ประชุมบอร์ด รฟม.ไร้ข้อสรุป พบพิรุธเรื่องสอบ”พีระยุทธ”ว่าที่ผู้ว่าฯ รฟม.ชัดเจนว่าเป็นกระบวนการล้มการสรรหาผู้ว่าฯ โดยปกปิดข้อมูลไม่ให้บอร์ดรับทราบ แต่สุดท้ายบอร์ดไม่กล้าฟันธงว่าการสอบไม่ถูกต้อง โยนเรื่องให้กฤษฎีกาพิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 28 ม.ค.58 ได้มีการประชุมคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) โดย พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ รฟม. เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.มีมติแต่งตั้งนายไกร ตั้งสง่า กรรมการ รฟม.เป็นประธานสอบข้อเท็จจริงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสัญญาที่ 2 ช่วงสถานีสนามไชย-ท่าพระ ส่งผลให้ รฟม.มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมูลค่า 290 ล้านบาท และขยายระยะเวลาสัญญา 90 วัน อาจทำให้ รฟม.มีความเสียหาย โดยให้ดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จใน 1-2 สัปดาห์นี้
บอร์ด รฟม.ยังมีมติให้ส่งเรื่องกรณีที่นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าฯรฟม.ให้ข้อมูลแก่ สตง.เกี่ยวกับงานดังกล่าวว่า รฟม.ดำเนินการผิดพลาดมาในอดีตโดยไม่แจ้งให้บอร์ดรับทราบและทำการสอบสวนข้อเท็จจริงจนทำให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ว่าที่ผู้ว่าฯ รฟม.และพนักงานอีก 2 คนด้วยอำนาจของตนให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่าถูกต้องหรือไม่
“หากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ว่ารักษาการผู้ว่าฯรฟม.ตั้งกรรมการสอบสวนนายพีระยุทธเรื่อง สตง.ไม่ได้ การตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงก็ต้องยกเลิกไป ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการที่มีนายไกรเป็นประธานก็ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 สัปดาห์” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
นอกจากนี้บอร์ด รฟม.ยังมีมติให้ทำหนังสือชี้แจงไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เพื่อแจ้งให้ทราบว่าบอร์ดรฟม.ไม่ทราบเรื่องดังกล่าวตั้งแต่ต้น เพราะรักษาการผู้ว่าฯ ไม่ได้รายงาน จึงต้องทำการตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นบอร์ด รฟม.จึงส่งเรื่องรายงานให้ คตง.ทราบ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ผู้ใหญ่ในรัฐบาลทราบข้อมูลทั้งหมดว่าปัญหาเกิดจากนายรณชิตและพวกดำเนินการเองทั้งหมด โดยใช้คนในและนอก รฟม.ร่วมกันในการชี้แจง ให้ข้อมูล สอบสวนข้อเท็จจริงโดยไม่เคยเรียกผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่ถูกกล่าวหาเข้าชี้แจงแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เคยแจ้งบอร์ดทราบเลยตั้งแต่พฤศจิกายน 2557
ทั้งที่งานเพิ่มเติมนี้เป็นงานที่บอร์ด รฟม.เห็นชอบไว้และเป็นความรับผิดชอบของบอร์ด รฟม. และผู้ว่าฯมีหน้าที่ต้องรายงานต่อบอร์ด รฟม. จนกระทั่งจะมีการแต่งตั้งนายพีระยุทธเป็นผู้ว่าฯ รฟม.ก็ปรากฎว่านายรณชิตได้มีคำสั่งให้สอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธเกิดขึ้น การยืมมือ สตง.ตั้งประเด็นเพื่อสอบวินัยในครั้งนี้มีเป้าหมายชัดเจนที่นายพีระยุทธ ว่าที่ผู้ว่าฯรฟม. สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ตอกย้ำว่าตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯสามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัครเป็นผู้ว่าฯ รฟม.