เมื่อเวลา 15.20 น. วานนี้ (12 ม.ค.) ที่รัฐสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงรายงานความคืบหน้าการพิจารณา ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นวันแรกว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 12-16 ม.ค.นี้ กมธ.วางกรอบพิจารณาบททั่วไป ภาค 1 พระมหากษัติร์ย์และประชาชน และ ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง เฉพาะหมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รวมทั้งสิ้น 89 มาตรา โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะพิจารณาเฉลี่ยให้ได้วันละ 18 มาตรา ซึ่งในวันแรกนี้ เป็นการพิจารณาบททั่วไปจำนวน 7 มาตรา ภาค 1 พระมหากษัตริย์ และประชาชน หมวด 1 พระมหากษัตริย์ 18 มาตรา รวมทั้งสิ้น 25 มาตรา
ทั้งนี้สำหรับผลการพิจารณาชื่อร่าง ใช้คำว่า“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”และตั้งแต่บททั่วไป มาตรา 1–6 ไม่มีการแก้ไขถ้อยคำในมาตราดังกล่าว ยกเว้น มาตรา 7 ที่จากเดิมตามรัฐธรรมนูญ 2550 มีเพียงแค่วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่า “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้การกระทำการ หรือวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติรย์ทรงเป็นประมุข” โดย กมธ.ยกร่างฯ ได้เพิ่มวรรคสอง โดยระบุว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกระทำ หรือการวินิจฉัยกรณีใดตามวรรคหนึ่ง สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน ก็ได้ แต่สำหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด ให้กระทำได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี และเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด”
" สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการเพิ่มวรรคสอง ในมาตรา 7 นั้น เนื่องจากตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 เมื่อเกิดสถานการณ์ทางการเมืองมักจะมีการนำ มาตรา 7 มาแอบอ้างในหลายรูปแบบ และส่งผลกระทบต่อสถาบันเบื้องสูง กรณีที่นำมาตรา 7 มาแอบอ้าง มักจะเป็นประเด็นปัญหาที่ไม่มีองค์กรใดมาตัดสินหาข้อยุติได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเปิดช่องทางให้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง มาทำหน้าที่ตัดสินและให้ได้ข้อยุติ เพื่อไม่ให้กระทบ หรือนำสถาบันฯ มาแอบอ้างอีก" โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าว
เมื่อถามว่า การที่กมธ.ยกร่างฯ เพิ่ม วรรคสอง จะเป็นการปิดทางการเสนอนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 หรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะยังมีประเด็นปัญหาที่นอกเหนือไปจาก นายกรัฐมนตรี มาตรา 7 เช่น ก่อนที่จะมีรัฐประหาร ก็เคยมีปัญหาว่ารัฐสภาจะเปิดประชุมได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 น่าจะจบลงตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.49 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ว่า มาตรา 7 ไม่เคยมีการปฏิบัติตามประเพณีการปกครองที่ผ่านมา
เมื่อถามว่า กรณีที่เคยมีกลุ่มคนประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่าไม่มีปัญหา ไม่ว่าอย่างไร ต้องเดินหน้าไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ การที่คนมีมุมมองที่ต่างกัน มันก็ต้องมีองค์กรที่วินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งตามกฎหมายเดิม ก็ได้ระบุแล้วว่า ให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นที่สิ้นสุด และผูกพันทุกองค์กร
