นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง ข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ จัดการเลือกตั้งว่า สิ่งสำคัญเราพูดถึงอำนาจหน้าที่ซึ่งกกต.มีอำนาจหน้าที่จัดการเลือกตั้งโดยตรง แต่มหาดไทยกับกระทรวงศึกษาฯ มีภารกิจบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และจัดการศึกษา ถ้าอยากเปลี่ยนก็เปลี่ยนได้ แต่จะเหมาะสมหรือไม่ เพราะการจัดการเลือกตั้งไม่ใช่แค่แค่ทำให้สำเร็จ แต่ต้องทำให้ดี สามารถคัดกรองคนดี มีคุณภาพ เข้าสู่ระบบการเมือง ซึ่งกกต.มีประสบการณ์มา16 ปี รู้ถึงเล่ห์กลที่ฝ่ายการเมืองจะใช้เพื่อให้ตัวเองได้รับเลือกตั้งเข้ามา ทำให้เชื่อว่า จะสามารถคัดกรองคนดีเข้ามาได้ แต่ถ้าจะให้กระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงศึกษาฯ จัดการเลือกตั้ง คงทำแค่ให้การเลือกตั้งสำเร็จ และรับรองความชอบธรรมให้ฝ่ายการเมือง หรือได้คนทุจริตเข้าสู่การเมืองได้
นายสมชัย กล่าวอีกว่า หากจะใช้มหาดไทยและศึกษาฯ จัดการเลือกตั้ง ถามว่าทุกวันนี้ใครจะเป็นผู้ว่าฯ จะต้องได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองในพื้นที่หรือไม่ ขณะที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กล้าปฏิเสธหรือไม่ว่าไม่ใช่หัวคะแนนนักการเมือง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็เป็นเครือญาตินักการเมือง ส่วนบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ ก็ใช้เส้นสายนักการเมืองในการเติบโต ถ้าหากสิ่งเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ก็ไม่ควรให้การจัดเลือกตั้งไปอยู่ภายใต้หน่วยงานราชการ เพราะไม่สามารถไว้วางใจได้ว่าจะจัดเลือกตั้งได้เป็นกลาง
ทั้งนี้ แนวคิดที่จะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมาจากคน 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มร้อนวิชา เป็นพวกอยากลองของใหม่ เห็นว่าสิ่งที่เป็นอยู่มีปัญหา ทั้งที่เรื่องการเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องที่จะมาทดลองกัน การแก้ปัญหาต้องมองถึงทางออก คิดถึงอนาคต ไม่ใช่ทำอะไรเป็นการถอยหลังเข้าคลอง
2. กลุ่มบ้าอำนาจ เป็นพวกนักการเมืองที่มองการณ์ไกลว่าหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าสามารถเข้าไปกำกับดูแลกระทรวงมหาดไทย และศึกษาฯก็จะสามารถควบคุมการเลือกตั้งได้
3. กลุ่มที่มีอำนาจในปัจจุบัน ซึ่งตนไม่รู้ว่าจะใช้คำว่าอะไร แต่กลุ่มนี้คิดที่จะใช้อำนาจที่มีอยู่ในปัจจุบัน ควบคุมกลไกต่างๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ไม่ได้มองระยะยาว
"จริงอยู่ว่าคนของกระทรวงมหาดไทย และศึกษาฯ เข้ามาช่วยจัดการเลือกตั้ง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของกกต. ที่ใช้กลไกที่มีอยู่ในการดูแล จะไม่เหมือนกับแนวคิดใหม่ที่ กกต.จะกลายเป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น การคิดใหม่ในเรื่องนี้ ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนนิทานจันทโครพ สปช.ท้ายสุดจะเหมือนนางโมรา ที่ยื่นดาบให้กับโจร สิ่งที่เราคิดว่าจะให้เกิด คือจัดการกับโจร คนทุจริต เราก็สร้างกลไกขึ้นมา แต่กลายเป็นว่าฝ่ายโจรกลับได้ดาบนั้นไป แล้วเอาดาบนั้นมาทิ่มแทงเรา ก็เท่ากับว่าเรายื่นดาบให้กับโจร ดังนั้นการจะร่างอะไร ประสบการณ์ในอดีตเป็นตัวชี้ ไม่ใช่แค่มองปัญหาในปัจจุบัน จึงอยากให้คนคิดมีสติ เพราะการสร้างกลไกขึ้นมาไม่ได้อยู่ครั้งเดียว แต่จะอยู่ไปเรื่อยๆ ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้คิดเพื่อกกต. หรือหวงอำนาจ แต่คิดตามหลักสากล หน่วยงานที่จะจัดการเลือกตั้ง จะเป็นหน่วยงานใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นกกต. แต่ขอให้มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้กำกับนักการเมือง หรือหน่วยราชการ เพราะประวัติศาสตร์ชี้แล้วว่า ราชการประจำไม่อยู่ในฐานะที่จะไว้ใจว่าเป็นกลางทางการเมือง" นายสมชัย กล่าว
