**ความพยายามของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะใช้รัฐธรรมนูญเป็นยาวิเศษแก้ปัญหาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเรื่องปรองดองไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งน่าจะเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลกนี้ เพราะไม่เคยมีประเทศใดเขียนเรื่องปรองดองไว้ในรัฐธรรมนูญมาก่อน
แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย โดยกรรมาธิการยกร่างฯ มีแนวทางที่จะกำหนดให้คณะกรรมการจากทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งมาทำงานร่วมกัน และเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิเสธ จึงต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นการบังคับให้ทุกฝ่ายเข้าสู่กระบวนการปรองดอง ซึ่งแม้แต่กรรมาธิการยกร่างฯ ก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า เมื่อคนเหล่านี้มาเป็นคณะกรรมการร่วมกันแล้ว จะเดินไปสู่เป้าหมายที่เรียกว่า“ปรองดอง”อย่างไร
นี่คือปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ที่คนมีอำนาจมักแก้ปัญหาในเชิงรูปแบบ ส่วนผลสัมฤทธิ์เป็นเรื่องที่ต้องไปตายเอาดาบหน้า และไม่กล้าที่จะเผชิญปัญหาที่แท้จริง โดยมีวิธีคิดที่ย้อนแย้งกันเองอย่างมาก เช่น
**มีการระบุว่า ต้องประจานคนโกงเพื่อให้สังคมร่วมกันกดดันต่อต้าน แต่ถ้าเป็นความผิดของคนตระกูลชินวัตร กลับออกอาการกลัว ไม่กล้าพูดถึง
มีการระบุว่า ปัญหาชาติเกิดจากประชานิยมบ้าคลั่ง จนถึงขนาดกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ในมาตรา 35(7) ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชนระยะยาว
**แต่ไม่กล้าบอกว่า ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ ลิ่วล้อ และพรรคเพื่อไทย คือตัวการที่สร้างประชานิยมมอมเมาคนไทยจนชาติเกือบล่มจม
ความย้อนแย้งในลักษณะที่เรียกว่า ทฤษฎีดี แต่ไม่กล้าปฏิบัติ คือสภาพปัญหาของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นอกจากจะทำให้การปฏิรูปไม่เกิดแล้ว ยังกลายเป็นช่วงเวลาฟักตัวของคนกลุ่มเดิมที่สร้างปัญหาให้ชาติ รอการฟื้นตัวกลับมามีอำนาจใหม่อีกรอบ
เมื่อมีอำนาจก็แก้กติกาที่เป็นอุปสรรค เพราะปัญหาชาติไม่ได้อยู่ที่กติกา แต่เป็นเรื่องของคนที่เข้ามาใช้อำนาจไม่มีความละอายต่อบาป จนสามารถทำชั่วได้ทุกอย่างโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย เพราะคิดว่า “อำนาจ”อยู่เหนือทุกอย่าง
การที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คิดที่จะใช้รัฐธรรมนูญควบคุมไม่ให้มีการใช้วาทะสร้างความเกลียดชัง หรือ เรียกกันว่า Hate speech โดยตื่นเต้นว่า เป็นเรื่องใหม่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ของประเทศไทย จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลกที่มีการใส่ Hate speech ไว้ในกติกาสูงสุดของชาติ
ไม่เพียงเท่านั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังไปไกลถึงขั้นเขียนห้ามคนเกลียดชังกันไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่ โดยบัญญัติไว้ว่า “พลเมืองต้องไม่กระทำการที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติ หรือ ศาสนา หรือ ไม่ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ เป็นปฏิปักษ์ หรือใช้ความรุนแรงระหว่างกัน”
ถามว่ารัฐธรรมนูญจะไปบังคับไม่ให้คนใช้คำพูดยั่วยุ หรือห้ามคนเกลียดกันได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งมีความซับซ้อน ไม่ใช่หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง แต่เป็นเรื่องที่จะต้องตีความว่า อะไรคือ ยั่วยุ อะไรคือ คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง
**การเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนี้ นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังเป็นการสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย เพราะจะมีการตีความวุ่นวายว่า มีอะไรบ้างอยู่ในข่ายที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เพราะหากเขียนไว้กว้างๆ โดยไม่มีนิยามที่ชัดเจน ก็จะถูกนำไปใช้เพื่อลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ ของสื่อมวลชนและประชาชนจนกลายเป็นสังคมปิดปากไปโดยปริยาย ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ที่ความสวยงามอยู่ที่ความเห็นต่างในสังคม
จากแนวทางที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังสร้างอยู่ในขณะนี้ แม้จะมีเจตนาดี แต่ไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ จึงควรกลับมาตั้งสติ ทบทวนและแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่กลไกในการลดความขัดแย้งอย่างที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เข้าใจ
ปัญหาชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแตกแยกจากวาทะสร้างความเกลียดชัง หรือเรื่องประชานิยม การใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต ล้วนมาจากรากของปัญหาเดียวกัน คือ ประชาชนขาดความรู้ เพราะการให้ความจริงน้อยเกินไป
ถ้าคนไทยรู้ความจริงว่า ใครสร้างความเสียหาย นโยบายอย่างไรที่เป็นโทษ และกระทบต่อชีวิตของคนไทย ย่อมทำให้การตัดสินใจเลือกตัวแทนมาใช้อำนาจมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ก็จะไม่ถูกปลุกปั่น ยุยง ด้วยข้อมูลเท็จ จนเกิดความเกลียดชังระหว่างกัน เหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ประเทศไทยพลาดโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดมาแล้วหลายครั้ง ถ้าไม่ต้องการซ้ำรอยเดิม สิ่งแรกที่ต้องแก้ไขคือ ทัศนคติของผู้นำ และคนที่มีอำนาจเกี่ยวข้องอยู่ในขณะนี้ โดยต้องตั้งสติทบทวนให้ดีว่า ที่มาของปัญหามาจากไหน ใครคือคนที่สร้างความเกลียดชัง ใครใช้อำนาจเกินขอบเขต จนกระทบไปทุกระบบ
**ยังไม่สายที่จะหันกลับมาแก้ปัญหาที่สาเหตุ แต่ถ้ายังเดินหน้าไปตามแนวทางที่มโนกันอยู่ในขณะนี้ คนไทยคงทำได้แค่ “ปลง”เพราะไม่มีทาง “เปลี่ยน”
แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย โดยกรรมาธิการยกร่างฯ มีแนวทางที่จะกำหนดให้คณะกรรมการจากทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งมาทำงานร่วมกัน และเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิเสธ จึงต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นการบังคับให้ทุกฝ่ายเข้าสู่กระบวนการปรองดอง ซึ่งแม้แต่กรรมาธิการยกร่างฯ ก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่า เมื่อคนเหล่านี้มาเป็นคณะกรรมการร่วมกันแล้ว จะเดินไปสู่เป้าหมายที่เรียกว่า“ปรองดอง”อย่างไร
นี่คือปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ที่คนมีอำนาจมักแก้ปัญหาในเชิงรูปแบบ ส่วนผลสัมฤทธิ์เป็นเรื่องที่ต้องไปตายเอาดาบหน้า และไม่กล้าที่จะเผชิญปัญหาที่แท้จริง โดยมีวิธีคิดที่ย้อนแย้งกันเองอย่างมาก เช่น
**มีการระบุว่า ต้องประจานคนโกงเพื่อให้สังคมร่วมกันกดดันต่อต้าน แต่ถ้าเป็นความผิดของคนตระกูลชินวัตร กลับออกอาการกลัว ไม่กล้าพูดถึง
มีการระบุว่า ปัญหาชาติเกิดจากประชานิยมบ้าคลั่ง จนถึงขนาดกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ในมาตรา 35(7) ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการบริหารราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชนระยะยาว
**แต่ไม่กล้าบอกว่า ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ ลิ่วล้อ และพรรคเพื่อไทย คือตัวการที่สร้างประชานิยมมอมเมาคนไทยจนชาติเกือบล่มจม
ความย้อนแย้งในลักษณะที่เรียกว่า ทฤษฎีดี แต่ไม่กล้าปฏิบัติ คือสภาพปัญหาของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นอกจากจะทำให้การปฏิรูปไม่เกิดแล้ว ยังกลายเป็นช่วงเวลาฟักตัวของคนกลุ่มเดิมที่สร้างปัญหาให้ชาติ รอการฟื้นตัวกลับมามีอำนาจใหม่อีกรอบ
