สนช.มีมติครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ไม่ตั้ง “ฤทธิเทพ” เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน เหตุจริยธรรมสวนทางความสามารถ มีรอยด่างเป็นเสียงเดียวไม่ยึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน ซ้ำแจงปัญหาจริยธรรม “แม้ว”ไม่เคลียร์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการพิจารณาผลการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้ได้รับการเสนอชื่อฯให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน หลังจากที่คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเสนอชื่อ ม.ล. ฤทธิเทพ เทวกุล อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน แทนนางผานิต นิติทัณฑ์ประภาส ที่พ้นจากวาระเนื่องจากอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ โดยที่ประชุมได้ประชุมลับตามข้อบังคับการประชุมข้อ 143 วรรคสอง ปรากฏว่าเมื่อเปิดการประชุม ประธานที่ประชุมได้ให้สมาชิกลงคะแนนว่าจะเห็นชอบกับที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมาหรือไม่ ซึ่งสมาชิกมีมติ 86 เสียง ต่อ 76 เสียง ไม่เห็นชอบ โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 20 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถือเป็นครั้งแรกที่เสียงส่วนใหญ่ของสนช.มีมติไม่ให้ความเห็นชอบกับการเสนอชื่อบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะในอดีตที่ผ่านมาการประชุมวุฒิสภาส่วนใหญ่จะให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมาทั้งสิ้น ทั้งนี้เมื่อที่ประชุมสนช.ไม่ให้ความเห็นชอบ ส่งผลให้ต้องดำเนินการเริ่มต้นกระบวนการสรรหาใหม่
สำหรับประวัติการทำงานปัจจุบัน ม.ล.ฤทธิเทพ เป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และเป็นอดีตผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย(8:1)ในศาลฎีกาแผนก คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่พิพากษาให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไม่มีความผิด ในคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน เมื่อปี 2553
แหล่งข่าวจากสนช. เปิดเผยว่า ในการประชุมลับสนช.มีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรเห็นชอบให้ม.ล.ฤทธิเทพ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากประสบการณ์ ความรู้ความสามารถในด้านโดดเด่น เหมาะสม และถึงแม้จะเป็น 1 เสียงที่ไม่เห็นควรยึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ก็มองว่าเป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจโดยอิสระในฐานะผู้พิพากษา ซึ่งตามรายงานของกรรมาธิการตรวจสอบประวัติก็ระบุถึงการให้ถ้อยคำของม.ล.ฤทธิเทพต่อกรณีดังกล่าวว่า เนื่องจากเห็นว่าคดีดังกล่าวนั้นเป็นคดีอาญา ไม่ใช่คดีแพ่ง ซึ่งในชั้นการพิจารณารับคำฟ้องที่องค์คณะมีมติเสียงข้างมากให้รับนั้น ตนเองก็เป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่รับ ดังนั้นเมื่อมาถึงชั้นของการวินิจฉัยเพื่อมีคำพิพากษา ก็จำต้องยืนตามความเห็นเดิม จึงเป็นเสียงเดียวที่ให้ยกฟ้อง ทางสมาชิกสนช.ก็เห็นว่าเป็นเหตุที่รับได้
อย่างไรก็ตามในส่วนสนช.ที่ไม่เห็นด้วยกลับมองในมุมของจริยธรรม คุณธรรมเป็นหลัก เนื่องจากบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญ 50 กำหนดให้มีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นหลัก ซึ่งในรายงานของกรรมาธิการตรวจสอบประวัติได้ระบุถึงการมีการสอบถามความเห็นของม.ล.ฤทธิเทพ ต่อกรณีการกระทำของพ.ต.ท.ทักษิณที่นำมาสู่การฟ้องคดีในศาลอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณกระทำการขัดต่อจริยธรรมหรือไม่ ซึ่งม.ล.ฤทธิเทพ ไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ จุดนี้ทำให้สนช. 86 เสียงเห็นว่าม.ล.ฤทธิเทพไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการพิจารณาผลการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้ได้รับการเสนอชื่อฯให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน หลังจากที่คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเสนอชื่อ ม.ล. ฤทธิเทพ เทวกุล อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน แทนนางผานิต นิติทัณฑ์ประภาส ที่พ้นจากวาระเนื่องจากอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ โดยที่ประชุมได้ประชุมลับตามข้อบังคับการประชุมข้อ 143 วรรคสอง ปรากฏว่าเมื่อเปิดการประชุม ประธานที่ประชุมได้ให้สมาชิกลงคะแนนว่าจะเห็นชอบกับที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมาหรือไม่ ซึ่งสมาชิกมีมติ 86 เสียง ต่อ 76 เสียง ไม่เห็นชอบ โดยมีสมาชิกงดออกเสียง 20 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถือเป็นครั้งแรกที่เสียงส่วนใหญ่ของสนช.มีมติไม่ให้ความเห็นชอบกับการเสนอชื่อบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะในอดีตที่ผ่านมาการประชุมวุฒิสภาส่วนใหญ่จะให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมาทั้งสิ้น ทั้งนี้เมื่อที่ประชุมสนช.ไม่ให้ความเห็นชอบ ส่งผลให้ต้องดำเนินการเริ่มต้นกระบวนการสรรหาใหม่
สำหรับประวัติการทำงานปัจจุบัน ม.ล.ฤทธิเทพ เป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และเป็นอดีตผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย(8:1)ในศาลฎีกาแผนก คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่พิพากษาให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไม่มีความผิด ในคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน เมื่อปี 2553
แหล่งข่าวจากสนช. เปิดเผยว่า ในการประชุมลับสนช.มีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรเห็นชอบให้ม.ล.ฤทธิเทพ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากประสบการณ์ ความรู้ความสามารถในด้านโดดเด่น เหมาะสม และถึงแม้จะเป็น 1 เสียงที่ไม่เห็นควรยึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ก็มองว่าเป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจโดยอิสระในฐานะผู้พิพากษา ซึ่งตามรายงานของกรรมาธิการตรวจสอบประวัติก็ระบุถึงการให้ถ้อยคำของม.ล.ฤทธิเทพต่อกรณีดังกล่าวว่า เนื่องจากเห็นว่าคดีดังกล่าวนั้นเป็นคดีอาญา ไม่ใช่คดีแพ่ง ซึ่งในชั้นการพิจารณารับคำฟ้องที่องค์คณะมีมติเสียงข้างมากให้รับนั้น ตนเองก็เป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่รับ ดังนั้นเมื่อมาถึงชั้นของการวินิจฉัยเพื่อมีคำพิพากษา ก็จำต้องยืนตามความเห็นเดิม จึงเป็นเสียงเดียวที่ให้ยกฟ้อง ทางสมาชิกสนช.ก็เห็นว่าเป็นเหตุที่รับได้
อย่างไรก็ตามในส่วนสนช.ที่ไม่เห็นด้วยกลับมองในมุมของจริยธรรม คุณธรรมเป็นหลัก เนื่องจากบทบาทหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญ 50 กำหนดให้มีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นหลัก ซึ่งในรายงานของกรรมาธิการตรวจสอบประวัติได้ระบุถึงการมีการสอบถามความเห็นของม.ล.ฤทธิเทพ ต่อกรณีการกระทำของพ.ต.ท.ทักษิณที่นำมาสู่การฟ้องคดีในศาลอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณกระทำการขัดต่อจริยธรรมหรือไม่ ซึ่งม.ล.ฤทธิเทพ ไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ จุดนี้ทำให้สนช. 86 เสียงเห็นว่าม.ล.ฤทธิเทพไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว