เผยเบื้องหลัง ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องคดีสรรหาผู้ว่าฯรฟม. ไว้พิจารณา ระบุรณชิตไม่ใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย แต่ขบวนการการล้มสรรหายังไม่จบล่าสุดป่วนอีกใช้ สตง.เป็นเครื่องมือ บอร์ด รฟม.ไม่หวั่นเร่งเสนอครม.แต่งตั้ง”พีระยุทธฎ เป็นผู้ว่าคนใหม่ขับเคลื่อน รฟม.ทันที
ผู้สื่อข่าวASTV รายงานว่า เมื่อวัน 20 ม.ค. 2558 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ในคดีที่ นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 4 ราย (นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์/ นายเพิ่มศักดิ์ สัจจะเวทะ / พลตรี พิเชษฐ คงศรี / นายสุนทร ทรัพย์ตันติกุล) เพื่อขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ 612/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯรฟม. และคณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทน พร้อมทั้งขอให้ศาลเพิกถอน ประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯรฟม.
ทั้งนี้ ศาลปกครองได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว เป็นขั้นตอนในการสรรหาผู้ว่าฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาเสนอต่อผู้มีอำนาจมีคำสั่งแต่งตั้งต่อไป ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงยังไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีโดยตรง เป็นเพียงขั้นตอนภายในอันเป็นการพิจารณาทางปกครอง เพื่อเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองต่อไปเท่านั้น ผู้ฟ้องคดีจึงยังไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการออกประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ดังกล่าว อันจะถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่อย่างใด ศาลปกครองจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และไม่จำเป็นต้องพิจารณาคำขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
แหล่งข่าวระดับสูงจากระทรวงคมนาคมเปิดเผย”ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ศาลปกครองกลางเร่งพิจารณาเรื่องนี้ให้ชัดเจนทั้งไม่รับคำฟ้องและไม่รับคุ้มครองชั่วคราวทำให้การสรรหาผู้ว่าฯรฟม. สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยคาดว่าจะนำเสนอครม.เห็นชอบแต่งตั้ง นายพีระยุทธ สิงหพัฒนากุล รองผู้ว่าฯรฟม.(วิศวกรรมและก่อสร้าง) เป็นผู้ว่าฯรฟม. ได้ในเดือนมกราคมนี้เพื่อขับเคลื่อน รฟม.โดยเร็วเพราะขณะนี้งานของ รฟม.ล่าช้ามามากแล้ว ประกอบกับมีขบวนการจ้องล้มการสรรหาผู้ว่าฯรฟม. มาโดยตลอดทำให้ รฟม.ได้รับความเสียหายมามากแล้ว ผู้ใหญ่ในรัฐบาลรู้ดีว่าขบวนการนี้มีใครอยู่เบื้องหลัง เพราะคนกลุ่มนี้ใช้วิธีการเดิมๆเหมือนที่ทำมาตลอดกว่า10ปีใน รฟม. ทำให้ รฟม.ไม่ก้าวหน้าจมอยู่ในวัฎจักรการฟ้องร้องกลั่นแกล้งกัน ท้ายสุดทำให้ประเทศชาติเสียหายและประชาชนเสียโอกาสที่จะมีรถไฟฟ้าใช้อย่างเต็มที่
“ศาลปกครองกลางตัดสินเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดีเพราะชี้ให้เห็นว่าการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.ดำเนินการโดยถูกต้อง ส่วนประเด็นคุณสมบัติผู้สมัครที่ต้องไม่เป็นผู้รักษาการผู้ว่าฯ รฟม.ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการสรรหาฯที่กำหนดให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครทุกราย ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร ไม่ว่าใครที่เป็นรักษาการผู้ว่ารฟม.หากอยากลงสมัครก็ทำได้ แค่ลาออกจากรักษาการผู้ว่าฯมาลงสมัคร ไม่ได้เป็นรักษาการผู้ว่าฯมันเดือดร้อนตรงไหน ตำแน่งนี้มันสำคัญมากนักหรือ รฟม.