**หมดช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง การเมืองไทยหลังเบรกหลบให้เทศกาลปีใหม่ กลับมาเข้มข้นเหมือนเดิม เริ่มประเดิมตั้งแต่เรื่องแรกรับสัปดาห์ทำงานกับการแถลงเปิดคดีของ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.มิชอบ วันที่ 8 ม.ค. ต่อเนื่องวันที่ 9 ม.ค. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีละเว้นไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวจนก่อให้เกิดความเสียหาย
แม้จะยังไม่รู้ผลชี้ขาดในวันเดียว แต่ตลอดเดือนม.ค.นี้ สถานการณ์ในประเทศไทยจะเปราะบาง และคุกรุ่น ล่อแหลมต่อการเติมฟืนให้ลุกโชนได้ตลอดเวลา ทั้งฝ่ายนักโทษชายทักษิณพ่วงนปช. กับพรรคประชาธิปัตย์พ่วงกปปส. ที่ต้องรุมเร้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ดำเนินการไปในทิศทางที่ตัวเองได้ประโยชน์ หรือปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง ทำให้ฝ่ายกุมอำนาจในฐานะผู้กำหนดหางเสือประเทศอย่างรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องปวดกบาล ชั่งตวงผลกระทบหากตัดสินใจไปทางใดทางหนึ่งแน่นอน
คำตอบก่อนหน้านี้ที่ว่า มีดีลใหญ่ปล่อยผีเพื่อความปรองดองสมานฉันท์ ตามท่าทีของ “บิ๊กกี่”พล.อ.นพดล อินทปัญญา สมาชิก สนช. เพื่อนรัก “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ก่อนหน้านี้ที่ลั่นฆ้องว่า ไม่สามารถถอดถอนได้ อาจมีการไตร่ตรองอะไรบางอย่างกันบ้างแล้ว หลังจากพรรคประชาธิปัตย์พ่วงกปปส. ขึงขังตั้งธงไม่ยอมกับสนช. ลงเอยแบบนี้
ค่ายสีฟ้าและกปปส.เป็นสิ่งที่คสช.มองข้ามไม่ได้เลย ต่อให้มีกระบองอย่างกฎอัยการศึกอยู่ในมือก็ตาม เพราะอาจกลายเป็นคลื่นใต้น้ำที่ทรงพลังไม่น้อยหากลุกขึ้นมางัดข้อกับคนกันเอง เห็นได้จากการเคลื่อนม็อบยางกระตุกคสช.ในช่วงก่อนปีใหม่ ที่ทำเอาคนในรัฐบาลเดินส่ายเป็นงู กว่าจะเคลียร์ได้ เล่นเอาอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหนังหน้าไฟ กินพาราเซตามอลหมดไปหลายกระปุก กว่าม็อบจะยอมหยุดเคลื่อนไหวชั่วคราวให้
**งานนี้เลยต้องรอดูว่า คสช. จะตัดสินใจอย่างไร บวกลบคูณหารแล้วควรจะต้องเทน้ำหนักไปฝั่งไหน เพราะกุมเสียงส่วนใหญ่ในสนช. ที่มีทหารเกินกว่าครึ่งสภา ตามสภาวะกลับก็ไม่ได้ ไปก็ไม่ถึง ขี่หลังเสือแล้วจะลงก็เสี่ยงตาย คงต้องไปกันให้สุดทาง
และไม่ใช่ว่า จบคดีสมศักดิ์–นิคม และยิ่งลักษณ์ จะยกภูเขาออกมาจากอกได้ เพราะคดี 38 ส.ว. จ่อคิวตามกันมาติดๆ สนช. เตรียมจะบรรจุสำนวนกันในสัปดาห์นี้ แถมยังมีลิ่วล้อ 286 ส.ส. ที่ตกค้างอยู่ในมือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งขณะนี้กำลังลับมีดจะฟันกันอยู่อีกไม่กี่วันข้างหน้า เรียกว่า ตลอดทั้งปี นอกจากออกกฎหมายแล้ว สนช.คงต้องหมกมุ่นอยู่กับเรื่องถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่รู้จบ
