**เริ่มเห็นรอยปริร้าวขึ้นแล้วในหมู่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กับเสียงฟึดฟัด ของสปช.หลายคน ทั้งสปช.จังหวัดและสปช.จากกรอบสรรหา 11 คณะ ที่ออกมาดาหน้าค้านมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือวิปสปช.ชั่วคราวซึ่งมีมติว่า ให้สปช.เปิดโควต้ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนุญฯ จากที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 มาตรา 32 บัญญัติว่าให้มีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญคณะหนึ่งจำนวน 36 คน โดย มาตรา 32 (2) เขียนว่า “ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวนยี่สิบคน” จึงไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็นสปช. ก็ได้ วิปสปช.จึงเห็นควรให้โควต้ากับคนนอกที่ไม่ได้เป็นสปช.5 ที่นั่ง แล้วก็ให้เป็นคนใน คือพวกสปช.ด้วยกันเอง 15 คน
เหตุผลหลักที่สปช.พากันออกมาต้านเรื่องนี้ ทั้งสปช.ที่ไม่เป็นวิป และสปช.ที่เป็นวิปสปช.เองด้วย แต่แพ้โหวตในที่ประชุมวิปชั่วคราว เมื่อ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ไปด้วยจำนวนเสียง 11 ต่อ 8 เสียง
สรุปการไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช.ได้ว่า เป็นเพราะเวลานี้ก็มีสปช.จำนวนมาก โดยเฉพาะสปช.ที่มาจากด้านการเมือง-กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พากันเสนอตัวขอเป็นกรรมาธิการยกร่างรธน.กันจำนวนมาก เบื้องต้นประเมินแล้วรวมทั้งหมดทุกสายน่าจะร่วมๆ เกือบ 30 กว่าคนขึ้นไป เรียกว่าล้นทะลักแล้ว ต้องตัดชื่อออกจำนวนมาก แล้วทำไมต้องไปเปิดพื้นที่ให้คนนอกที่ไม่ได้เป็นสปช.อีก ทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องภายในสปช.ด้วยกันเอง
เหตุผลหลักข้อที่สอง คือ บอกว่าเป็นรธน.ฉบับชั่วคราวให้โควต้ากับรัฐบาลและคสช. รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว ซึ่งทั้งสามส่วนนั้น ก็อาจตั้งคนนอกเป็นกรรมาธิการก็ได้โดยเฉพาะ “คสช.-รัฐบาล” ที่ชัดเจนว่าจะเอาคนนอกหมด เพราะคงไม่มีรัฐมนตรีคนไหนยอมลาออกจากรัฐมนตรีมาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.แน่นอน ขณะที่บอร์ดคสช. 15 คน ก็ล้วนเป็นแต่พวกทหาร แค่งานในกองทัพอย่างเดียวก็ไม่ไหวแล้ว จะมานั่งเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ไม่มีใครเอาแน่นอน
ดังนั้น คสช.-ครม. คงไปเอาคนนอกมาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ทั้งหมด 10 คน แน่นอน จึงไม่ควรที่สปช.จะไปให้โควต้าคนนอกอีก ยิ่งเหตุผลที่สปช. ซึ่งสนับสนุนแนวทางดังกล่าวอ้างว่า ต้องการเปิดพื้นที่ให้คนภายนอก ที่อาจไม่ใช่นักกฎหมายก็ได้แต่เป็นคนที่อยู่ในฝ่ายคู่ขัดแย้งทางการเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยนั้น จึงมีการแย้งว่า องค์ประกอบของสปช. มีความหลากหลายอยู่แล้วในสปช.เอง มีคู่ขัดแย้งที่เป็นคนซึ่งก็เคยอยู่หรือตอนนี้ก็ยังอยู่กับพวกพรรคเพื่อไทยมาก่อน และยังมีคนที่เคยขึ้นเวทีกปปส. ก็มี หากต้องการให้คนเหล่านี้มาเป็นกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ให้สปช.เหล่านี้ซึ่งสปช.ด้วยกันเองก็รู้ว่าใครเป็นใคร ก็ให้มาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ในสัดส่วนสปช.ไปเลย ไม่จำเป็นต้องไปเปิดโควต้าเอาคนนอกมาเป็นอีก