เมื่อมีอำนาจก็แก้กติกาที่เป็นอุปสรรค เพราะปัญหาชาติไม่ได้อยู่ที่กติกา แต่เป็นเรื่องของคนที่เข้ามาใช้อำนาจไม่มีความละอายต่อบาป จนสามารถทำชั่วได้ทุกอย่างโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย เพราะคิดว่า “อำนาจ”อยู่เหนือทุกอย่าง
การที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คิดที่จะใช้รัฐธรรมนูญควบคุมไม่ให้มีการใช้วาทะสร้างความเกลียดชัง หรือ เรียกกันว่า Hate speech โดยตื่นเต้นว่า เป็นเรื่องใหม่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ของประเทศไทย จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวในโลกที่มีการใส่ Hate speech ไว้ในกติกาสูงสุดของชาติ
ไม่เพียงเท่านั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยังไปไกลถึงขั้นเขียนห้ามคนเกลียดชังกันไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่ โดยบัญญัติไว้ว่า “พลเมืองต้องไม่กระทำการที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติ หรือ ศาสนา หรือ ไม่ยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ เป็นปฏิปักษ์ หรือใช้ความรุนแรงระหว่างกัน”
ถามว่ารัฐธรรมนูญจะไปบังคับไม่ให้คนใช้คำพูดยั่วยุ หรือห้ามคนเกลียดกันได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมของคนในสังคม ซึ่งมีความซับซ้อน ไม่ใช่หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง แต่เป็นเรื่องที่จะต้องตีความว่า อะไรคือ ยั่วยุ อะไรคือ คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง
**การเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนี้ นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังเป็นการสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย เพราะจะมีการตีความวุ่นวายว่า มีอะไรบ้างอยู่ในข่ายที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เพราะหากเขียนไว้กว้างๆ โดยไม่มีนิยามที่ชัดเจน ก็จะถูกนำไปใช้เพื่อลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ ของสื่อมวลชนและประชาชนจนกลายเป็นสังคมปิดปากไปโดยปริยาย ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ที่ความสวยงามอยู่ที่ความเห็นต่างในสังคม
จากแนวทางที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังสร้างอยู่ในขณะนี้ แม้จะมีเจตนาดี แต่ไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติ จึงควรกลับมาตั้งสติ ทบทวนและแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่กลไกในการลดความขัดแย้งอย่างที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เข้าใจ
ปัญหาชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแตกแยกจากวาทะสร้างความเกลียดชัง หรือเรื่องประชานิยม การใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต ล้วนมาจากรากของปัญหาเดียวกัน คือ ประชาชนขาดความรู้ เพราะการให้ความจริงน้อยเกินไป
ถ้าคนไทยรู้ความจริงว่า ใครสร้างความเสียหาย นโยบายอย่างไรที่เป็นโทษ และกระทบต่อชีวิตของคนไทย ย่อมทำให้การตัดสินใจเลือกตัวแทนมาใช้อำนาจมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ก็จะไม่ถูกปลุกปั่น ยุยง ด้วยข้อมูลเท็จ จนเกิดความเกลียดชังระหว่างกัน เหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ประเทศไทยพลาดโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดมาแล้วหลายครั้ง ถ้าไม่ต้องการซ้ำรอยเดิม สิ่งแรกที่ต้องแก้ไขคือ ทัศนคติของผู้นำ และคนที่มีอำนาจเกี่ยวข้องอยู่ในขณะนี้ โดยต้องตั้งสติทบทวนให้ดีว่า ที่มาของปัญหามาจากไหน ใครคือคนที่สร้างความเกลียดชัง ใครใช้อำนาจเกินขอบเขต จนกระทบไปทุกระบบ
**ยังไม่สายที่จะหันกลับมาแก้ปัญหาที่สาเหตุ แต่ถ้ายังเดินหน้าไปตามแนวทางที่มโนกันอยู่ในขณะนี้ คนไทยคงทำได้แค่ “ปลง”เพราะไม่มีทาง “เปลี่ยน”