ASTVผู้จัดการรายวัน-"ธีระชัย"โพสต์เฟซ จับคู่ "ณรงค์ชัย-ภาคประชาชน" ซัดกันหมัดต่อหมัด เปิดสัมปทานรอบที่ 21 ใครของปลอม ใครของจริง หลังรมว.พลังงานงัดสารพัดเหตุผลมาอ้างจำเป็นต้องเปิดสัมปทานรอบใหม่ ขณะที่ภาคประชาชนสามารถนำหลักฐานมาหักล้างได้ทุกข้อ ด้าน ส.อ.ท. หนุนเปิดสัมปทานปิโตรเลียม แต่มีเงื่อนไขต้องตรวจสอบได้ เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (21 ม.ค.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า รมว.พลังงาน ดร ณรงค์ชัย อัครเศรณี ได้เขียนในเฟซบุคของท่าน 5 ข้อเหตุผลที่กระทรวงจะเดินหน้าปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทาน แต่ภาคประชาชนที่มีความรู้โต้แย้งว่าข้อมูลและวิธีคิดของ รมว. ไม่ถูกต้อง ผมจึงนำมาให้ผู้อ่านพิจารณา ทั้งนี้ ผมไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลของทั้งสองฝ่ายครับ
โดยข้อ ดร.ณรงค์ชัยเขียนว่า 1.เราผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันได้น้อยลงทุกวัน เพราะแหล่งผลิตใหม่ที่ดี ไม่มี และเราใช้มาก ปริมาณการผลิตลดลงมา 2 ปีแล้ว ทำให้อัตราการนำเข้าต่อการใช้ปี 2557 เท่ากับ 57% และจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ กลุ่มพลังงานปิโตรเลียม เรานำเข้ามูลค่า มากกว่าส่งออก สุทธิคือ 1 ล้านล้านบาทที่เราต้องจ่าย (นำเข้า 1.4 ล้านล้านบาท ส่งออก 4 แสนล้านบาท ที่มีทั้งส่งออกและนำเข้า เพราะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีหลากหลายประเภท) เฉพาะก๊าซธรรมชาติ เวลานี้ใช้เฉลี่ยวันละ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต ของเรากับที่ร่วมกับมาเลเซีย ประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต นอกนั้น นำเข้าจากพม่าและจากตะวันออกกลางในรูป LNG และยังต้องนำเข้า LPG อีกด้วย
ภาคประชาชนแย้งว่า1.ตัวเลขนำเข้าต่อการใช้ ในส่วนการใช้นั้น มิใช่เฉพาะคนไทยใช้อย่างที่เข้าใจ แต่รวมการส่งออกไปขายให้ต่างชาติใช้ด้วย และเป็นการเอาตัวเลขก๊าซรวมกับน้ำมัน ทำให้สับสน แต่ความจริงแล้ว เรานำเข้าก๊าซเพียง 20% ของการใช้ ลดลงจาก 27% ในปี 2549 (ผมอธิบายเพิ่มว่า ตัวเลขของ ดร ณรงค์ชัย คือ 57% และจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ) การผลิตก๊าซในประเทศรวมแหล่ง JDA เท่ากับ 4,084 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน ไม่ใช่ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน
2.การเปิดสำรวจในรอบที่ผ่านๆ มา มีการพบน้ำมันและหรือก๊าซธรรมชาติน้อย เช่น ใน 3 รอบสุดท้าย คือรอบ 18 (ปี 2543) รอบ 19 (ปี 2548) และรอบ 20 (ปี 2550) มีการพบสำรองที่ผลิตได้เพียง 4% ของที่พบเป็นสำรองแล้วในรอบกว่า 30 ปี ทำให้เราจะมีน้ำมันและก๊าซฯ ใช้อีกประมาณ 7 ปี ถ้าไม่มีการพบสำรองที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น สรุปคือ การพบแหล่งปิโตรเลียมใหม่ที่เป็นกอบเป็นกำแทบไม่มีเลย
ภาคประชาชนแย้งว่า ที่อ้างว่า มีการพบสำรองที่ผลิตได้น้อยนั่นไม่เหมาะสม เนื่องสัมปทานรอบ 19 (ปี 2548) เพิ่งเข้าสู่ช่วงผลิตในปีนี้ ส่วนรอบ 20 (ปี 2550) ยังอยู่ในช่วงพัฒนา จึงยังไม่ควรรวมเข้ามา และที่สำคัญรัฐยังอนุญาติให้นำปิโตรเลียมส่งออกไปเพื่อการวิจัย ซึ่งจะไม่ปรากฎในรายงานปริมาณการผลิตอีกด้วย
