.ASTVผู้จัดการรายวัน-“การปฏิรูปอาจสูญเสียการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะสั้นบ้าง แต่เป็นกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะยาว นั่นคือผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าต้นทุนเสียไป”
***ตลอดช่วงปี 57 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญศึกนอก-ในประเทศ เริ่มต้นปีปัญหาการเมืองภายในลากยาวมา ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงต้นปี ปัญหาหนี้ครัวเรือนกระทบตัวคนเป็นหนี้และเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันความแตกต่างของนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ก็มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมมายังไทย ทำให้ความหวังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวมีส่วนดึงให้เศรษฐกิจไทยมีเรี่ยวแรงกลับเป็นเรื่องยากขึ้น***
ทิ้งท้ายปี 57 ที่ประชุมกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2%ต่อปี ด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง ซึ่งเสียงเห็นต่างเสนอลดดอกเบี้ย0.25% ออกเสียงลดเพิ่มขึ้นจากการประชุมก่อนหน้า ขณะเดียวกันกนง.ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยเหลือ 0.8% สำหรับปี 57 และปี 58 เหลือ 4.0% จากเดิม 4.8% เพราะการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภค-ลงทุนของเอกชน ภาคท่องเที่ยว
ภาคส่งออกของไทยทุกตัวออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ไว้และมีการปรับลดประมาณการทุกตัว อีกทั้งน้ำหนักความเสี่ยงด้านบวกและด้านลบที่มีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างละครึ่ง ทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติช้ากว่าที่เคยประเมินไว้
“การเร่งรัฐการใช้จ่ายภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายเป็นปัจจัยสำคัญเศรษฐกิจไทยในขณะนี้และในระยะต่อไปนโยบายการเงินของไทยควรอยู่ระดับผ่อนปรน เพื่อช่วยประคองให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งขึ้น ส่วนขนาดผ่อนปรน (คงหรือลด) ขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจไทยออกมา ซึ่งแม้เงินเฟ้อลดลงต่อเนื่องแต่การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้องดูทิศทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินประกอบด้วย” เมธี สุภาพงษ์ เลขานุการบอร์ด กนง.กล่าวทิ้งท้ายในการประชุมครั้งล่าสุด
ปริมาณและสัดส่วนของหนี้สินเหล่านี้ไต่ระดับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดในระบบมียอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 2.95 แสนล้านบาท สัดส่วน 2.35% ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 57 และยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนแตะ 10.03 ล้านล้านบาท ทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนขยับต่อเนื่องอยู่ที่ 83.49%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ล่าสุดในไตรมาส2 ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยติดลบ 0.68% เริ่มจูงใจให้ผู้ออมหันไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น
เริ่มแรกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (บอร์ด กนง.) แสดงความกังวลระดับหนี้ครัวเรือนสูงจากอัตราการก่อหนี้ใหม่ยังสูงกว่าการขยายตัวของรายได้ ไม่ต่าง ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ แบงก์ชาติออกมาระบุว่ากำลังจับตาและห่วงจะกระทบต่อความเปราะบางทางการเงิน แต่ระยะหลังแบงก์ชาติพยายามชี้แจง ตอนนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ตัวบั่นทอนเศรษฐกิจและไม่ควรใช้เป็นเงื่อนไขตัดสินนโยบายการเงิน แต่กลับกลัวคนห่วงเกินไปจนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยและฉุดการลงทุน
แม้แรงส่งเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยดีบ้าง แย่บ้าง หลายคนถามถึงทิศทางเศรษฐกิจไทย ผู้ว่าการแบงก์ชาติ กล่าวว่า ในปี 58 เศรษฐกิจไทยน่าจะเปรียบเหมือนคนป่วยหายจากไข้ ค่อยๆ ฟื้นฟูร่างกายจนแข็งแรงสามารถออกวิ่งได้ และครั้งนี้เมื่อเราฟื้นจากโรคร้ายได้แล้ว เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อมิให้กลับไปเป็นโรคร้ายเช่นเดิมอีก กล่าวคือ เราต้องออกกำลังกายและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้กลับไปอ่อนแอและเจ็บป่วยอีก เปรียบเสมือนเศรษฐกิจไทยที่ต้องปฏิรูปโครงสร้างโดยอาศัยนโยบายด้านซัพพลายไซด์