**กปปส.ไม่เอาส.ส.บัญชีรายชื่อ
นายชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส. ) ได้เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เห็นมติเบื้องต้นของ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.ยกร่างฯ) ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 กปปส. มีความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า ในส่วนของผู้แทนราษฎรที่มาจากระบบสัดส่วน 200 คน กับแบ่งเขต 250 คนนั้น อยากจะให้ตัดระบบสัดส่วนออกไป เพราะว่าจุดยืนของ กปปส. คือ ต้องการจะตัดส.ส.ในระบบสัดส่วน หรือในระบบบัญชีรายชื่อออก
ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตัดต้นลมในลักษณะของนายทุนพรรค หรือผู้สนับสนุนพรรค ซึ่งไม่ต่างจากการเอาเงินมาซื้อตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นจึงอยากให้ตัด ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด โดยให้เหลือเฉพาะเพียงแค่ระบบแบ่งเขตเท่านั้น
“ที่ผ่านมา ในส่วนของกปปส.เอง ก็ได้มีการพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องนี้กันมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ได้นำความคิดเห็นเสนอไปยัง กมธ.ยกร่างฯ ก็ขอให้ตัด ส.ส.ระบบสัดส่วนออกไป ให้เหลือเฉพาะส.ส.ระบบเขต ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งกปปส. เสนอจุดยืนไปแบบนี้ หากกมธ.ยกร่างฯ จะไม่เอาข้อเสนอของเรา เราก็ต้องยอมรับมติของกมธ.ยกร่างฯ และที่ว่ายอมรับในที่นี้ก็คือ ยอมรับโดยไม่มีข้อติดใจ แต่เรามีจุดยืนชัดเจนว่า เราไม่เอาส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เพราะที่ผ่านมาระบบบัญชีรายชื่อทำให้คนที่ไม่เคยคลุกคลีกับประชาชน หรือแค่เอาเจ้าของซ่องมาเป็นหัวหน้าพรรค มันจึงเกิดความเสียหายขึ้นอย่างที่ผ่านมา และในขณะเดียวกัน เราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การได้มาซึ่ง ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อนั้น มีจุดบกพร่องหลายประการ อย่างเช่นได้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถ้าเขาลงเลือกตั้งก็คงไม่มีโอกาสได้เป็นผู้แทนราษฎร พูดอย่างนี้ ผมไม่ได้ดูถูกเขา แต่ว่าเป็นไปไม่ได้ หมดสิทธิ์ เพราะประชาชนเขารู้อยู่ว่า ประวัติเป็นอย่างไร แต่พอเอาไปอยู่ระบบบัญชีรายชื่อ ก็ตอบแทนกันใหญ่ อันนี้จึงยืนยันว่าไม่เห็นด้วย" นายชุมพล กล่าว
**ค้ามมท.จัดเลือกตั้งแทนกกต.
สำหรับประเด็นที่จะให้กระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ มาดำเนินการจัดการเลือกตั้งแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น มองว่าที่ผ่านมา กกต. มีอำนาจอยู่แล้ว แต่ใช้อำนาจไม่เป็น หรือใช้ได้ไม่เต็มที่ ถ้าในสูตรใหม่จะใช้กระทรวงมหาดไทยจัด มันก็จะเป็นอีกระบบหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาการให้กกต.จัดการเลือกตั้งนั้น ถือเป็นการให้อำนาจที่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าจะให้กระทรวงมหาดไทยจัด ก็อาจจะย้อนกลับไปสู่ยุคเก่าๆ