และเหตุผลหลักข้อที่สามคือ อ้างว่า หัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้สภาปฏิรูปฯ นอกจากทำ
หน้าที่วางกรอบปฏิรูปประเทศแล้วยังต้องเป็นผู้ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรธน.ฉบับถาวร ที่กมธ.ยกร่างขึ้นมา จึงมีการให้โควต้ากมธ.ยกร่างรธน. กับสภาปฏิรูปฯมากสุดถึง 20 คน จึงเห็นได้ว่า รธน. ให้ความสำคัญกับสภาปฏิรูปฯมากที่สุด จึงต้องมีสปช.ไปเป็นกมธ.ยกร่างให้มาก เพื่อให้การประสานงานต่างๆ ระหว่างสปช.กับกมธ.ราบรื่น เช่น สปช.ที่เป็นกมธ.ยกร่างรธน. ก็จะนำสิ่งที่สปช.ส่วนใหญ่คิดและต้องการเห็นในร่างรธน.นำไปผลักดันให้อยู่ในร่างรธน.ฉบับถาวร ซึ่งหากการประสานงานเป็นไปได้ด้วยดี ก็จะทำให้การเห็นชอบร่างรธน.ของสปช.ผ่านไปได้ด้วยดี
เหล่านี้คือสามเหตุผลหลักๆ ที่สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ที่ค้านการเปิดโควต้าให้คนนอกยกมาขวางมติของวิปสปช.
**ส่วนเหตุผลที่มีข่าวว่าสมาชิกสปช.พูดกันภายในแบบไม่ผ่านสื่อ ก็เช่น มีการคุยกันว่า หากมีการเปิดพื้นที่ให้คนนอก มันก็อาจเปิดช่องให้ สปช.บางคนที่ใกล้ชิดกับฝ่ายคสช. ไปเอาคนซึ่งคสช.ทาบทาม หรือเล็งไว้ให้มาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.แล้วปรากฏว่า โควต้าของคสช.กับรัฐบาล มันล้นออกมา คือเกินกว่า 10 คน ไม่นับรวมประธานกรรมาธิการยกร่างรธน.ที่บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แต่งตัวรอไปแล้ว พอคนที่คสช.เล็ง หรือไปทาบทามเอาไว้มันเกิน ก็เลยอาจจะมาขอเบียดโควต้าของสปช.
แต่เรื่องนี้ มันเป็นเรื่องคุยกันภายใน เพราะยังไม่มีใครรู้ได้ว่ามันเรื่องจริงหรือเปล่ากับกระแสข่าวดังกล่าว ที่ว่าคสช. จะมาขอเบียดโควต้าสปช.อีก 5 คน แต่ก็มีกระแสข่าวทำนองนี้ออกมา จนเป็นหนึ่งในที่มาของการไม่เห็นด้วยกับการให้โควต้าคนนอก เพราะมองว่าอาจทำให้สุดท้าย คสช. จะไปครอบงำการทำงานของกมธ.ยกร่างรธน. จนชี้นำการยกร่างรธน.ฉบับใหม่ในมาตราสำคัญๆ ได้ เลยทำให้ข้อเสนอของวิปสปช. กับสูตรคนนอก 5 คน มีสปช.หลายส่วนคัดค้านอย่างมาก
ดังนั้นก็ต้องดูกันแล้วว่าในการ การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันจันทร์ที่ 27 ต.ค. 57 ที่มีระเบียบวาระการประชุมออกมาแล้วว่า จะมีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว นั่นก็คือ รายงานความคืบหน้าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) “พิจารณาแนวทางการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จากผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวน 20 คน” สุดท้ายเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมจะว่าอย่างไร จะเอาด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช.หรือไม่ ?
นัยสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ หากไปดูรายชื่อคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือวิปสปช.ชั่วคราว
จะพบว่า เป็นวิปที่มีประธานและรองประธาน ก็คือว่าที่ประธาน-รองประธานสปช. ทั้งหมด เรียงตามลำดับ “เทียนฉาย กีระนันทน์-บวรศักดิ์ อุวรรณโณ- ทัศนา บุญทอง”
**โดยวันประชุมวิปสปช.ดังกล่าว เมื่อ 22 ต.ค. “เทียนฉาย-บวรศักดิ์” ก็นั่งหัวโต๊ะคุมการประชุมจนมีมติดังกล่าวออกมา ดังนั้น หากที่ประชุมใหญ่สภาปฏิรูปฯ วันจันทร์นี้ เสียงส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช.ชั่วคราว นั่นก็หมายถึง การผลักดันเรื่องนี้ของ เทียนฉายและบวรศักดิ์ ถูกสมาชิก ตีตก ไปนั่นเอง
ซึ่งหากออกมาแบบนี้จริง แม้ไม่ใช่เรื่องการเอาชนะคะคานทางการเมือง ไม่ใช่การฉีกหน้า ผู้นำสปช.โดยเฉพาะ บวรศักดิ์ ที่มีกระแสข่าวว่า ก็หนุนแนวทางนี้ แต่ในทางการเมือง ก็ต้องยอมรับว่า วิปสปช. ที่เป็นเสียงข้างมาก ผลักดันเรื่องนี้ โดนเสียงส่วนใหญ่ในสปช. งัดข้อ เข้าให้อย่างจัง จะบอกว่าหน้าแหก อาจแรงเกินไป แต่ก็หน้าแตก พอสมควร
แม้เทียนฉายจะอ้างว่า แนวคิดนี้เป็นแค่ ตุ๊กตาชงมาให้ สปช. ว่าเอาด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ของจริง จะเอาด้วยหรือไม่ ก็ให้มาอภิปราย-โหวตกัน อาจไม่เอาก็ได้ แต่เมื่อมันออกมาเป็นมติวิปสปช. ที่ ว่าที่ประธานสปช. นั่งเป็นประธานแล้วปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย มันก็ปฏิเสธความจริงไปไม่ได้ว่า หน้าแหก นั่นเอง
**แต่หากสุดท้าย เสียงส่วนใหญ่ เอาด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช. ก็ต้องถือว่า ทีมประสาน-มือล็อบบี้ของวิปสปช.เสียงข้างมาก ทำงานดีมาก และได้ผล หากทำให้เสียงส่วนใหญ่มาเอาด้วยกับแนวทางนี้ แต่ดูแล้วโอกาสจะออกมาว่าเอาด้วยกับวิปสปช.เสียงข้างมาก แม้ยังเป็นไปได้ แต่ยากมากที่จะเกิดขึ้น
เหตุผลหลักที่สปช.พากันออกมาต้านเรื่องนี้ ทั้งสปช.ที่ไม่เป็นวิป และสปช.ที่เป็นวิปสปช.เองด้วย แต่แพ้โหวตในที่ประชุมวิปชั่วคราว เมื่อ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ไปด้วยจำนวนเสียง 11 ต่อ 8 เสียง
สรุปการไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช.ได้ว่า เป็นเพราะเวลานี้ก็มีสปช.จำนวนมาก โดยเฉพาะสปช.ที่มาจากด้านการเมือง-กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พากันเสนอตัวขอเป็นกรรมาธิการยกร่างรธน.กันจำนวนมาก เบื้องต้นประเมินแล้วรวมทั้งหมดทุกสายน่าจะร่วมๆ เกือบ 30 กว่าคนขึ้นไป เรียกว่าล้นทะลักแล้ว ต้องตัดชื่อออกจำนวนมาก แล้วทำไมต้องไปเปิดพื้นที่ให้คนนอกที่ไม่ได้เป็นสปช.อีก ทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องภายในสปช.ด้วยกันเอง
