ASTVผู้จัดการรายวัน - คมนาคมเดินเครื่องเสนอ ครม.ไฟเขียวแต่งตั้ง ”พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล“ เป็นผู้ว่าฯ รฟม.คนใหม่ แต่ถูกสกัดโดนสอบวินัยร้ายแรง ส่งผลให้การแต่งตั้งไม่ได้ บอร์ด รฟม.ต้องนัดประชุมด่วนวันนี้ (28 ม.ค.) หวังปลดล็อก ยันงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินดำเนินการถูกต้อง แต่มีขบวนการกลั่นแกล้ง ให้ข้อมูลบิดเบือนกับ สตง. ทำให้เข้าใจผิด
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ”ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า เมื่อวานนี้ (27 ม.ค.) กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดกระบวนการเสนอ ครม.เห็นชอบให้แต่งตั้งนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุลเป็นผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ รฟม.จะต้องแก้ปัญหาเนื่องจากนายพีระยุทธ ถูกนายรณชิต รักษาการผู้ว่าฯ รฟม.สั่งให้สอบวินัยร้ายแรง ทำให้บอร์ด รฟม.ต้องประชุมด่วนในวันที่ 28 ม.ค.58 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเนื่องจากมีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าการสอบวินัยร้ายแรงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์แอบแฝง ผิดขั้นตอนและผิดระเบียบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นจากมีผู้ไปให้ข้อมูลแก่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ตรวจสอบออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน Vo.12 สัญญาที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพดินบริเวณสถานีสนามไชย มูลค่า 290 ล้านบาทและต้องมีการขยายระยะเวลาให้ผู้รับเหมาอีก 90 วัน ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พ.ย.57 สตง.ได้มีหนังสือขอให้ รฟม.พิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าว จนเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.57 และ 25 ธ.ค.57 รฟม.ได้ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่ สตง.ระบุว่าการดำเนินการของ รฟม.ที่ผ่านมาไม่ถูกต้องตามหลักการของสัญญา โดยอ้างว่าหลักการของสัญญานี้เป็นแบบ Design and Build (ออกแบบและก่อสร้าง) มีลักษณะเป็นการปิดปาก (Estoppel) ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมด ไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายใดได้อีก และในเงื่อนไขสัญญาข้อ 13 ระบุว่าผู้รับจ้างต้องตรวจสอบสภาพพื้นที่ทำงานก่อนเข้าประกวดราคาโดยไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือขอขยายเวลาได้ จนท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 6 ม.ค.58 สตง.ได้มีหนังสือแจ้งให้ รฟม.แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว และให้แจ้งผลแก่ สตง.ทราบด้วย
เมื่อวันที่ 8 ม.ค.58 นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าการ รฟม.จึงมีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยมีนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประธาน นายชัยยศ ปัญจบุตรชัย อัยการและนายสุชิน ศศิประภากุล ผู้ช่วยผู้ว่าฯรฟม.เป็นกรรมการ ผอ.กองคดีและวินัย ฝ่ายกฎหมาย รฟม.เป็นเลขานุการ และมีข้อสรุปว่ามีการเอื้อประโยชน์เกิดขึ้นจึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ(วิศวกรรมและก่อสร้าง) ว่าที่ผู้ว่าฯ รฟม.และพนักงานอีก 2 คนโดยตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธและพนักงานอีก 2 คน เมื่อ 15 ม.ค.58 ซึ่งมีนายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ อดีตอธิบดีกรมที่ดินเป็นประธาน นายพินัย อนันตพงศ์ ศจ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ เป็นกรรมการ และผอ.กองนิติการ ฝ่ายกฎหมาย รฟม.เป็นเลขานุการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้ผู้ใหญ่ในรัฐบาลทราบถึงปัญหาทั้งหมดแล้วว่าเป็นขบวนการกลั่นแกล้งไม่ให้ผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ทำงานได้ จึงสั่งการให้บอร์ด รฟม.รีบแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพราะพฤติกรรมนี้มีพิรุธหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่ผิดแก่ สตง.โดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ถึงขั้นชี้แจงว่า รฟม.เองดำเนินการผิดพลาดมาทั้งหมด ที่เห็นได้ชัด คือ ข้อมูลที่ รฟม.ส่งให้ สตง.มีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน หลักการสัญญา Design and Build ไม่ใช่สัญญาปิดปาก แต่เป็นสัญญาจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างมีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน โดยมีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้างไว้ตามที่ตกลงในสัญญาและสามารถมีการเปลี่ยนแปลงงานได้ตามขั้นตอนของสัญญา โดยในกรณีนี้การเปลี่ยนแปลงงานดังกล่าวจำเป็นต้องทำ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาต่อพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยได้ผ่านการตรวจสอบจากที่ปรึกษา รฟม. และ รฟม.แล้ว เนื่องจากผู้รับจ้างไม่สามารถขุดเจาะสำรวจพื้นที่ได้ก่อนการประมูลและเมื่อมาพบปัญหาระหว่างการก่อสร้างว่าสภาพน้ำใต้ดินสูงจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อประชาชนและสิ่งปลูกสร้างข้างเคียง รฟม.จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยสั่งให้ผู้รับจ้างทำการปรับปรุงสภาพดินเพิ่มเติมเพื่อให้การก่อสร้างมีความปลอดภัยเพียงพอ ไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชน สิ่งปลูกสร้างบริเวณพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
นอกจากนี้การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและสอบวินัยทั้งหมดทำโดยรวบรัดและแต่งตั้งคนนอก รฟม.ซึ่งไม่เกี่ยวข้องและมีความรู้ความเข้าใจในงานของ รฟม.มาทำการสอบ และที่สำคัญที่สุด งานนี้เป็นงานที่บอร์ด รฟม.เห็นชอบไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 สตง.มีคำถามมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 แต่รักษาการผู้ว่าฯกลับไม่เคยรายงานให้บอร์ด รฟม.ทราบเรื่องแม้แต่น้อย กลับยืนยันไปที่ สตง.ว่า รฟม.ดำเนินการผิดมาโดยตลอด ทำให้ รฟม.เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และทำให้การแต่งตั้งผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ล่าช้าออกไปด้วย
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าต้องจับตาดูกันว่าบอร์ด รฟม.จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไรในวันที่ 28 ม.ค.58 นี้ เพราะหากทิ้งค้างไว้ งานของ รฟม.ต่างๆ คงไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนประเด็นการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการลงสมัครที่ศาลปกครองไม่รับฟ้อง ขณะนี้ถือว่ามีความชัดเจนว่าคณะกรรมการสรรหาดำเนินการถูกต้องแล้วเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างดี.
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ”ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า เมื่อวานนี้ (27 ม.ค.) กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดกระบวนการเสนอ ครม.เห็นชอบให้แต่งตั้งนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุลเป็นผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ แต่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ รฟม.จะต้องแก้ปัญหาเนื่องจากนายพีระยุทธ ถูกนายรณชิต รักษาการผู้ว่าฯ รฟม.สั่งให้สอบวินัยร้ายแรง ทำให้บอร์ด รฟม.ต้องประชุมด่วนในวันที่ 28 ม.ค.58 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเนื่องจากมีพฤติกรรมที่น่าสงสัยว่าการสอบวินัยร้ายแรงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์แอบแฝง ผิดขั้นตอนและผิดระเบียบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นจากมีผู้ไปให้ข้อมูลแก่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ตรวจสอบออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงงาน Vo.12 สัญญาที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพดินบริเวณสถานีสนามไชย มูลค่า 290 ล้านบาทและต้องมีการขยายระยะเวลาให้ผู้รับเหมาอีก 90 วัน ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พ.ย.57 สตง.ได้มีหนังสือขอให้ รฟม.พิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าว จนเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.57 และ 25 ธ.ค.57 รฟม.ได้ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้แก่ สตง.ระบุว่าการดำเนินการของ รฟม.ที่ผ่านมาไม่ถูกต้องตามหลักการของสัญญา โดยอ้างว่าหลักการของสัญญานี้เป็นแบบ Design and Build (ออกแบบและก่อสร้าง) มีลักษณะเป็นการปิดปาก (Estoppel) ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบทั้งหมด ไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายใดได้อีก และในเงื่อนไขสัญญาข้อ 13 ระบุว่าผู้รับจ้างต้องตรวจสอบสภาพพื้นที่ทำงานก่อนเข้าประกวดราคาโดยไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือขอขยายเวลาได้ จนท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 6 ม.ค.58 สตง.ได้มีหนังสือแจ้งให้ รฟม.แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว และให้แจ้งผลแก่ สตง.ทราบด้วย
