แฉเบื้องหลัง “คนแก่เชียงใหม่” แห่ลาออกผู้ประกันตน ม.40 มี ขรก. บำนาญ อยู่เบื้องหลัง ตุ๋นชาวบ้านขอเป็นผู้รับมอบอำนาจสมัครและลาออกแทน 30 - 40 คน ระบุชาวบ้านได้เงินแค่คนละ 400 - 600 บาท เจ้าตัวโกยเงินส่วนรัฐจ่ายสมทบหัวละ 6 พันบาท รวมกว่า 2.4 แสนบาท เร่งสอบสวนคดี แจ้งความเอาผิด
วันนี้ (29 ม.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในฐานะโฆษก สปส. กล่าวว่า สปส. ได้รับแจ้งว่ามีมิจฉาชีพในจังหวัดเชียงใหม่ และ ชัยภูมิ อาศัยช่องโหว่จากมาตรา 40 ซึ่งให้ผู้สมัครสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นสามารถเป็นตัวแทนสมัคร และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อแสวงหาประโยชน์จากเงินสมทบตามมาตรา 40 โดยเฉพาะที่รัฐบาลเปิดรับสมัครผู้ประกันตนที่มีอายุเกิน 60 ปี ได้สมัครทางเลือกที่ 3 จ่ายเอง 100 บาท รัฐสมทบให้อีก 100 บาทต่อเดือน และยังสามารถจ่ายย้อนหลังได้ถึงเดือน พ.ค. 2555 เป็นเวลา 32 เดือน รวมเป็นเงินกว่า 3,200 บาท หากลาออกจะได้รับเงินที่รัฐสมทบเพิ่มอีกเท่าตัว
นายโกวิท กล่าวว่า ขณะนี้ สปส. เชียงใหม่ ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติโดยมีบุคคลได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตน มาตรา 40 มายื่นเรื่องขอลาออกจากผู้ประกันตน 30 - 40 คน ในคราวเดียว จึงตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีมิจฉาชีพหลอกลวงให้ชาวบ้านมอบอำนาจในการสมัครและลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อหวังเงินสมทบก้อนโต โดยใช้วิธีให้ชาวบ้านสมัครและจ่ายสมทบเพียง 2 - 3 เดือน แต่มิจฉาชีพแอบจ่ายเงินสมทบย้อนหลังให้ทุกคนเป็นระยะเวลากว่า 30 เดือน หลังจากนั้น จะหลอกให้ชาวบ้านเซ็นหนังสือขอลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน และมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนเบิกเงินสมทบ โดยตั้งใจจะนำเงินมาจ่ายให้ชาวบ้านเพียง 2 - 3 เดือน คิดเป็นเงินคนละประมาณ 400 - 600 บาท แต่มิจฉาชีพหวังได้รับเงินทั้งหมดกว่า 6 พันบาทต่อคน ซึ่งจะทำให้ได้เงินรวมกว่า 2.4 แสนบาท หลังจากที่ตรวจพบได้เข้าแจ้งความเอาผิดตามกฎหมายในข้อหาฉ้อโกง และจะตรวจสอบชาวบ้านด้วยว่ามีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่
“เบื้องต้นคาดว่าบุคคลดังกล่าว เป็นข้าราชการบำนาญ ที่ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเพื่อหาผลประโยชน์ โดยได้มีการทำเอกสารแจกจ่ายให้ชาวบ้านด้วยตัวเองเพื่อจูงใจให้สมัครและเรียกเก็บเลขประจำตัวประชาชนก่อนมาสมัครเป็นผู้ประกันตน และให้จ่ายเงินสมทบในบางส่วน โดยที่ผู้ประกันตนไม่รู้ว่ามีการจ่ายย้อนหลังให้ หลังจากนั้น ได้ให้ชาวบ้านรวมกันลาออก เพื่อหวังรับเงินสมทบ โดยจะให้ผู้ประกันตนได้รับเงินแค่บางส่วน ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่รัฐจ่ายสมทบจะตกเป็นของผู้ชักชวน ถือว่าหลอกลวงมีเจตนาทำผิดชัดเจนอยู่ระหว่างดำเนินคดีอาญา” นายโกวิท กล่าว
