ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวานนี้ (6ม.ค.) ได้มีการพิจารณารายงานการศึกษา เรื่องสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติกับการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน ของคณะกรรมการการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ พิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายพลเดช ปิ่นประทีป ประธานคณะกรรมการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ได้เสนอรายงานว่า จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของประเทศอยู่ในขั้นวิกฤตอย่างหนัก กระทบต่อการพัฒนา และความมั่นคงของประเทศ จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูและพัฒนาทั้งระบบอย่างเร่งด่วน โดยจัดตั้ง"สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ" เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้บริหารระดับสูง กรรมการในองค์กรตรวจสอบในการใช้อำนาจรัฐ องค์กรอิสระ นักการเมืองท้องถิ่น สอบทานการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ของบุคคลและเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะโดยได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย
ซึ่งในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ ขอให้สภานิติบัญญัติ (สนช.) ตรา พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ... ก่อนจะมีการตั้งรัฐบาลใหม่หลังกระบวนการผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อทำหน้าที่รณรงค์ทางสังคม ฟื้นฟูแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลให้เกิดผลต่อการปฏิรูป ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญ โดยให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 โดยให้มีโครงสร้างของคณะกรรมาธิการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ 5 คน ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ โดยการแนะนำของวุฒิสภา
นายพลเดช กล่าวว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวยังให้มีที่ประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ มาจากตัวแทนภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมที่ไม่มีผลประโยชน์ขัดกัน จำนวนไม่น้อยกว่า 55 คน ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคคลและองค์กรข้างต้น และจัดกระบวนการสอบทานการปฏิบัติของบุคคลดังกล่าว โดยมีการลงมติการตัดสินพฤติกรรม และประกาศรายงานข้อมูลต่อสาธารณะ โดยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยคณะกรรมการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ทั้ง 5 คน และที่ประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จะไม่มีเงินเดือนประชุม มีแต่เบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายจำเป็นและค่าตอบแทน ส่วนการบริหาร จะใช้ศูนย์คุณธรรมเป็นสำนักงาน และทุนรายได้ทรัพย์สินจะมาจากเงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากศูนย์คุณธรรม เงินอุดหนุนทั่วไป ที่รัฐบาลจัดสรรให้รายปี และเงินอุดหนุนจากเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นจากต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศหรือเงิน หรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
"ข้อเสนอนี้ มั่นใจว่าเป็นการปฏิรูป เพราะเปลี่ยนกระบวนวิธีคิด และแนวทางการจัดการปัญหา เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ลึกที่สุด เป็นการปฏิรูปเร็วใน 1 ปี จากเดิมที่ใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นหลักมาเป็นการใช้มาตรการทางสังคมนำหน้าหนุนเสริมกัน เป็นกลไกบูรณาการทุกองค์กรที่มีอยู่ เป็นเครื่องนำพาการสร้างพลังทางสังคม บนฐานการใช้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ เป็นแนวทางใหม่ที่มุ่งใช้พลังแบบอ่อนมาเสริมพลังกฎหมายที่เป้นพลังแบบแข็ง ไม่ได้มีการตั้งองค์กรใหม่ โดยยกเลิกองค์กรเดิมและจัดตั้งใหม่มาแทน มีขอบเขตการทำงานแคบเพียงเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ส่วนด้านกฎหมายยังเป็นขององค์กรอิสระเดิม" นายนพลเดช กล่าว
