ASTVผู้จัดการรายวัน - ธปท.ปลื้มมีผู้สอบถามขอใบอนุญาตนาโนไฟแนนซ์ 14 ราย คาดอีก 2-3 สัปดาห์รู้รายชื่อผู้สมัครตัวจริง คาดให้เวลาภายใน 1 ปีปิดรับสมัคร ไม่จำกัดผู้ให้บริการ ยึดคุณสมบัติเป็นสำคัญ และกำหนดให้ปล่อยกู้ไม่เกิน 400 ล้านบาทในบริษัทแต่ละแห่ง มองลูกหนี้รายเก่าขอสินเชื่ออยู่แล้วไม่ควรได้รับบริการนี้ เพราะดอกเบี้ยแพงกว่าสินเชื่อทั่วไป
นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้สนใจสอบถามรายละเอียดการยื่นสมัครขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ (นาโนไฟแนนซ์) จำนวน 14 รายในเบื้องต้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์)ที่ประกอบธุรกิจอยู่ในปัจจุบันและมีนอนแบงก์รายใหม่บ้าง จึงคาดว่าในอีก 2 -3 สัปดาห์ขัางหน้าจะเริ่มทราบรายชื่อผู้สมัครบริการนาโนไฟแนนซ์ตัวจริง
ทั้งนี้ ธปท.เปิดรับสมัครบริการนาโนไฟแนนซ์ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.58 เป็นต้นไป และไม่จำกัดจำนวนผู้ให้บริการนาโนไฟแนนซ์ แต่พิจารณาคุณสมบัติผู้สมัครเป็นหลัก นอกจากนี้กำหนดให้นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จะขอใบอนุญาตดังกล่าวต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท มีอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) ไม่เกิน 7 เท่า หรือกำหนดให้บริษัทที่ให้บริการนี้ปล่อยสินเชื่อไม่เกิน 400 ล้านบาทในแต่ละแห่ง
สำหรับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ต้องการเน้นให้ผู้ประการรายใหม่ที่งบการเงินไม่สมบูรณ์ แต่ต้องการทำมาหากิน อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นทำธุรกิจมาระยะหนึ่งแล้วมองว่าควรเป็นลูกหนี้ได้รับสินเชื่อประเภทอื่นหรือสินเชื่อส่วนบุคคลทั่วไป คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 28% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะถูกกว่าสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่คิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมทุกประเภทรวมกันไม่เกิน 36%ต่อปี อีกทั้งในกรณีถูกผลักภาระให้ลูกหนี้ประเภทอื่นมาเป็นลูกหนี้นาโนไฟแนนซ์ ซึ่งได้รับดอกเบี้ยแพงกว่า ทางธปท.ยังเปิดช่องให้ลูกหนี้สามารถร้องเรียนได้
นิติบุคคลให้บริการนาโนไฟแนนซ์จะเข้าระบบบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัดหรือไม่เป็นเรื่องนโยบายต้องดูต่อไป ส่วนใหญ่ขึ้นกับความสมัครใจเป็นสำคัญ นอกจากนี้จากการสำรวจ ธปท.ล่าสุดเมื่อปี 56 พบว่ามีผู้ใช้เงินกู้นอกระบบเกือบ 6 แสนครัวเรือน เข้าไม่ถึงสินเชื่อสินเชื่อ 1.3 ล้านคน จึงมองว่าสินเชื่อประเภทนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพรายเล็กๆ สามารถนำเงินไประกอบอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาชีพตัวเอง เพิ่มรายได้ ถือเป็นประโยชน์ทั้งลูกหนี้ที่ใช้บริการนี้และประเทศชาติในระยะยาว
นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้สนใจสอบถามรายละเอียดการยื่นสมัครขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ (นาโนไฟแนนซ์) จำนวน 14 รายในเบื้องต้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์)ที่ประกอบธุรกิจอยู่ในปัจจุบันและมีนอนแบงก์รายใหม่บ้าง จึงคาดว่าในอีก 2 -3 สัปดาห์ขัางหน้าจะเริ่มทราบรายชื่อผู้สมัครบริการนาโนไฟแนนซ์ตัวจริง
ทั้งนี้ ธปท.เปิดรับสมัครบริการนาโนไฟแนนซ์ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.58 เป็นต้นไป และไม่จำกัดจำนวนผู้ให้บริการนาโนไฟแนนซ์ แต่พิจารณาคุณสมบัติผู้สมัครเป็นหลัก นอกจากนี้กำหนดให้นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จะขอใบอนุญาตดังกล่าวต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท มีอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) ไม่เกิน 7 เท่า หรือกำหนดให้บริษัทที่ให้บริการนี้ปล่อยสินเชื่อไม่เกิน 400 ล้านบาทในแต่ละแห่ง
สำหรับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ต้องการเน้นให้ผู้ประการรายใหม่ที่งบการเงินไม่สมบูรณ์ แต่ต้องการทำมาหากิน อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นทำธุรกิจมาระยะหนึ่งแล้วมองว่าควรเป็นลูกหนี้ได้รับสินเชื่อประเภทอื่นหรือสินเชื่อส่วนบุคคลทั่วไป คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 28% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะถูกกว่าสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่คิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมทุกประเภทรวมกันไม่เกิน 36%ต่อปี อีกทั้งในกรณีถูกผลักภาระให้ลูกหนี้ประเภทอื่นมาเป็นลูกหนี้นาโนไฟแนนซ์ ซึ่งได้รับดอกเบี้ยแพงกว่า ทางธปท.ยังเปิดช่องให้ลูกหนี้สามารถร้องเรียนได้
นิติบุคคลให้บริการนาโนไฟแนนซ์จะเข้าระบบบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัดหรือไม่เป็นเรื่องนโยบายต้องดูต่อไป ส่วนใหญ่ขึ้นกับความสมัครใจเป็นสำคัญ นอกจากนี้จากการสำรวจ ธปท.ล่าสุดเมื่อปี 56 พบว่ามีผู้ใช้เงินกู้นอกระบบเกือบ 6 แสนครัวเรือน เข้าไม่ถึงสินเชื่อสินเชื่อ 1.3 ล้านคน จึงมองว่าสินเชื่อประเภทนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพรายเล็กๆ สามารถนำเงินไประกอบอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาชีพตัวเอง เพิ่มรายได้ ถือเป็นประโยชน์ทั้งลูกหนี้ที่ใช้บริการนี้และประเทศชาติในระยะยาว