กำลังหาผู้ว่าฯไม่ใช่รักษาการผู้ว่าฯ แต่ได้สื่อสารว่าต้องรักษาการเพราะกฎหมายเขียนไว้เหมือนอดีตนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องรักษาการนายกฯตอนยุบสภาฯ ลาออกไม่ได้ ทำให้รักษาการผู้ว่าฯรฟม. ลาออกจากตำแหน่งไม่ได้เหมือนกันเพราะคนอื่นเป็นรักษาการผู้ว่าฯไม่ได้ นี่เป็นการบิดเบือนชัดๆ พรบ. รฟม. มาตรา 27 ระบุชัดเจนว่าให้รองผู้ว่าอาวุโสตามลำดับเป็นรักษาการผู้ว่าแทน หากปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ให้แต่งตั้งบอร์ดฯ เป็นรักษาการผู้ว่าฯได้ แสดงว่าไม่ใช่รองฯอาวุโสสูงสุดคนเดียวที่เป็นรักษาการผู้ว่าฯได้ส่วนคนอื่นเป็นไม่ได้ นี่มันตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯรัฐวิสาหกิจไม่ใช่ตำแหน่งผู้นำประเทศจากการเลือกตั้ง ผู้ใหญ่ในรัฐบาลรู้หมดกำลังจับตาดูขบวนการนี้ ทั้งพวกที่อยู่ใน รฟม. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกลุ่มเสนาธิการทหารที่มีผลประโยชน์แอบแฝง พวกนี้ทำงานเป็นขบวนการทั้งจ้องล้มสรรหาผู้ว่าฯ สร้างปัญหาในการคัดเลือกเอกชนลงทุนงานสัมปทานเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และงานอื่นๆใน รฟม. ทำให้งานสะดุดไปหมด และขบวนการนี้เกี่ยวกับการหาผลประโยชน์ในการประมูลระบบรถไฟฟ้าด้วย”
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ล่าสุดขบวนการนี้ไม่หยุดยังสร้างปัญหาอีก คราวนี้ถึงจ้องสร้างปัญหาให้กับองค์กรอีกต่อไป โดยมีกลุ่มคนนำเอาเรื่องงานที่ตนเองเสียประโยชน์ หรือเกี่ยวข้องกับบอร์ด รฟม. และนายพีระยุทธ ว่าที่ผู้ว่าฯคนใหม่ไปร้องเรียนกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่ามีการทุจริตและดำเนินการไม่ถูกต้อง โดยมุ่งไปที่การเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิม BMCLเพื่อเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายต่อเนื่องกับสายสีน้ำเงินช่วงแรก (เฉลิมรัชมงคล) ซึ่งบอร์ด รฟม.มีความเห็นว่าเป็นประโยชน์ควรเสนอคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ (คณะกรรมการมาตรา13) เร่งรัดพิจารณา และงานปรับปรุงสภาพดิน บริเวณสถานีสนามชัย งานก่อร้างโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สัญญาที่ 2 ที่ รฟม.เห็นชอบให้ผู้รับจ้างดำเนินการเป็นงานเพิ่มเติมเพื่อให้งานก่อสร้างมีความปลอดภัยเพียงพอไม่กระทบต่อประชาชนและพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
สำหรับบ ขบวนการนี้ไม่สนใจว่าประเทศชาติ เศรษฐกิจ และประชาชนจะเสียหายและเดือดร้อนแค่ไหน สร้างแต่ปัญหาอาศัยว่าเชี่ยวชาญด้านกฎหมายก็ไปสื่อสารและให้ข่าวกับสื่อมวลชนบางกลุ่มที่ สตง. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวาย โดย มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อล้มการสรรหาผู้ว่าฯ และทำให้งาน รฟม.สะดุดเพื่อดิสเครดิตรัฐบาลชุดนี้
ต้องจับตาดูว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหา กำจัดขบวนการที่คอยสกัดกั้นและทำลายระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาการขนส่งที่จะเกิดขึ้นนี้อย่างไร เพราะหากทิ้งไว้เช่นนี้ประเทศและประชาชนก็จะเสียหายเดือดร้อนมากขึ้นไปอีก ที่ผ่านมาบอร์ด รฟม.ก็ไม่กล้าดำเนินการขั้นเด็ดขาดเพราะมีกลุ่มคนพวกนี้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่ถึงขั้นนี้คงปล่อยไว้ไม่ได้
ล่าสุดมีข้อมูลว่ากระทรวงคมนาคมได้สั่งการบอร์ด รฟม.ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขั้นเด็ดขาดโดยด่วน และเร่งรัดงานต่างๆให้ขับเคลื่อนโดยเร็วเพราะผ่านมากว่า 8เดือนที่รัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารประเทศ กระทรวงคมนาคม และ รฟม.กลับไม่มีผลงานที่สำเร็จเป็นรูปธรรมจริงจัง
ผู้สื่อข่าวASTV รายงานว่า เมื่อวัน 20 ม.ค. 2558 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ในคดีที่ นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 4 ราย (นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์/ นายเพิ่มศักดิ์ สัจจะเวทะ / พลตรี พิเชษฐ คงศรี / นายสุนทร ทรัพย์ตันติกุล) เพื่อขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ 612/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯรฟม. และคณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทน พร้อมทั้งขอให้ศาลเพิกถอน ประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯรฟม.
