** สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.ไม่เอาด้วยกับข้อเสนอให้เดินหน้าเปิดสัมปทานรอบที่ 21 นั่นเอง
แต่สุดท้าย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ก็มาหักสปช. ที่ทำคลอดมากับมืออย่างไม่ใยดี ด้วยการไม่แยแสกับมติของ
สปช. ที่ไม่เอาด้วยกับการเดินหน้าเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ตามข้อสรุปของกมธ.ปฏิรูปพลังงาน โดยสั่งให้กระทรวงพลังงาน เดินหน้าต่อ และบอกว่าเรื่องนี้เป็น
หน้าที่ของกระทวงพลังงานตัดสินใจ เพราะต้องดำเนินการจัดหาแหล่งพลังงาน เพื่อจะได้มีใช้ในวันข้างหน้า แต่ก็ทำเป็นบอกว่าก็จะนำมติของสปช. มาหารือ
ท่าทีของนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ตอบรับมติสปช.ดังกล่าว อีกทั้งให้ท้ายกระทรวงพลังงานเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป มันก็คือการไม่ให้ความสำคัญกับสปช.ที่ตั้งมากับมือและเป็นหนึ่งในแม่น้ำห้าสาย ของคสช.นั่นเอง
เมื่อธาตุแท้พล.อ.ประยุทธ์ และคสช.โผล่ออกมาแบบนี้ ดังนั้นที่คนคาดหวังจะได้เห็นการปฏิรูปในเรื่องสำคัญๆ ในยุค คสช. เช่น ปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หรือ เรื่องกระจายอำนาจ เช่น การให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง ก็คงเลิกคิดไปได้แล้ว เพราะต่อให้สปช. มีข้อเสนอไป แต่ไม่เป็นที่ถูกใจ คสช. และรัฐบาล เพราะหากรับไปสานต่อแล้วทำให้แนวร่วมคสช. เสียผลประโยชน์ หรือสร้างแนวต้านให้ คสช. ก็คงยากที่พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช.-รัฐบาล จะรับลูกไปปฏิบัติ
ว่าไปแล้ว การที่คนเห็นธาตุแท้พล.อ.ประยุทธ์ และคสช.เร็วแบบนี้ มันก็ทำให้ผู้คนที่เข้ามาช่วยทำงานในองค์กรต่างๆ ที่คสช. ตั้งขึ้น เช่น สมาชิกสภาปฏิรูปฯ–กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือพวกกรรมการชุดต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย ที่พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อมาทำเรื่องที่จะสอดรับกับโรดแมปของคสช. อย่างคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน หรือคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน และไปดึงคนภายนอกที่ทำงานเรื่องต่อต้านการทุจริตในภาคส่วนต่างๆ มาร่วม
ด้วยหลายคน เช่น ประมนต์ สุธีวงศ์ นางจุรี วิจิตรวาทการ ต่อตระกูล ยมนาค สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
บรรดากลุ่มคนเหล่านี้ จะได้ตั้งหลัก ทำใจล่วงหน้าไว้ว่า อาจทำงานเสียแรงเปล่า เพราะข้อเสนอต่างๆ อาจถูกเก็บเข้าลิ้นชัก หรือถูกปัดทิ้งแบบไม่ใยดี ถ้าไม่เป็นไปอย่างที่พล.อ.ประยุทธ์ และคสช.ต้องการ
**แต่หากบุคคลที่ไปทำงานใน สปช.-สนช.-กมธ.ยกร่างรธน. และกรรมการชุดต่างๆ ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแค่ว่าขอให้มีชื่อ มีตำแหน่งไว้เป็นเครดิตตัวเองทางสังคมและการเมืองในวันนี้ และในอนาคต ขอแค่มีเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง กับได้เบี้ยประชุมเท่านั้น ไม่ได้มีจุดยืนอะไร ไม่เคยมีความตั้งใจจริงในการเข้าไปทำงานเพื่อปฏิรูปและแก้ปัญหาชาติ ถ้าทำข้อเสนออะไรไปแล้ว รัฐบาล และคสช. ทำเฉย ไม่เอาด้วย ก็ไม่รู้สึกอะไร มันก็ถือเป็นความซวยของประเทศชาติที่ได้คนแบบนี้ไปทำงานในยุค คสช.
เรื่องที่บอกว่า อาจทำงานกันไปแบบเปลืองสมอง เสียพลังงาน และเสียความตั้งใจ อย่าคิดว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก หลังกรณีรัฐบาลไม่ให้การตอบรับกับมติ สปช.เรื่องสัมปทานรอบที่ 21 มันอาจเกิดขึ้นได้อีก
ควรจับตาเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของกมธ.ยกร่างรธน. แน่นอนว่า เป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนก็อยากรู้ว่า สุดท้ายพล.อ.ประยุทธ์ และคสช. จะมีท่าทีอย่างไร หากสุดท้ายกมธ.ยกร่างรธน. ยกร่างออกมาแล้วไม่เป็นที่พอใจของ พล.อ.ประยุทธ์ และคสช. เพราะพอ กมธ.ยกร่างรธน.ยกร่างเสร็จมาแล้ว ในช่วงกลางเดือนเมษายน ก็ต้องเสนอร่างดังกล่าวไปให้ คสช.-ครม. พร้อมๆ กับส่งไปยังสภาปฏิรูปฯ โดย คสช.กับครม. มีสิทธิ์ตามรธน.ฉบับชั่วคราวปี 57 ในการเสนอคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มายังกมธ.ยกร่างรธน.ได้
แม้โดยหลักแล้ว ต้องยอมรับว่า ยากมากที่กมธ.ยกร่างรธน. จะยอมพลิกมติตัวเอง ด้วยการไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงร่างรธน. ที่กมธ.เขียนออกมาแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามที่มี สมาชิกสปช.-ครม. และคสช. ได้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมมา แต่กระนั้น ก็ใช่ว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้ ก็ยังมีโอกาสอยู่ หากมาตราที่มีการเสนอแก้ไข พบว่า กมธ.ยกร่างรธน. เสียงแตกอย่างมากในช่วงยกร่างออกมา อีกทั้งยกร่างออกมาแล้ว มาตรานั้นๆ กระแสสังคมไม่เอาด้วย แรงต้านมาก แล้วดันเป็นมาตราที่ คสช.-ครม. ที่ก็คือพวกเดียวกัน ดันเสนอมาให้กมธ.ยกร่างรธน.แก้ไขด้วย แบบนี้ โอกาสที่จะพลิกกลับมาเป็นอย่างที่ ครม.-คสช. ต้องการ ก็ยังเป็นไปได้อยู่ หากมีการเดินเกมกันหนักๆ จากคสช.ไปถึง กมธ.ยกร่างรธน.