3.เราใช้ก๊าซธรรมชาติมาผลิตพลังงานไฟฟ้ามาก เพราะสะอาดและประหยัด ปี 2557 ไฟฟ้าที่เราผลิตทั้งปี จำนวนประมาณ180,000 Gigawatts (พันล้านหน่วย) มาจากก๊าซธรรมชาติ 67% คิดเป็นปริมาณก๊าซฯ ที่ใช้ประมาณ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ต้นทุนค่าไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติประมาณ 3.26-3.63 บาทต่อหน่วย เทียบกับค่าเฉลี่ย 3.06 บาท คือสูงกว่าต้นทุนไฟฟ้าจากพลังน้ำและจากถ่านหิน แต่ต่ำกว่าพลังงานอื่นๆอยู่ประมาณ 2 บาท
ภาคประชาชนแย้งว่า ความต้องการใช้ก๊าซ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี เพื่อผลิตไฟฟ้านั้น แต่จากข้อมูลกระทรวงพลังงานเองพบว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตเกินพอ คือ ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 4,084 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน หรือ 1.49 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ซึ่งมากกว่าความต้องการผลิตไฟฟ้าถึง 50% (ผมอธิบายเพิ่มว่า ข้อมูลของ ดร.ณรงค์ชัย ทำให้เข้าใจไปว่าไทยผลิตก๊าซได้เพียง 67% ของปริมาณที่ใช้ผลิตไฟฟ้า) ดังนั้น การที่ก๊าซธรรมชาติไม่พอเพียงในการผลิตไฟฟ้า สาเหตุมาจากการจัดสรรก๊าซที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โดยจัดสรรให้ธุรกิจปิโตรเคมีในปริมาณมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาหลายปี ใช่หรือไม่
4.ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในประเทศ มีสูตรที่อิงกับราคาน้ำมันเตา ปรับด้วยค่าต่างๆ เป็นสัญญาระยะยาว ปรับได้ ปกติปีละ 1-2 ครั้ง ที่ผ่านมา ค่าก๊าซฯ ในประเทศต่ำกว่านำเข้าแน่นอน เพราะไม่ต้องขนส่งไกล เปรียบเทียบราคาบาทต่อ 1 ล้าน BTU เฉลี่ยในปี 2557 คือไทย 243 บาท, พม่า 381 บาท และ LNG (รวมค่าใช้จ่าย) 542 บาท เพราะฉะนั้น ถ้าต้องนำเข้ามากขึ้น ต้นทุนค่าไฟฟ้าต้องสูงขึ้นแน่นอน
ภาคประชาชนแย้งว่า ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติในสหรัฐมีราคา 95 บาทต่อ 1 ล้านบีทียู (รูปที่ 1 แสดงกราฟราคาก๊าซ) แต่เพราะรัฐการกำหนดสูตรราคาก๊าซธรรมชาติไทย ที่อิงกับราคาน้ำมันเตา ผนวกกับการผูกขาดการซื้อก๊าซจากปากหลุมในประเทศ จึงทำให้ไม่เกิดกลไกตลาดของก๊าซธรรมชาติในประเทศ และจึงมีผลให้รัฐต้องซื้อก๊าซที่เป็นทรัพยากรของตนเองในราคาสูงกว่าราคาในตลาดสหรัฐฯถึง 150%
ดร.ณรงค์ชัย ระบุอีกว่า สรุปจากเหตุผลทั้งห้าข้อหลัก รัฐบาลจึงต้องตัดสินใจให้มีการสำรวจรอบที่ 21 ถึงแม้อาจจะไม่พบแหล่งใหม่ที่สำคัญ อย่างน้อยก็จะช่วยยืนยันว่าสำรองที่ดูเหมือนมี (Probable Reserve) อาจจะเปลี่ยนมาเป็นสำรองจริง (Proved Reserve) ได้บ้าง ซึ่งกว่าจะสำรวจจบ พบ และผลิต ก็อีกหลายปี แต่ถ้าไม่ทำวันนี้ จะช้าไปอีก เท่ากับไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อท่านประชาชนในวันหน้า
ขณะที่ภาคประชาชนแย้งว่า ระบบสัมปทานไทย รัฐไม่สำรวจทรัพยากรของชาติก่อนทำสัญญากับเอกชน จึงมีความเสี่ยงสูง และมีลักษณะเป็นระบบเก็งกำไรที่ไม่เป็นธรรม โดยผู้รับสัมปทานรายเก่าจะได้เปรียบรายใหม่ เพราะมีข้อมูลมากกว่า ที่สำคัญ รัฐจะคาดไว้ก่อนว่าแหล่งปิโตรเลียมทั้งประเทศมีขนาดเล็กทั้งหมด หากไม่เป็นดังคาด ก็จะไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ส่วนที่อ้างว่า ถึงแม้อาจจะไม่พบแหล่งใหม่ที่สำคัญ อย่างน้อยก็จะช่วยยืนยันว่าสำรองที่ดูเหมือนมี (Probable Reserve) อาจจะเปลี่ยนมาเป็นสำรองจริง (Proved Reserve) ได้บ้าง เรื่องนี้เป็นความเข้าใจคาดเคลื่อนเรื่องการจัดชั้นปริมาณสำรอง เพราะการเปลี่ยน Probable Reserve มาเป็น Proved Reserve สามารถทำได้โดยไม่ต้องออกสัมปทานใหม่ แต่ทำในแปลงสัมปทานเดิม โดยเร่งขุดเจาะ Probable Reserve และ Possible Reserve ซึ่งจะมีความรวดเร็วกว่าการออกสัมปทานใหม่