เมื่อวันที่ 8 ม.ค.58 นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการผู้ว่าการ รฟม.จึงมีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว โดยมีนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประธาน นายชัยยศ ปัญจบุตรชัย อัยการและนายสุชิน ศศิประภากุล ผู้ช่วยผู้ว่าฯรฟม.เป็นกรรมการ ผอ.กองคดีและวินัย ฝ่ายกฎหมาย รฟม.เป็นเลขานุการ และมีข้อสรุปว่ามีการเอื้อประโยชน์เกิดขึ้นจึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ(วิศวกรรมและก่อสร้าง) ว่าที่ผู้ว่าฯ รฟม.และพนักงานอีก 2 คนโดยตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธและพนักงานอีก 2 คน เมื่อ 15 ม.ค.58 ซึ่งมีนายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ อดีตอธิบดีกรมที่ดินเป็นประธาน นายพินัย อนันตพงศ์ ศจ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ เป็นกรรมการ และผอ.กองนิติการ ฝ่ายกฎหมาย รฟม.เป็นเลขานุการ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้ผู้ใหญ่ในรัฐบาลทราบถึงปัญหาทั้งหมดแล้วว่าเป็นขบวนการกลั่นแกล้งไม่ให้ผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ทำงานได้ จึงสั่งการให้บอร์ด รฟม.รีบแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพราะพฤติกรรมนี้มีพิรุธหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่ผิดแก่ สตง.โดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ถึงขั้นชี้แจงว่า รฟม.เองดำเนินการผิดพลาดมาทั้งหมด ที่เห็นได้ชัด คือ ข้อมูลที่ รฟม.ส่งให้ สตง.มีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน หลักการสัญญา Design and Build ไม่ใช่สัญญาปิดปาก แต่เป็นสัญญาจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างมีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน โดยมีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้างไว้ตามที่ตกลงในสัญญาและสามารถมีการเปลี่ยนแปลงงานได้ตามขั้นตอนของสัญญา โดยในกรณีนี้การเปลี่ยนแปลงงานดังกล่าวจำเป็นต้องทำ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาต่อพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยได้ผ่านการตรวจสอบจากที่ปรึกษา รฟม. และ รฟม.แล้ว เนื่องจากผู้รับจ้างไม่สามารถขุดเจาะสำรวจพื้นที่ได้ก่อนการประมูลและเมื่อมาพบปัญหาระหว่างการก่อสร้างว่าสภาพน้ำใต้ดินสูงจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อประชาชนและสิ่งปลูกสร้างข้างเคียง รฟม.จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยสั่งให้ผู้รับจ้างทำการปรับปรุงสภาพดินเพิ่มเติมเพื่อให้การก่อสร้างมีความปลอดภัยเพียงพอ ไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชน สิ่งปลูกสร้างบริเวณพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
นอกจากนี้การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและสอบวินัยทั้งหมดทำโดยรวบรัดและแต่งตั้งคนนอก รฟม.ซึ่งไม่เกี่ยวข้องและมีความรู้ความเข้าใจในงานของ รฟม.มาทำการสอบ และที่สำคัญที่สุด งานนี้เป็นงานที่บอร์ด รฟม.เห็นชอบไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 สตง.มีคำถามมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 แต่รักษาการผู้ว่าฯกลับไม่เคยรายงานให้บอร์ด รฟม.ทราบเรื่องแม้แต่น้อย กลับยืนยันไปที่ สตง.ว่า รฟม.ดำเนินการผิดมาโดยตลอด ทำให้ รฟม.เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก และทำให้การแต่งตั้งผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่ล่าช้าออกไปด้วย
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่าต้องจับตาดูกันว่าบอร์ด รฟม.จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไรในวันที่ 28 ม.ค.58 นี้ เพราะหากทิ้งค้างไว้ งานของ รฟม.ต่างๆ คงไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนประเด็นการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการลงสมัครที่ศาลปกครองไม่รับฟ้อง ขณะนี้ถือว่ามีความชัดเจนว่าคณะกรรมการสรรหาดำเนินการถูกต้องแล้วเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างดี.