ทุกคดีอย่างไรก็ไม่ง่าย อย่าง 38 ส.ว. ที่ตั้งแท่นสู้แบบหมูไม่กลัวน้ำร้อน พร้อมแลกกับผู้มีอำนาจ มั่นใจในอาวุธที่ตัวเองมีอยู่ว่า จะหักล้างกับพวกสนช.ได้แบบหมดจด เพราะข้อหาที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดมาเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวสิ้นสภาพกลายเป็นกระดาษธรรมดาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะมาถอดถอนได้ โดยมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นแหล่งอ้างอิงชั้นดี เนื่องจากหลายคดีศาลยุติไต่สวนด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญสิ้นสุดไปแล้ว
ที่ผ่านมาคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร หากจะไม่ผูกพันกับ สนช. เท่ากับว่า สภาแห่งนี้กำลังทำตัวมีอภิสิทธิ์ อยู่เหนือกฎหมาย ใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล ถ้าเถียงกันด้วยตัวบทกฎหมาย อดีตส.ว.แก๊งชำแหละรัฐธรรมนูญถือไพ่ในมือได้เปรียบกว่าตอนนี้ นอกเสียจากผู้มีอำนาจตัวจริงในรัฐบาลส่งซิกมาว่า จะเอากันให้ตายในทางการเมือง ตรงนั้นถือว่า ซวยไป แต่จะตอกย้ำให้เห็นถึงภาพสองมาตรฐาน
อานิสงส์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่อาจส่งผลให้อดีต 38 ส.ว. รอดตัวจากคมดาบแล้ว อาจแผ่ไปถึง 268 ส.ส.บางคนในมือป.ป.ช.อีกด้วย เพราะในจำนวนดังกล่าวหลายคนแค่ร่วมเสนอกฎหมาย และลงมติในบางวาระ ซึ่งตามคำร้องให้เอาผิดกับคนเหล่านี้ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เท่านั้น ดังนั้น หากส.ว.ล็อตแรกในสนช.รอดตาย พวกนี้ก็รอดตามในมาตรฐานเดียวกัน แต่หากชุดแรกแหกโค้ง ก็มีอันต้องตายตกไปตามกัน
**แต่จะมี 268 ส.ส. ประเภทเคราะห์กรรมยังไม่หมด ต่อให้รอดในชั้นสนช. ก็ตาม แน่ๆ เลยคือ พวกปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งตอนยื่นเสนอกฎหมายใช้ฉบับหนึ่ง แต่เวลาพิจารณาในสภา ใช้อีกฉบับหนึ่ง รวมถึงพวกเสียบบัตรแทนกันที่หลักฐานโจ่งแจ้ง คงต้องไปต่อสู้กันในคดีอาญาอีกยาว
พวกแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.มิชอบ ไม่ค่อยน่าจะซีเรียสอะไรเท่าไรหากเทียบกับยิ่งลักษณ์ เพราะยังมีช่องแถเรื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่สิ้นสภาพไปแล้วได้ แต่น้องสาวนักโทษชายรายนี้ ดันมีชนักปักหลังหลายข้อหา ทั้งความผิดตามรัฐธรรมนูญ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 สนช. น่าจะถกเถียงกันในสภาอย่างดุ เดือด โดยเฉพาะสนช. สายนักวิชาการ และอดีตข้าราชการ ที่ลั่นแล้วว่า ต้องหักล้างกันด้วยข้อกฎหมายเท่านั้น เรื่องดีลเรื่องสมานฉันท์ ไม่คุย หากจะใช้เสียงข้างมากลากไป ต่อไปไม่ต้องมีวิปให้เกะกะสารบบ
เหตุผลที่จะทำให้ยิ่งลักษณ์จะเหนื่อยเป็นคูณสองคือ หากในช่วงสนช. กำลังพิจารณาถอดถอน อัยการสูงสุด (อสส.) ผีเข้า สั่งฟ้องคดีอาญากรณีละเว้นไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพอดี สนช.สายที่อยากจะถอนรากถอนโคนได้มีน้ำหนักในเหตุผลของตัวเองมากขึ้นเข้าไปอีก ตรงกันข้าม หากสนช.ปล่อยผีให้ยิ่งลักษณ์รอด ในขณะที่อสส. สั่งฟ้อง ซึ่งสวนทางกันแบบแปลกประหลาด อาจจะโดนถ้วย ถัง กะละมัง หม้อ จากชาวบ้านเขวี้ยงใส่แน่
