**หลังอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้อง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่คาดว่าจะยื่นฟ้องได้ในช่วงเดือนมีนาคม ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ได้ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการว่า ตอนนี้ยังไม่มีคำสั่งห้าม ยิ่งลักษณ์ เดินทางออกนอกประเทศ หลังจากที่หวั่นเกรงกันว่ายิ่งลักษณ์ อาจเดินทางออกต่างประเทศในช่วงนี้ตามรอยพี่ชาย
ยิ่งลักษณ์ คือบุคคลในบัญชีรายชื่อลำดับแรกๆ ที่คสช. มีคำสั่งเรียกไปรายงานตัวหลังรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค. 57 และในเอกสารที่ยิ่งลักษณ์ กรอกหลังรายงานตัวก็คือ หากจะเดินทางไปต่างประเทศ จะต้องแจ้งและขออนุญาตต่อคสช.ทุกครั้ง ซึ่งพบว่าหลังรัฐประหาร ยิ่งลักษณ์ ใช้สิทธิดังกล่าวประมาณ 1-2 ครั้ง เพื่อบินไปหาทักษิณ ชินวัตร ที่ต่างประเทศ
ดังนั้น การที่คสช.บอกยังไม่ได้ห้ามยิ่งลักษณ์ ออกนอกประเทศ ในความเป็นจริงแล้ว ก็คือเพราะยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ขอใช้สิทธิในช่วงนี้ จึงยังไม่รู้ว่า คสช.จะอนุญาตหรือไม่ เพราะหากดูจากข้อตกลง และเงื่อนไขที่ คสช. มีต่อยิ่งลักษณ์ ก็เพียงการจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศ แต่หาก คสช.มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่า ยิ่งลักษณ์ คือบุคคลต้องห้าม หรือบุคคลที่ต้องถูกจับตาเป็นพิเศษในช่วงก่อนที่จะตกเป็นจำเลยในชั้นศาลฎีกาฯ จึงมีคำสั่งห้ามออกนอกประเทศในทุกกรณี ถ้า คสช.มีคำสั่งแบบนี้ ก็จะทำให้ทุกฝ่ายเบาใจได้ว่า โอกาสที่ยิ่งลักษณ์จะหนีไปต่างประเทศ อย่างน้อยก็น่าจะมีน้อยลง
ถ้า ยิ่งลักษณ์คิดเผ่นไปจริงๆ คงทำได้สบาย เพราะต้องยอมรับเครือข่ายของ ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะพวกทหาร ตำรวจ พวกฝ่ายปกครอง ยังมีอยู่มากมายหลายจังหวัดทั่วประเทศ การช่วยเหลือให้ยิ่งลักษณ์ เดินทางออกจากประเทศไทยแบบไม่ได้ขออนุญาตคสช. ไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรง
**ขนาดพวกแกนนำพรรคเพื่อไทย–แกนนำนปช.–พวกล้มเจ้าทั้งหลายอย่าง จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ตั้ง อาชีวะ ยังหนีออกนอกประเทศไปได้ หลังรัฐประหาร แล้ว อดีตนายกฯอย่างยิ่งลักษณ์ ทำไมจะหนีไปไม่ได้ ถ้าคิดจะทำจริง !