ส่วนการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเลือกตั้ง ก็ต้องไม่เป็นลักษณะเข้ามาร่วมตรวจสอบการเลือกตั้งอย่างในปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้องค์กรเอกชน ไม่ได้มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง ทำให้การตรวจสอบเหมือนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และการตรวจสอบกลายเป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น ขณะที่การจะให้เข้ามามีส่วนเป็นกกต.จังหวัด ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการสรรหาที่ปัจจุบันยังมองว่า ต้องได้หัวหน้าส่วนราชการมาเป็นกกต. เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งได้รับการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าฯ หรือผู้กำกับการตำรวจ ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้ตนไม่ไว้ใจกกต.จังหวัดร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าจะสร้างกลไกที่ไว้ใจได้ ต้องมีภาคประชาสังคมเข้ามาเป็นกกต.จังหวัด ในสัดส่วนที่เป็นเสียงข้างมาก
นายสมชัย ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการฟ้องร้องค่าเสียหาย 3,000ล้าน กับผู้ที่ทำให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะว่า วันที่ 20 ม.ค. ก็จะรู้ เพราะให้คณะทำงานของสำนักกฎหมายกกต. เสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมกกต. ถ้าหากข้อมูลชัดเจนก็จะทราบว่าจะฟ้องใคร ข้อหาอะไร มูลค่าความเสียหายเท่าไร แต่ถ้าข้อมูลยังไม่ชัดเจน ก็จะให้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม แต่ต้องไม่เกินวันที่ 27 ม.ค. ซึ่งหลักคิดคือใครผิดก็ฟ้อง เมื่อถามว่า กกต.ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยใช่หรือไม่ นายสมชัยกล่าวว่า ไม่ตอบ
นายสมชัย กล่าวอีกว่า หากจะใช้มหาดไทยและศึกษาฯ จัดการเลือกตั้ง ถามว่าทุกวันนี้ใครจะเป็นผู้ว่าฯ จะต้องได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองในพื้นที่หรือไม่ ขณะที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กล้าปฏิเสธหรือไม่ว่าไม่ใช่หัวคะแนนนักการเมือง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็เป็นเครือญาตินักการเมือง ส่วนบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ ก็ใช้เส้นสายนักการเมืองในการเติบโต ถ้าหากสิ่งเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ก็ไม่ควรให้การจัดเลือกตั้งไปอยู่ภายใต้หน่วยงานราชการ เพราะไม่สามารถไว้วางใจได้ว่าจะจัดเลือกตั้งได้เป็นกลาง
ทั้งนี้ แนวคิดที่จะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมาจากคน 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มร้อนวิชา เป็นพวกอยากลองของใหม่ เห็นว่าสิ่งที่เป็นอยู่มีปัญหา ทั้งที่เรื่องการเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องที่จะมาทดลองกัน การแก้ปัญหาต้องมองถึงทางออก คิดถึงอนาคต ไม่ใช่ทำอะไรเป็นการถอยหลังเข้าคลอง