ส่วนกรณีที่จะริบอำนาจการให้ใบแดง ของกกต.ไปขึ้นกับศาลเลือกตั้งนั้น ในส่วนนี้ ผมเห็นด้วย เพราะว่าในการเลือกตั้งที่ผ่านมาในแต่ละครั้งนั้น พอมีการเลือกตั้งไปแล้ว ก็เคยไปได้ยินคำพูดว่า ต้องเตรียมเอาไว้ไปสู้กับใบเหลือง ใบแดงอีก เพราะในบางเรื่องก็ต้องยอมรับว่า 5 เสือกกต. ก็ไม่ได้มาสอบสวนเอง แต่จะส่งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนลงมาทำหน้าที่แทน ซึ่งผมเองเคยเป็นตำรวจเก่า ผมก็รู้ว่ามันมีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง และบางเรื่องมันก็มีเหตุไปสู่การทุจริตกันได้ ฉะนั้น กกต.จึงควรจะมีอำนาจในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น แต่เรื่องการให้ใบแดง ควรเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของศาลมากกว่า อีกทั้งในเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในองค์กรอิสระ ก็มองว่าดี ลดวาระลงมาถือว่าดี
สำหรับเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันนั้น ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นใคร เรื่องนี้รัฐบาลที่มีอำนาจจะต้องทำอย่างเต็มที่โดยไม่กลั่นแกล้ง ต้องว่ากันไปตามพยานหลักฐาน เพราะที่มวลมหาประชาชนได้พากันออกมาต่อสู้ก็เพื่อให้บ้านเมืองนี้ดีขึ้น ไม่ต้องการให้บ้านเมืองมีการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้นกฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมาย ซึ่งในส่วนนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าประชาชนออกมาแล้ว คนที่ทุจริตคอร์รัปชัน รัฐบาลที่ทุจริตยังลอยนวลอยู่ก็คงไปกันไม่ได้ ก็อยากจะฝากไปยัง คสช. สนช. และสปช. ด้วยว่า ให้ช่วยทำตามที่ชาวบ้านได้ตั้งความหวังไว้ว่า เรื่องที่ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ว่าจะเป็นใครต้องดำเนินการให้เด็ดขาด อันนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
**ยันกปปส.ลงเลือกตั้ง เว้นพระสุเทพ
ส่วนในเรื่องของการเลือกตั้งในอนาคตนั้น ยืนยันว่า ในส่วนของ กปปส. ยกเว้นกำนันสุเทพคนเดียวที่จะไม่ลงรับสมัครเลือกตั้งใดๆ แต่ส่วนของพวกตนที่เหลือ ก็พร้อมที่จะลงเลือกตั้งโดยยืนยันแนวทางการปฏิรูปเหมือนเดิม เพราะว่าพวกตนไม่ได้ประกาศเหมือนลุงกำนัน ที่ประกาศว่าไม่ลงเลือกตั้ง และไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไร กปปส. ก็พร้อมที่จะสานงานเรื่องการปฏิรูปต่อ หากชนะเลือกตั้ง เราก็จะไปผลักดันกันในสภากันต่อ เพราะถือเป็นแนวทางที่หลวงลุงกำนันได้เคยประกาศเอาไว้มาโดยตลอด
ทั้งนี้ กปปส.ไม่ได้ไปแย่งชิงอำนาจของใครมาเป็นของตัวเอง ไม่ใช่ชนะแล้วพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล เราไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด แต่ต้องการทำให้ประเทศดีขึ้น นี่คือจุดยืนของพวกเรา โดยเกิดความรู้สึกเหมือนว่า เราชนะ และก็ได้แยกย้ายกันกลับบ้าน รัฐบาลที่เป็นทรราช รัฐบาลที่ทุจริตก็ต้องมีอันเป็นไป อย่างน้อยคือ เราสามารถหยุดยั้งระบอบทักษิณได้เยอะมากเลยทีเดียว ทำให้ระบอบทักษิณ ที่เป็นเหมือนเชื้อโรคร้ายหยุดแพร่กระจายไปสู่ในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศได้
"การต่อสู้ของ กปปส.ไม่ได้สร้างภาพ เราต่อสู้กันจริงๆ พอชนะเราก็กลับบ้านกันจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมา ก็ไม่ได้เรียกร้องจากรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ว่า เราจะเอาอย่างนั้น จะเอาอย่างนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องการยืนยันก็คือ เราต้องการเอาคนทุจริตมาลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะใหญ่สักแค่ไหน ซึ่งพี่น้องประชาชน กำลังจับตามองเรื่องการทุจริต คอร์รัปชันของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งก็สามารถยืนยันได้ว่า เรายังคงเฝ้าติดตามต่อให้ชนะแล้ว เราก็ยังไม่ทิ้งกัน" นายชุมพล กล่าว
