ASTVผู้จัดการรายวัน – ธปท.ออกประกาศแนวทางปฏิบัติให้ผู้ขอใบอนุญาต-แจงรายละเอียดถี่ยิบ ปลื้มมีผู้สนใจหลายรายสอบถาม มั่นใจช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เพิ่มโอกาสและพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ คาดรู้ผลการพิจารณาใบอนุญาตภายใน 60 วัน กำชับใช้ทุนตัวเองตั้งบริษัทไม่เกิน 7 เท่าของสัดส่วนผู้ถือหุ้น ห้ามโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง ป้องกันรบกวนลูกค้ามากเกินไป
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ออกประกาศเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ (นาโนไฟแนนซ์) ทั้งรายใหม่และรายเก่าที่ต้องการขอใบอนุญาตดังกล่าว ซึ่งนายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงินได้ลงนามในประกาศฉบับนี้และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รวมถึงส่งเสริมให้คุณภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
สาระสำคัญกำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้อนุญาตและให้ยื่นคำขอผ่านธปท.และสำนักงานภาคของธปท. โดยธปท.จะแจ้งผลการพิจารณาของคลังต่อผู้ประกอบธุรกิจภายใน 60 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ธปท.ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน อีกทั้งผู้ให้บริการต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และรักษาอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (debt to equity ratio) หรือมีเงินทุนของตัวเองในการประกอบธุรกิจไม่เกินกว่า 7 เท่า หรืออัตราเกินกว่าและธปท.ผ่อนผันให้ก็ต้องลดให้อยู่อัตราดังกล่าวภายใน 1 ปี หรือไม่เกินวันที่ 24 ม.ค.59
ธปท.ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันการรบกวนผู้บริโภคมากเกินไป โดยในวันธรรมสามารถติดต่อไดตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 น.และในวันหยุดติดต่อได้ในเวลา 8.00-18.00 น. แจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วันก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย แจ้งหนี้ที่ต้องชำระ ส่วนค้างชำระ และยังไม่ถึงกำหนด ซึ่งแยกเงินต้นและดอกเบี้ยไว้ในใบแจ้งชัดเจนอย่างน้อยเดือนละครั้ง หากมีการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการต่างๆ ต้องแจ้งให้ทราบภายใน 30 วัน
สำหรับแนวทางการให้สินเชื่อจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องการสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ ไม่มีหลักประกัน และวงเงินสินเชื่อแต่ละรายไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก อีกทั้งคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ รวมกันแล้วไม่เกิน 36%ต่อปี และผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่นำจำนวนหนี้ที่ค้างชำระมาคำนวณดอกเบี้ยและค่าปรับอีก
รวมถึงแจ้งรายละเอียด ณ สำนักงานทุกแห่งและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ และเมื่อย้ายสาขาต้องเป็นหนังสือถึงลูกค้าและต้องปิดประกาศ ณ สำนักงานทุกแห่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค ห้ามเปลี่ยนประเภทนี้ทั้งกรณีโอนลูกหนี้รายเก่าไปอยู่ในสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยบริการนาโนไฟแนนซ์ค่อนข้างสูง หรือผู้ขอสินเชื่อรายใหม่ที่มีความสามารถในการชำระหนี้หรือสามารถขอสินเชื่อประเภทอื่นที่ได้รับดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวยกเว้นเมื่อผู้บริโภคยินยอม รวมทั้งถ้าผู้ที่ได้รับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์อยู่แล้วมีความสามารถที่ดีขึ้นหรือปรับสินเชื่อประเภทอื่นได้ก็ต้องแจ้งและทำหนังสือยินยอมให้ผู้บริโภครับทราบ
ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการหลายรายที่สนใจและสอบถามการทำธุรกิจนาโนไฟแนนซ์มายัง ธปท. ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มีหลายบริษัทที่เตรียมการยื่นขอใบอนุญาต (ไลเซนส์) ทำนาโนไฟแนนซ์ ได้แก่ กลุ่มซีพี เครือสหพัฒน์ บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MTLS บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK เป็นต้น.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ออกประกาศเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย เพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ (นาโนไฟแนนซ์) ทั้งรายใหม่และรายเก่าที่ต้องการขอใบอนุญาตดังกล่าว ซึ่งนายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงินได้ลงนามในประกาศฉบับนี้และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ รวมถึงส่งเสริมให้คุณภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
สาระสำคัญกำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้อนุญาตและให้ยื่นคำขอผ่านธปท.และสำนักงานภาคของธปท. โดยธปท.จะแจ้งผลการพิจารณาของคลังต่อผู้ประกอบธุรกิจภายใน 60 วันทำการนับตั้งแต่วันที่ธปท.ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน อีกทั้งผู้ให้บริการต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และรักษาอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (debt to equity ratio) หรือมีเงินทุนของตัวเองในการประกอบธุรกิจไม่เกินกว่า 7 เท่า หรืออัตราเกินกว่าและธปท.ผ่อนผันให้ก็ต้องลดให้อยู่อัตราดังกล่าวภายใน 1 ปี หรือไม่เกินวันที่ 24 ม.ค.59
ธปท.ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันการรบกวนผู้บริโภคมากเกินไป โดยในวันธรรมสามารถติดต่อไดตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 น.และในวันหยุดติดต่อได้ในเวลา 8.00-18.00 น. แจ้งเตือนผู้บริโภคที่ผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20 วันก่อนดำเนินการบังคับชำระหนี้ตามกฎหมาย แจ้งหนี้ที่ต้องชำระ ส่วนค้างชำระ และยังไม่ถึงกำหนด ซึ่งแยกเงินต้นและดอกเบี้ยไว้ในใบแจ้งชัดเจนอย่างน้อยเดือนละครั้ง หากมีการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการต่างๆ ต้องแจ้งให้ทราบภายใน 30 วัน
สำหรับแนวทางการให้สินเชื่อจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องการสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ ไม่มีหลักประกัน และวงเงินสินเชื่อแต่ละรายไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก อีกทั้งคิดดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ รวมกันแล้วไม่เกิน 36%ต่อปี และผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่นำจำนวนหนี้ที่ค้างชำระมาคำนวณดอกเบี้ยและค่าปรับอีก
รวมถึงแจ้งรายละเอียด ณ สำนักงานทุกแห่งและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ และเมื่อย้ายสาขาต้องเป็นหนังสือถึงลูกค้าและต้องปิดประกาศ ณ สำนักงานทุกแห่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค ห้ามเปลี่ยนประเภทนี้ทั้งกรณีโอนลูกหนี้รายเก่าไปอยู่ในสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยบริการนาโนไฟแนนซ์ค่อนข้างสูง หรือผู้ขอสินเชื่อรายใหม่ที่มีความสามารถในการชำระหนี้หรือสามารถขอสินเชื่อประเภทอื่นที่ได้รับดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวยกเว้นเมื่อผู้บริโภคยินยอม รวมทั้งถ้าผู้ที่ได้รับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์อยู่แล้วมีความสามารถที่ดีขึ้นหรือปรับสินเชื่อประเภทอื่นได้ก็ต้องแจ้งและทำหนังสือยินยอมให้ผู้บริโภครับทราบ
ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการหลายรายที่สนใจและสอบถามการทำธุรกิจนาโนไฟแนนซ์มายัง ธปท. ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มีหลายบริษัทที่เตรียมการยื่นขอใบอนุญาต (ไลเซนส์) ทำนาโนไฟแนนซ์ ได้แก่ กลุ่มซีพี เครือสหพัฒน์ บริษัท เมืองไทย ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MTLS บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK เป็นต้น.