**คดีถอดถอนในมือสนช. ประจำปีแพะ คนที่มีเปอร์เซ็นต์สูงจะมอดไหม้ทางการเมืองจึงน่าจะส่องไปที่ ยิ่งลักษณ์ และ บรรดาส.ส.ในองคาพยพบางคนที่กระทำผิดอาญากรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.มิชอบ เท่านั้น ฝ่ายกุมอำนาจไม่น่าจะโหดเหี้ยมจนถึงขนาดสังหารหมู่ทางการเมือง 300 กว่าชีวิตทีเดียว
**เพราะถ้าทำโอกาสที่อุณหภูมิทางการเมืองจะพุ่งปรี๊ดมีสูงมาก ซึ่งการเลือกที่รักมักที่ฟันแบบนี้ น่าจะวิน–วิน รักษาบรรยากาศทุกฝ่าย
แม้จะยังไม่รู้ผลชี้ขาดในวันเดียว แต่ตลอดเดือนม.ค.นี้ สถานการณ์ในประเทศไทยจะเปราะบาง และคุกรุ่น ล่อแหลมต่อการเติมฟืนให้ลุกโชนได้ตลอดเวลา ทั้งฝ่ายนักโทษชายทักษิณพ่วงนปช. กับพรรคประชาธิปัตย์พ่วงกปปส. ที่ต้องรุมเร้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ดำเนินการไปในทิศทางที่ตัวเองได้ประโยชน์ หรือปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง ทำให้ฝ่ายกุมอำนาจในฐานะผู้กำหนดหางเสือประเทศอย่างรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องปวดกบาล ชั่งตวงผลกระทบหากตัดสินใจไปทางใดทางหนึ่งแน่นอน
คำตอบก่อนหน้านี้ที่ว่า มีดีลใหญ่ปล่อยผีเพื่อความปรองดองสมานฉันท์ ตามท่าทีของ “บิ๊กกี่”พล.อ.นพดล อินทปัญญา สมาชิก สนช. เพื่อนรัก “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ก่อนหน้านี้ที่ลั่นฆ้องว่า ไม่สามารถถอดถอนได้ อาจมีการไตร่ตรองอะไรบางอย่างกันบ้างแล้ว หลังจากพรรคประชาธิปัตย์พ่วงกปปส. ขึงขังตั้งธงไม่ยอมกับสนช. ลงเอยแบบนี้
ค่ายสีฟ้าและกปปส.เป็นสิ่งที่คสช.มองข้ามไม่ได้เลย ต่อให้มีกระบองอย่างกฎอัยการศึกอยู่ในมือก็ตาม เพราะอาจกลายเป็นคลื่นใต้น้ำที่ทรงพลังไม่น้อยหากลุกขึ้นมางัดข้อกับคนกันเอง เห็นได้จากการเคลื่อนม็อบยางกระตุกคสช.ในช่วงก่อนปีใหม่ ที่ทำเอาคนในรัฐบาลเดินส่ายเป็นงู กว่าจะเคลียร์ได้ เล่นเอาอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหนังหน้าไฟ กินพาราเซตามอลหมดไปหลายกระปุก กว่าม็อบจะยอมหยุดเคลื่อนไหวชั่วคราวให้
**งานนี้เลยต้องรอดูว่า คสช. จะตัดสินใจอย่างไร บวกลบคูณหารแล้วควรจะต้องเทน้ำหนักไปฝั่งไหน เพราะกุมเสียงส่วนใหญ่ในสนช. ที่มีทหารเกินกว่าครึ่งสภา ตามสภาวะกลับก็ไม่ได้ ไปก็ไม่ถึง ขี่หลังเสือแล้วจะลงก็เสี่ยงตาย คงต้องไปกันให้สุดทาง
และไม่ใช่ว่า จบคดีสมศักดิ์–นิคม และยิ่งลักษณ์ จะยกภูเขาออกมาจากอกได้ เพราะคดี 38 ส.ว. จ่อคิวตามกันมาติดๆ สนช. เตรียมจะบรรจุสำนวนกันในสัปดาห์นี้ แถมยังมีลิ่วล้อ 286 ส.ส. ที่ตกค้างอยู่ในมือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งขณะนี้กำลังลับมีดจะฟันกันอยู่อีกไม่กี่วันข้างหน้า เรียกว่า ตลอดทั้งปี นอกจากออกกฎหมายแล้ว สนช.คงต้องหมกมุ่นอยู่กับเรื่องถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่รู้จบ
ทุกคดีอย่างไรก็ไม่ง่าย อย่าง 38 ส.ว. ที่ตั้งแท่นสู้แบบหมูไม่กลัวน้ำร้อน พร้อมแลกกับผู้มีอำนาจ มั่นใจในอาวุธที่ตัวเองมีอยู่ว่า จะหักล้างกับพวกสนช.ได้แบบหมดจด เพราะข้อหาที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดมาเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวสิ้นสภาพกลายเป็นกระดาษธรรมดาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะมาถอดถอนได้ โดยมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นแหล่งอ้างอิงชั้นดี เนื่องจากหลายคดีศาลยุติไต่สวนด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญสิ้นสุดไปแล้ว
