”
ASTVผู้จัดการรายวัน – ราชบุรีจับมือปตท.ลุยลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในอาเซียน แย้มสนใจลงทุนโครงการระบบสาธารณูปโภคป้อนโครงการโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรของกลุ่มปตท.ที่เวียดนาม รวมทั้งจะดึงปตท.เข้าร่วมในโครงการโรงไฟฟ้ามะริดที่เมียนมาร์หากชนะประมูลด้วย
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทมีความร่วมมือกับปตท.ในการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยได้เจรจาให้ปตท.เข้ามาร่วมถือหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าปากเหมืองถ่านหินขนาด 600 เมกะวัตต์ที่เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ที่มะริด ขนาด 2,640 เมกะวัตต์ ประเทศเมียนมาร์นั้น ทางปตท.ร่วมกับพันธมิตรได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับการไฟฟ้าของเมียนมาร์เช่นเดียวกับบริษัทฯที่จับมือกับ บลู เอนเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ และบริษัทท้องถิ่น ดังนั้นหากรัฐบาลเมียนมาร์เลือกผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้า ก็อาจจะชักชวนอีกฝ่ายเข้ามาร่วมทุนด้วย
“ที่ผ่านมา บริษัทได้จับมือกับปตท.ในการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ มีเพียงโครงการโรงไฟฟ้ามะริด เพียงโครงการเดียวที่ไม่ได้ร่วมมือกัน เพราะไม่ได้มีการหารือกันมาตั้งแต่ต้น ซึ่งโครงการนี้อยู่หว่างทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ดังนั้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เลือกให้เป็นผู้ดำเนินการก็อาจจะดึงอีกฝ่ายเข้าร่วมทุนด้วย แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากพันธมิตรร่วมทุนเสียก่อน”
นอกจากนี้ บริษัทฯยังสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนโครงการผลิตสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้า น้ำและบำบัดน้ำเสียในโครงการการกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรของกลุ่มปตท.ที่ประเทศเวียดนาม มูลค่าเงินลงทุน 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการนี้จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 500 เมกะวัตต็เพื่อป้อนในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่ บริเวณเขตเศรษฐกิจ Nhon Hoi จังหวัดบินดินห์
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาจากรัฐบาลเวียดนามหลังจากปตท.ได้ยื่นผลการศึกษาไปแล้ว ล่าสุดรัฐบาลเวียดนามเตรียมที่จะออกใบอนุญาตสร้างโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ดังกล่าวให้กับปตท.และพันธมิตรร่วมทุน คือ ซาอุดิอารัมโก (Saudi Aramco)ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกในต้นปี 2558
โดยโครงการโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรที่เวียดนาม ประกอบด้วย โรงกลั่นน้ำมันขนาด 4 แสนบาร์เรล/วัน และปิโตรเคมี 5 ล้านตัน/ปี กลุ่ม ปตท. ถือหุ้น 40% ซาอุดิ อารัมโก ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลก 40% และเวียดนาม 20% โดยราชบุรีฯสนใจลงทุนเฉพาะยูทิลิตี้เท่านั้น
ส่วนโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงขนาด 200เมกะวัตต์ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์นั้น บริษัทฯตัดสินใจไม่ยื่นประมูลสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว หลังจากพิจารณาพบว่ามีความเสี่ยงหลายเรื่องทั้งคุณภาพก๊าซฯที่รัฐบาลไม่การันตี ความถี่ไฟฟ้าของระบบมีความผันผวนสูงและอื่นๆ จึงไม่คุ้มการลงทุน อย่างไรก็ตาม
หากโครงการดังกล่าวมีการแก้ไขเงื่อนไขต่างๆเพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุน ก็อาจจะกลับมาพิจารณาใหม่ได้ แต่เท่าที่ทราบ มีบางบริษัทฯได้ยื่นประมูลสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว
ก่อนหน้านี้ ราชบุรีฯได้ร่วมทุนกับปตท.ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่นที่นิคมฯนวนคร และร่วมทุนทำคลังแอลเอ็นจี (LNG Terminal) เฟส 3 ขนาด 5 ล้านตัน ตั้งอยู่ในประเทศเมียนมาร์ เพื่อทดแทนก๊าซจากแหล่งเยตากุน และยาดานาที่สัญญาใกล้หมดอายุ และเชื่อว่ารัฐบาลเมียนมาร์จะไม่ต่อสัญญา อีกทั้งคุณภาพก๊าซจากทั้งสองแหล่งมีความผันผวน การตั้งคลังแอลเอ็นจี
จะป้อนให้กับโรงไฟฟ้ากลุ่มราชบุรีฯ