ต้องไม่ลืมว่า ในกมธ.ยกร่างรธน.เอง ก็มีคนที่ ครม.กับคสช. ส่งไปนั่งเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ด้วยรวม 10 คน จาก 36 คน ไม่นับรวมกับโควต้าจากสนช. ที่ก็คือ คนที่พล.อ.ประยุทธ์ คัดเลือกมาเป็น สนช. อีก 5 คน แม้บางคนที่ ครม.และคสช. ส่งชื่อไปเป็นกมธ.ยกร่างรธน. ดูแล้วจะเป็นอิสระสูง ไม่ขอขึ้นตรงกับคสช. แต่ของแบบนี้ ถึงเวลาขึ้นมาจริงๆ หากพล.อ.ประยุทธ์ ทุบโต๊ะ โอกาสที่กมธ.ยกร่างรธน. จะพลิกท่าทีกลับไปกลับมาก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน แม้อาจเกิดขึ้นได้ยากพอสมควร แต่ของแบบนี้มันก็ไม่แน่
**เช่นเดียวกับเรื่อง ปรองดอง ที่สปช. และกมธ.ยกร่างรธน. ดูจะให้ความสำคัญอย่างมาก ถึงกับวางแนวไว้แล้วว่ารธน.ฉบับใหม่ จะมีหมวดว่าด้วยเรื่อง ปฏิรูปและปรองดองอยู่ด้วย
ก็เชื่อได้ว่า หากสปช. เช่นกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง ชุด ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ หรือ กมธ.ยกร่างรธน. ไปมีข้อเสนออะไรที่ไม่ตรงใจกับพล.อ.ประยุทธ์ เช่น กรรมการศึกษาเรื่องปรองดอง ไปรับฟังความเห็นจากคู่ขัดแย้งทางการเมืองจนครบทุกกลุ่มแล้ว เลยมีข้อเสนอให้มีการนิรโทษกรรม ผู้ร่วมชุมนุมทางการเมือง มายังคสช.-ครม. มองดูแล้ว ก็มีโอกาสได้เห็นการปัดเผือกร้อนนี้จาก คสช.ได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากกรรมการชุดดังกล่าว ไปเสนอเอาในช่วงปลายๆ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็เชื่อได้เลยว่า พล.อ.ประยุทธ์ คงไม่รับไว้แน่นอน แล้วก็อาจโยนให้ไปเป็นเรื่องของรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ดำเนินการแทน เหตุเพราะรู้ดีว่า เรื่องนิรโทษกรรม แม้ต่อให้ไม่นิรโทษกรรมแกนนำการชุมนุมการเมือง แต่ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางการเมือง ขืนไปรับมาได้วุ่นวายตอน คสช.กำลังใกล้ลาโรง
** ดังนั้น พวกที่ทำงานให้คสช. ทั้งหลาย ไม่ว่าจะทำผ่านแม่น้ำ 5 สาย หรือกรรมการชุดต่างๆ ก็ขอให้ทำใจแต่เนิ่นๆ มีหวังเหนื่อยฟรีแน่นอน ถ้าทำออกมาแล้ว ท่านผู้นำ เคือง ไม่รับลูก
แต่สุดท้าย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ก็มาหักสปช. ที่ทำคลอดมากับมืออย่างไม่ใยดี ด้วยการไม่แยแสกับมติของ
สปช. ที่ไม่เอาด้วยกับการเดินหน้าเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ตามข้อสรุปของกมธ.ปฏิรูปพลังงาน โดยสั่งให้กระทรวงพลังงาน เดินหน้าต่อ และบอกว่าเรื่องนี้เป็น
หน้าที่ของกระทวงพลังงานตัดสินใจ เพราะต้องดำเนินการจัดหาแหล่งพลังงาน เพื่อจะได้มีใช้ในวันข้างหน้า แต่ก็ทำเป็นบอกว่าก็จะนำมติของสปช. มาหารือ
ท่าทีของนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ตอบรับมติสปช.ดังกล่าว อีกทั้งให้ท้ายกระทรวงพลังงานเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป มันก็คือการไม่ให้ความสำคัญกับสปช.ที่ตั้งมากับมือและเป็นหนึ่งในแม่น้ำห้าสาย ของคสช.นั่นเอง
เมื่อธาตุแท้พล.อ.ประยุทธ์ และคสช.โผล่ออกมาแบบนี้ ดังนั้นที่คนคาดหวังจะได้เห็นการปฏิรูปในเรื่องสำคัญๆ ในยุค คสช. เช่น ปฏิรูปตำรวจ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หรือ เรื่องกระจายอำนาจ เช่น การให้เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง ก็คงเลิกคิดไปได้แล้ว เพราะต่อให้สปช. มีข้อเสนอไป แต่ไม่เป็นที่ถูกใจ คสช. และรัฐบาล เพราะหากรับไปสานต่อแล้วทำให้แนวร่วมคสช. เสียผลประโยชน์ หรือสร้างแนวต้านให้ คสช. ก็คงยากที่พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช.-รัฐบาล จะรับลูกไปปฏิบัติ
