญหามาแล้ว มองในแง่ดี เขาอาจเห็นว่าการทำงานที่ผ่านมาไม่ค่อยสัมฤทธิ์ผล เนื่องจากนักการเมืองก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ รวมทั้งมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ และอัตรากำลังด้วย
อย่างไรก็ตาม หากมีการควบรวมจริงกรรมการที่ยังไม่หมดวาระลง ก็อาจจะเขียนในบทเฉพาะกาลคงประโยชน์ไว้ให้ และไม่รู้ว่าจินตนาการในการเขียนรัฐธรรมนูญ กับการปฏิบัติจริง จะเหมือนกันหรือไม่ อยากทดลองก็ทำไป เราพร้อมจะปฏิบัติตาม
** อดีต กสม.อัดรวบรัดผูกขาดอำนาจ
ด้านนางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า แล้วในที่สุด อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็สมประสงค์เสียที จากการพยายามไม่ให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญ และกระแสท่วมท้นจากประชาชนในการตอบแบบสอบถามนับล้านคนทั่วประเทศ และการผลักดันจากภาคประชาสังคม ทำให้เกิดองค์กรนี้ แต่ถูกล็อกไม่ให้คล่องตัวโดยกฎหมาย กสม. จำกัดให้สำนักงานเป็น “ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา”
ต่อมาพอมาถึงรัฐธรรมนูญปี 2550 คณะยกร่างฯ ก็ยังพยายามยุบให้รวมกับผู้ตรวจการแผ่นดินอีก แต่ภาคประชาสังคมไม่ยอม มีการเคลื่อนไหวเต็มที่ ทำให้มี กสม. อยู่ต่อมา และรัฐธรรมนูญต้องเพิ่มอำนาจหน้าที่เชื่อมโยงกับศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลยุติธรรม แต่ก็มีความพยายามลดเกรด ไม่ให้อยู่หมวดองค์กรอิสระ ให้เป็น “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” และที่สำคัญคือ เปลี่ยนที่มาในการสรรหาให้บิดเบี้ยวเสียหายจากการยึดโยงกับประชาชน และภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวาง กลายเป็นจำกัดที่มาจากศาล กับนักการเมืองเท่านั้น
"ร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ อ.บวรศักดิ์ เป็นประธานยกร่างฯ เอง ซึ่งเห็นชัดว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีจำกัดอย่างที่สุดในการรับฟัง จึงทั้งชงเอง แถลงเอง ไม่ฟังเสียงคัดค้านจากภาคประชาสังคมมากมาย หรือคิดว่า ยุคนี้เป็นยุคอำนาจผูกขาด รวบรัดทำอะไรก็ได้ ต้องดูที่เจตนารมณ์ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและประโยชน์ประชาชนด้วย" นางสุนี ระบุ
** ตัดช่องทางร้องทุกข์ชาวบ้านแคบลง
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว ของ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นการตัดช่องทางร้องทุกข์ของประชาชนให้แคบลง และการตรวจสอบอำนาจรัฐ จะมีความละเอียดน้อยลง
แม้ว่าทั้ง 2 องค์กร จะรับเรื่องร้องเรียนเดียวกันในบางกรณีได้ แต่วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการตรวจสอบข้อร้องเรียนแตกต่างกันสิ้นเชิง กรรมการสิทธิฯ จะเน้นการตรวจสอบสอบการละเมิดสิทธิ และคุ้มครองส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดิน จะเน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับ
ขั้นตอนในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของทั้ง 2 องค์กร จึงมีรายละเอียดวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เพราะการทำหน้าที่ขององค์กรทั้งสองในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนนั้น จะได้รับการตรวจสอบในบริบท และมิติที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิและการใช้อำนาจมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับชาวบ้านคนยากคนจน คนชายขอบ มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกวัน การมีกลไก มีช่องทางที่หลากหลายให้ชาวบ้านพึ่งพาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
ที่ผ่านมาแม้ทั้งสององค์กรจะมีปัญหาในการทำงาน ก็ควรหาวิธีปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ โดยเฉพาะเขตอำนาจที่ไม่ทับซ้อนกัน ที่มาที่น่าเชื่อถือความรวดเร็วในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของประชาชน รวมทั้งอำนาจของทั้งสององค์กร ควรมีอำนาจผูกพันกับเจ้าหน้าที่รัฐและรัฐบาลมากกว่าที่ผ่านมา
"ผมอยากให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทบทวนมติดังกล่าว รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย การยุบทิ้งเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การสร้างองค์กรขึ้นมาซักองค์กรให้ได้รับการยอมรับนั้นเป็นเรื่องยากต้องใช้เวลา เพราะต้องมีกระบวนการทบทวนปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา" นายสุริยะใส กล่าว