โฆษก สปส. กล่าวอีกว่า สปส. ได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการตรวจสอบเอกสาร หากมีการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 อย่างละเอียด หากมีการมอบอำนาจให้คนอื่นมาลาออกแทน จะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ประกันตนว่าลาออกจริงหรือไม่ และได้จ่ายเงินสมทบไว้กี่เดือน อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้ประกันตนดำเนินการสมัครและลาออกด้วยตนเอง อย่ามอบอำนาจให้คนอื่นจะได้ไม่ถูกหลอก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 ม.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในฐานะโฆษก สปส. กล่าวว่า สปส. ได้รับแจ้งว่ามีมิจฉาชีพในจังหวัดเชียงใหม่ และ ชัยภูมิ อาศัยช่องโหว่จากมาตรา 40 ซึ่งให้ผู้สมัครสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นสามารถเป็นตัวแทนสมัคร และลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อแสวงหาประโยชน์จากเงินสมทบตามมาตรา 40 โดยเฉพาะที่รัฐบาลเปิดรับสมัครผู้ประกันตนที่มีอายุเกิน 60 ปี ได้สมัครทางเลือกที่ 3 จ่ายเอง 100 บาท รัฐสมทบให้อีก 100 บาทต่อเดือน และยังสามารถจ่ายย้อนหลังได้ถึงเดือน พ.ค. 2555 เป็นเวลา 32 เดือน รวมเป็นเงินกว่า 3,200 บาท หากลาออกจะได้รับเงินที่รัฐสมทบเพิ่มอีกเท่าตัว
นายโกวิท กล่าวว่า ขณะนี้ สปส. เชียงใหม่ ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติโดยมีบุคคลได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกันตน มาตรา 40 มายื่นเรื่องขอลาออกจากผู้ประกันตน 30 - 40 คน ในคราวเดียว จึงตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีมิจฉาชีพหลอกลวงให้ชาวบ้านมอบอำนาจในการสมัครและลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เพื่อหวังเงินสมทบก้อนโต โดยใช้วิธีให้ชาวบ้านสมัครและจ่ายสมทบเพียง 2 - 3 เดือน แต่มิจฉาชีพแอบจ่ายเงินสมทบย้อนหลังให้ทุกคนเป็นระยะเวลากว่า 30 เดือน หลังจากนั้น จะหลอกให้ชาวบ้านเซ็นหนังสือขอลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน และมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนเบิกเงินสมทบ โดยตั้งใจจะนำเงินมาจ่ายให้ชาวบ้านเพียง 2 - 3 เดือน คิดเป็นเงินคนละประมาณ 400 - 600 บาท แต่มิจฉาชีพหวังได้รับเงินทั้งหมดกว่า 6 พันบาทต่อคน ซึ่งจะทำให้ได้เงินรวมกว่า 2.4 แสนบาท หลังจากที่ตรวจพบได้เข้าแจ้งความเอาผิดตามกฎหมายในข้อหาฉ้อโกง และจะตรวจสอบชาวบ้านด้วยว่ามีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่
“เบื้องต้นคาดว่าบุคคลดังกล่าว เป็นข้าราชการบำนาญ ที่ใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเพื่อหาผลประโยชน์ โดยได้มีการทำเอกสารแจกจ่ายให้ชาวบ้านด้วยตัวเองเพื่อจูงใจให้สมัครและเรียกเก็บเลขประจำตัวประชาชนก่อนมาสมัครเป็นผู้ประกันตน และให้จ่ายเงินสมทบในบางส่วน โดยที่ผู้ประกันตนไม่รู้ว่ามีการจ่ายย้อนหลังให้ หลังจากนั้น ได้ให้ชาวบ้านรวมกันลาออก เพื่อหวังรับเงินสมทบ โดยจะให้ผู้ประกันตนได้รับเงินแค่บางส่วน ส่วนที่เหลือซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่รัฐจ่ายสมทบจะตกเป็นของผู้ชักชวน ถือว่าหลอกลวงมีเจตนาทำผิดชัดเจนอยู่ระหว่างดำเนินคดีอาญา” นายโกวิท กล่าว
โฆษก สปส. กล่าวอีกว่า สปส. ได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีการตรวจสอบเอกสาร หากมีการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 อย่างละเอียด หากมีการมอบอำนาจให้คนอื่นมาลาออกแทน จะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปยังผู้ประกันตนว่าลาออกจริงหรือไม่ และได้จ่ายเงินสมทบไว้กี่เดือน อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้ประกันตนดำเนินการสมัครและลาออกด้วยตนเอง อย่ามอบอำนาจให้คนอื่นจะได้ไม่ถูกหลอก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่