จากกรณีที่ นายเอกภพ เหลือรา หรือ “ตั้ง อาชีวะ”ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการขึ้นเวทีปราศรัยจาบจ้วง กล่าวอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันเบื้องสูง บนเวทีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ในนามแกนนำกลุ่มนักศึกษาอาชีวะเพื่อประชาธิปไตย ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อปี 2556 ได้โพสต์ภาพผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงการมีชีวิตที่สุขสบาย พร้อมแสดงหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ของประเทศนิวซีแลนด์ ยืนยันว่า ตนและแฟนสาวได้เป็นพลเมืองของนิวซีแลนด์โดยสมบูรณ์แล้ว กระทั่งมีการตั้งคำถามไปยังรัฐบาลนิวซีแลนด์ ถึงการได้มาซึ่งหนังสือเดินทางของนายเอกภพ และแฟนสาว
รายงานข่าวแจ้งว่า นายเอกภพ ได้เดินทางเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ในฐานะผู้ลี้ภัย(Refugee)ตั้งแต่ปีก่อน เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาติ (UNHCR)สำนักงานกัมพูชา ในกรุงพนมเปญ ได้เป็นหน่วยงานที่ให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่ นายเอกภพ เมื่อปีที่ผ่านมา หลังจากที่เขาได้ลักลอบหลบหนีคดีอาญาออกจากประเทศไทย เข้าไปในประเทศกัมพูชา ซึ่งบุคคลที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากยูเอ็นเอชซีอาร์ นั้น สามารถเข้ามาพำนักในนิวซีแลนด์ได้ ภายใต้ระบบโควตาผู้ลี้ภัย ซึ่งข้อตกลงระหว่างสหประชาชาติ กับรัฐบาลนิวซีแลนด์ ที่สหประชาชาติมีโควตาไปอาศัยในประเทศนิวซีแลนด์ได้ปีละ 750 คน
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นอีกด้านหนึ่งว่า หนังสือเดินทางที่นายเอกภพได้รับ เป็นเพียงแค่วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวรในนิวซีแลนด์ (Permanent Resident Visa)ไม่ใช่เป็นพลเมือง(Citizenship)นิวซีแลนด์โดยตรง ซึ่งตามกฏ จะต้องมีเงื่อนไขว่า ต้องถือวีซ่านี้และอาศัยในประเทศนิวซีแลนด์อย่างต่ำ 5 ปี ถึงจะยื่นขอเป็นพลเมือง และขอหนังสือเดินทางของประเทศนิวซีแลนด์ได้ ซึ่งหมายความว่า ช่วงเวลานี้ หากถูกส่งตัวกลับ หรือยกเลิก ก็ถือว่าวีซ่าดังกล่าวเป็นโมฆะ
เฟซบุ๊กเพจชื่อ “ล้านชื่อต้านล้างผิด”ที่เคยเคลื่อนไหวในการชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้โพสต์ข้อความของผู้ใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า “Jhumpot Soleil”ระบุว่า เพื่อนของตนที่ใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า Saijai เขียนไปถามถึงสาเหตุที่อนุญาตให้ นายเอกภพได้สถานะผู้ลี้ภัย หลังจากนั้น ทางยูเอ็นเอชซีอาร์ ก็ตอบกลับมา เพื่อนจึงขอยกเลิกการบริจาคอีกครั้ง ชั่วโมงถัดมา เจ้าหน้าที่ไทยของยูเอ็นเอชซีอาร์ โทรศัพท์กลับมา สอบถามสาเหตุที่ขอยกเลิกการบริจาค
คำชี้แจงของยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย ระบุว่า การรับรองสถานะผู้ลี้ภัยรัฐบาลของประเทศนั้นๆเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการขอลี้ภัย และพิจารณารับรองสถานะผู้ลี้ภัยของบุคคลนั้นๆ ขอยืนยันอีกครั้งว่า เงินบริจาคทั้งหมด ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ ผู้หญิงที่ถูกกระทำจากสงคราม ผู้พิการจากความรุนแรง และผู้สูงอายุ ที่พลัดพรากจากครอบครัวในประเทศไทยเท่านั้น และขออนุญาตพิจารณาการบริจาคอีกครั้ง งบประมาณทั้งหมดในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ดำเนินการได้ด้วยเงินบริจาคพวกเขา ไม่มีแม้แต่ประเทศตนเอง และต้องอยู่ในค่ายมานานกว่า 30 ปี