ที่ผ่านมาคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร หากจะไม่ผูกพันกับ สนช. เท่ากับว่า สภาแห่งนี้กำลังทำตัวมีอภิสิทธิ์ อยู่เหนือกฎหมาย ใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล ถ้าเถียงกันด้วยตัวบทกฎหมาย อดีตส.ว.แก๊งชำแหละรัฐธรรมนูญถือไพ่ในมือได้เปรียบกว่าตอนนี้ นอกเสียจากผู้มีอำนาจตัวจริงในรัฐบาลส่งซิกมาว่า จะเอากันให้ตายในทางการเมือง ตรงนั้นถือว่า ซวยไป แต่จะตอกย้ำให้เห็นถึงภาพสองมาตรฐาน
อานิสงส์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่อาจส่งผลให้อดีต 38 ส.ว. รอดตัวจากคมดาบแล้ว อาจแผ่ไปถึง 268 ส.ส.บางคนในมือป.ป.ช.อีกด้วย เพราะในจำนวนดังกล่าวหลายคนแค่ร่วมเสนอกฎหมาย และลงมติในบางวาระ ซึ่งตามคำร้องให้เอาผิดกับคนเหล่านี้ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เท่านั้น ดังนั้น หากส.ว.ล็อตแรกในสนช.รอดตาย พวกนี้ก็รอดตามในมาตรฐานเดียวกัน แต่หากชุดแรกแหกโค้ง ก็มีอันต้องตายตกไปตามกัน
**แต่จะมี 268 ส.ส. ประเภทเคราะห์กรรมยังไม่หมด ต่อให้รอดในชั้นสนช. ก็ตาม แน่ๆ เลยคือ พวกปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งตอนยื่นเสนอกฎหมายใช้ฉบับหนึ่ง แต่เวลาพิจารณาในสภา ใช้อีกฉบับหนึ่ง รวมถึงพวกเสียบบัตรแทนกันที่หลักฐานโจ่งแจ้ง คงต้องไปต่อสู้กันในคดีอาญาอีกยาว
พวกแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.มิชอบ ไม่ค่อยน่าจะซีเรียสอะไรเท่าไรหากเทียบกับยิ่งลักษณ์ เพราะยังมีช่องแถเรื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่สิ้นสภาพไปแล้วได้ แต่น้องสาวนักโทษชายรายนี้ ดันมีชนักปักหลังหลายข้อหา ทั้งความผิดตามรัฐธรรมนูญ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 สนช. น่าจะถกเถียงกันในสภาอย่างดุ เดือด โดยเฉพาะสนช. สายนักวิชาการ และอดีตข้าราชการ ที่ลั่นแล้วว่า ต้องหักล้างกันด้วยข้อกฎหมายเท่านั้น เรื่องดีลเรื่องสมานฉันท์ ไม่คุย หากจะใช้เสียงข้างมากลากไป ต่อไปไม่ต้องมีวิปให้เกะกะสารบบ
เหตุผลที่จะทำให้ยิ่งลักษณ์จะเหนื่อยเป็นคูณสองคือ หากในช่วงสนช. กำลังพิจารณาถอดถอน อัยการสูงสุด (อสส.) ผีเข้า สั่งฟ้องคดีอาญากรณีละเว้นไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพอดี สนช.สายที่อยากจะถอนรากถอนโคนได้มีน้ำหนักในเหตุผลของตัวเองมากขึ้นเข้าไปอีก ตรงกันข้าม หากสนช.ปล่อยผีให้ยิ่งลักษณ์รอด ในขณะที่อสส. สั่งฟ้อง ซึ่งสวนทางกันแบบแปลกประหลาด อาจจะโดนถ้วย ถัง กะละมัง หม้อ จากชาวบ้านเขวี้ยงใส่แน่
**คดีถอดถอนในมือสนช. ประจำปีแพะ คนที่มีเปอร์เซ็นต์สูงจะมอดไหม้ทางการเมืองจึงน่าจะส่องไปที่ ยิ่งลักษณ์ และ บรรดาส.ส.ในองคาพยพบางคนที่กระทำผิดอาญากรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.มิชอบ เท่านั้น ฝ่ายกุมอำนาจไม่น่าจะโหดเหี้ยมจนถึงขนาดสังหารหมู่ทางการเมือง 300 กว่าชีวิตทีเดียว
**เพราะถ้าทำโอกาสที่อุณหภูมิทางการเมืองจะพุ่งปรี๊ดมีสูงมาก ซึ่งการเลือกที่รักมักที่ฟันแบบนี้ น่าจะวิน–วิน รักษาบรรยากาศทุกฝ่าย