แต่หากให้วิเคราะห์โอกาสที่ ยิ่งลักษณ์ จะหนีคดี ดูแล้ว คงไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ หรือไม่เกิดภายในปีนี้ แต่น่าจะเกิดหลังการต่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาฯเสร็จสิ้นลง และศาลได้นัดอ่านคำพิพากษา ที่ก็น่าจะอยู่ในช่วงประมาณต้นปีหน้า เว้นแต่การสืบพยานทั้งฝ่ายโจทก์ คืออัยการกับฝ่ายยิ่งลักษณ์ มีพยานนำสืบไม่มากนัก และการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การนัดอ่านคำพิพากษา ก็น่าจะเสร็จเร็วขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะเกิดภายในช่วงปลายปีนี้
เนื่องจากหากดูลำดับขั้นตอน เช่น การฟ้องคดีที่จะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม จากนั้นพอยื่นฟ้องแล้ว ก็ต้องให้ประธานศาลฏีกา เรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดภายใน 14 วัน เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือกผู้พิพากษาศาลฎีกามา 9 คน เป็นองค์คณะรับผิดชอบคดี จากนั้นองค์คณะฯ ก็จะมาประชุมกันอีก เพื่อพิจารณาว่าจะเปิดห้องพิจารณาคดี เพื่อนัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องคดีไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ โดยศาลก็จะพิจารณาจากรายละเอียดสำนวนฟ้อง ว่าอยู่ในอำนาจพิพากษาของศาลฎีกาฯ หรือไม่
**ที่ชัวร์แน่นอนคือ คดีนี้ศาลฎีกาฯ รับฟ้องอยู่แล้ว
จากนั้นพอศาลประทับรับฟ้อง การสู้คดีก็จะดำเนินไปเรื่อย ฝ่ายโจทย์และจำเลย ก็ต้องยื่นบัญชีรายชื่อพยานมาให้ศาลพิจารณา เชื่อว่าในส่วนของยิ่งลักษณ์ ทีมทนายความคงยื่นบัญชีรายชื่อพยานให้ศาลเรียกมาเบิกความให้มากที่สุด เพื่อให้การพิจารณาดำเนินไปแบบช้าๆ และฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ก็ไม่แน่ว่าจะได้ตามที่ต้องการ เช่น ขอยื่นไป 70 รายชื่อ ก็ใช่ว่าศาลจะเห็นชอบทั้งหมด เพราะองค์คณะฯ ก็ต้องดูความเหมาะสมว่าพยานมีความเกี่ยวข้องกับคดีมากน้อยแค่ไหน ก็อาจจะตัดออกไปบ้าง เหมือนเช่นทุกๆ คดี
ซึ่งเมื่อคดีเข้าสู่สารบบ ยิ่งลักษณ์ตกเป็นจำเลยแล้ว ดังนั้นหากยิ่งลักษณ์จะขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ ก็ต้องมาขอต่อศาลฏีกาฯ เป็นหลัก จนกว่าคดีจะสิ้นสุดมีคำพิพากษาออกมา ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่น่าเกินหนึ่งปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาคดีด้วย อาจจะเร็วขึ้น หรือช้าไปกว่าหนึ่งปี ก็ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้
จนเมื่อการสู้คดีเสร็จสิ้น องค์คณะของศาลฎีกาฯก็จะนัดอ่านคำพิพากษา
ทั้งนี้ตามระเบียบของศาลฏีกาฯ จำเลยอาจไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลฏีกาในการนัดอ่านคำพิพากษานัดแรกได้ แต่ก็ต้องแจ้งเหตุผลต่อศาลฏีกาฯให้ทราบด้วย เช่น หากบอกว่าป่วยหนัก ก็ต้องมีใบรับรองแพทย์มายืนยัน แต่หากศาลพิจารณาแล้ว เห็นว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี ก็จะออกหมายจับทันที และเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป แล้วก็กำหนดวันอ่านคำพิพากษานัดที่สอง ซึ่งการอ่านคำพิพากษาครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่มาปรากฏตัว ศาลก็จะอ่านคำพิพากษาทันที