ว่าไปแล้ว การที่คนเห็นธาตุแท้พล.อ.ประยุทธ์ และคสช.เร็วแบบนี้ มันก็ทำให้ผู้คนที่เข้ามาช่วยทำงานในองค์กรต่างๆ ที่คสช. ตั้งขึ้น เช่น สมาชิกสภาปฏิรูปฯ–กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือพวกกรรมการชุดต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย ที่พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อมาทำเรื่องที่จะสอดรับกับโรดแมปของคสช. อย่างคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน หรือคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน และไปดึงคนภายนอกที่ทำงานเรื่องต่อต้านการทุจริตในภาคส่วนต่างๆ มาร่วม
ด้วยหลายคน เช่น ประมนต์ สุธีวงศ์ นางจุรี วิจิตรวาทการ ต่อตระกูล ยมนาค สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
บรรดากลุ่มคนเหล่านี้ จะได้ตั้งหลัก ทำใจล่วงหน้าไว้ว่า อาจทำงานเสียแรงเปล่า เพราะข้อเสนอต่างๆ อาจถูกเก็บเข้าลิ้นชัก หรือถูกปัดทิ้งแบบไม่ใยดี ถ้าไม่เป็นไปอย่างที่พล.อ.ประยุทธ์ และคสช.ต้องการ
**แต่หากบุคคลที่ไปทำงานใน สปช.-สนช.-กมธ.ยกร่างรธน. และกรรมการชุดต่างๆ ไม่ได้คิดอะไรมาก คิดแค่ว่าขอให้มีชื่อ มีตำแหน่งไว้เป็นเครดิตตัวเองทางสังคมและการเมืองในวันนี้ และในอนาคต ขอแค่มีเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง กับได้เบี้ยประชุมเท่านั้น ไม่ได้มีจุดยืนอะไร ไม่เคยมีความตั้งใจจริงในการเข้าไปทำงานเพื่อปฏิรูปและแก้ปัญหาชาติ ถ้าทำข้อเสนออะไรไปแล้ว รัฐบาล และคสช. ทำเฉย ไม่เอาด้วย ก็ไม่รู้สึกอะไร มันก็ถือเป็นความซวยของประเทศชาติที่ได้คนแบบนี้ไปทำงานในยุค คสช.
เรื่องที่บอกว่า อาจทำงานกันไปแบบเปลืองสมอง เสียพลังงาน และเสียความตั้งใจ อย่าคิดว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก หลังกรณีรัฐบาลไม่ให้การตอบรับกับมติ สปช.เรื่องสัมปทานรอบที่ 21 มันอาจเกิดขึ้นได้อีก
ควรจับตาเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของกมธ.ยกร่างรธน. แน่นอนว่า เป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนก็อยากรู้ว่า สุดท้ายพล.อ.ประยุทธ์ และคสช. จะมีท่าทีอย่างไร หากสุดท้ายกมธ.ยกร่างรธน. ยกร่างออกมาแล้วไม่เป็นที่พอใจของ พล.อ.ประยุทธ์ และคสช. เพราะพอ กมธ.ยกร่างรธน.ยกร่างเสร็จมาแล้ว ในช่วงกลางเดือนเมษายน ก็ต้องเสนอร่างดังกล่าวไปให้ คสช.-ครม. พร้อมๆ กับส่งไปยังสภาปฏิรูปฯ โดย คสช.กับครม. มีสิทธิ์ตามรธน.ฉบับชั่วคราวปี 57 ในการเสนอคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มายังกมธ.ยกร่างรธน.ได้
แม้โดยหลักแล้ว ต้องยอมรับว่า ยากมากที่กมธ.ยกร่างรธน. จะยอมพลิกมติตัวเอง ด้วยการไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงร่างรธน. ที่กมธ.เขียนออกมาแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามที่มี สมาชิกสปช.-ครม. และคสช. ได้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมมา แต่กระนั้น ก็ใช่ว่ามันจะเกิดขึ้นไม่ได้ ก็ยังมีโอกาสอยู่ หากมาตราที่มีการเสนอแก้ไข พบว่า กมธ.ยกร่างรธน. เสียงแตกอย่างมากในช่วงยกร่างออกมา อีกทั้งยกร่างออกมาแล้ว มาตรานั้นๆ กระแสสังคมไม่เอาด้วย แรงต้านมาก แล้วดันเป็นมาตราที่ คสช.-ครม. ที่ก็คือพวกเดียวกัน ดันเสนอมาให้กมธ.ยกร่างรธน.แก้ไขด้วย แบบนี้ โอกาสที่จะพลิกกลับมาเป็นอย่างที่ ครม.-คสช. ต้องการ ก็ยังเป็นไปได้อยู่ หากมีการเดินเกมกันหนักๆ จากคสช.ไปถึง กมธ.ยกร่างรธน.