ด้านนายอำพล จินดาวัฒนะ กรรมการปฏิรูปคุณธรรมฯ กล่าวว่า บ้านเราให้ความสนใจการปราบปรามการทุจริตโดยการใช้กฎหมาย เป็นเหรียญด้านหนึ่ง อีกด้านคือการส่งเสริมซึ่งเป็นเหรียญอีกด้านกลับให้ความสำคัญไม่มาก สิ่งที่เสนอจึงเป็นการเติมเต็มส่วนที่ขาดไป เพราะการป้องกันปราบปรามการทุจริตนั้น หากใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเดียว มันไม่สำเร็จ จำเป็นต้องใช้อำนาจสังคมมาช่วย ดังนั้นอย่ามองว่ามันเป็นเสือกระดาษ ที่ไม่มีอำนาจ
ทั้งนี้ สปช.ส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วยในหลักการ โดยมีข้อเสนอในรายละเอียด เช่น จำนวนกรรมการ ความเร่งด่วนของการผลักดันกฎหมายที่แตกต่างกันเล็กน้อย อาทิ นางกอบกาญจน์ พันเจริญวรกุล สปช. อภิปรายว่า เป็นห่วงเรื่องที่มาของกรรมการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติทั้ง 5 เพราะมีหน้าที่ที่สำคัญมาก ที่ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยคำแนะนำของวุฒิสภา เพราะที่ผ่านมาสังคมเกิดความไม่ปรองดอง ทำให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากวุฒิสภา มักถูกกระแส การเมืองโจมตีจนเสียหาย
นายสยุมพร ลิ่มไทย สปช. กล่าวว่า อยากให้ที่ประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เป็นยักษ์ที่มีกระบอง อย่างน้อยควรมีอำนาจที่จะไต่สวน กรณีทำผิดจริยธรรม คุณธรรมได้ ส่วนบทลงโทษแม้จะกำหนดโดยตรงไม่ได้ แต่ก็ควรเชื่อมโยงไปให้ถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การถอดถอน ซึ่งนักการเมืองเกรงกลัว และอาจกำหนดให้ผู้กระทำผิดมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม อย่างร้ายแรง ถือเป็นการคุณสมบัติของส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ และการบังคับใช้จริง
ขณะที่นายเทียนฉาย กีรนันทน์ ประธานสปช. กล่าวว่า เป็นหน้าที่ ที่สปช. จะต้องยกร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปด้วย ก็ขอรับที่จะไปตั้งคณะกรรมาธิการร่วมในสปช. เพื่อยกร่าง พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เพื่อกลับมาเสนอสปช. ก่อนที่จะนำเสนอให้สนช. เพื่อพิจารณาเห็นชอบเป็นกฎหมายอีกที
" เรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องที่ต้องนำไปใช้กับนักการเมือง ซึ่งจะรอให้มีการเลือกตั้ง แล้วค่อยมาออกพ.ร.บ. ทางสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จะทำงานไม่ทัน จึงขอหารือ สปช. หากเห็นชอบ ก็จะให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปคุณธรรมไป ยกร่าง พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ โดยจะต้องเห็นผลการดำเนินการใน 60 วัน แล้วจึงส่งต่อให้สนช. พิจารณาเห็นชอบ ร่างกฎหมายออกมาบังคับใช้ก่อน และเมื่อถึงเวลายกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ค่อยแปรสภาพเป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกที" นายเทียนฉาย ระบุ
ซึ่งในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ ขอให้สภานิติบัญญัติ (สนช.) ตรา พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ... ก่อนจะมีการตั้งรัฐบาลใหม่หลังกระบวนการผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อทำหน้าที่รณรงค์ทางสังคม ฟื้นฟูแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลให้เกิดผลต่อการปฏิรูป ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญ โดยให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 โดยให้มีโครงสร้างของคณะกรรมาธิการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ 5 คน ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ โดยการแนะนำของวุฒิสภา
นายพลเดช กล่าวว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวยังให้มีที่ประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ มาจากตัวแทนภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมที่ไม่มีผลประโยชน์ขัดกัน จำนวนไม่น้อยกว่า 55 คน ทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคคลและองค์กรข้างต้น และจัดกระบวนการสอบทานการปฏิบัติของบุคคลดังกล่าว โดยมีการลงมติการตัดสินพฤติกรรม และประกาศรายงานข้อมูลต่อสาธารณะ โดยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยคณะกรรมการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ทั้ง 5 คน และที่ประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จะไม่มีเงินเดือนประชุม มีแต่เบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายจำเป็นและค่าตอบแทน ส่วนการบริหาร จะใช้ศูนย์คุณธรรมเป็นสำนักงาน และทุนรายได้ทรัพย์สินจะมาจากเงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากศูนย์คุณธรรม เงินอุดหนุนทั่วไป ที่รัฐบาลจัดสรรให้รายปี และเงินอุดหนุนจากเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นจากต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศหรือเงิน หรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