**อ้างตัดสิทธิตลอดชีวิตต่างชาติไม่ยอมรับ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า ขอให้เป็นกติกาที่สง่างามของประเทศไทย เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะรับได้ อย่างที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาดูแลบ้านเมือง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งให้บ้านเมืองไปข้างหน้า เราก็รับได้และเข้าใจ ขอให้ทุกคนเห็นแก่บ้านเมือง ต่างชาติจะได้ไม่มาดูถูกเรา ตนไม่ได้อยากให้มีรัฐธรรมนูญ เพื่อที่ตนจะได้เลือกตั้ง แต่ขอให้เห็นแก่บ้านเมืองดีกว่า เห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายคน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ได้รับความยอมรับจากประชาชน จึงเชื่อว่าจะทำให้รัฐธรรมนูญออกมาให้เป็นสากล ได้รับการยอมรับจากคนไทย และชาวต่างประเทศ
ด้านนายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีแนวคิดเกี่ยวกับการตัดสิทธิผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองตลอดชีวิตว่า สิทธิทางการเมืองเป็นของพลเมือง จะตัดสิทธิตลอดชีวิตไม่ได้ หากจะให้เหตุผลสกัดคนไม่ดีออกจากการเมือง ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ว่า อะไรดีไม่ดีอย่างไร และที่สำคัญต้องทำให้สังคมโลกยอมรับด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญลักษณะนี้ จะเป็นการสกัดกั้นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 และ 109 ออกจากการเมืองหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ไม่กังวล แต่ปัญหาคือ จะทำให้นานาชาติยอมรับได้หรือไม่ เพราะตอนที่ตัดสิทธิ สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ก็ไม่มีกฎหมายรองรับ และความผิดของบุคคลซึ่งเป็นต้นเรื่องที่กล่าวหาพวกเรา ว่าจ้างพรรคเล็กลงแข่งขัน ศาลก็ยกฟ้อง ก็เหมือนกับรับโทษฟรีไปแล้ว
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอให้ประชาชน ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ถ้าให้ประชาชนตัดสิน ก็ต้องทำกันทั้งประเทศ เหมือนกับการทำประชามติ อย่าใช้เพียงประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะจะไม่เป็นธรรม และอาจมีการปกป้องกันเอง แต่ก่อนอื่นใดเลย ควรไปถามประชาชนว่าเขาเห็นด้วยกับการมี สปช.-สนช. ชุดนี้หรือไม่ ตนอยากฝากถึงกมธ.ยกร่างฯว่า การเขียนรัฐธรรมนูญ ต้องมีใจเป็นกลางไม่มีประโยชน์แฝง และไม่หวังให้ฝ่ายหนึ่งชนะอีกฝ่าย มิฉะนั้นบ้านเมืองจะไม่สงบ ในที่สุดทหารก็ต้องออกมาปฏิวัติอีก เดี๋ยวก็ฉีกเดี๋ยวก็เขียนกันอยู่อย่างนี้ ไม่มีวันจบสิ้น
**สปช.เดินสายรับฟังความเห็นปชช.
นางถวิลวดี บุรีกุล ประธานอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เปิดเผยถึงการลงพื้นที่รับฟังความเห็นประชาชนโดยทั่วไป โดยที่แรกเริ่มที่ จ.สุพรรณบุรี ในวันที่ 17 - 18 ม.ค.นี้ โดยจะเป็นรูปแบบการเสวนากลุ่มย่อย เพื่อหาข้อสรุปถึงประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ทั้งเรื่องนักการเมืองที่ดี การสร้างความปรองดอง พลเมืองที่ดี แก้ปัญหาทุจริต ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยผู้ร่วมเสวนาจะเป็นประชาชน จ.สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งคัดเลือกจากการสุ่มทะเบียนบ้านผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แล้วเชิญมาให้ความเห็น จำนวน 160 คน และอีก 40 คน มาจากกลุ่มเฉพาะทาง อาทิ ผู้พิการ เยาวชน ซึ่งการลงพื้นที่จะไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด ในวันที่ 23 - 24 ม.ค.นี้ แล้วจะตามด้วย จ.อุดรธานี ในวันที่ 14 - 15 ก.พ. และ จ.สุรินทร์ในวันที่ 7 - 8 มี.ค.