ทั้งนี้ ไม่กังวลอะไร เพราะสิ่งที่พูดไป ก็พูดด้วยความหวังดีต่อประเทศชาติ ไม่ได้พูดในลักษณะไปยุยง หรือไปปลุกระดมให้ใครไปต้านคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขณะเดียวกันมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดอะไร หรือสิ่งที่ตนพูดไปแล้วไม่ตรงกับความคิดของผู้มีอำนาจเป็นสิ่งผิดอย่างนั้นหรือ เราก็แค่อยากให้รัฐบาล และ คสช. ฟังเราบ้าง
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การเรียกบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล เข้ารายงานตัว ว่า เป็นเรื่องที่ คสช. ดำเนินการ โดยไม่ได้กำหนดตัวบุคคล หรือระยะเวลา แต่จะพิจารณาเมื่อเห็นว่า บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรม หรือให้ข้อมูลสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ การเชิญตัวมาปรับทัศนคติ ไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นฝ่ายใด คสช. พิจารณาที่เนื้อหาการพูด การแสดงความคิดเห็น บ้านเราเพิ่งผ่านความขัด แย้งมา จะให้ทุกอย่างราบเรียบไปหมด โรยด้วยกลีบกุหลาบคงไม่ได้ ผู้เห็นต่างยังมี ก็ให้เสนอแนะอย่างมีเหตุผล มุ่งหวังการปรับแก้ มองมุมดีรัฐบาลรับฟัง แต่ถ้าทิศทางไปในทางตรงกันข้าม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ในฐานะหัวหน้า คสช. ให้นโยบายแล้วว่า ให้ คสช. พิจารณาตามความเหมาะสม อะไรที่คิดว่าสุ่มเสี่ยงก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก็ให้เชิญมาพูดคุยกัน
** คงอัยการศึกดีกว่าใช้ ม.44
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า กลุ่มที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีการเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ออกกฎ หรือระเบียบอื่นมาใช้แทนกฎอัยการศึก ว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่จากประเมินสถานการณ์ขณะนี้ ตนมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะใช้ยาแรง และยืนยันว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ยังไม่มีแรงกระเพื่อมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ส่วนผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองนั้น คสช. จะพิจารณาเพื่อเชิญตัวมาพูดคุยแล้วคิดว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจกัน ซึ่งที่ผ่านนายกรัฐมนตรีมีนโยบายชัดเจน เช่น กรณีของสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า เราทำได้เพียงแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลได้เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง และแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยเอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ส่วนสหรัฐฯ จะทำอะไร เป็นเรื่องที่สังคมพิจารณาถึงมารยาทของเขา แต่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องการทำให้เกิดความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น เพราะทั้งไทยและสหรัฐฯ ต่างฝ่ายต่างอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ ทุกคนต้องมีสังคม
เพราะฉะนั้น จึงไม่น่ามีอะไรที่หนักหน่วงรุนแรง สิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการจะทำอะไรก็ให้ทำไป ส่วนเราต้องอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี คงไปห้ามเขาไม่ได้ แต่รัฐบาลเอาประชาชนเป็นหลักว่าสังคมเข้าใจเรา
ด้านนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง กระแสข่าวที่ปรึกษาคสช. เตรียมเสนอหัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ในการควบคุมดูแลสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ว่า ตนไม่ทรายรายละเอียดว่ามีการเสนอจริงหรือไม่ ซึ่งอำนาจดังกล่าว เป็นเครื่องมือของคสช. จะใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับหัวหน้าคสช. ที่จะพิจารณาเหตุผล และความจำเป็น ส่วนตัวเห็นว่ากฎอัยการศึกที่ใช้อยู่เพื่อป้องกันไม่ให้มีการก่อกวน และเป็นการมุ่งไปสู่การปฏิรูป การสร้างความปรองดอง และเป็นการป้องกันคลื่นใต้น้ำ
ดังนั้น การคงกฎอัยการศึกไว้ จึงเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศในตอนนี้ ซึ่งต่างชาติอาจจะไม่เห็นด้วยกับกฎอัยการศึก เพราะเขาคิดตามรูปแบบตะวันตก ซึ่งแตกต่างจากบริบทของบ้านเรา ที่จำเป็นต้องคงไว้จัดการกับคลื่นใต้น้ำ แต่หากต่างชาติกดดันให้ยกเลิก ก็เป็นหน้าที่ของคสช. ที่จะพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ถ้าคสช. เห็นว่าคงกฎอัยการศึกไว้แล้วดี ก็ไม่จำเป็นต้องยกเลิก ขณะเดียวกันการจะใช้ มาตรา 44 หรือไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องยกเลิกกฎอัยการศึก โดยประกาศ ใช้ได้เป็นเรื่องๆไป ซึ่งส่วนนี้ไม่ต้องการพิจารณาจาก สนช. แต่เป็นดุลยพินิจของหัวหน้า คสช.โดยตรง
