ASTVผู้จัดการรายวัน - ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ จีบปตท.ถือหุ้น 40%ในโครงการโรงไฟฟ้าปากเหมืองที่เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ ขนาดกำลังผลิต 600เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 4-5 หมื่นล้านบาท เตรียมเสนอบอร์ดชี้ขาดยื่นประมูลโรงไฟฟ้าที่มัณฑะเลย์ ขนาด 200 เมกะวัตต์ หลังพบมีความเสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนการลงทุนแค่ 12%
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าจะได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA) โครงการโรงไฟฟ้าปากเหมืองถ่านหินขนาด 600 เมกะวัตต์ที่เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ภายใน1-2เดือนข้างหน้านี้ หลังจากบริษัท ได้ส่งผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวต่อรัฐบาลเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา คาดว่าโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุน 4-5 หมื่นล้านบาท และผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2562-2563
โครงการนี้จะคล้ายกับโรงไฟฟ้าหงสา ที่สปป.ลาว เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าปากเหมือง ที่ต้องมีการเปิดเหมืองเพื่อนำถ่านหินลิกไนต์มาป้อนให้กับโรงไฟฟ้าดังกล่าว คาดว่าในปีหน้าจะดำเนินการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างและแหล่งเงินกู้ ไปพร้อมกับเจรจาขายไฟฟ้าให้ไทย เบื้องต้นจะขายไฟให้ไทยประมาณ 400 เมกะวัตต์ ที่เหลือจะเป็นการขายไฟฟ้าที่เชียงตุงและพื้นที่ใกล้เคียงโดยไฟฟ้าที่เสนอขายให้เมียนมาร์นั้นอาจปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหากความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคต
นายพงษ์ดิษฐ กล่าวต่อไปว่า โครงการนี้ บริษัทฯจะถือหุ้น 55% บริษัท ลำพูนดำ ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานเหมืองถ่านหินดังกล่าว ถือหุ้น 5% และอยู่ระหว่างเจรจาให้ปตท. เข้ามาถือหุ้นในโครงการดังกล่าว 40% ซึ่งปตท.ก็สนใจที่จะเข้ามาร่วมทุน โดยจะถือหุ้นในนามบริษัทลูกปตท.
นอกจากนี้ บริษัทฯยังสนใจลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงขนาดกำลังผลิต 200 เมกะวัตต์ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ หลังจากผ่านการพิจารณาคัดเลือกในรอบแรกเป็นอันดับ 2 จาก 8 ราย โดยในปลายเดือนต.ค.นี้กำหนดให้จะยื่นเสนอรายละเอียดค่าไฟฟ้าเป็นครั้งสุดท้าย และคาดว่าจะรู้ผลผู้ชนะประมูลในปลายเดือนพ.ย. นี้
อย่างไรก็ตาม ในเร็วๆนี้ จะเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯว่าจะยื่นประมูลโครงการดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงหลายเรื่อง ทั้งคุณภาพก๊าซฯที่รัฐบาลไม่ได้การันตีทำให้มีความเสี่ยงในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้ง ความถี่ไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าที่ผันผวนสูงในเมียนมาร์ ทำให้โรงไฟฟ้ามีโอกาสต้องหยุดเครื่องได้ และการจัดหาแหล่งเงินกู้ ที่ทำได้ยาก
หรือมีต้นทุนทางการเงินที่สูง เมื่อเทียบกับผลตอบแทนการลงทุน (IRR)อยู่ที่ 12-13% ซึ่งไม่สูงมากนักเมื่อเทียบความเสี่ยงทางธุรกิจ
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มะริด ประเทศเมียนมาร์ ขนาด 2.64 พันเมกะวัตต์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้โครงการ 9 เดือนหลังจากนั้นจะประมูลการก่อสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งการเจรจาขายไฟฟ้าให้ไทย 2 พันเมกะวัตต์ในปีถัดไป คาดว่าใช้เงินลงทุนในการพัฒนาโครงการ 1.70
แสนล้านบาทใช้ถ่านหินนำเข้าจากอินโดนีเซียเป็นเชื้อเพลิง คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์เฟสแรก 1 พันเมกะวัตต์ในปี 2563 และเฟสถัดไปที่เหลือในปี 2564