ส่วนการลงพื้นที่ที่มีความเห็นต่างสูง จะต้องมีการตกลงกติการ่วมกัน โดยมีผู้มีความรู้ความสามารถมาร่วมกระบวนการเพื่อให้กลุ่มที่เห็นต่างพูดคุยกันได้ หรืออาจให้ตั้งเวทีเฉพาะสำหรับผู้ที่เห็นต่าง แล้วรวมความเห็นส่งต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการส่วนความเห็นจากผู้เห็นต่างบ้างแล้ว โดยในระหว่างการพิจารณายกร่าง ทางอนุกรรมาธิการก็จะมีการรวมรวมความเห็นประชาชนส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้สำหรับผลการพิจารณาชื่อร่าง ใช้คำว่า“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”และตั้งแต่บททั่วไป มาตรา 1–6 ไม่มีการแก้ไขถ้อยคำในมาตราดังกล่าว ยกเว้น มาตรา 7 ที่จากเดิมตามรัฐธรรมนูญ 2550 มีเพียงแค่วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่า “เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้การกระทำการ หรือวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติรย์ทรงเป็นประมุข” โดย กมธ.ยกร่างฯ ได้เพิ่มวรรคสอง โดยระบุว่า “ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกระทำ หรือการวินิจฉัยกรณีใดตามวรรคหนึ่ง สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน ก็ได้ แต่สำหรับศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด ให้กระทำได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี และเมื่อมีมติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด”
" สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการเพิ่มวรรคสอง ในมาตรา 7 นั้น เนื่องจากตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 เมื่อเกิดสถานการณ์ทางการเมืองมักจะมีการนำ มาตรา 7 มาแอบอ้างในหลายรูปแบบ และส่งผลกระทบต่อสถาบันเบื้องสูง กรณีที่นำมาตรา 7 มาแอบอ้าง มักจะเป็นประเด็นปัญหาที่ไม่มีองค์กรใดมาตัดสินหาข้อยุติได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเปิดช่องทางให้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง มาทำหน้าที่ตัดสินและให้ได้ข้อยุติ เพื่อไม่ให้กระทบ หรือนำสถาบันฯ มาแอบอ้างอีก" โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าว
เมื่อถามว่า การที่กมธ.ยกร่างฯ เพิ่ม วรรคสอง จะเป็นการปิดทางการเสนอนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 หรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะยังมีประเด็นปัญหาที่นอกเหนือไปจาก นายกรัฐมนตรี มาตรา 7 เช่น ก่อนที่จะมีรัฐประหาร ก็เคยมีปัญหาว่ารัฐสภาจะเปิดประชุมได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 น่าจะจบลงตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.49 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ว่า มาตรา 7 ไม่เคยมีการปฏิบัติตามประเพณีการปกครองที่ผ่านมา
เมื่อถามว่า กรณีที่เคยมีกลุ่มคนประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ นายคำนูณ กล่าวว่าไม่มีปัญหา ไม่ว่าอย่างไร ต้องเดินหน้าไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ การที่คนมีมุมมองที่ต่างกัน มันก็ต้องมีองค์กรที่วินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งตามกฎหมายเดิม ก็ได้ระบุแล้วว่า ให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นที่สิ้นสุด และผูกพันทุกองค์กร