**ช่วงที่ต้องจับตามองก็คือ เมื่อมีการนัดอ่านคำพิพากษา ครั้นพอถึงวันนัดหมาย ยิ่งลักษณ์ เธอจะมาตามนัด หรือจะหายเข้ากลีบเมฆ เพื่อไปตั้งหลักก่อน แล้วก็รอฟังผลคำพิพากษาในการอ่านคำพิพากษานัดที่สอง หากศาลยกฟ้อง หรือลงโทษในสถานเบา เช่น โทษปรับ หรือให้รอลงอาญา ก็อาจจะได้เห็น ยิ่งลักษณ์ เดินทางมารายงานตัวต่อศาลฏีกาฯ หลังจากนั้น
โดยวิธีการแบบนี้ ก็มีบางคนเคยใช้มาแล้ว เช่น คุณหญิงพจมาน ชินวัตร อดีตภริยา ทักษิณ ชินวัตร พี่สะใภ้ ยิ่งลักษณ์ เคยหนีไปต่างประเทศพร้อมกับ ทักษิณ ชินวัตร โดยไม่ยอมไปฟังการอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ เพื่อตั้งหลัก แล้วพอศาลฏีกาฯยกฟ้องคุณหญิงพจมาน แต่ตัดสินจำคุก ทักษิณ คุณหญิงพจมาน ก็เดินทางกลับไทย
ยิ่งลักษณ์จะทำแบบ ทักษิณ–พจมาน หรือไม่ แม้ยังเหลือเวลาอีกนาน แต่ก็ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
แต่นับจากนี้ โอกาสที่จะเดินทางออกนอกประเทศของ ยิ่งลักษณ์ โอกาสหมดไปแล้ว คสช.ไม่มีทางอนุญาตแน่นอน เพราะมันเสี่ยงสูงมาก หากให้ไปแล้วไม่กลับมา คสช. เละแน่ อีกทั้งหลายฝ่ายประเมินว่าโอกาสที่ ยิ่งลักษณ์ จะได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศในตอนที่ตกเป็นจำเลยในศาลฎีกาฯ ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะทุกฝ่ายเห็นตัวอย่างกรณี ทักษิณ มาแล้ว
**ยิ่งลักษณ์ ก็คงขอสู้คดีในชั้นศาลฎีกาฯ ให้เสร็จสิ้นหมดก่อน จนถึงวันที่ศาลนัดอ่านคำพิพากษาแล้วค่อยคิดหาทางอีกที ว่าจะเอาอย่างไร เพราะสำหรับยิ่งลักษณ์แล้ว มันเสี่ยงจริงๆ หากต้องไปปรากฏตัวที่ศาล ในวันนัดอ่านคำพิพากษา
ยิ่งลักษณ์ คือบุคคลในบัญชีรายชื่อลำดับแรกๆ ที่คสช. มีคำสั่งเรียกไปรายงานตัวหลังรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค. 57 และในเอกสารที่ยิ่งลักษณ์ กรอกหลังรายงานตัวก็คือ หากจะเดินทางไปต่างประเทศ จะต้องแจ้งและขออนุญาตต่อคสช.ทุกครั้ง ซึ่งพบว่าหลังรัฐประหาร ยิ่งลักษณ์ ใช้สิทธิดังกล่าวประมาณ 1-2 ครั้ง เพื่อบินไปหาทักษิณ ชินวัตร ที่ต่างประเทศ
ดังนั้น การที่คสช.บอกยังไม่ได้ห้ามยิ่งลักษณ์ ออกนอกประเทศ ในความเป็นจริงแล้ว ก็คือเพราะยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ขอใช้สิทธิในช่วงนี้ จึงยังไม่รู้ว่า คสช.จะอนุญาตหรือไม่ เพราะหากดูจากข้อตกลง และเงื่อนไขที่ คสช. มีต่อยิ่งลักษณ์ ก็เพียงการจำกัดการเดินทางออกนอกประเทศ แต่หาก คสช.มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่า ยิ่งลักษณ์ คือบุคคลต้องห้าม หรือบุคคลที่ต้องถูกจับตาเป็นพิเศษในช่วงก่อนที่จะตกเป็นจำเลยในชั้นศาลฎีกาฯ จึงมีคำสั่งห้ามออกนอกประเทศในทุกกรณี ถ้า คสช.มีคำสั่งแบบนี้ ก็จะทำให้ทุกฝ่ายเบาใจได้ว่า โอกาสที่ยิ่งลักษณ์จะหนีไปต่างประเทศ อย่างน้อยก็น่าจะมีน้อยลง
ถ้า ยิ่งลักษณ์คิดเผ่นไปจริงๆ คงทำได้สบาย เพราะต้องยอมรับเครือข่ายของ ทักษิณ ชินวัตร โดยเฉพาะพวกทหาร ตำรวจ พวกฝ่ายปกครอง ยังมีอยู่มากมายหลายจังหวัดทั่วประเทศ การช่วยเหลือให้ยิ่งลักษณ์ เดินทางออกจากประเทศไทยแบบไม่ได้ขออนุญาตคสช. ไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรง
**ขนาดพวกแกนนำพรรคเพื่อไทย–แกนนำนปช.–พวกล้มเจ้าทั้งหลายอย่าง จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ตั้ง อาชีวะ ยังหนีออกนอกประเทศไปได้ หลังรัฐประหาร แล้ว อดีตนายกฯอย่างยิ่งลักษณ์ ทำไมจะหนีไปไม่ได้ ถ้าคิดจะทำจริง !
