วานนี้ (19ม.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงถึงความคืบหน้าในการ ยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในสัปดาห์ที่ 2 ว่า มีการพิจารณา ภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 1 ศาล และกระบวนการยุติธรรม ส่วนที่ 1 บททั่วไป ซึ่งวางแผนใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อยกร่างรายมาตราในส่วนนี้ ซึ่งมีการยกร่างโดยคงหลักการเดิมของรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา แต่มีการบัญญัติเพิ่มเกี่ยวกับหลักนิติธรรม 5 ประเด็น คือ
1. ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเหนืออำเภอใจของบุคคล และการเคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยรัฐ และประชาชน
2. การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และ ความเสมอภาค
3. การแบ่งแยกการใช้อำนาจ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์สาธารณะ
4. นิติกระบวน ซึ่งอย่างน้อยต้องไม่บังคับใช้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายย้อนหลังเป็นโทษทางอาญาแก่บุคคล ให้บุคคลมีสิทธิในการปกป้องตนเองเมื่อสิทธิหรือเสรีภาพถูกกระทบ ไม่บังคับให้บุคคลต้องให้ถ้อยคำซึ่งทำให้ต้องรับผิดทางอาญา ไม่ทำให้บุคคลต้องถูกดำเนินคดีอาญาในการกระทำความผิดเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง มีข้อกำหนดใช้สันนิษฐานว่า บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะมีคำพิพากษาว่ากระทำผิด
5. ความเป็นอิสระจากศาลและความสุจริตเที่ยงธรรมของกระบวนการยุติธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า การกำหนดไม่ให้รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายย้อนหลังเป็นโทษทางอาญาแก่บุคคล หมายความว่า กรณีที่เป็นโทษทางการเมือง เช่น การตัดสิทธิทางการเมือง กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ มีผลย้อนหลังได้ ใช่หรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ถือเป็นการเปิดช่องไว้ เพื่อให้การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 มาตรา 35 (3) ที่กำหนดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และตรวจสอบ มิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่าการกระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต หรือเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
" ผมเชื่อว่าการเปิดช่องให้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใหม่ย้อนหลัง เป็นโทษทางการเมืองได้นั้น ก็เพื่อให้สอดรับกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35(3) ซึ่งเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าจะไม่เป็นประเด็นอ่อนไหว ที่จะถูกต่อต้านจากกลุ่มบุคคลที่เสียประโยชน์ เพราะการยกร่างของกรรมาธิการฯ ต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ไม่เอาบุคคลมาเป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองในกลุ่มบ้านเลขที่ 111 หรือ บ้านเลขที่ 109 โดยจะเอาหลักการเป็นตัวตั้ง ที่สำคัญคือ หลักการตีความกฎหมาย ต้องตีความอย่างแคบ เพราะเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อถึงหมวดที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง" นายคำนูณ กล่าว
**ชงแก้กม.ศาลปกครอง6ประเด็น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายประสาท พงษ์สุวรรณ์ อธิบดีศาลปกครองระยอง เดินทางเข้ายื่นข้อเสนอ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ และปรับปรุงกฏหมาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาลปกครอง ถึง นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมี นายบวรศักดิ์ เป็นผู้รับเอกสาร และ ข้อเสนอฯ
นายประสาท กล่าวว่า ในนามของตัวแทนคณะตุลาการศาลปกครอง จำนวน 105 คน ที่ลงชื่อในข้อเสนอ เกี่ยวกับการแก้ไข ระบบศาลปกครอง ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกฎหมายที่จะแก้ไขในอนาคต จึงได้ถือโอกาสมอบข้อเสนอใน 6 ประการ ที่เกี่ยวกับศาลปกครอง ให้กับประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง
1. การปรับปรุงเกี่ยวกับระบบศาล และวิธีพิจารณาเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในเรื่องการลดเงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครอง การปรับปรุงให้เกระบวนการพิจารณามีความรวดเร็วขึ้น
2. เรื่องอายุในการดำรงตำแหน่งของตุลาการ และของประธานศาลปกครองสูงสุด จากเดิมที่กำหนดว่า ตุลาการศาลปกครองชั้นต้นได้ตั้งแต่อายุ 35- 70 ปี โดยให้พ้นตำแหน่งบริหารทุกระดับ เป็น 65 ปี ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในขณะที่มีอายุมากเกินไป และทำให้การเลื่อนในตำแหน่งระดับล่างช้าเกินไป โดยเฉพาะตำแหน่งประธานศาลปกครองสุงสุด ควรมีวาระคราวละ 2 ปี เพื่อที่จะให้การบริหารไม่มีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ 3. เสนอให้มีการแก้องค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ควรให้มี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากเดิม 4 คน เป็น 6 คน แต่ศาลปกครองระดับต้น ควรจะมี 6 คน จากเดิมมีเพียง 3 คน เพื่อให้เท่าเทียม เนื่องจากตุลาการศากปกครองชั้นต้น มีจำนวน 198 คน
4. การแก้ระบบศาล และคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากขึ้น ในส่วนของเลขาธิการเสนอให้มาจากส่วนของสำนักงาน และส่วนของตุลาการได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
5.ในเรื่องโครงสร้าง และการเลื่อนตำแหน่งตุลาการ โดยให้คงหลักการ เรื่องชั้นศาลไว้ คือให้มีศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองชั้นต้น และจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้ ตามมาตรา 223 วรรค 3
6. เรื่องหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการ โดยประธานศาลปกครองสูงสุด จะต้องเป็นประธานโดยตำแหน่ง , กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากตุลาการศาลปกครองสูงสุดมีจำนวน 6 คน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา 2 คน การแต่งตั้งโยกย้าย และเลื่อนตำแหน่ง จะต้องคำนึงหลักอาวุโส ก.ศป. ต้องปกป้องคุ้มครอง และในระบบการบริหารงานบุคคลมีความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
**กระเทยไทยถูกใจ”เพศสภาพ”ในรธน.
วันเดียวกันนี้ ตัวแทนคณะทำงานการสนับสนุน ส่งเสริมและปกป้องมนุษยชน ด้านความหลากหลายทางเพศ อาทิ โครงการจัดตั้งมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน คณะสังคมศาสตร์ ม.มหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นำโดย นายรณภูมิ สามัคคีคารมย์ อาจารย์คณะสาธารณสุข ม.ธรรมศาสตร์ เดินทางมามอบกระเช้าดอกไม้ และมอบเอกสารสำคัญ เพื่อนำไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า “เพศสภาพ” และ”เพศวิถี” พร้อมทั้งแสดงความขอบคุณ ให้กำลังใจในความกล้าหาญ ของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เห็นชอบบัญญัติ คำว่า”เพศสภาพ” ในมาตรา 2 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไว้ในร่าง รธน. ที่ช่วยกันสรรค์สร้างในรธน. ฉบับนี้ให้สมบรูณ์ และปฏิรูปประเทศได้จริง และยังเป็นการช่วยคุ้มครอง ปกป้องสิทธิของประชาชนในสังคมที่ไม่ได้มองว่า สังคมไทยมีแต่เพศชาย และเพศหญิง และรธน.ฉบับนี้ หากประกาศใช้ ก็จะเป็นฉบับแรก ที่ให้ความคุ้มครองบุคคลที่อยู่ใน เพศสภาพ และหากเป็นไปได้ อยากจะให้เพิ่มคำว่า “เพศวิถี” ในรธน.ด้วย