เหตุผลหลักข้อที่สอง คือ บอกว่าเป็นรธน.ฉบับชั่วคราวให้โควต้ากับรัฐบาลและคสช. รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว ซึ่งทั้งสามส่วนนั้น ก็อาจตั้งคนนอกเป็นกรรมาธิการก็ได้โดยเฉพาะ “คสช.-รัฐบาล” ที่ชัดเจนว่าจะเอาคนนอกหมด เพราะคงไม่มีรัฐมนตรีคนไหนยอมลาออกจากรัฐมนตรีมาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.แน่นอน ขณะที่บอร์ดคสช. 15 คน ก็ล้วนเป็นแต่พวกทหาร แค่งานในกองทัพอย่างเดียวก็ไม่ไหวแล้ว จะมานั่งเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ไม่มีใครเอาแน่นอน
ดังนั้น คสช.-ครม. คงไปเอาคนนอกมาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ทั้งหมด 10 คน แน่นอน จึงไม่ควรที่สปช.จะไปให้โควต้าคนนอกอีก ยิ่งเหตุผลที่สปช. ซึ่งสนับสนุนแนวทางดังกล่าวอ้างว่า ต้องการเปิดพื้นที่ให้คนภายนอก ที่อาจไม่ใช่นักกฎหมายก็ได้แต่เป็นคนที่อยู่ในฝ่ายคู่ขัดแย้งทางการเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยนั้น จึงมีการแย้งว่า องค์ประกอบของสปช. มีความหลากหลายอยู่แล้วในสปช.เอง มีคู่ขัดแย้งที่เป็นคนซึ่งก็เคยอยู่หรือตอนนี้ก็ยังอยู่กับพวกพรรคเพื่อไทยมาก่อน และยังมีคนที่เคยขึ้นเวทีกปปส. ก็มี หากต้องการให้คนเหล่านี้มาเป็นกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ให้สปช.เหล่านี้ซึ่งสปช.ด้วยกันเองก็รู้ว่าใครเป็นใคร ก็ให้มาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.ในสัดส่วนสปช.ไปเลย ไม่จำเป็นต้องไปเปิดโควต้าเอาคนนอกมาเป็นอีก
และเหตุผลหลักข้อที่สามคือ อ้างว่า หัวใจสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้สภาปฏิรูปฯ นอกจากทำ
หน้าที่วางกรอบปฏิรูปประเทศแล้วยังต้องเป็นผู้ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรธน.ฉบับถาวร ที่กมธ.ยกร่างขึ้นมา จึงมีการให้โควต้ากมธ.ยกร่างรธน. กับสภาปฏิรูปฯมากสุดถึง 20 คน จึงเห็นได้ว่า รธน. ให้ความสำคัญกับสภาปฏิรูปฯมากที่สุด จึงต้องมีสปช.ไปเป็นกมธ.ยกร่างให้มาก เพื่อให้การประสานงานต่างๆ ระหว่างสปช.กับกมธ.ราบรื่น เช่น สปช.ที่เป็นกมธ.ยกร่างรธน. ก็จะนำสิ่งที่สปช.ส่วนใหญ่คิดและต้องการเห็นในร่างรธน.นำไปผลักดันให้อยู่ในร่างรธน.ฉบับถาวร ซึ่งหากการประสานงานเป็นไปได้ด้วยดี ก็จะทำให้การเห็นชอบร่างรธน.ของสปช.ผ่านไปได้ด้วยดี
เหล่านี้คือสามเหตุผลหลักๆ ที่สมาชิกสภาปฏิรูปฯ ที่ค้านการเปิดโควต้าให้คนนอกยกมาขวางมติของวิปสปช.
**ส่วนเหตุผลที่มีข่าวว่าสมาชิกสปช.พูดกันภายในแบบไม่ผ่านสื่อ ก็เช่น มีการคุยกันว่า หากมีการเปิดพื้นที่ให้คนนอก มันก็อาจเปิดช่องให้ สปช.บางคนที่ใกล้ชิดกับฝ่ายคสช. ไปเอาคนซึ่งคสช.ทาบทาม หรือเล็งไว้ให้มาเป็นกมธ.ยกร่างรธน.แล้วปรากฏว่า โควต้าของคสช.กับรัฐบาล มันล้นออกมา คือเกินกว่า 10 คน ไม่นับรวมประธานกรรมาธิการยกร่างรธน.ที่บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แต่งตัวรอไปแล้ว พอคนที่คสช.เล็ง หรือไปทาบทามเอาไว้มันเกิน ก็เลยอาจจะมาขอเบียดโควต้าของสปช.