ได้ ทำให้ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯ รฟม.ต้องกำหนดคุณสมบัติไม่ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯ ลงสมัคร หากจะลงสมัครจะต้องลาออกจากตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯ แต่ท้ายที่สุดก็เกิดปัญหาขึ้นเหมือนเช่นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ที่นายรณชิต รักษาการผู้ว่าฯ รฟม.ขณะนั้นสั่งสอบวินัยร้ายแรงนายชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์ ว่าที่ผู้ว่าฯ รฟม.ในอดีต จนสุดท้ายนายชัยสิทธิ์ต้องถอนตัวจากการสรรหา
แหล่งข่าวระดับสูงจาก รฟม.กล่าวว่า บรรยากาศการประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความตึงเครียด เพราะบอร์ดส่วนใหญ่ทราบถึงปัญหาแต่ไม่กล้าที่จะดำเนินการให้เด็ดขาดเพราะเกรงกลัวประเด็นข้อกฎหมาย กลัวจะเกิดการฟ้องร้องทั้งที่บอร์ดหลายท่านไม่เห็นด้วย และชี้ให้เห็นว่าหากปล่อยปัญหาเหล่านี้ทิ้งไว้ เท่ากับว่าบอร์ด รฟม.ปล่อยปละละเลย มีความผิด ทำให้ประเทศชาติเสียหาย
ในการประชุมมีการโต้เถียงกันอย่างมากระหว่างบอร์ดและนายรณชิตถึงขั้นมีการข่มขู่กันว่าจะมีการฟ้องร้องบอร์ด แต่สุดท้ายบอร์ด รฟม.ก็ไม่กล้าดำเนินการให้เด็ดขาด กลับส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็น
ต้องคอยจับตาดูว่าบอร์ด รฟม.จะกล้าดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เด็ดขาดหรือไม่ หรือจะคอยยืมมือหน่วยงานอื่นๆเพื่อแก้ปัญหาเช่นนี้ต่อไป หากยังทิ้งเรื่องดังกล่าวไว้ รฟม.ก็ไม่สามารถแต่งตั้งผู้ว่าฯ รฟม.ได้อีกเหมือนเดิม สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการของบอร์ด รฟม.และกระทรวงคมนาคม รวมถึงเป็นการดิสเครดิตรัฐบาล คสช.เป็นอย่างมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 28 ม.ค.58 ได้มีการประชุมคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟม.) โดย พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ รฟม. เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.มีมติแต่งตั้งนายไกร ตั้งสง่า กรรมการ รฟม.เป็นประธานสอบข้อเท็จจริงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสัญญาที่ 2 ช่วงสถานีสนามไชย-ท่าพระ ส่งผลให้ รฟม.มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมูลค่า 290 ล้านบาท และขยายระยะเวลาสัญญา 90 วัน อาจทำให้ รฟม.มีความเสียหาย โดยให้ดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จใน 1-2 สัปดาห์นี้
บอร์ด รฟม.ยังมีมติให้ส่งเรื่องกรณีที่นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าฯรฟม.ให้ข้อมูลแก่ สตง.เกี่ยวกับงานดังกล่าวว่า รฟม.ดำเนินการผิดพลาดมาในอดีตโดยไม่แจ้งให้บอร์ดรับทราบและทำการสอบสวนข้อเท็จจริงจนทำให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ว่าที่ผู้ว่าฯ รฟม.และพนักงานอีก 2 คนด้วยอำนาจของตนให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่าถูกต้องหรือไม่
“หากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ว่ารักษาการผู้ว่าฯรฟม.ตั้งกรรมการสอบสวนนายพีระยุทธเรื่อง สตง.ไม่ได้ การตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงก็ต้องยกเลิกไป ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการที่มีนายไกรเป็นประธานก็ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 สัปดาห์” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