ด้านนายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนขอขอบคุณทุกคนที่มาให้กำลังใจ และจริงๆแล้ว รธน.ฉบับนี้ พยายามที่จะทำอะไรก็ตามให้มีความก้าวหน้าขึ้น เรื่องการให้ความเท่าเทียมทางเพศ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในทางบวกในสื่อต่างประเทศจำนวนมากว่า รธน.ไทยก้าวหน้า เพราะของต่างชาติบางชาติ ยังไม่มีการเขียนไว้ ทั้งนี้ หากคณะที่มาให้กำลังใจ มีความเห็นอะไร ก็เสนอมาได้ เรื่องอื่นก็ยินดีรับฟัง และช่วยรณรงค์ ให้รธน.ฉบับนี้มีผลใช้ได้จริง จะได้เป็นประโยชน์ต่อประชนชาวไทยทุกกลุ่ม
1. ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเหนืออำเภอใจของบุคคล และการเคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยรัฐ และประชาชน
2. การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และ ความเสมอภาค
3. การแบ่งแยกการใช้อำนาจ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์สาธารณะ
4. นิติกระบวน ซึ่งอย่างน้อยต้องไม่บังคับใช้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายย้อนหลังเป็นโทษทางอาญาแก่บุคคล ให้บุคคลมีสิทธิในการปกป้องตนเองเมื่อสิทธิหรือเสรีภาพถูกกระทบ ไม่บังคับให้บุคคลต้องให้ถ้อยคำซึ่งทำให้ต้องรับผิดทางอาญา ไม่ทำให้บุคคลต้องถูกดำเนินคดีอาญาในการกระทำความผิดเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง มีข้อกำหนดใช้สันนิษฐานว่า บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะมีคำพิพากษาว่ากระทำผิด
5. ความเป็นอิสระจากศาลและความสุจริตเที่ยงธรรมของกระบวนการยุติธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า การกำหนดไม่ให้รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายย้อนหลังเป็นโทษทางอาญาแก่บุคคล หมายความว่า กรณีที่เป็นโทษทางการเมือง เช่น การตัดสิทธิทางการเมือง กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ มีผลย้อนหลังได้ ใช่หรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ถือเป็นการเปิดช่องไว้ เพื่อให้การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 มาตรา 35 (3) ที่กำหนดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และตรวจสอบ มิให้ผู้เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่าการกระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต หรือเที่ยงธรรม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาด
" ผมเชื่อว่าการเปิดช่องให้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใหม่ย้อนหลัง เป็นโทษทางการเมืองได้นั้น ก็เพื่อให้สอดรับกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35(3) ซึ่งเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าจะไม่เป็นประเด็นอ่อนไหว ที่จะถูกต่อต้านจากกลุ่มบุคคลที่เสียประโยชน์ เพราะการยกร่างของกรรมาธิการฯ ต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ไม่เอาบุคคลมาเป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองในกลุ่มบ้านเลขที่ 111 หรือ บ้านเลขที่ 109 โดยจะเอาหลักการเป็นตัวตั้ง ที่สำคัญคือ หลักการตีความกฎหมาย ต้องตีความอย่างแคบ เพราะเกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อถึงหมวดที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง" นายคำนูณ กล่าว
**ชงแก้กม.ศาลปกครอง6ประเด็น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายประสาท พงษ์สุวรรณ์ อธิบดีศาลปกครองระยอง เดินทางเข้ายื่นข้อเสนอ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ และปรับปรุงกฏหมาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปศาลปกครอง ถึง นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมี นายบวรศักดิ์ เป็นผู้รับเอกสาร และ ข้อเสนอฯ
นายประสาท กล่าวว่า ในนามของตัวแทนคณะตุลาการศาลปกครอง จำนวน 105 คน ที่ลงชื่อในข้อเสนอ เกี่ยวกับการแก้ไข ระบบศาลปกครอง ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกฎหมายที่จะแก้ไขในอนาคต จึงได้ถือโอกาสมอบข้อเสนอใน 6 ประการ ที่เกี่ยวกับศาลปกครอง ให้กับประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง
1. การปรับปรุงเกี่ยวกับระบบศาล และวิธีพิจารณาเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในเรื่องการลดเงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครอง การปรับปรุงให้เกระบวนการพิจารณามีความรวดเร็วขึ้น
2. เรื่องอายุในการดำรงตำแหน่งของตุลาการ และของประธานศาลปกครองสูงสุด จากเดิมที่กำหนดว่า ตุลาการศาลปกครองชั้นต้นได้ตั้งแต่อายุ 35- 70 ปี โดยให้พ้นตำแหน่งบริหารทุกระดับ เป็น 65 ปี ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในขณะที่มีอายุมากเกินไป และทำให้การเลื่อนในตำแหน่งระดับล่างช้าเกินไป โดยเฉพาะตำแหน่งประธานศาลปกครองสุงสุด ควรมีวาระคราวละ 2 ปี เพื่อที่จะให้การบริหารไม่มีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ 3. เสนอให้มีการแก้องค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ควรให้มี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากเดิม 4 คน เป็น 6 คน แต่ศาลปกครองระดับต้น ควรจะมี 6 คน จากเดิมมีเพียง 3 คน เพื่อให้เท่าเทียม เนื่องจากตุลาการศากปกครองชั้นต้น มีจำนวน 198 คน
4. การแก้ระบบศาล และคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากขึ้น ในส่วนของเลขาธิการเสนอให้มาจากส่วนของสำนักงาน และส่วนของตุลาการได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
5.ในเรื่องโครงสร้าง และการเลื่อนตำแหน่งตุลาการ โดยให้คงหลักการ เรื่องชั้นศาลไว้ คือให้มีศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองชั้นต้น และจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้ ตามมาตรา 223 วรรค 3
6. เรื่องหลักประกันความเป็นอิสระของตุลาการ โดยประธานศาลปกครองสูงสุด จะต้องเป็นประธานโดยตำแหน่ง , กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากตุลาการศาลปกครองสูงสุดมีจำนวน 6 คน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา 2 คน การแต่งตั้งโยกย้าย และเลื่อนตำแหน่ง จะต้องคำนึงหลักอาวุโส ก.ศป. ต้องปกป้องคุ้มครอง และในระบบการบริหารงานบุคคลมีความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
**กระเทยไทยถูกใจ”เพศสภาพ”ในรธน.
วันเดียวกันนี้ ตัวแทนคณะทำงานการสนับสนุน ส่งเสริมและปกป้องมนุษยชน ด้านความหลากหลายทางเพศ อาทิ โครงการจัดตั้งมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน คณะสังคมศาสตร์ ม.มหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นำโดย นายรณภูมิ สามัคคีคารมย์ อาจารย์คณะสาธารณสุข ม.ธรรมศาสตร์ เดินทางมามอบกระเช้าดอกไม้ และมอบเอกสารสำคัญ เพื่อนำไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำว่า “เพศสภาพ” และ”เพศวิถี” พร้อมทั้งแสดงความขอบคุณ ให้กำลังใจในความกล้าหาญ ของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เห็นชอบบัญญัติ คำว่า”เพศสภาพ” ในมาตรา 2 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไว้ในร่าง รธน. ที่ช่วยกันสรรค์สร้างในรธน. ฉบับนี้ให้สมบรูณ์ และปฏิรูปประเทศได้จริง และยังเป็นการช่วยคุ้มครอง ปกป้องสิทธิของประชาชนในสังคมที่ไม่ได้มองว่า สังคมไทยมีแต่เพศชาย และเพศหญิง และรธน.ฉบับนี้ หากประกาศใช้ ก็จะเป็นฉบับแรก ที่ให้ความคุ้มครองบุคคลที่อยู่ใน เพศสภาพ และหากเป็นไปได้ อยากจะให้เพิ่มคำว่า “เพศวิถี” ในรธน.ด้วย
ด้านนายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนขอขอบคุณทุกคนที่มาให้กำลังใจ และจริงๆแล้ว รธน.ฉบับนี้ พยายามที่จะทำอะไรก็ตามให้มีความก้าวหน้าขึ้น เรื่องการให้ความเท่าเทียมทางเพศ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในทางบวกในสื่อต่างประเทศจำนวนมากว่า รธน.ไทยก้าวหน้า เพราะของต่างชาติบางชาติ ยังไม่มีการเขียนไว้ ทั้งนี้ หากคณะที่มาให้กำลังใจ มีความเห็นอะไร ก็เสนอมาได้ เรื่องอื่นก็ยินดีรับฟัง และช่วยรณรงค์ ให้รธน.ฉบับนี้มีผลใช้ได้จริง จะได้เป็นประโยชน์ต่อประชนชาวไทยทุกกลุ่ม