ASTV ผู้จัดการรายวัน - โบรกฯ คาดปัจจัยภายนอกกดดัน ดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์นี้ยังคงแกว่งตัวในกรอบ ทั้งตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ อีกทั้งความกังวลว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรัสเซียรอบใหม่ แนะเข้าซื้อเมื่อดัชนีฯอ่อนตัว - สะสมหุ้นใหญ่ พร้อมประเมินแนวรับที่ 1,580-1,565 จุด และแนวต้านที่ 1,600 - 1,610 จุด
นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ ว่า จะยังคงแกว่งตัวในกรอบจำกัด และมีโอกาสปรับตัวลงได้จากผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศ กรณีความกังวลต่อเศรษฐกิจรัสเซียหลังค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าแรงอีกครั้งที่ระดับ 70 รูเบิลต่อดอลลาร์หสรัฐ
“ดัชนียังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ด้วยแรงคาดหวังกระแสเงินทุนต่างชาติผ่านมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน หรือมาตรการ QE ของหลายๆ ประเทศ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยผ่านการกระตุ้นด้วยการผลักดันโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลเป็นหลัก กระแสเงินทุนจากต่างชาติยังคงไหลเข้าภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 7 วันหลังสุด มูลค่ารวม 1.6 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม สถิติย้อนหลัง 5 ปีพบว่าเดือน ก.พ.นักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในสถานะขายสุทธิ จึงควรติดตามพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มนี้ด้วย” นายประกิต กล่าว
ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส มองว่าแรงขายที่เกิดขึ้นในหุ้นใหญ่ทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีแรงขายหลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ส่วนกลุ่มสื่อสาร มีแรงกดดันจากการพิจารณาจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการโดยตรง ขณะที่กลุ่มพลังงาน ราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลงกดดันราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน นั้น ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงได้สะท้อนผลกระทบดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว
“แม้ว่าราคาน้ำมันโลกมีโอกาสปรับลงไปที่ 40 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่หากเทียบ Downside เริ่มจำกัดมากขึ้นจากช่วงที่ปรับลงแรงก่อนหน้า ดังนั้น มุมมอง (Outlook) ปีนี้จึงดีขึ้น จากภาวะขาดทุนสตอคน้ำมัน (Stock Loss) ลดลง” นายประกิต กล่าว
พร้อมแนะนำ ให้ทยอยซื้อหุ้นขนาดใหญ่อย่าง KBANK-INTUCH ADVANC-PS-SPALI หุ้นที่มีการเติบโตสูง อย่าง SYNTEC-GUNKUL และหุ้นปันผลสูง อาทิ SAWAD พร้อมประเมินแนวรับ 1,575 จุด แนวต้าน 1,610 จุด
สอดคล้องกับนายนาวิน อินทรสมบัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ. กสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจัยสนับสนุน ที่ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นในช่วงนี้คาดว่า มาจากการที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน หรือ มาตรการ QE ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านการเข้าซื้อพันธบัตร และตราสารหนี้ วงเงินกว่า 1.1 ล้านล้านยูโร ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป รวมถึงตลาดหุ้นและตลาดการเงินทั่วโลก ในภาพรวมเป็นไปในเชิงบวก เนื่องจากเป็นการเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกให้มีมากขึ้น
ขณะที่นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า คาดว่าดัชนีฯ จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,565-1,600 จุด หากประมาณการครั้งแรกสำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP Q4/14 ของสหรัฐฯออกมาดีจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นไทยตลอดสัปดาห์นี้
“ยังคงต้องติดตามการประกาศตัวเลขสำคัญระหว่างสัปดาห์ คือตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และตัวเลขอัตราการว่างงานเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ ซึ่งหลายครั้งที่ผ่านตัวเลขที่ประกาศออกมาดีเกินที่กว่าที่ตลาดฯคาดการณ์ จึงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาดูว่าจะออกมาในทิศทางใด เพื่อบ่งบอกว่าเศรษฐกิจในสหรัฐนั้นฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาจมีความเป็นไปได้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด” นายธนเดช กล่าวพร้อมแนะนำการลงทุน ซื้อเมื่อดัชนีฯอ่อนตัว โดยประเมินแนวรับที่ 1,580-1,565 จุด และแนวต้านที่ 1,600 จุด
นายประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส คาดการณ์ความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ ว่า จะยังคงแกว่งตัวในกรอบจำกัด และมีโอกาสปรับตัวลงได้จากผลกระทบจากปัจจัยต่างประเทศ กรณีความกังวลต่อเศรษฐกิจรัสเซียหลังค่าเงินรูเบิลอ่อนค่าแรงอีกครั้งที่ระดับ 70 รูเบิลต่อดอลลาร์หสรัฐ
“ดัชนียังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ด้วยแรงคาดหวังกระแสเงินทุนต่างชาติผ่านมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน หรือมาตรการ QE ของหลายๆ ประเทศ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยผ่านการกระตุ้นด้วยการผลักดันโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลเป็นหลัก กระแสเงินทุนจากต่างชาติยังคงไหลเข้าภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิติดต่อกันถึง 7 วันหลังสุด มูลค่ารวม 1.6 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 4.4 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม สถิติย้อนหลัง 5 ปีพบว่าเดือน ก.พ.นักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในสถานะขายสุทธิ จึงควรติดตามพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มนี้ด้วย” นายประกิต กล่าว
ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.เอเซียพลัส มองว่าแรงขายที่เกิดขึ้นในหุ้นใหญ่ทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีแรงขายหลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2% ส่วนกลุ่มสื่อสาร มีแรงกดดันจากการพิจารณาจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการโดยตรง ขณะที่กลุ่มพลังงาน ราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลงกดดันราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน นั้น ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงได้สะท้อนผลกระทบดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว
“แม้ว่าราคาน้ำมันโลกมีโอกาสปรับลงไปที่ 40 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่หากเทียบ Downside เริ่มจำกัดมากขึ้นจากช่วงที่ปรับลงแรงก่อนหน้า ดังนั้น มุมมอง (Outlook) ปีนี้จึงดีขึ้น จากภาวะขาดทุนสตอคน้ำมัน (Stock Loss) ลดลง” นายประกิต กล่าว
พร้อมแนะนำ ให้ทยอยซื้อหุ้นขนาดใหญ่อย่าง KBANK-INTUCH ADVANC-PS-SPALI หุ้นที่มีการเติบโตสูง อย่าง SYNTEC-GUNKUL และหุ้นปันผลสูง อาทิ SAWAD พร้อมประเมินแนวรับ 1,575 จุด แนวต้าน 1,610 จุด
สอดคล้องกับนายนาวิน อินทรสมบัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ. กสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจัยสนับสนุน ที่ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นในช่วงนี้คาดว่า มาจากการที่ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน หรือ มาตรการ QE ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านการเข้าซื้อพันธบัตร และตราสารหนี้ วงเงินกว่า 1.1 ล้านล้านยูโร ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป รวมถึงตลาดหุ้นและตลาดการเงินทั่วโลก ในภาพรวมเป็นไปในเชิงบวก เนื่องจากเป็นการเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกให้มีมากขึ้น
ขณะที่นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า คาดว่าดัชนีฯ จะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,565-1,600 จุด หากประมาณการครั้งแรกสำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP Q4/14 ของสหรัฐฯออกมาดีจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นไทยตลอดสัปดาห์นี้
“ยังคงต้องติดตามการประกาศตัวเลขสำคัญระหว่างสัปดาห์ คือตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน และตัวเลขอัตราการว่างงานเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ ซึ่งหลายครั้งที่ผ่านตัวเลขที่ประกาศออกมาดีเกินที่กว่าที่ตลาดฯคาดการณ์ จึงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาดูว่าจะออกมาในทิศทางใด เพื่อบ่งบอกว่าเศรษฐกิจในสหรัฐนั้นฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอาจมีความเป็นไปได้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด” นายธนเดช กล่าวพร้อมแนะนำการลงทุน ซื้อเมื่อดัชนีฯอ่อนตัว โดยประเมินแนวรับที่ 1,580-1,565 จุด และแนวต้านที่ 1,600 จุด