โครงการนี้ บริษัทฯ ถือหุ้น 45% ที่เหลือเป็นการถือหุ้นของพันธมิตรทั้ง 3 ราย คือ บริษัท บลู เอนเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด, Vantage Company Limited (Myanmar) และ Kyaw Kyaw Phyo Company Limited (Myanmar)
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าจะได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA) โครงการโรงไฟฟ้าปากเหมืองถ่านหินขนาด 600 เมกะวัตต์ที่เชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ภายใน1-2เดือนข้างหน้านี้ หลังจากบริษัท ได้ส่งผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวต่อรัฐบาลเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา คาดว่าโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุน 4-5 หมื่นล้านบาท และผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2562-2563
โครงการนี้จะคล้ายกับโรงไฟฟ้าหงสา ที่สปป.ลาว เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าปากเหมือง ที่ต้องมีการเปิดเหมืองเพื่อนำถ่านหินลิกไนต์มาป้อนให้กับโรงไฟฟ้าดังกล่าว คาดว่าในปีหน้าจะดำเนินการจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างและแหล่งเงินกู้ ไปพร้อมกับเจรจาขายไฟฟ้าให้ไทย เบื้องต้นจะขายไฟให้ไทยประมาณ 400 เมกะวัตต์ ที่เหลือจะเป็นการขายไฟฟ้าที่เชียงตุงและพื้นที่ใกล้เคียงโดยไฟฟ้าที่เสนอขายให้เมียนมาร์นั้นอาจปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหากความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอนาคต
นายพงษ์ดิษฐ กล่าวต่อไปว่า โครงการนี้ บริษัทฯจะถือหุ้น 55% บริษัท ลำพูนดำ ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานเหมืองถ่านหินดังกล่าว ถือหุ้น 5% และอยู่ระหว่างเจรจาให้ปตท. เข้ามาถือหุ้นในโครงการดังกล่าว 40% ซึ่งปตท.ก็สนใจที่จะเข้ามาร่วมทุน โดยจะถือหุ้นในนามบริษัทลูกปตท.
นอกจากนี้ บริษัทฯยังสนใจลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิงขนาดกำลังผลิต 200 เมกะวัตต์ที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ หลังจากผ่านการพิจารณาคัดเลือกในรอบแรกเป็นอันดับ 2 จาก 8 ราย โดยในปลายเดือนต.ค.นี้กำหนดให้จะยื่นเสนอรายละเอียดค่าไฟฟ้าเป็นครั้งสุดท้าย และคาดว่าจะรู้ผลผู้ชนะประมูลในปลายเดือนพ.ย. นี้
อย่างไรก็ตาม ในเร็วๆนี้ จะเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯว่าจะยื่นประมูลโครงการดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังมีความเสี่ยงหลายเรื่อง ทั้งคุณภาพก๊าซฯที่รัฐบาลไม่ได้การันตีทำให้มีความเสี่ยงในการผลิตไฟฟ้า รวมทั้ง ความถี่ไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าที่ผันผวนสูงในเมียนมาร์ ทำให้โรงไฟฟ้ามีโอกาสต้องหยุดเครื่องได้ และการจัดหาแหล่งเงินกู้ ที่ทำได้ยาก
หรือมีต้นทุนทางการเงินที่สูง เมื่อเทียบกับผลตอบแทนการลงทุน (IRR)อยู่ที่ 12-13% ซึ่งไม่สูงมากนักเมื่อเทียบความเสี่ยงทางธุรกิจ
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มะริด ประเทศเมียนมาร์ ขนาด 2.64 พันเมกะวัตต์นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้โครงการ 9 เดือนหลังจากนั้นจะประมูลการก่อสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งการเจรจาขายไฟฟ้าให้ไทย 2 พันเมกะวัตต์ในปีถัดไป คาดว่าใช้เงินลงทุนในการพัฒนาโครงการ 1.70
แสนล้านบาทใช้ถ่านหินนำเข้าจากอินโดนีเซียเป็นเชื้อเพลิง คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์เฟสแรก 1 พันเมกะวัตต์ในปี 2563 และเฟสถัดไปที่เหลือในปี 2564
โครงการนี้ บริษัทฯ ถือหุ้น 45% ที่เหลือเป็นการถือหุ้นของพันธมิตรทั้ง 3 ราย คือ บริษัท บลู เอนเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด, Vantage Company Limited (Myanmar) และ Kyaw Kyaw Phyo Company Limited (Myanmar)