"ข้อเสนอนี้ มั่นใจว่าเป็นการปฏิรูป เพราะเปลี่ยนกระบวนวิธีคิด และแนวทางการจัดการปัญหา เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ลึกที่สุด เป็นการปฏิรูปเร็วใน 1 ปี จากเดิมที่ใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นหลักมาเป็นการใช้มาตรการทางสังคมนำหน้าหนุนเสริมกัน เป็นกลไกบูรณาการทุกองค์กรที่มีอยู่ เป็นเครื่องนำพาการสร้างพลังทางสังคม บนฐานการใช้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ เป็นแนวทางใหม่ที่มุ่งใช้พลังแบบอ่อนมาเสริมพลังกฎหมายที่เป้นพลังแบบแข็ง ไม่ได้มีการตั้งองค์กรใหม่ โดยยกเลิกองค์กรเดิมและจัดตั้งใหม่มาแทน มีขอบเขตการทำงานแคบเพียงเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ส่วนด้านกฎหมายยังเป็นขององค์กรอิสระเดิม" นายนพลเดช กล่าว
ด้านนายอำพล จินดาวัฒนะ กรรมการปฏิรูปคุณธรรมฯ กล่าวว่า บ้านเราให้ความสนใจการปราบปรามการทุจริตโดยการใช้กฎหมาย เป็นเหรียญด้านหนึ่ง อีกด้านคือการส่งเสริมซึ่งเป็นเหรียญอีกด้านกลับให้ความสำคัญไม่มาก สิ่งที่เสนอจึงเป็นการเติมเต็มส่วนที่ขาดไป เพราะการป้องกันปราบปรามการทุจริตนั้น หากใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเดียว มันไม่สำเร็จ จำเป็นต้องใช้อำนาจสังคมมาช่วย ดังนั้นอย่ามองว่ามันเป็นเสือกระดาษ ที่ไม่มีอำนาจ
ทั้งนี้ สปช.ส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วยในหลักการ โดยมีข้อเสนอในรายละเอียด เช่น จำนวนกรรมการ ความเร่งด่วนของการผลักดันกฎหมายที่แตกต่างกันเล็กน้อย อาทิ นางกอบกาญจน์ พันเจริญวรกุล สปช. อภิปรายว่า เป็นห่วงเรื่องที่มาของกรรมการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติทั้ง 5 เพราะมีหน้าที่ที่สำคัญมาก ที่ให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งโดยคำแนะนำของวุฒิสภา เพราะที่ผ่านมาสังคมเกิดความไม่ปรองดอง ทำให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากวุฒิสภา มักถูกกระแส การเมืองโจมตีจนเสียหาย
นายสยุมพร ลิ่มไทย สปช. กล่าวว่า อยากให้ที่ประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เป็นยักษ์ที่มีกระบอง อย่างน้อยควรมีอำนาจที่จะไต่สวน กรณีทำผิดจริยธรรม คุณธรรมได้ ส่วนบทลงโทษแม้จะกำหนดโดยตรงไม่ได้ แต่ก็ควรเชื่อมโยงไปให้ถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การถอดถอน ซึ่งนักการเมืองเกรงกลัว และอาจกำหนดให้ผู้กระทำผิดมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม อย่างร้ายแรง ถือเป็นการคุณสมบัติของส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ และการบังคับใช้จริง
ขณะที่นายเทียนฉาย กีรนันทน์ ประธานสปช. กล่าวว่า เป็นหน้าที่ ที่สปช. จะต้องยกร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปด้วย ก็ขอรับที่จะไปตั้งคณะกรรมาธิการร่วมในสปช. เพื่อยกร่าง พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เพื่อกลับมาเสนอสปช. ก่อนที่จะนำเสนอให้สนช. เพื่อพิจารณาเห็นชอบเป็นกฎหมายอีกที
" เรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องที่ต้องนำไปใช้กับนักการเมือง ซึ่งจะรอให้มีการเลือกตั้ง แล้วค่อยมาออกพ.ร.บ. ทางสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จะทำงานไม่ทัน จึงขอหารือ สปช. หากเห็นชอบ ก็จะให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปคุณธรรมไป ยกร่าง พ.ร.บ. สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ โดยจะต้องเห็นผลการดำเนินการใน 60 วัน แล้วจึงส่งต่อให้สนช. พิจารณาเห็นชอบ ร่างกฎหมายออกมาบังคับใช้ก่อน และเมื่อถึงเวลายกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ค่อยแปรสภาพเป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกที" นายเทียนฉาย ระบุ