ASTVผู้จัดการรายวัน - ผลิตไฟฟ้าราชบุรีเตรียมเอ็มโอยูกับปตท.เพื่อร่วมมือในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าและคลังแอลเอ็นจีที่เมียนมาร์ รวมทั้งโรงไฟฟ้าป้อนในโครงการโรงกลั่นและโรงปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ที่เวียดนาม ยันเดินหน้าเจรจาขายไฟให้กับผู้ใช้ไฟรายอื่นที่ออสเตรเลีย หวังลุยสร้างโรงไฟฟ้าพลังลม 100เมกะวัตต์
แหล่งข่าวจากบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น(เอ็มโอยู)กับกลุ่มปตท.ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าและคลังแอลเอ็นจีร่วมกันในประเทศเมียนมาร์ และโครงการสาธารณูปโภคป้อนให้โรงกลั่นและปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ของกลุ่มปตท.ที่เวียดนามด้วย เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรในการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศและลดความเสี่ยงในการลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทฯเน้นที่จะขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าไปยังประเทศเมียนมาร์ โดยจะเข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่มะริด ขนาดกำลังการผลิต 2,600เมกะวัตต์ ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของชุมชน โดยมีผู้นำท้องถิ่นจากมะริดมาดูงานโรงไฟฟ้าบีแอลซีจีที่ใช้ถ่านหินนำเข้าเป็นเชื้อเพลิง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยองด้วย
คาดว่าโครงการดังกล่าวจะมีความชัดเจนในปี2558
นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ กำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ก็มีความคืบหน้าไปมากเช่นกัน คาดว่ามีความชัดเจนในปีนี้ อย่างไรก็ตาม หากโรงไฟฟ้าทั้ง 2โครงการในเมียนมาร์ยังคงไม่มีความคืบหน้าภายในปลายปีนี้ ก็อาจตัดสินใจไม่ลงทุน เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีความล่าช้าและเกิดค่าใช้จ่ายสูงจนกระทบต่อผลตอบแทนการลงทุนได้
“ทางปตท.มีแผนจะเข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มะริด ประเทศเมียนมาร์เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นคนละโครงการกับราชบุรีฯ แต่หากโครงการใดโครงการหนึ่งได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง เชื่อว่าอีกโครงการคงเกิดขึ้นไม่ได้ เนื่องจากอยู่ไม่ห่างกันนัก ดังนั้นก็คงต้องหารือกันว่าถ้าฝ่ายใดได้ลงทุนโรงไฟฟ้ามะริดก็จะดึงอีกฝ่ายเข้าไปร่วมถือหุ้นด้วย “
ส่วนการสร้างคลังแอลเอ็นจีในเมียนมาร์ ขนาด 5 ล้านตันนั้น ถือเป็นโครงการที่สร้างความมั่นคงว่ามีก๊าซธรรมชาติเพียงพอที่จะป้อนให้กับโรงไฟฟ้าในฝั่งตะวันตกของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ป้อนให้กับโรงไฟฟ้าในกลุ่มราชบุรีถึง 60% เนื่องจากปริมาณก๊าซในแหล่งเยตากุนเริ่มลดลง และโอกาสที่ไทยจะจัดหาก๊าซฯเพิ่มเติมจากเมียนมาร์ส่งมาที่ไทยทำได้ยากขึ้น
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการก๊าซฯจากแหล่งอื่นไปผสมกับแหล่งยาดานาเพื่อให้ได้ก๊าซฯที่มีคุณภาพเหมาะสมใช้ในโรงไฟฟ้าได้ โดยโครงการนี้ บริษัทฯจะถือหุ้นไม่เกิน 20% ส่วนที่เหลือทางปตท.จะเป็นผู้ถือหุ้น
แหล่งข่าว กล่าวต่อไปว่า ส่วนโครงการระบบสาธารณูปโภคเพื่อป้อนโรงกลั่นและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ของปตท.ที่เวียดนามนั้น ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาจากภาครัฐที่เวียดนาม โดยโครงการนี้ต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเม็ดเงินลงทุนสูงมาก ทำให้ต้องมีการเจรจากับสถาบันการเงินต่างประเทศและพันธมิตรธุรกิจ
โดยราชบุรีฯสนใจลงทุนเฉพาะโรงไฟฟ้าที่จะใช้ในโครงการดังกล่าว และพร้อมที่จะลงทุนทันทีเมื่อโครงการดังกล่าวเดินหน้าก่อสร้างได้