แต่หากให้วิเคราะห์โอกาสที่ ยิ่งลักษณ์ จะหนีคดี ดูแล้ว คงไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ หรือไม่เกิดภายในปีนี้ แต่น่าจะเกิดหลังการต่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาฯเสร็จสิ้นลง และศาลได้นัดอ่านคำพิพากษา ที่ก็น่าจะอยู่ในช่วงประมาณต้นปีหน้า เว้นแต่การสืบพยานทั้งฝ่ายโจทก์ คืออัยการกับฝ่ายยิ่งลักษณ์ มีพยานนำสืบไม่มากนัก และการพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การนัดอ่านคำพิพากษา ก็น่าจะเสร็จเร็วขึ้น แต่ก็ไม่น่าจะเกิดภายในช่วงปลายปีนี้
เนื่องจากหากดูลำดับขั้นตอน เช่น การฟ้องคดีที่จะเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม จากนั้นพอยื่นฟ้องแล้ว ก็ต้องให้ประธานศาลฏีกา เรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดภายใน 14 วัน เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือกผู้พิพากษาศาลฎีกามา 9 คน เป็นองค์คณะรับผิดชอบคดี จากนั้นองค์คณะฯ ก็จะมาประชุมกันอีก เพื่อพิจารณาว่าจะเปิดห้องพิจารณาคดี เพื่อนัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องคดีไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ โดยศาลก็จะพิจารณาจากรายละเอียดสำนวนฟ้อง ว่าอยู่ในอำนาจพิพากษาของศาลฎีกาฯ หรือไม่
**ที่ชัวร์แน่นอนคือ คดีนี้ศาลฎีกาฯ รับฟ้องอยู่แล้ว
จากนั้นพอศาลประทับรับฟ้อง การสู้คดีก็จะดำเนินไปเรื่อย ฝ่ายโจทย์และจำเลย ก็ต้องยื่นบัญชีรายชื่อพยานมาให้ศาลพิจารณา เชื่อว่าในส่วนของยิ่งลักษณ์ ทีมทนายความคงยื่นบัญชีรายชื่อพยานให้ศาลเรียกมาเบิกความให้มากที่สุด เพื่อให้การพิจารณาดำเนินไปแบบช้าๆ และฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ก็ไม่แน่ว่าจะได้ตามที่ต้องการ เช่น ขอยื่นไป 70 รายชื่อ ก็ใช่ว่าศาลจะเห็นชอบทั้งหมด เพราะองค์คณะฯ ก็ต้องดูความเหมาะสมว่าพยานมีความเกี่ยวข้องกับคดีมากน้อยแค่ไหน ก็อาจจะตัดออกไปบ้าง เหมือนเช่นทุกๆ คดี
ซึ่งเมื่อคดีเข้าสู่สารบบ ยิ่งลักษณ์ตกเป็นจำเลยแล้ว ดังนั้นหากยิ่งลักษณ์จะขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศ ก็ต้องมาขอต่อศาลฏีกาฯ เป็นหลัก จนกว่าคดีจะสิ้นสุดมีคำพิพากษาออกมา ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่น่าเกินหนึ่งปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาคดีด้วย อาจจะเร็วขึ้น หรือช้าไปกว่าหนึ่งปี ก็ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้