"การบริจาคช่วยให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นโครงการขาเทียมแขนเทียม โครงการห้องเรียนพิเศษของเด็กพิการ โครงการช่วยเหลือหญิงที่ถูกกระทำ หรือโครงการคืนครอบครัวให้ผู้สูงอายุที่พลัดพรากจากกันเพราะสงคราม หากขาดการบริจาค โครงการที่สำคัญต่อชีวิตเหล่านี้อาจต้องปิดตัวลง ซึ่งจะทำให้พวกเขาเปราะบางมากขึ้นไปอีกได้โปรดพิจารณาด้วย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อเราได้ทันที" คำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ จากยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย ระบุ
นอกจากนี้ เฟซบุ๊กเพจ UNHCRThailand ยังได้มีสมาชิกเฟซบุ๊กจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้บริจาคให้กับยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย ออกมาแสดงความรู้สึกผิดหวัง และไม่พอใจ ถึงการให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่ นายเอกภพ พร้อมทั้งมองว่า ยูเอ็นเอชซีอาร์ สนับสนุนคนที่กระทำความผิด และมีจุดประสงค์ในการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย เฉกเช่นนายเอกภพ ไม่ให้รับโทษตามกฎหมาย และพร้อมกันนี้ยังแสดงความจำนงขอยกเลิกการบริจาคพร้อมกันด้วย
อย่างไรก็ตาม การยกเลิกการบริจาคให้กับยูเอ็นเอชซีอาร์ จะต้องดำเนินการทางโทรศัพท์กับฝ่ายผู้บริจาคสัมพันธ์ในเวลาทำการ และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ จากยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
อนึ่ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ ยูเอ็นเอชซีอาร์ประจำประเทศไทย ได้ระบุว่า ทุกปีรัฐบาลไทยได้บริจาคเงินจำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 657,000 บาท ) เพื่อช่วยเหลือการทำงานของยูเอ็นเอชซีอาร์ ส่วนภาคธุรกิจได้มอบพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า และอาคารสำนักงานกว่า 125 แห่ง สำหรับบูธระดมทุนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ และในระยะเวลากว่า 4 ปี ยูเอ็นเอชซีอาร์ มีผู้บริจาคมากกว่า 24,000 คน ในประเทศไทย โดยยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย มอบหมายให้บริษัท แอพโก้ ดำเนินการระดมทุนสำหรับบุคคลทั่วไปผ่านบูธระดมทุน ที่จะเดินสายไปตามห้างสรรพสินค้า และอาคารสำนักงานต่างๆ โดยชำระผ่านบัตรเครดิต แบบต่อเนื่อง ขั้นต่ำ 300 บาทต่อเดือน และสูงสุด 700 บาท ต่อเดือน
รายงานข่าวแจ้งว่า นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนอนวันอาทิตย์สีแดง ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก ชื่อ “สมบัติ บุญงามอนงค์” ตำหนิกรณีที่มีการโพสต์ข้อความเสนอเรื่องราวว่ามีคนไทยซึ่งเป็นผู้บริจาครายใหญ่ให้องค์กร UNHCR ประกาศยุติการบริจาคเงินให้องค์กรดังกล่าว ภายหลังจากที่ UNHCR ให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่นายเอกภพ เหลือรา หรือ “ตั้ง อาชีวะ” ผู้ต้องหาหมิ่น จาบจ้วงกล่าวอาฆาดมาดร้ายสถาบันเบื้องสูง จนสามารถอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ได้ ว่า ไม่เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นจริง
นายสมบัติ กล่าวว่า มีคนไทยสักกี่คนที่รู้จัก UNHCR ว่าทำงานอะไรบ้างทั่วโลก และเป็นองค์กรภายใต้ UN และกี่คนที่รู้ว่ารัฐบาลไทย คือผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ในฐานะสมาชิก UN ที่ต้องส่งเงินสนับสนุนกิจการของ UN เวลาคนไทยทำบุญ ภาพที่เห็นส่วนใหญ่เงินไปอยู่ที่วัด ทำสิ่งก่อสร้างใหญ่โต หรือไม่ก็บริจาคให้กับมูลนิธิดังๆ ไม่กี่แห่ง จะมีองค์กรระดับนานาชาติที่คนไทยรู้จักและบริจาคมากสุดน่าจะเป็น UNICEF แต่ไม่แน่ใจว่ารู้จักใครสักคนที่เป็นผู้บริจาคให้กับ UNHCR ที่เป็นคนไทย