นอกจากนี้บอร์ด รฟม.ยังมีมติให้ทำหนังสือชี้แจงไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เพื่อแจ้งให้ทราบว่าบอร์ดรฟม.ไม่ทราบเรื่องดังกล่าวตั้งแต่ต้น เพราะรักษาการผู้ว่าฯ ไม่ได้รายงาน จึงต้องทำการตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นบอร์ด รฟม.จึงส่งเรื่องรายงานให้ คตง.ทราบ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ผู้ใหญ่ในรัฐบาลทราบข้อมูลทั้งหมดว่าปัญหาเกิดจากนายรณชิตและพวกดำเนินการเองทั้งหมด โดยใช้คนในและนอก รฟม.ร่วมกันในการชี้แจง ให้ข้อมูล สอบสวนข้อเท็จจริงโดยไม่เคยเรียกผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่ถูกกล่าวหาเข้าชี้แจงแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เคยแจ้งบอร์ดทราบเลยตั้งแต่พฤศจิกายน 2557
ทั้งที่งานเพิ่มเติมนี้เป็นงานที่บอร์ด รฟม.เห็นชอบไว้และเป็นความรับผิดชอบของบอร์ด รฟม. และผู้ว่าฯมีหน้าที่ต้องรายงานต่อบอร์ด รฟม. จนกระทั่งจะมีการแต่งตั้งนายพีระยุทธเป็นผู้ว่าฯ รฟม.ก็ปรากฎว่านายรณชิตได้มีคำสั่งให้สอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธเกิดขึ้น การยืมมือ สตง.ตั้งประเด็นเพื่อสอบวินัยในครั้งนี้มีเป้าหมายชัดเจนที่นายพีระยุทธ ว่าที่ผู้ว่าฯรฟม. สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ตอกย้ำว่าตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯสามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัครเป็นผู้ว่าฯ รฟม.ได้ ทำให้ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯ รฟม.ต้องกำหนดคุณสมบัติไม่ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯ ลงสมัคร หากจะลงสมัครจะต้องลาออกจากตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯ แต่ท้ายที่สุดก็เกิดปัญหาขึ้นเหมือนเช่นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ที่นายรณชิต รักษาการผู้ว่าฯ รฟม.ขณะนั้นสั่งสอบวินัยร้ายแรงนายชัยสิทธิ์ คุรุรัตน์ ว่าที่ผู้ว่าฯ รฟม.ในอดีต จนสุดท้ายนายชัยสิทธิ์ต้องถอนตัวจากการสรรหา
แหล่งข่าวระดับสูงจาก รฟม.กล่าวว่า บรรยากาศการประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความตึงเครียด เพราะบอร์ดส่วนใหญ่ทราบถึงปัญหาแต่ไม่กล้าที่จะดำเนินการให้เด็ดขาดเพราะเกรงกลัวประเด็นข้อกฎหมาย กลัวจะเกิดการฟ้องร้องทั้งที่บอร์ดหลายท่านไม่เห็นด้วย และชี้ให้เห็นว่าหากปล่อยปัญหาเหล่านี้ทิ้งไว้ เท่ากับว่าบอร์ด รฟม.ปล่อยปละละเลย มีความผิด ทำให้ประเทศชาติเสียหาย
ในการประชุมมีการโต้เถียงกันอย่างมากระหว่างบอร์ดและนายรณชิตถึงขั้นมีการข่มขู่กันว่าจะมีการฟ้องร้องบอร์ด แต่สุดท้ายบอร์ด รฟม.ก็ไม่กล้าดำเนินการให้เด็ดขาด กลับส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็น
ต้องคอยจับตาดูว่าบอร์ด รฟม.จะกล้าดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เด็ดขาดหรือไม่ หรือจะคอยยืมมือหน่วยงานอื่นๆเพื่อแก้ปัญหาเช่นนี้ต่อไป หากยังทิ้งเรื่องดังกล่าวไว้ รฟม.ก็ไม่สามารถแต่งตั้งผู้ว่าฯ รฟม.ได้อีกเหมือนเดิม สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการของบอร์ด รฟม.และกระทรวงคมนาคม รวมถึงเป็นการดิสเครดิตรัฐบาล คสช.เป็นอย่างมาก