ส่วนความคืบหน้าการประมูลทำโรงไฟฟ้ากังหันลม 100เมกะวัตต์ ที่ออสเตรเลียนั้น ล่าสุด บริษัทไม่ได้รับเลือกให้เป็นผู้ลงทุน แต่ราชบุรีฯก็ยังเดินหน้าโครงการดังกล่าว โดยเจรจากับผู้ซื้อไฟฟ้ารายอื่นแทน เนื่องจากบริษัทฯได้รับใบอนุญาตให้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมได้แล้ว
แหล่งข่าวจากบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้น(เอ็มโอยู)กับกลุ่มปตท.ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าและคลังแอลเอ็นจีร่วมกันในประเทศเมียนมาร์ และโครงการสาธารณูปโภคป้อนให้โรงกลั่นและปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ของกลุ่มปตท.ที่เวียดนามด้วย เพื่อร่วมเป็นพันธมิตรในการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศและลดความเสี่ยงในการลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทฯเน้นที่จะขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าไปยังประเทศเมียนมาร์ โดยจะเข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่มะริด ขนาดกำลังการผลิต 2,600เมกะวัตต์ ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของชุมชน โดยมีผู้นำท้องถิ่นจากมะริดมาดูงานโรงไฟฟ้าบีแอลซีจีที่ใช้ถ่านหินนำเข้าเป็นเชื้อเพลิง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยองด้วย
คาดว่าโครงการดังกล่าวจะมีความชัดเจนในปี2558
นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ กำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ก็มีความคืบหน้าไปมากเช่นกัน คาดว่ามีความชัดเจนในปีนี้ อย่างไรก็ตาม หากโรงไฟฟ้าทั้ง 2โครงการในเมียนมาร์ยังคงไม่มีความคืบหน้าภายในปลายปีนี้ ก็อาจตัดสินใจไม่ลงทุน เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีความล่าช้าและเกิดค่าใช้จ่ายสูงจนกระทบต่อผลตอบแทนการลงทุนได้
“ทางปตท.มีแผนจะเข้าไปลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มะริด ประเทศเมียนมาร์เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นคนละโครงการกับราชบุรีฯ แต่หากโครงการใดโครงการหนึ่งได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง เชื่อว่าอีกโครงการคงเกิดขึ้นไม่ได้ เนื่องจากอยู่ไม่ห่างกันนัก ดังนั้นก็คงต้องหารือกันว่าถ้าฝ่ายใดได้ลงทุนโรงไฟฟ้ามะริดก็จะดึงอีกฝ่ายเข้าไปร่วมถือหุ้นด้วย “
ส่วนการสร้างคลังแอลเอ็นจีในเมียนมาร์ ขนาด 5 ล้านตันนั้น ถือเป็นโครงการที่สร้างความมั่นคงว่ามีก๊าซธรรมชาติเพียงพอที่จะป้อนให้กับโรงไฟฟ้าในฝั่งตะวันตกของไทย ซึ่งส่วนใหญ่ป้อนให้กับโรงไฟฟ้าในกลุ่มราชบุรีถึง 60% เนื่องจากปริมาณก๊าซในแหล่งเยตากุนเริ่มลดลง และโอกาสที่ไทยจะจัดหาก๊าซฯเพิ่มเติมจากเมียนมาร์ส่งมาที่ไทยทำได้ยากขึ้น
ดังนั้นจำเป็นต้องมีการก๊าซฯจากแหล่งอื่นไปผสมกับแหล่งยาดานาเพื่อให้ได้ก๊าซฯที่มีคุณภาพเหมาะสมใช้ในโรงไฟฟ้าได้ โดยโครงการนี้ บริษัทฯจะถือหุ้นไม่เกิน 20% ส่วนที่เหลือทางปตท.จะเป็นผู้ถือหุ้น
แหล่งข่าว กล่าวต่อไปว่า ส่วนโครงการระบบสาธารณูปโภคเพื่อป้อนโรงกลั่นและปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ของปตท.ที่เวียดนามนั้น ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาจากภาครัฐที่เวียดนาม โดยโครงการนี้ต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเม็ดเงินลงทุนสูงมาก ทำให้ต้องมีการเจรจากับสถาบันการเงินต่างประเทศและพันธมิตรธุรกิจ
โดยราชบุรีฯสนใจลงทุนเฉพาะโรงไฟฟ้าที่จะใช้ในโครงการดังกล่าว และพร้อมที่จะลงทุนทันทีเมื่อโครงการดังกล่าวเดินหน้าก่อสร้างได้
ส่วนความคืบหน้าการประมูลทำโรงไฟฟ้ากังหันลม 100เมกะวัตต์ ที่ออสเตรเลียนั้น ล่าสุด บริษัทไม่ได้รับเลือกให้เป็นผู้ลงทุน แต่ราชบุรีฯก็ยังเดินหน้าโครงการดังกล่าว โดยเจรจากับผู้ซื้อไฟฟ้ารายอื่นแทน เนื่องจากบริษัทฯได้รับใบอนุญาตให้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมได้แล้ว