**ผู้ตรวจการชี้พอรับได้ ควบรวมกสม.
นายศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เห็นชอบให้ทำการยุบรวม และยกสถานะของผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็น “ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิของประชาชน” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความซ้ำซ้อนว่า ก็พอรับได้กับข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินควบรวมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
เพราะเท่าที่ดูก็ยังคงอำนาจแบบพบกันครึ่งทาง จึงคิดว่าไม่มีอะไรเสียหาย แต่เรื่องการทำงานจะดีกว่าเดิมหรือไม่ ก็ต้องรอดู
ทั้งนี้การกำหนดให้มีกรรมการ11 คน อาจจะทำงานลำบาก ซึ่งกรณีนี้ กสม. เคยมีปัญหามาแล้ว จนทำให้ในรัฐธรรมนูญปี 50 ต้องลดจำนวนลงการกำหนดให้องค์กรใหญ่ในเชิงปฏิบัติทำงานยากขึ้น ถ้าจะทำก็ลองดู แต่เราเห็นสภาพปัญหามาแล้ว มองในแง่ดี เขาอาจเห็นว่าการทำงานที่ผ่านมาไม่ค่อยสัมฤทธิ์ผล เนื่องจากนักการเมืองก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ รวมทั้งมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ และอัตรากำลังด้วย
อย่างไรก็ตาม หากมีการควบรวมจริงกรรมการที่ยังไม่หมดวาระลง ก็อาจจะเขียนในบทเฉพาะกาลคงประโยชน์ไว้ให้ และไม่รู้ว่าจินตนาการในการเขียนรัฐธรรมนูญ กับการปฏิบัติจริง จะเหมือนกันหรือไม่ อยากทดลองก็ทำไป เราพร้อมจะปฏิบัติตาม
** อดีต กสม.อัดรวบรัดผูกขาดอำนาจ
ด้านนางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า แล้วในที่สุด อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็สมประสงค์เสียที จากการพยายามไม่ให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญ และกระแสท่วมท้นจากประชาชนในการตอบแบบสอบถามนับล้านคนทั่วประเทศ และการผลักดันจากภาคประชาสังคม ทำให้เกิดองค์กรนี้ แต่ถูกล็อกไม่ให้คล่องตัวโดยกฎหมาย กสม. จำกัดให้สำนักงานเป็น “ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา”
ต่อมาพอมาถึงรัฐธรรมนูญปี 2550 คณะยกร่างฯ ก็ยังพยายามยุบให้รวมกับผู้ตรวจการแผ่นดินอีก แต่ภาคประชาสังคมไม่ยอม มีการเคลื่อนไหวเต็มที่ ทำให้มี กสม. อยู่ต่อมา และรัฐธรรมนูญต้องเพิ่มอำนาจหน้าที่เชื่อมโยงกับศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลยุติธรรม แต่ก็มีความพยายามลดเกรด ไม่ให้อยู่หมวดองค์กรอิสระ ให้เป็น “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” และที่สำคัญคือ เปลี่ยนที่มาในการสรรหาให้บิดเบี้ยวเสียหายจากการยึดโยงกับประชาชน และภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวาง กลายเป็นจำกัดที่มาจากศาล กับนักการเมืองเท่านั้น
"ร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ อ.บวรศักดิ์ เป็นประธานยกร่างฯ เอง ซึ่งเห็นชัดว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีจำกัดอย่างที่สุดในการรับฟัง จึงทั้งชงเอง แถลงเอง ไม่ฟังเสียงคัดค้านจากภาคประชาสังคมมากมาย หรือคิดว่า ยุคนี้เป็นยุคอำนาจผูกขาด รวบรัดทำอะไรก็ได้ ต้องดูที่เจตนารมณ์ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและประโยชน์ประชาชนด้วย" นางสุนี ระบุ
** ตัดช่องทางร้องทุกข์ชาวบ้านแคบลง
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว ของ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นการตัดช่องทางร้องทุกข์ของประชาชนให้แคบลง และการตรวจสอบอำนาจรัฐ จะมีความละเอียดน้อยลง
แม้ว่าทั้ง 2 องค์กร จะรับเรื่องร้องเรียนเดียวกันในบางกรณีได้ แต่วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการตรวจสอบข้อร้องเรียนแตกต่างกันสิ้นเชิง กรรมการสิทธิฯ จะเน้นการตรวจสอบสอบการละเมิดสิทธิ และคุ้มครองส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดิน จะเน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับ
ขั้นตอนในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของทั้ง 2 องค์กร จึงมีรายละเอียดวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เพราะการทำหน้าที่ขององค์กรทั้งสองในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนนั้น จะได้รับการตรวจสอบในบริบท และมิติที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิและการใช้อำนาจมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับชาวบ้านคนยากคนจน คนชายขอบ มีสถิติเพิ่มขึ้นทุกวัน การมีกลไก มีช่องทางที่หลากหลายให้ชาวบ้านพึ่งพาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
ที่ผ่านมาแม้ทั้งสององค์กรจะมีปัญหาในการทำงาน ก็ควรหาวิธีปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ โดยเฉพาะเขตอำนาจที่ไม่ทับซ้อนกัน ที่มาที่น่าเชื่อถือความรวดเร็วในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของประชาชน รวมทั้งอำนาจของทั้งสององค์กร ควรมีอำนาจผูกพันกับเจ้าหน้าที่รัฐและรัฐบาลมากกว่าที่ผ่านมา
"ผมอยากให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทบทวนมติดังกล่าว รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย การยุบทิ้งเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การสร้างองค์กรขึ้นมาซักองค์กรให้ได้รับการยอมรับนั้นเป็นเรื่องยากต้องใช้เวลา เพราะต้องมีกระบวนการทบทวนปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา" นายสุริยะใส กล่าว