2. กลุ่มบ้าอำนาจ เป็นพวกนักการเมืองที่มองการณ์ไกลว่าหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าสามารถเข้าไปกำกับดูแลกระทรวงมหาดไทย และศึกษาฯก็จะสามารถควบคุมการเลือกตั้งได้
3. กลุ่มที่มีอำนาจในปัจจุบัน ซึ่งตนไม่รู้ว่าจะใช้คำว่าอะไร แต่กลุ่มนี้คิดที่จะใช้อำนาจที่มีอยู่ในปัจจุบัน ควบคุมกลไกต่างๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ไม่ได้มองระยะยาว
"จริงอยู่ว่าคนของกระทรวงมหาดไทย และศึกษาฯ เข้ามาช่วยจัดการเลือกตั้ง แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของกกต. ที่ใช้กลไกที่มีอยู่ในการดูแล จะไม่เหมือนกับแนวคิดใหม่ที่ กกต.จะกลายเป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น การคิดใหม่ในเรื่องนี้ ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนนิทานจันทโครพ สปช.ท้ายสุดจะเหมือนนางโมรา ที่ยื่นดาบให้กับโจร สิ่งที่เราคิดว่าจะให้เกิด คือจัดการกับโจร คนทุจริต เราก็สร้างกลไกขึ้นมา แต่กลายเป็นว่าฝ่ายโจรกลับได้ดาบนั้นไป แล้วเอาดาบนั้นมาทิ่มแทงเรา ก็เท่ากับว่าเรายื่นดาบให้กับโจร ดังนั้นการจะร่างอะไร ประสบการณ์ในอดีตเป็นตัวชี้ ไม่ใช่แค่มองปัญหาในปัจจุบัน จึงอยากให้คนคิดมีสติ เพราะการสร้างกลไกขึ้นมาไม่ได้อยู่ครั้งเดียว แต่จะอยู่ไปเรื่อยๆ ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้คิดเพื่อกกต. หรือหวงอำนาจ แต่คิดตามหลักสากล หน่วยงานที่จะจัดการเลือกตั้ง จะเป็นหน่วยงานใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นกกต. แต่ขอให้มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้กำกับนักการเมือง หรือหน่วยราชการ เพราะประวัติศาสตร์ชี้แล้วว่า ราชการประจำไม่อยู่ในฐานะที่จะไว้ใจว่าเป็นกลางทางการเมือง" นายสมชัย กล่าว
ส่วนการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเลือกตั้ง ก็ต้องไม่เป็นลักษณะเข้ามาร่วมตรวจสอบการเลือกตั้งอย่างในปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้องค์กรเอกชน ไม่ได้มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง ทำให้การตรวจสอบเหมือนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และการตรวจสอบกลายเป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น ขณะที่การจะให้เข้ามามีส่วนเป็นกกต.จังหวัด ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการสรรหาที่ปัจจุบันยังมองว่า ต้องได้หัวหน้าส่วนราชการมาเป็นกกต. เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งได้รับการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าฯ หรือผู้กำกับการตำรวจ ซึ่งตรงนี้ก็ทำให้ตนไม่ไว้ใจกกต.จังหวัดร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าจะสร้างกลไกที่ไว้ใจได้ ต้องมีภาคประชาสังคมเข้ามาเป็นกกต.จังหวัด ในสัดส่วนที่เป็นเสียงข้างมาก
นายสมชัย ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการฟ้องร้องค่าเสียหาย 3,000ล้าน กับผู้ที่ทำให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะว่า วันที่ 20 ม.ค. ก็จะรู้ เพราะให้คณะทำงานของสำนักกฎหมายกกต. เสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมกกต. ถ้าหากข้อมูลชัดเจนก็จะทราบว่าจะฟ้องใคร ข้อหาอะไร มูลค่าความเสียหายเท่าไร แต่ถ้าข้อมูลยังไม่ชัดเจน ก็จะให้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม แต่ต้องไม่เกินวันที่ 27 ม.ค. ซึ่งหลักคิดคือใครผิดก็ฟ้อง เมื่อถามว่า กกต.ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยใช่หรือไม่ นายสมชัยกล่าวว่า ไม่ตอบ