ASTVผู้จัดการรายวัน – ราชบุรีจับมือปตท.ลุยลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในอาเซียน แย้มสนใจลงทุนโครงการระบบสาธารณูปโภคป้อนโครงการโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรของกลุ่มปตท.ที่เวียดนาม รวมทั้งจะดึงปตท.เข้าร่วมในโครงการโรงไฟฟ้ามะริดที่เมียนมาร์หากชนะประมูลด้วย
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทมีความร่วมมือกับปตท.ในการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ โดยได้เจรจาให้ปตท.เข้ามาร่วมถือหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าปากเหมืองถ่านหินขนาด 600 เมกะวัตต์ที่เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ที่มะริด ขนาด 2,640 เมกะวัตต์ ประเทศเมียนมาร์นั้น ทางปตท.ร่วมกับพันธมิตรได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับการไฟฟ้าของเมียนมาร์เช่นเดียวกับบริษัทฯที่จับมือกับ บลู เอนเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ และบริษัทท้องถิ่น ดังนั้นหากรัฐบาลเมียนมาร์เลือกผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้า ก็อาจจะชักชวนอีกฝ่ายเข้ามาร่วมทุนด้วย
“ที่ผ่านมา บริษัทได้จับมือกับปตท.ในการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าในต่างประเทศ มีเพียงโครงการโรงไฟฟ้ามะริด เพียงโครงการเดียวที่ไม่ได้ร่วมมือกัน เพราะไม่ได้มีการหารือกันมาตั้งแต่ต้น ซึ่งโครงการนี้อยู่หว่างทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ดังนั้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เลือกให้เป็นผู้ดำเนินการก็อาจจะดึงอีกฝ่ายเข้าร่วมทุนด้วย แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากพันธมิตรร่วมทุนเสียก่อน”
นอกจากนี้ บริษัทฯยังสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนโครงการผลิตสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้า น้ำและบำบัดน้ำเสียในโครงการการกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรของกลุ่มปตท.ที่ประเทศเวียดนาม มูลค่าเงินลงทุน 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการนี้จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 500 เมกะวัตต็เพื่อป้อนในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่ บริเวณเขตเศรษฐกิจ Nhon Hoi จังหวัดบินดินห์
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาจากรัฐบาลเวียดนามหลังจากปตท.ได้ยื่นผลการศึกษาไปแล้ว ล่าสุดรัฐบาลเวียดนามเตรียมที่จะออกใบอนุญาตสร้างโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ดังกล่าวให้กับปตท.และพันธมิตรร่วมทุน คือ ซาอุดิอารัมโก (Saudi Aramco)ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกในต้นปี 2558
โดยโครงการโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรที่เวียดนาม ประกอบด้วย โรงกลั่นน้ำมันขนาด 4 แสนบาร์เรล/วัน และปิโตรเคมี 5 ล้านตัน/ปี กลุ่ม ปตท. ถือหุ้น 40% ซาอุดิ อารัมโก ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลก 40% และเวียดนาม 20% โดยราชบุรีฯสนใจลงทุนเฉพาะยูทิลิตี้เท่านั้น
ส่วนโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงขนาด 200เมกะวัตต์ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์นั้น บริษัทฯตัดสินใจไม่ยื่นประมูลสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว หลังจากพิจารณาพบว่ามีความเสี่ยงหลายเรื่องทั้งคุณภาพก๊าซฯที่รัฐบาลไม่การันตี ความถี่ไฟฟ้าของระบบมีความผันผวนสูงและอื่นๆ จึงไม่คุ้มการลงทุน อย่างไรก็ตาม
หากโครงการดังกล่าวมีการแก้ไขเงื่อนไขต่างๆเพื่อเอื้อให้เกิดการลงทุน ก็อาจจะกลับมาพิจารณาใหม่ได้ แต่เท่าที่ทราบ มีบางบริษัทฯได้ยื่นประมูลสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวแล้ว
ก่อนหน้านี้ ราชบุรีฯได้ร่วมทุนกับปตท.ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่นที่นิคมฯนวนคร และร่วมทุนทำคลังแอลเอ็นจี (LNG Terminal) เฟส 3 ขนาด 5 ล้านตัน ตั้งอยู่ในประเทศเมียนมาร์ เพื่อทดแทนก๊าซจากแหล่งเยตากุน และยาดานาที่สัญญาใกล้หมดอายุ และเชื่อว่ารัฐบาลเมียนมาร์จะไม่ต่อสัญญา อีกทั้งคุณภาพก๊าซจากทั้งสองแหล่งมีความผันผวน การตั้งคลังแอลเอ็นจี
จะป้อนให้กับโรงไฟฟ้ากลุ่มราชบุรีฯ