“แน่นอนว่า ผู้บริจาคย่อมสามารถแสดงท่าทีไม่พอใจต่อการดำเนินการขององค์กรที่ตนเองสนับสนุนได้ แต่ถ้าจะให้ดี คนที่อ้างตัวว่าเป็นผู้บริจาคช่วยแสดงหลักฐานว่าคุณเป็นผู้บริจาคตัวจริงหน่อย และที่สำคัญคือคุณพร้อมอธิบายโต้เถียงและทำความเข้าใจต่อหลักคิดและการดำเนินการขององค์กรเหล่านั้น”
รายงานข่าวแจ้งว่า นายเอกภพ ได้เดินทางเข้ามาพำนักอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ในฐานะผู้ลี้ภัย(Refugee)ตั้งแต่ปีก่อน เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาติ (UNHCR)สำนักงานกัมพูชา ในกรุงพนมเปญ ได้เป็นหน่วยงานที่ให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่ นายเอกภพ เมื่อปีที่ผ่านมา หลังจากที่เขาได้ลักลอบหลบหนีคดีอาญาออกจากประเทศไทย เข้าไปในประเทศกัมพูชา ซึ่งบุคคลที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากยูเอ็นเอชซีอาร์ นั้น สามารถเข้ามาพำนักในนิวซีแลนด์ได้ ภายใต้ระบบโควตาผู้ลี้ภัย ซึ่งข้อตกลงระหว่างสหประชาชาติ กับรัฐบาลนิวซีแลนด์ ที่สหประชาชาติมีโควตาไปอาศัยในประเทศนิวซีแลนด์ได้ปีละ 750 คน
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นอีกด้านหนึ่งว่า หนังสือเดินทางที่นายเอกภพได้รับ เป็นเพียงแค่วีซ่าผู้อยู่อาศัยถาวรในนิวซีแลนด์ (Permanent Resident Visa)ไม่ใช่เป็นพลเมือง(Citizenship)นิวซีแลนด์โดยตรง ซึ่งตามกฏ จะต้องมีเงื่อนไขว่า ต้องถือวีซ่านี้และอาศัยในประเทศนิวซีแลนด์อย่างต่ำ 5 ปี ถึงจะยื่นขอเป็นพลเมือง และขอหนังสือเดินทางของประเทศนิวซีแลนด์ได้ ซึ่งหมายความว่า ช่วงเวลานี้ หากถูกส่งตัวกลับ หรือยกเลิก ก็ถือว่าวีซ่าดังกล่าวเป็นโมฆะ
เฟซบุ๊กเพจชื่อ “ล้านชื่อต้านล้างผิด”ที่เคยเคลื่อนไหวในการชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้โพสต์ข้อความของผู้ใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า “Jhumpot Soleil”ระบุว่า เพื่อนของตนที่ใช้ชื่อเฟซบุ๊กว่า Saijai เขียนไปถามถึงสาเหตุที่อนุญาตให้ นายเอกภพได้สถานะผู้ลี้ภัย หลังจากนั้น ทางยูเอ็นเอชซีอาร์ ก็ตอบกลับมา เพื่อนจึงขอยกเลิกการบริจาคอีกครั้ง ชั่วโมงถัดมา เจ้าหน้าที่ไทยของยูเอ็นเอชซีอาร์ โทรศัพท์กลับมา สอบถามสาเหตุที่ขอยกเลิกการบริจาค
คำชี้แจงของยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย ระบุว่า การรับรองสถานะผู้ลี้ภัยรัฐบาลของประเทศนั้นๆเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการขอลี้ภัย และพิจารณารับรองสถานะผู้ลี้ภัยของบุคคลนั้นๆ ขอยืนยันอีกครั้งว่า เงินบริจาคทั้งหมด ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กที่ไม่มีพ่อแม่ ผู้หญิงที่ถูกกระทำจากสงคราม ผู้พิการจากความรุนแรง และผู้สูงอายุ ที่พลัดพรากจากครอบครัวในประเทศไทยเท่านั้น และขออนุญาตพิจารณาการบริจาคอีกครั้ง งบประมาณทั้งหมดในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ดำเนินการได้ด้วยเงินบริจาคพวกเขา ไม่มีแม้แต่ประเทศตนเอง และต้องอยู่ในค่ายมานานกว่า 30 ปี
"การบริจาคช่วยให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นโครงการขาเทียมแขนเทียม โครงการห้องเรียนพิเศษของเด็กพิการ โครงการช่วยเหลือหญิงที่ถูกกระทำ หรือโครงการคืนครอบครัวให้ผู้สูงอายุที่พลัดพรากจากกันเพราะสงคราม หากขาดการบริจาค โครงการที่สำคัญต่อชีวิตเหล่านี้อาจต้องปิดตัวลง ซึ่งจะทำให้พวกเขาเปราะบางมากขึ้นไปอีกได้โปรดพิจารณาด้วย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อเราได้ทันที" คำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ จากยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย ระบุ