ทั้งนี้ ศาลปกครองได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว เป็นขั้นตอนในการสรรหาผู้ว่าฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการ รฟม. พิจารณาเสนอต่อผู้มีอำนาจมีคำสั่งแต่งตั้งต่อไป ประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงยังไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีโดยตรง เป็นเพียงขั้นตอนภายในอันเป็นการพิจารณาทางปกครอง เพื่อเตรียมการและดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองต่อไปเท่านั้น ผู้ฟ้องคดีจึงยังไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการออกประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ดังกล่าว อันจะถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่อย่างใด ศาลปกครองจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และไม่จำเป็นต้องพิจารณาคำขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
แหล่งข่าวระดับสูงจากระทรวงคมนาคมเปิดเผย”ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ศาลปกครองกลางเร่งพิจารณาเรื่องนี้ให้ชัดเจนทั้งไม่รับคำฟ้องและไม่รับคุ้มครองชั่วคราวทำให้การสรรหาผู้ว่าฯรฟม. สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยคาดว่าจะนำเสนอครม.เห็นชอบแต่งตั้ง นายพีระยุทธ สิงหพัฒนากุล รองผู้ว่าฯรฟม.(วิศวกรรมและก่อสร้าง) เป็นผู้ว่าฯรฟม. ได้ในเดือนมกราคมนี้เพื่อขับเคลื่อน รฟม.โดยเร็วเพราะขณะนี้งานของ รฟม.ล่าช้ามามากแล้ว ประกอบกับมีขบวนการจ้องล้มการสรรหาผู้ว่าฯรฟม. มาโดยตลอดทำให้ รฟม.ได้รับความเสียหายมามากแล้ว ผู้ใหญ่ในรัฐบาลรู้ดีว่าขบวนการนี้มีใครอยู่เบื้องหลัง เพราะคนกลุ่มนี้ใช้วิธีการเดิมๆเหมือนที่ทำมาตลอดกว่า10ปีใน รฟม. ทำให้ รฟม.ไม่ก้าวหน้าจมอยู่ในวัฎจักรการฟ้องร้องกลั่นแกล้งกัน ท้ายสุดทำให้ประเทศชาติเสียหายและประชาชนเสียโอกาสที่จะมีรถไฟฟ้าใช้อย่างเต็มที่
“ศาลปกครองกลางตัดสินเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดีเพราะชี้ให้เห็นว่าการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.ดำเนินการโดยถูกต้อง ส่วนประเด็นคุณสมบัติผู้สมัครที่ต้องไม่เป็นผู้รักษาการผู้ว่าฯ รฟม.ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการสรรหาฯที่กำหนดให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครทุกราย ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร ไม่ว่าใครที่เป็นรักษาการผู้ว่ารฟม.หากอยากลงสมัครก็ทำได้ แค่ลาออกจากรักษาการผู้ว่าฯมาลงสมัคร ไม่ได้เป็นรักษาการผู้ว่าฯมันเดือดร้อนตรงไหน ตำแน่งนี้มันสำคัญมากนักหรือ รฟม.กำลังหาผู้ว่าฯไม่ใช่รักษาการผู้ว่าฯ แต่ได้สื่อสารว่าต้องรักษาการเพราะกฎหมายเขียนไว้เหมือนอดีตนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องรักษาการนายกฯตอนยุบสภาฯ ลาออกไม่ได้ ทำให้รักษาการผู้ว่าฯรฟม. ลาออกจากตำแหน่งไม่ได้เหมือนกันเพราะคนอื่นเป็นรักษาการผู้ว่าฯไม่ได้ นี่เป็นการบิดเบือนชัดๆ พรบ. รฟม. มาตรา 27 ระบุชัดเจนว่าให้รองผู้ว่าอาวุโสตามลำดับเป็นรักษาการผู้ว่าแทน หากปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ให้แต่งตั้งบอร์ดฯ เป็นรักษาการผู้ว่าฯได้ แสดงว่าไม่ใช่รองฯอาวุโสสูงสุดคนเดียวที่เป็นรักษาการผู้ว่าฯได้ส่วนคนอื่นเป็นไม่ได้ นี่มันตำแหน่งรักษาการผู้ว่าฯรัฐวิสาหกิจไม่ใช่ตำแหน่งผู้นำประเทศจากการเลือกตั้ง ผู้ใหญ่ในรัฐบาลรู้หมดกำลังจับตาดูขบวนการนี้ ทั้งพวกที่อยู่ใน รฟม. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกลุ่มเสนาธิการทหารที่มีผลประโยชน์แอบแฝง พวกนี้ทำงานเป็นขบวนการทั้งจ้องล้มสรรหาผู้ว่าฯ สร้างปัญหาในการคัดเลือกเอกชนลงทุนงานสัมปทานเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และงานอื่นๆใน รฟม. ทำให้งานสะดุดไปหมด และขบวนการนี้เกี่ยวกับการหาผลประโยชน์ในการประมูลระบบรถไฟฟ้าด้วย”
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ล่าสุดขบวนการนี้ไม่หยุดยังสร้างปัญหาอีก คราวนี้ถึงจ้องสร้างปัญหาให้กับองค์กรอีกต่อไป โดยมีกลุ่มคนนำเอาเรื่องงานที่ตนเองเสียประโยชน์ หรือเกี่ยวข้องกับบอร์ด รฟม. และนายพีระยุทธ ว่าที่ผู้ว่าฯคนใหม่ไปร้องเรียนกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่ามีการทุจริตและดำเนินการไม่ถูกต้อง โดยมุ่งไปที่การเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิม BMCLเพื่อเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายต่อเนื่องกับสายสีน้ำเงินช่วงแรก (เฉลิมรัชมงคล) ซึ่งบอร์ด รฟม.มีความเห็นว่าเป็นประโยชน์ควรเสนอคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ (คณะกรรมการมาตรา13) เร่งรัดพิจารณา และงานปรับปรุงสภาพดิน บริเวณสถานีสนามชัย งานก่อร้างโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สัญญาที่ 2 ที่ รฟม.เห็นชอบให้ผู้รับจ้างดำเนินการเป็นงานเพิ่มเติมเพื่อให้งานก่อสร้างมีความปลอดภัยเพียงพอไม่กระทบต่อประชาชนและพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
สำหรับบ ขบวนการนี้ไม่สนใจว่าประเทศชาติ เศรษฐกิจ และประชาชนจะเสียหายและเดือดร้อนแค่ไหน สร้างแต่ปัญหาอาศัยว่าเชี่ยวชาญด้านกฎหมายก็ไปสื่อสารและให้ข่าวกับสื่อมวลชนบางกลุ่มที่ สตง. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวาย โดย มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อล้มการสรรหาผู้ว่าฯ และทำให้งาน รฟม.สะดุดเพื่อดิสเครดิตรัฐบาลชุดนี้
ต้องจับตาดูว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหา กำจัดขบวนการที่คอยสกัดกั้นและทำลายระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาการขนส่งที่จะเกิดขึ้นนี้อย่างไร เพราะหากทิ้งไว้เช่นนี้ประเทศและประชาชนก็จะเสียหายเดือดร้อนมากขึ้นไปอีก ที่ผ่านมาบอร์ด รฟม.ก็ไม่กล้าดำเนินการขั้นเด็ดขาดเพราะมีกลุ่มคนพวกนี้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่ถึงขั้นนี้คงปล่อยไว้ไม่ได้
ล่าสุดมีข้อมูลว่ากระทรวงคมนาคมได้สั่งการบอร์ด รฟม.ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขั้นเด็ดขาดโดยด่วน และเร่งรัดงานต่างๆให้ขับเคลื่อนโดยเร็วเพราะผ่านมากว่า 8เดือนที่รัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารประเทศ กระทรวงคมนาคม และ รฟม.กลับไม่มีผลงานที่สำเร็จเป็นรูปธรรมจริงจัง