ทั้งนี้ นายธีระชัยโพสต์ในตอนท้ายว่า ในโพสต์นี้ ผมแสดงเฉพาะความเห็นแย้งของภาคประขาชนที่เน้นข้อมูลเทคนิคด้านปิโตรเลียม แต่ในโพสต์ถัดไป ผมจะวิจารณ์จากแง่มุมเศรษฐศาสตร์ครับ
วันเดียวกันนี้ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เปิดเผยถึงจุดยืนของ ส.อ.ท.ต่อการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ว่า ส.อ.ท.เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 แต่ขั้นตอนการดำเนินงานทุกอย่างต้องต้องโปร่งใสตรวจสอบ และสามารถชี้แจงได้ และที่สำคัญภาพรวมต้องเป็นผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ ไม่เป็นผลประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ด้านนายเจน นำชัยศิริ รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ส.อ.ท.สนับสนุนให้รัฐบาลเร่งดำเนินการสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ต่อไป โดยเน้นเรื่องข้อมูลความโปร่งใสตรวจสอบได้ ขณะเดียวกัน ขอให้มีการศึกษาระบบอื่นๆ รวมทั้งระบบแบ่งปันผลผลิต เพื่อเป็นทางเลือกในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับการเจาะสำรวจพื้นที่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะต้องใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตในอนาคตอันใกล้ แต่หากภาครัฐตัดสินใจใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตรอบ 21 นี้ ก็ต้องรีบเร่งให้เกิดความพร้อมโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงของพลังงานได้ และรัฐต้องดูแลเยียวยาผลกระทบจากการขุดเจาะสำรวจและผลิต ซึ่งอาจรวมถึงการให้ประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดการยอมรับในพื้นที่นั้น ๆ อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ส.อ.ท.เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมถือว่าพลังงานเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีความมั่งคงทางพลังงาน และประเทศไทยมีความจำเป็นต้องสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ เพราะการเปิดสัมปทานรอบ 21 ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นมากแล้ว จึงมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาการผลิตไม่ทันต่อการใช้งาน ขณะที่การผลิตก๊าซธรรมชาติปัจจุบันจะเริ่มน้อยลงในเร็ววันนี้
ขณะที่การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมใช้เวลานานมาก โดยการผลิตเชิงพาณิชย์อาจใช้เวลาถึง 10 ปี การชะลอการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมออกไปจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงของพลังงานที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า
ส่วนระบบสัมปทานและระบบแบ่งปันผลผลิตที่ยังมีการใช้ในปัจจุบัน ยังไม่ปรากฎหลักฐานใดที่จะชี้ชัดได้ว่า ระบบใดเหมาะสมกับประเทศไทย หรือกับแหล่งปิโตรเลียมใดเป็นการเฉพาะ ทั้ง 2 ระบบสามารถดัดแปลง ออกแบบ ปรับปรุงให้มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งฝ่ายเจ้าของทรัพยากรและฝ่ายผู้ลงทุนได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (21 ม.ค.) นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า รมว.พลังงาน ดร ณรงค์ชัย อัครเศรณี ได้เขียนในเฟซบุคของท่าน 5 ข้อเหตุผลที่กระทรวงจะเดินหน้าปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทาน แต่ภาคประชาชนที่มีความรู้โต้แย้งว่าข้อมูลและวิธีคิดของ รมว. ไม่ถูกต้อง ผมจึงนำมาให้ผู้อ่านพิจารณา ทั้งนี้ ผมไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลของทั้งสองฝ่ายครับ
โดยข้อ ดร.ณรงค์ชัยเขียนว่า 1.เราผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันได้น้อยลงทุกวัน เพราะแหล่งผลิตใหม่ที่ดี ไม่มี และเราใช้มาก ปริมาณการผลิตลดลงมา 2 ปีแล้ว ทำให้อัตราการนำเข้าต่อการใช้ปี 2557 เท่ากับ 57% และจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ กลุ่มพลังงานปิโตรเลียม เรานำเข้ามูลค่า มากกว่าส่งออก สุทธิคือ 1 ล้านล้านบาทที่เราต้องจ่าย (นำเข้า 1.4 ล้านล้านบาท ส่งออก 4 แสนล้านบาท ที่มีทั้งส่งออกและนำเข้า เพราะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีหลากหลายประเภท) เฉพาะก๊าซธรรมชาติ เวลานี้ใช้เฉลี่ยวันละ 4,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต ของเรากับที่ร่วมกับมาเลเซีย ประมาณ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต นอกนั้น นำเข้าจากพม่าและจากตะวันออกกลางในรูป LNG และยังต้องนำเข้า LPG อีกด้วย
ภาคประชาชนแย้งว่า1.ตัวเลขนำเข้าต่อการใช้ ในส่วนการใช้นั้น มิใช่เฉพาะคนไทยใช้อย่างที่เข้าใจ แต่รวมการส่งออกไปขายให้ต่างชาติใช้ด้วย และเป็นการเอาตัวเลขก๊าซรวมกับน้ำมัน ทำให้สับสน แต่ความจริงแล้ว เรานำเข้าก๊าซเพียง 20% ของการใช้ ลดลงจาก 27% ในปี 2549 (ผมอธิบายเพิ่มว่า ตัวเลขของ ดร ณรงค์ชัย คือ 57% และจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ) การผลิตก๊าซในประเทศรวมแหล่ง JDA เท่ากับ 4,084 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน ไม่ใช่ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน
2.การเปิดสำรวจในรอบที่ผ่านๆ มา มีการพบน้ำมันและหรือก๊าซธรรมชาติน้อย เช่น ใน 3 รอบสุดท้าย คือรอบ 18 (ปี 2543) รอบ 19 (ปี 2548) และรอบ 20 (ปี 2550) มีการพบสำรองที่ผลิตได้เพียง 4% ของที่พบเป็นสำรองแล้วในรอบกว่า 30 ปี ทำให้เราจะมีน้ำมันและก๊าซฯ ใช้อีกประมาณ 7 ปี ถ้าไม่มีการพบสำรองที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น สรุปคือ การพบแหล่งปิโตรเลียมใหม่ที่เป็นกอบเป็นกำแทบไม่มีเลย
ภาคประชาชนแย้งว่า ที่อ้างว่า มีการพบสำรองที่ผลิตได้น้อยนั่นไม่เหมาะสม เนื่องสัมปทานรอบ 19 (ปี 2548) เพิ่งเข้าสู่ช่วงผลิตในปีนี้ ส่วนรอบ 20 (ปี 2550) ยังอยู่ในช่วงพัฒนา จึงยังไม่ควรรวมเข้ามา และที่สำคัญรัฐยังอนุญาติให้นำปิโตรเลียมส่งออกไปเพื่อการวิจัย ซึ่งจะไม่ปรากฎในรายงานปริมาณการผลิตอีกด้วย
3.เราใช้ก๊าซธรรมชาติมาผลิตพลังงานไฟฟ้ามาก เพราะสะอาดและประหยัด ปี 2557 ไฟฟ้าที่เราผลิตทั้งปี จำนวนประมาณ180,000 Gigawatts (พันล้านหน่วย) มาจากก๊าซธรรมชาติ 67% คิดเป็นปริมาณก๊าซฯ ที่ใช้ประมาณ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ต้นทุนค่าไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติประมาณ 3.26-3.63 บาทต่อหน่วย เทียบกับค่าเฉลี่ย 3.06 บาท คือสูงกว่าต้นทุนไฟฟ้าจากพลังน้ำและจากถ่านหิน แต่ต่ำกว่าพลังงานอื่นๆอยู่ประมาณ 2 บาท
ภาคประชาชนแย้งว่า ความต้องการใช้ก๊าซ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี เพื่อผลิตไฟฟ้านั้น แต่จากข้อมูลกระทรวงพลังงานเองพบว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตเกินพอ คือ ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 4,084 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน หรือ 1.49 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี ซึ่งมากกว่าความต้องการผลิตไฟฟ้าถึง 50% (ผมอธิบายเพิ่มว่า ข้อมูลของ ดร.ณรงค์ชัย ทำให้เข้าใจไปว่าไทยผลิตก๊าซได้เพียง 67% ของปริมาณที่ใช้ผลิตไฟฟ้า) ดังนั้น การที่ก๊าซธรรมชาติไม่พอเพียงในการผลิตไฟฟ้า สาเหตุมาจากการจัดสรรก๊าซที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โดยจัดสรรให้ธุรกิจปิโตรเคมีในปริมาณมากขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาหลายปี ใช่หรือไม่
4.ราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในประเทศ มีสูตรที่อิงกับราคาน้ำมันเตา ปรับด้วยค่าต่างๆ เป็นสัญญาระยะยาว ปรับได้ ปกติปีละ 1-2 ครั้ง ที่ผ่านมา ค่าก๊าซฯ ในประเทศต่ำกว่านำเข้าแน่นอน เพราะไม่ต้องขนส่งไกล เปรียบเทียบราคาบาทต่อ 1 ล้าน BTU เฉลี่ยในปี 2557 คือไทย 243 บาท, พม่า 381 บาท และ LNG (รวมค่าใช้จ่าย) 542 บาท เพราะฉะนั้น ถ้าต้องนำเข้ามากขึ้น ต้นทุนค่าไฟฟ้าต้องสูงขึ้นแน่นอน
ภาคประชาชนแย้งว่า ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติในสหรัฐมีราคา 95 บาทต่อ 1 ล้านบีทียู (รูปที่ 1 แสดงกราฟราคาก๊าซ) แต่เพราะรัฐการกำหนดสูตรราคาก๊าซธรรมชาติไทย ที่อิงกับราคาน้ำมันเตา ผนวกกับการผูกขาดการซื้อก๊าซจากปากหลุมในประเทศ จึงทำให้ไม่เกิดกลไกตลาดของก๊าซธรรมชาติในประเทศ และจึงมีผลให้รัฐต้องซื้อก๊าซที่เป็นทรัพยากรของตนเองในราคาสูงกว่าราคาในตลาดสหรัฐฯถึง 150%
ดร.ณรงค์ชัย ระบุอีกว่า สรุปจากเหตุผลทั้งห้าข้อหลัก รัฐบาลจึงต้องตัดสินใจให้มีการสำรวจรอบที่ 21 ถึงแม้อาจจะไม่พบแหล่งใหม่ที่สำคัญ อย่างน้อยก็จะช่วยยืนยันว่าสำรองที่ดูเหมือนมี (Probable Reserve) อาจจะเปลี่ยนมาเป็นสำรองจริง (Proved Reserve) ได้บ้าง ซึ่งกว่าจะสำรวจจบ พบ และผลิต ก็อีกหลายปี แต่ถ้าไม่ทำวันนี้ จะช้าไปอีก เท่ากับไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อท่านประชาชนในวันหน้า
ขณะที่ภาคประชาชนแย้งว่า ระบบสัมปทานไทย รัฐไม่สำรวจทรัพยากรของชาติก่อนทำสัญญากับเอกชน จึงมีความเสี่ยงสูง และมีลักษณะเป็นระบบเก็งกำไรที่ไม่เป็นธรรม โดยผู้รับสัมปทานรายเก่าจะได้เปรียบรายใหม่ เพราะมีข้อมูลมากกว่า ที่สำคัญ รัฐจะคาดไว้ก่อนว่าแหล่งปิโตรเลียมทั้งประเทศมีขนาดเล็กทั้งหมด หากไม่เป็นดังคาด ก็จะไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ส่วนที่อ้างว่า ถึงแม้อาจจะไม่พบแหล่งใหม่ที่สำคัญ อย่างน้อยก็จะช่วยยืนยันว่าสำรองที่ดูเหมือนมี (Probable Reserve) อาจจะเปลี่ยนมาเป็นสำรองจริง (Proved Reserve) ได้บ้าง เรื่องนี้เป็นความเข้าใจคาดเคลื่อนเรื่องการจัดชั้นปริมาณสำรอง เพราะการเปลี่ยน Probable Reserve มาเป็น Proved Reserve สามารถทำได้โดยไม่ต้องออกสัมปทานใหม่ แต่ทำในแปลงสัมปทานเดิม โดยเร่งขุดเจาะ Probable Reserve และ Possible Reserve ซึ่งจะมีความรวดเร็วกว่าการออกสัมปทานใหม่
ทั้งนี้ นายธีระชัยโพสต์ในตอนท้ายว่า ในโพสต์นี้ ผมแสดงเฉพาะความเห็นแย้งของภาคประขาชนที่เน้นข้อมูลเทคนิคด้านปิโตรเลียม แต่ในโพสต์ถัดไป ผมจะวิจารณ์จากแง่มุมเศรษฐศาสตร์ครับ
วันเดียวกันนี้ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เปิดเผยถึงจุดยืนของ ส.อ.ท.ต่อการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ว่า ส.อ.ท.เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 แต่ขั้นตอนการดำเนินงานทุกอย่างต้องต้องโปร่งใสตรวจสอบ และสามารถชี้แจงได้ และที่สำคัญภาพรวมต้องเป็นผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ ไม่เป็นผลประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ด้านนายเจน นำชัยศิริ รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ส.อ.ท.สนับสนุนให้รัฐบาลเร่งดำเนินการสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ต่อไป โดยเน้นเรื่องข้อมูลความโปร่งใสตรวจสอบได้ ขณะเดียวกัน ขอให้มีการศึกษาระบบอื่นๆ รวมทั้งระบบแบ่งปันผลผลิต เพื่อเป็นทางเลือกในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับการเจาะสำรวจพื้นที่ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะต้องใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตในอนาคตอันใกล้ แต่หากภาครัฐตัดสินใจใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตรอบ 21 นี้ ก็ต้องรีบเร่งให้เกิดความพร้อมโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงของพลังงานได้ และรัฐต้องดูแลเยียวยาผลกระทบจากการขุดเจาะสำรวจและผลิต ซึ่งอาจรวมถึงการให้ประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดการยอมรับในพื้นที่นั้น ๆ อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ส.อ.ท.เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมถือว่าพลังงานเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องมีความมั่งคงทางพลังงาน และประเทศไทยมีความจำเป็นต้องสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ เพราะการเปิดสัมปทานรอบ 21 ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นมากแล้ว จึงมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาการผลิตไม่ทันต่อการใช้งาน ขณะที่การผลิตก๊าซธรรมชาติปัจจุบันจะเริ่มน้อยลงในเร็ววันนี้
ขณะที่การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมใช้เวลานานมาก โดยการผลิตเชิงพาณิชย์อาจใช้เวลาถึง 10 ปี การชะลอการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมออกไปจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงของพลังงานที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้า
ส่วนระบบสัมปทานและระบบแบ่งปันผลผลิตที่ยังมีการใช้ในปัจจุบัน ยังไม่ปรากฎหลักฐานใดที่จะชี้ชัดได้ว่า ระบบใดเหมาะสมกับประเทศไทย หรือกับแหล่งปิโตรเลียมใดเป็นการเฉพาะ ทั้ง 2 ระบบสามารถดัดแปลง ออกแบบ ปรับปรุงให้มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทั้งฝ่ายเจ้าของทรัพยากรและฝ่ายผู้ลงทุนได้