ต้องไม่ลืมว่า ในกมธ.ยกร่างรธน.เอง ก็มีคนที่ ครม.กับคสช. ส่งไปนั่งเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ด้วยรวม 10 คน จาก 36 คน ไม่นับรวมกับโควต้าจากสนช. ที่ก็คือ คนที่พล.อ.ประยุทธ์ คัดเลือกมาเป็น สนช. อีก 5 คน แม้บางคนที่ ครม.และคสช. ส่งชื่อไปเป็นกมธ.ยกร่างรธน. ดูแล้วจะเป็นอิสระสูง ไม่ขอขึ้นตรงกับคสช. แต่ของแบบนี้ ถึงเวลาขึ้นมาจริงๆ หากพล.อ.ประยุทธ์ ทุบโต๊ะ โอกาสที่กมธ.ยกร่างรธน. จะพลิกท่าทีกลับไปกลับมาก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน แม้อาจเกิดขึ้นได้ยากพอสมควร แต่ของแบบนี้มันก็ไม่แน่
**เช่นเดียวกับเรื่อง ปรองดอง ที่สปช. และกมธ.ยกร่างรธน. ดูจะให้ความสำคัญอย่างมาก ถึงกับวางแนวไว้แล้วว่ารธน.ฉบับใหม่ จะมีหมวดว่าด้วยเรื่อง ปฏิรูปและปรองดองอยู่ด้วย
ก็เชื่อได้ว่า หากสปช. เช่นกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง ชุด ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ หรือ กมธ.ยกร่างรธน. ไปมีข้อเสนออะไรที่ไม่ตรงใจกับพล.อ.ประยุทธ์ เช่น กรรมการศึกษาเรื่องปรองดอง ไปรับฟังความเห็นจากคู่ขัดแย้งทางการเมืองจนครบทุกกลุ่มแล้ว เลยมีข้อเสนอให้มีการนิรโทษกรรม ผู้ร่วมชุมนุมทางการเมือง มายังคสช.-ครม. มองดูแล้ว ก็มีโอกาสได้เห็นการปัดเผือกร้อนนี้จาก คสช.ได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากกรรมการชุดดังกล่าว ไปเสนอเอาในช่วงปลายๆ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็เชื่อได้เลยว่า พล.อ.ประยุทธ์ คงไม่รับไว้แน่นอน แล้วก็อาจโยนให้ไปเป็นเรื่องของรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ดำเนินการแทน เหตุเพราะรู้ดีว่า เรื่องนิรโทษกรรม แม้ต่อให้ไม่นิรโทษกรรมแกนนำการชุมนุมการเมือง แต่ก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางการเมือง ขืนไปรับมาได้วุ่นวายตอน คสช.กำลังใกล้ลาโรง
** ดังนั้น พวกที่ทำงานให้คสช. ทั้งหลาย ไม่ว่าจะทำผ่านแม่น้ำ 5 สาย หรือกรรมการชุดต่างๆ ก็ขอให้ทำใจแต่เนิ่นๆ มีหวังเหนื่อยฟรีแน่นอน ถ้าทำออกมาแล้ว ท่านผู้นำ เคือง ไม่รับลูก