**กปปส.ไม่เอาส.ส.บัญชีรายชื่อ
นายชุมพล จุลใส อดีต ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส. ) ได้เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้เห็นมติเบื้องต้นของ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.ยกร่างฯ) ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 กปปส. มีความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า ในส่วนของผู้แทนราษฎรที่มาจากระบบสัดส่วน 200 คน กับแบ่งเขต 250 คนนั้น อยากจะให้ตัดระบบสัดส่วนออกไป เพราะว่าจุดยืนของ กปปส. คือ ต้องการจะตัดส.ส.ในระบบสัดส่วน หรือในระบบบัญชีรายชื่อออก
ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตัดต้นลมในลักษณะของนายทุนพรรค หรือผู้สนับสนุนพรรค ซึ่งไม่ต่างจากการเอาเงินมาซื้อตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นจึงอยากให้ตัด ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด โดยให้เหลือเฉพาะเพียงแค่ระบบแบ่งเขตเท่านั้น
“ที่ผ่านมา ในส่วนของกปปส.เอง ก็ได้มีการพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องนี้กันมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ได้นำความคิดเห็นเสนอไปยัง กมธ.ยกร่างฯ ก็ขอให้ตัด ส.ส.ระบบสัดส่วนออกไป ให้เหลือเฉพาะส.ส.ระบบเขต ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งกปปส. เสนอจุดยืนไปแบบนี้ หากกมธ.ยกร่างฯ จะไม่เอาข้อเสนอของเรา เราก็ต้องยอมรับมติของกมธ.ยกร่างฯ และที่ว่ายอมรับในที่นี้ก็คือ ยอมรับโดยไม่มีข้อติดใจ แต่เรามีจุดยืนชัดเจนว่า เราไม่เอาส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เพราะที่ผ่านมาระบบบัญชีรายชื่อทำให้คนที่ไม่เคยคลุกคลีกับประชาชน หรือแค่เอาเจ้าของซ่องมาเป็นหัวหน้าพรรค มันจึงเกิดความเสียหายขึ้นอย่างที่ผ่านมา และในขณะเดียวกัน เราก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การได้มาซึ่ง ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อนั้น มีจุดบกพร่องหลายประการ อย่างเช่นได้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถ้าเขาลงเลือกตั้งก็คงไม่มีโอกาสได้เป็นผู้แทนราษฎร พูดอย่างนี้ ผมไม่ได้ดูถูกเขา แต่ว่าเป็นไปไม่ได้ หมดสิทธิ์ เพราะประชาชนเขารู้อยู่ว่า ประวัติเป็นอย่างไร แต่พอเอาไปอยู่ระบบบัญชีรายชื่อ ก็ตอบแทนกันใหญ่ อันนี้จึงยืนยันว่าไม่เห็นด้วย" นายชุมพล กล่าว
**ค้ามมท.จัดเลือกตั้งแทนกกต.
สำหรับประเด็นที่จะให้กระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงศึกษาธิการ มาดำเนินการจัดการเลือกตั้งแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น มองว่าที่ผ่านมา กกต. มีอำนาจอยู่แล้ว แต่ใช้อำนาจไม่เป็น หรือใช้ได้ไม่เต็มที่ ถ้าในสูตรใหม่จะใช้กระทรวงมหาดไทยจัด มันก็จะเป็นอีกระบบหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาการให้กกต.จัดการเลือกตั้งนั้น ถือเป็นการให้อำนาจที่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าจะให้กระทรวงมหาดไทยจัด ก็อาจจะย้อนกลับไปสู่ยุคเก่าๆ
ส่วนกรณีที่จะริบอำนาจการให้ใบแดง ของกกต.ไปขึ้นกับศาลเลือกตั้งนั้น ในส่วนนี้ ผมเห็นด้วย เพราะว่าในการเลือกตั้งที่ผ่านมาในแต่ละครั้งนั้น พอมีการเลือกตั้งไปแล้ว ก็เคยไปได้ยินคำพูดว่า ต้องเตรียมเอาไว้ไปสู้กับใบเหลือง ใบแดงอีก เพราะในบางเรื่องก็ต้องยอมรับว่า 5 เสือกกต. ก็ไม่ได้มาสอบสวนเอง แต่จะส่งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนลงมาทำหน้าที่แทน ซึ่งผมเองเคยเป็นตำรวจเก่า ผมก็รู้ว่ามันมีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง และบางเรื่องมันก็มีเหตุไปสู่การทุจริตกันได้ ฉะนั้น กกต.จึงควรจะมีอำนาจในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น แต่เรื่องการให้ใบแดง ควรเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของศาลมากกว่า อีกทั้งในเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการในองค์กรอิสระ ก็มองว่าดี ลดวาระลงมาถือว่าดี
สำหรับเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันนั้น ตนเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นใคร เรื่องนี้รัฐบาลที่มีอำนาจจะต้องทำอย่างเต็มที่โดยไม่กลั่นแกล้ง ต้องว่ากันไปตามพยานหลักฐาน เพราะที่มวลมหาประชาชนได้พากันออกมาต่อสู้ก็เพื่อให้บ้านเมืองนี้ดีขึ้น ไม่ต้องการให้บ้านเมืองมีการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้นกฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมาย ซึ่งในส่วนนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าประชาชนออกมาแล้ว คนที่ทุจริตคอร์รัปชัน รัฐบาลที่ทุจริตยังลอยนวลอยู่ก็คงไปกันไม่ได้ ก็อยากจะฝากไปยัง คสช. สนช. และสปช. ด้วยว่า ให้ช่วยทำตามที่ชาวบ้านได้ตั้งความหวังไว้ว่า เรื่องที่ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ว่าจะเป็นใครต้องดำเนินการให้เด็ดขาด อันนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
**ยันกปปส.ลงเลือกตั้ง เว้นพระสุเทพ
ส่วนในเรื่องของการเลือกตั้งในอนาคตนั้น ยืนยันว่า ในส่วนของ กปปส. ยกเว้นกำนันสุเทพคนเดียวที่จะไม่ลงรับสมัครเลือกตั้งใดๆ แต่ส่วนของพวกตนที่เหลือ ก็พร้อมที่จะลงเลือกตั้งโดยยืนยันแนวทางการปฏิรูปเหมือนเดิม เพราะว่าพวกตนไม่ได้ประกาศเหมือนลุงกำนัน ที่ประกาศว่าไม่ลงเลือกตั้ง และไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะมีหน้าตาออกมาเป็นอย่างไร กปปส. ก็พร้อมที่จะสานงานเรื่องการปฏิรูปต่อ หากชนะเลือกตั้ง เราก็จะไปผลักดันกันในสภากันต่อ เพราะถือเป็นแนวทางที่หลวงลุงกำนันได้เคยประกาศเอาไว้มาโดยตลอด
ทั้งนี้ กปปส.ไม่ได้ไปแย่งชิงอำนาจของใครมาเป็นของตัวเอง ไม่ใช่ชนะแล้วพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล เราไม่ได้ทำเพื่อพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด แต่ต้องการทำให้ประเทศดีขึ้น นี่คือจุดยืนของพวกเรา โดยเกิดความรู้สึกเหมือนว่า เราชนะ และก็ได้แยกย้ายกันกลับบ้าน รัฐบาลที่เป็นทรราช รัฐบาลที่ทุจริตก็ต้องมีอันเป็นไป อย่างน้อยคือ เราสามารถหยุดยั้งระบอบทักษิณได้เยอะมากเลยทีเดียว ทำให้ระบอบทักษิณ ที่เป็นเหมือนเชื้อโรคร้ายหยุดแพร่กระจายไปสู่ในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศได้
"การต่อสู้ของ กปปส.ไม่ได้สร้างภาพ เราต่อสู้กันจริงๆ พอชนะเราก็กลับบ้านกันจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมา ก็ไม่ได้เรียกร้องจากรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ว่า เราจะเอาอย่างนั้น จะเอาอย่างนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องการยืนยันก็คือ เราต้องการเอาคนทุจริตมาลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะใหญ่สักแค่ไหน ซึ่งพี่น้องประชาชน กำลังจับตามองเรื่องการทุจริต คอร์รัปชันของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งก็สามารถยืนยันได้ว่า เรายังคงเฝ้าติดตามต่อให้ชนะแล้ว เราก็ยังไม่ทิ้งกัน" นายชุมพล กล่าว
**อ้างตัดสิทธิตลอดชีวิตต่างชาติไม่ยอมรับ
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า ขอให้เป็นกติกาที่สง่างามของประเทศไทย เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะรับได้ อย่างที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาดูแลบ้านเมือง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งให้บ้านเมืองไปข้างหน้า เราก็รับได้และเข้าใจ ขอให้ทุกคนเห็นแก่บ้านเมือง ต่างชาติจะได้ไม่มาดูถูกเรา ตนไม่ได้อยากให้มีรัฐธรรมนูญ เพื่อที่ตนจะได้เลือกตั้ง แต่ขอให้เห็นแก่บ้านเมืองดีกว่า เห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายคน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็ได้รับความยอมรับจากประชาชน จึงเชื่อว่าจะทำให้รัฐธรรมนูญออกมาให้เป็นสากล ได้รับการยอมรับจากคนไทย และชาวต่างประเทศ