จนเมื่อการสู้คดีเสร็จสิ้น องค์คณะของศาลฎีกาฯก็จะนัดอ่านคำพิพากษา
ทั้งนี้ตามระเบียบของศาลฏีกาฯ จำเลยอาจไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลฏีกาในการนัดอ่านคำพิพากษานัดแรกได้ แต่ก็ต้องแจ้งเหตุผลต่อศาลฏีกาฯให้ทราบด้วย เช่น หากบอกว่าป่วยหนัก ก็ต้องมีใบรับรองแพทย์มายืนยัน แต่หากศาลพิจารณาแล้ว เห็นว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี ก็จะออกหมายจับทันที และเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป แล้วก็กำหนดวันอ่านคำพิพากษานัดที่สอง ซึ่งการอ่านคำพิพากษาครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่มาปรากฏตัว ศาลก็จะอ่านคำพิพากษาทันที
**ช่วงที่ต้องจับตามองก็คือ เมื่อมีการนัดอ่านคำพิพากษา ครั้นพอถึงวันนัดหมาย ยิ่งลักษณ์ เธอจะมาตามนัด หรือจะหายเข้ากลีบเมฆ เพื่อไปตั้งหลักก่อน แล้วก็รอฟังผลคำพิพากษาในการอ่านคำพิพากษานัดที่สอง หากศาลยกฟ้อง หรือลงโทษในสถานเบา เช่น โทษปรับ หรือให้รอลงอาญา ก็อาจจะได้เห็น ยิ่งลักษณ์ เดินทางมารายงานตัวต่อศาลฏีกาฯ หลังจากนั้น
โดยวิธีการแบบนี้ ก็มีบางคนเคยใช้มาแล้ว เช่น คุณหญิงพจมาน ชินวัตร อดีตภริยา ทักษิณ ชินวัตร พี่สะใภ้ ยิ่งลักษณ์ เคยหนีไปต่างประเทศพร้อมกับ ทักษิณ ชินวัตร โดยไม่ยอมไปฟังการอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตที่ดินรัชดาฯ เพื่อตั้งหลัก แล้วพอศาลฏีกาฯยกฟ้องคุณหญิงพจมาน แต่ตัดสินจำคุก ทักษิณ คุณหญิงพจมาน ก็เดินทางกลับไทย
ยิ่งลักษณ์จะทำแบบ ทักษิณ–พจมาน หรือไม่ แม้ยังเหลือเวลาอีกนาน แต่ก็ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
แต่นับจากนี้ โอกาสที่จะเดินทางออกนอกประเทศของ ยิ่งลักษณ์ โอกาสหมดไปแล้ว คสช.ไม่มีทางอนุญาตแน่นอน เพราะมันเสี่ยงสูงมาก หากให้ไปแล้วไม่กลับมา คสช. เละแน่ อีกทั้งหลายฝ่ายประเมินว่าโอกาสที่ ยิ่งลักษณ์ จะได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศในตอนที่ตกเป็นจำเลยในศาลฎีกาฯ ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะทุกฝ่ายเห็นตัวอย่างกรณี ทักษิณ มาแล้ว
**ยิ่งลักษณ์ ก็คงขอสู้คดีในชั้นศาลฎีกาฯ ให้เสร็จสิ้นหมดก่อน จนถึงวันที่ศาลนัดอ่านคำพิพากษาแล้วค่อยคิดหาทางอีกที ว่าจะเอาอย่างไร เพราะสำหรับยิ่งลักษณ์แล้ว มันเสี่ยงจริงๆ หากต้องไปปรากฏตัวที่ศาล ในวันนัดอ่านคำพิพากษา