แต่เรื่องนี้ มันเป็นเรื่องคุยกันภายใน เพราะยังไม่มีใครรู้ได้ว่ามันเรื่องจริงหรือเปล่ากับกระแสข่าวดังกล่าว ที่ว่าคสช. จะมาขอเบียดโควต้าสปช.อีก 5 คน แต่ก็มีกระแสข่าวทำนองนี้ออกมา จนเป็นหนึ่งในที่มาของการไม่เห็นด้วยกับการให้โควต้าคนนอก เพราะมองว่าอาจทำให้สุดท้าย คสช. จะไปครอบงำการทำงานของกมธ.ยกร่างรธน. จนชี้นำการยกร่างรธน.ฉบับใหม่ในมาตราสำคัญๆ ได้ เลยทำให้ข้อเสนอของวิปสปช. กับสูตรคนนอก 5 คน มีสปช.หลายส่วนคัดค้านอย่างมาก
ดังนั้นก็ต้องดูกันแล้วว่าในการ การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ วันจันทร์ที่ 27 ต.ค. 57 ที่มีระเบียบวาระการประชุมออกมาแล้วว่า จะมีการพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว นั่นก็คือ รายงานความคืบหน้าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) “พิจารณาแนวทางการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จากผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวน 20 คน” สุดท้ายเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมจะว่าอย่างไร จะเอาด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช.หรือไม่ ?
นัยสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ หากไปดูรายชื่อคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือวิปสปช.ชั่วคราว
จะพบว่า เป็นวิปที่มีประธานและรองประธาน ก็คือว่าที่ประธาน-รองประธานสปช. ทั้งหมด เรียงตามลำดับ “เทียนฉาย กีระนันทน์-บวรศักดิ์ อุวรรณโณ- ทัศนา บุญทอง”
**โดยวันประชุมวิปสปช.ดังกล่าว เมื่อ 22 ต.ค. “เทียนฉาย-บวรศักดิ์” ก็นั่งหัวโต๊ะคุมการประชุมจนมีมติดังกล่าวออกมา ดังนั้น หากที่ประชุมใหญ่สภาปฏิรูปฯ วันจันทร์นี้ เสียงส่วนใหญ่ไม่เอาด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช.ชั่วคราว นั่นก็หมายถึง การผลักดันเรื่องนี้ของ เทียนฉายและบวรศักดิ์ ถูกสมาชิก ตีตก ไปนั่นเอง
ซึ่งหากออกมาแบบนี้จริง แม้ไม่ใช่เรื่องการเอาชนะคะคานทางการเมือง ไม่ใช่การฉีกหน้า ผู้นำสปช.โดยเฉพาะ บวรศักดิ์ ที่มีกระแสข่าวว่า ก็หนุนแนวทางนี้ แต่ในทางการเมือง ก็ต้องยอมรับว่า วิปสปช. ที่เป็นเสียงข้างมาก ผลักดันเรื่องนี้ โดนเสียงส่วนใหญ่ในสปช. งัดข้อ เข้าให้อย่างจัง จะบอกว่าหน้าแหก อาจแรงเกินไป แต่ก็หน้าแตก พอสมควร
แม้เทียนฉายจะอ้างว่า แนวคิดนี้เป็นแค่ ตุ๊กตาชงมาให้ สปช. ว่าเอาด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ของจริง จะเอาด้วยหรือไม่ ก็ให้มาอภิปราย-โหวตกัน อาจไม่เอาก็ได้ แต่เมื่อมันออกมาเป็นมติวิปสปช. ที่ ว่าที่ประธานสปช. นั่งเป็นประธานแล้วปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย มันก็ปฏิเสธความจริงไปไม่ได้ว่า หน้าแหก นั่นเอง
**แต่หากสุดท้าย เสียงส่วนใหญ่ เอาด้วยกับข้อเสนอของวิปสปช. ก็ต้องถือว่า ทีมประสาน-มือล็อบบี้ของวิปสปช.เสียงข้างมาก ทำงานดีมาก และได้ผล หากทำให้เสียงส่วนใหญ่มาเอาด้วยกับแนวทางนี้ แต่ดูแล้วโอกาสจะออกมาว่าเอาด้วยกับวิปสปช.เสียงข้างมาก แม้ยังเป็นไปได้ แต่ยากมากที่จะเกิดขึ้น