ด้านนายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีแนวคิดเกี่ยวกับการตัดสิทธิผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองตลอดชีวิตว่า สิทธิทางการเมืองเป็นของพลเมือง จะตัดสิทธิตลอดชีวิตไม่ได้ หากจะให้เหตุผลสกัดคนไม่ดีออกจากการเมือง ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ว่า อะไรดีไม่ดีอย่างไร และที่สำคัญต้องทำให้สังคมโลกยอมรับด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญลักษณะนี้ จะเป็นการสกัดกั้นสมาชิกบ้านเลขที่ 111 และ 109 ออกจากการเมืองหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ไม่กังวล แต่ปัญหาคือ จะทำให้นานาชาติยอมรับได้หรือไม่ เพราะตอนที่ตัดสิทธิ สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ก็ไม่มีกฎหมายรองรับ และความผิดของบุคคลซึ่งเป็นต้นเรื่องที่กล่าวหาพวกเรา ว่าจ้างพรรคเล็กลงแข่งขัน ศาลก็ยกฟ้อง ก็เหมือนกับรับโทษฟรีไปแล้ว
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอให้ประชาชน ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ถ้าให้ประชาชนตัดสิน ก็ต้องทำกันทั้งประเทศ เหมือนกับการทำประชามติ อย่าใช้เพียงประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะจะไม่เป็นธรรม และอาจมีการปกป้องกันเอง แต่ก่อนอื่นใดเลย ควรไปถามประชาชนว่าเขาเห็นด้วยกับการมี สปช.-สนช. ชุดนี้หรือไม่ ตนอยากฝากถึงกมธ.ยกร่างฯว่า การเขียนรัฐธรรมนูญ ต้องมีใจเป็นกลางไม่มีประโยชน์แฝง และไม่หวังให้ฝ่ายหนึ่งชนะอีกฝ่าย มิฉะนั้นบ้านเมืองจะไม่สงบ ในที่สุดทหารก็ต้องออกมาปฏิวัติอีก เดี๋ยวก็ฉีกเดี๋ยวก็เขียนกันอยู่อย่างนี้ ไม่มีวันจบสิ้น
**สปช.เดินสายรับฟังความเห็นปชช.
นางถวิลวดี บุรีกุล ประธานอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เปิดเผยถึงการลงพื้นที่รับฟังความเห็นประชาชนโดยทั่วไป โดยที่แรกเริ่มที่ จ.สุพรรณบุรี ในวันที่ 17 - 18 ม.ค.นี้ โดยจะเป็นรูปแบบการเสวนากลุ่มย่อย เพื่อหาข้อสรุปถึงประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ทั้งเรื่องนักการเมืองที่ดี การสร้างความปรองดอง พลเมืองที่ดี แก้ปัญหาทุจริต ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยผู้ร่วมเสวนาจะเป็นประชาชน จ.สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งคัดเลือกจากการสุ่มทะเบียนบ้านผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แล้วเชิญมาให้ความเห็น จำนวน 160 คน และอีก 40 คน มาจากกลุ่มเฉพาะทาง อาทิ ผู้พิการ เยาวชน ซึ่งการลงพื้นที่จะไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด ในวันที่ 23 - 24 ม.ค.นี้ แล้วจะตามด้วย จ.อุดรธานี ในวันที่ 14 - 15 ก.พ. และ จ.สุรินทร์ในวันที่ 7 - 8 มี.ค.
ส่วนการลงพื้นที่ที่มีความเห็นต่างสูง จะต้องมีการตกลงกติการ่วมกัน โดยมีผู้มีความรู้ความสามารถมาร่วมกระบวนการเพื่อให้กลุ่มที่เห็นต่างพูดคุยกันได้ หรืออาจให้ตั้งเวทีเฉพาะสำหรับผู้ที่เห็นต่าง แล้วรวมความเห็นส่งต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีการส่วนความเห็นจากผู้เห็นต่างบ้างแล้ว โดยในระหว่างการพิจารณายกร่าง ทางอนุกรรมาธิการก็จะมีการรวมรวมความเห็นประชาชนส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อประกอบการพิจารณา