วานนี้ (29 ม.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคม ( สปส.) ในฐานะโฆษก สปส. กล่าวว่า สปส.ได้รับแจ้งว่า มีมิจฉาชีพในจังหวัดเชียงใหม่ และชัยภูมิ อาศัยช่องโหว่จาก มาตรา 40 ซึ่งให้ผู้สมัครสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนในการสมัคร และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อแสวงหาประโยชน์จากเงินสมทบตามมาตรา 40 โดยเฉพาะที่รัฐบาลเปิดรับสมัครผู้ประกันตนที่มีอายุเกิน 60 ปี ได้สมัครทางเลือกที่ 3 จ่ายเอง 100 บาท รัฐสมทบให้อีก 100 บาทต่อเดือน และยังสามารถจ่ายย้อนหลังได้ ถึงเดือน พ.ค. 2555 เป็นเวลา 32 เดือน รวมเป็นเงินกว่า 3,200 บาท หากลาออก จะได้รับเงินที่รัฐสมทบเพิ่มอีกเท่าตัว
นายโกวิท กล่าวว่า ขณะนี้ สปส.เชียงใหม่ ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติโดยมีบุคคลได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตน มาตรา 40 มายื่นเรื่องขอลาออกจากผู้ประกันตน 30-40 คนในคราวเดียว จึงตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีมิจฉาชีพหลอกลวงให้ชาวบ้านมอบอำนาจในการสมัคร และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อหวังเงินสมทบก้อนโต โดยใช้วิธีให้ชาวบ้านสมัคร และจ่ายสมทบเพียง 2-3 เดือน แต่มิจฉาชีพแอบจ่ายเงินสมทบย้อนหลังให้ทุกคนเป็นระยะเวลากว่า 30 เดือน หลังจากนั้น จะหลอกให้ชาวบ้านเซ็นหลังสือขอลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน และมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนเบิกเงินสมทบ โดยตั้งใจจะนำเงินมาจ่ายให้ชาวบ้านเพียง 2-3 เดือน คิดเป็นเงินคนละประมาณ 400-600 บาท แต่มิจฉาชีพหวังได้รับเงินทั้งหมดกว่า 6 พันบาทต่อคน ซึ่งจะทำให้ได้เงินรวมกว่า 2.4 แสนบาท หลังจากที่ตรวจพบ ได้เข้าแจ้งความเอาผิดตามกฎหมายในข้อหาฉ้อโกง และจะตรวจสอบชาวบ้านด้วยว่ามีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่
“เบื้องต้นคาดว่าบุคคลดังกล่าว เป็นข้าราชการบำนาญ ที่ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย เพื่อหาผลประโยชน์ โดยได้มีการทำเอกสารแจกจ่ายให้ชาวบ้านด้วยตัวเองเพื่อจูงใจให้สมัครและเรียกเก็บเลขประจำตัวประชาชนก่อนมาสมัครเป็นผู้ประกันตน และให้จ่ายเงินสมทบในบางส่วน โดยที่ผู้ประกันตนไม่รู้ว่ามีการจ่ายย้อนหลังให้ หลังจากนั้นได้ให้ชาวบ้านรวมกันลาออก เพื่อหวังรับเงินสมทบ โดยจะให้ผู้ประกันตนได้รับเงินแค่บางส่วน ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่รัฐจ่ายสมทบจะตกเป็นของผู้ชักชวน ถือว่าหลอกลวงมีเจตนาทำผิดชัดเจนอยู่ระหว่างดำเนินคดีอาญา” นายโกวิท กล่าว
โฆษก สปส. กล่าวอีกว่า สปส.ได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการตรวจสอบเอกสาร หากมีการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 อย่างละเอียด หากมีการมอบอำนาจให้คนอื่นมาลาออกแทน จะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ประกันตนว่าลาออกจริงหรือไม่ และได้จ่ายเงินสมทบไว้กี่เดือน อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้ประกันตนดำเนินการสมัครและลาออกด้วยตนเอง อย่ามอบอำนาจให้คนอื่นจะได้ไม่ถูกหลอก
นายโกวิท กล่าวว่า ขณะนี้ สปส.เชียงใหม่ ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติโดยมีบุคคลได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตน มาตรา 40 มายื่นเรื่องขอลาออกจากผู้ประกันตน 30-40 คนในคราวเดียว จึงตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีมิจฉาชีพหลอกลวงให้ชาวบ้านมอบอำนาจในการสมัคร และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อหวังเงินสมทบก้อนโต โดยใช้วิธีให้ชาวบ้านสมัคร และจ่ายสมทบเพียง 2-3 เดือน แต่มิจฉาชีพแอบจ่ายเงินสมทบย้อนหลังให้ทุกคนเป็นระยะเวลากว่า 30 เดือน หลังจากนั้น จะหลอกให้ชาวบ้านเซ็นหลังสือขอลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน และมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนเบิกเงินสมทบ โดยตั้งใจจะนำเงินมาจ่ายให้ชาวบ้านเพียง 2-3 เดือน คิดเป็นเงินคนละประมาณ 400-600 บาท แต่มิจฉาชีพหวังได้รับเงินทั้งหมดกว่า 6 พันบาทต่อคน ซึ่งจะทำให้ได้เงินรวมกว่า 2.4 แสนบาท หลังจากที่ตรวจพบ ได้เข้าแจ้งความเอาผิดตามกฎหมายในข้อหาฉ้อโกง และจะตรวจสอบชาวบ้านด้วยว่ามีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่
“เบื้องต้นคาดว่าบุคคลดังกล่าว เป็นข้าราชการบำนาญ ที่ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย เพื่อหาผลประโยชน์ โดยได้มีการทำเอกสารแจกจ่ายให้ชาวบ้านด้วยตัวเองเพื่อจูงใจให้สมัครและเรียกเก็บเลขประจำตัวประชาชนก่อนมาสมัครเป็นผู้ประกันตน และให้จ่ายเงินสมทบในบางส่วน โดยที่ผู้ประกันตนไม่รู้ว่ามีการจ่ายย้อนหลังให้ หลังจากนั้นได้ให้ชาวบ้านรวมกันลาออก เพื่อหวังรับเงินสมทบ โดยจะให้ผู้ประกันตนได้รับเงินแค่บางส่วน ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่รัฐจ่ายสมทบจะตกเป็นของผู้ชักชวน ถือว่าหลอกลวงมีเจตนาทำผิดชัดเจนอยู่ระหว่างดำเนินคดีอาญา” นายโกวิท กล่าว
โฆษก สปส. กล่าวอีกว่า สปส.ได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการตรวจสอบเอกสาร หากมีการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 อย่างละเอียด หากมีการมอบอำนาจให้คนอื่นมาลาออกแทน จะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ประกันตนว่าลาออกจริงหรือไม่ และได้จ่ายเงินสมทบไว้กี่เดือน อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้ประกันตนดำเนินการสมัครและลาออกด้วยตนเอง อย่ามอบอำนาจให้คนอื่นจะได้ไม่ถูกหลอก