นอกจากนี้ เฟซบุ๊กเพจ UNHCRThailand ยังได้มีสมาชิกเฟซบุ๊กจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้บริจาคให้กับยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย ออกมาแสดงความรู้สึกผิดหวัง และไม่พอใจ ถึงการให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่ นายเอกภพ พร้อมทั้งมองว่า ยูเอ็นเอชซีอาร์ สนับสนุนคนที่กระทำความผิด และมีจุดประสงค์ในการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย เฉกเช่นนายเอกภพ ไม่ให้รับโทษตามกฎหมาย และพร้อมกันนี้ยังแสดงความจำนงขอยกเลิกการบริจาคพร้อมกันด้วย
อย่างไรก็ตาม การยกเลิกการบริจาคให้กับยูเอ็นเอชซีอาร์ จะต้องดำเนินการทางโทรศัพท์กับฝ่ายผู้บริจาคสัมพันธ์ในเวลาทำการ และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ จากยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
อนึ่ง ข้อมูลจากเว็บไซต์ ยูเอ็นเอชซีอาร์ประจำประเทศไทย ได้ระบุว่า ทุกปีรัฐบาลไทยได้บริจาคเงินจำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 657,000 บาท ) เพื่อช่วยเหลือการทำงานของยูเอ็นเอชซีอาร์ ส่วนภาคธุรกิจได้มอบพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า และอาคารสำนักงานกว่า 125 แห่ง สำหรับบูธระดมทุนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ และในระยะเวลากว่า 4 ปี ยูเอ็นเอชซีอาร์ มีผู้บริจาคมากกว่า 24,000 คน ในประเทศไทย โดยยูเอ็นเอชซีอาร์ประเทศไทย มอบหมายให้บริษัท แอพโก้ ดำเนินการระดมทุนสำหรับบุคคลทั่วไปผ่านบูธระดมทุน ที่จะเดินสายไปตามห้างสรรพสินค้า และอาคารสำนักงานต่างๆ โดยชำระผ่านบัตรเครดิต แบบต่อเนื่อง ขั้นต่ำ 300 บาทต่อเดือน และสูงสุด 700 บาท ต่อเดือน
รายงานข่าวแจ้งว่า นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด แกนนอนวันอาทิตย์สีแดง ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก ชื่อ “สมบัติ บุญงามอนงค์” ตำหนิกรณีที่มีการโพสต์ข้อความเสนอเรื่องราวว่ามีคนไทยซึ่งเป็นผู้บริจาครายใหญ่ให้องค์กร UNHCR ประกาศยุติการบริจาคเงินให้องค์กรดังกล่าว ภายหลังจากที่ UNHCR ให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่นายเอกภพ เหลือรา หรือ “ตั้ง อาชีวะ” ผู้ต้องหาหมิ่น จาบจ้วงกล่าวอาฆาดมาดร้ายสถาบันเบื้องสูง จนสามารถอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ได้ ว่า ไม่เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นจริง
นายสมบัติ กล่าวว่า มีคนไทยสักกี่คนที่รู้จัก UNHCR ว่าทำงานอะไรบ้างทั่วโลก และเป็นองค์กรภายใต้ UN และกี่คนที่รู้ว่ารัฐบาลไทย คือผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดในประเทศนี้ในฐานะสมาชิก UN ที่ต้องส่งเงินสนับสนุนกิจการของ UN เวลาคนไทยทำบุญ ภาพที่เห็นส่วนใหญ่เงินไปอยู่ที่วัด ทำสิ่งก่อสร้างใหญ่โต หรือไม่ก็บริจาคให้กับมูลนิธิดังๆ ไม่กี่แห่ง จะมีองค์กรระดับนานาชาติที่คนไทยรู้จักและบริจาคมากสุดน่าจะเป็น UNICEF แต่ไม่แน่ใจว่ารู้จักใครสักคนที่เป็นผู้บริจาคให้กับ UNHCR ที่เป็นคนไทย
“แน่นอนว่า ผู้บริจาคย่อมสามารถแสดงท่าทีไม่พอใจต่อการดำเนินการขององค์กรที่ตนเองสนับสนุนได้ แต่ถ้าจะให้ดี คนที่อ้างตัวว่าเป็นผู้บริจาคช่วยแสดงหลักฐานว่าคุณเป็นผู้บริจาคตัวจริงหน่อย และที่สำคัญคือคุณพร้อมอธิบายโต้เถียงและทำความเข้าใจต่อหลักคิดและการดำเนินการขององค์กรเหล่านั้น”