“หากเปรียบเป็นทีมฟุตบอล ภาคธุรกิจและธนาคาร คือ กองหน้าที่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ เพื่อบุกทำประตู ส่วนรัฐบาล หรือ กองกลางเป็นคนทำเกม (Play Maker) คอยกำหนดนโยบายชี้ทิศทาง สนับสนุนการบุก ขณะที่แบงก์ชาติ คือ กองหลังคอยดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างราบรื่นและมั่นคง”
สำหรับปีแพะมองว่าตลาดการเงินอาจมีความผันผวนเพิ่มขึ้น เพราะความแตกต่างด้านนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก สหรัฐมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปี 58 ขณะที่ญี่ปุ่นและกลุ่มยูโรจะยังคงผ่อนคลายดอกเบี้ยต่อไป จึงมีโอกาสที่เงินไหลเข้าสหรัฐมากขึ้นและไหลออกจากญี่ปุ่นและกลุ่มยูโรไปยังประเทศอื่นที่เศรษฐกิจดีกว่า สำหรับประเทศไทย แบงก์ชาติจะเข้าไปดูแลเฉพาะช่วงที่เงินบาทเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐาน และค่าเงินเป็นเรื่องคาดการณ์ยาก จึงแนะนำให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกไทยทำการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไว้ดีที่สุด
ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ที่ปรึกษางานด้านเสถียรภาพการเงิน กล่าวว่า ยิ่งความหวังเศรษฐกิจโลกได้น้อยลงก็ต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตัวเอง และประเทศไทยก็มีปัญหาโครงสร้างอยู่แล้ว ยิ่งต้องปฏิรูปตัวเองให้เร็วขึ้น ฉะนั้น โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยปี 58 คือ นโยบายภาคการคลังบวกการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการใช้จ่ายเพื่อวางรากฐานการเติบโตในอนาคต
“การปฏิรูปเศรษฐกิจต้องใช้เวลา การทำช้าอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ยิ่งไม่ทำหรือช้าไปอีกผลกระทบมากกว่านี้
ซึ่งเศรษฐกิจไทยเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ปฏิรูปเศรษฐกิจจีนว่าการปฏิรูปอาจต้องสูญเสียการขยายตัวในระยะสั้นบ้าง แต่เป็นกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะยาว นั่นคือผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าต้นทุนเสียไปแน่นอน”
การปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ถือเป็นพระเอกในปี 58 สร้างบรรยากาศภายในประเทศ ลดการผูกขาดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและเป็นวิธีที่ดีที่สุดช่วยธุรกิจขนาดเล็ก เอื้อการแข่งขันระดับประเทศ การปฏิรูปพลังงาน อยากให้มีกำลังใจทำต่อไป เพราะเป็นตัวเดียวทำให้ประเทศเสียเงินไปฟรีๆ อย่างอุดหนุนราคาดีเซลต้องเสียเงินไป 1 แสนล้านบาทต่อปี แทนที่สร้างรถไฟฟ้าได้หลายสาย
ซึ่งปัจจุบันทุกประเทศในโลก รวมถึงประเทศผลิตน้ำมันยังเลิกอุดหนุน ไทยเป็นประเทศนำเข้ายิ่งต้องเลิกทำ
การปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ระบบโลจิสติกส์ ขนส่งมวลชน ควรทำให้คนเห็นชัดเจนว่าจะเสร็จเมื่อไรในแต่ละโครงการ อย่างน้อยคนเชื่อว่าทำแน่ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ไม่แค่ผลระยะสั้นเท่านั้น อีกทั้งคนได้รับความสะดวกและต้นทุนการเดินทางถูกลง การปฏิรูปแรงงานควรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันพัฒนาภาคเกษตร
***“ปัจจัยสำคัญสุด คือ มนุษย์ต้องทำให้คนภายในประเทศเป็นคนช่างคิด คิดเป็น มีเหตุผล ซึ่งคนเหล่านี้จะเคารพกฎระเบียบ คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม และก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งการผลิตใหม่ๆ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นเสมอ ไม่ถูกจำกัดแรงงานและทุน แม้จะใช้คนเท่าเดิมก็ตาม จึงเป็นปัจจัยเดียวทำให้ประเทศชาติเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตได้”.***
***ตลอดช่วงปี 57 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญศึกนอก-ในประเทศ เริ่มต้นปีปัญหาการเมืองภายในลากยาวมา ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงต้นปี ปัญหาหนี้ครัวเรือนกระทบตัวคนเป็นหนี้และเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันความแตกต่างของนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ก็มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมมายังไทย ทำให้ความหวังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวมีส่วนดึงให้เศรษฐกิจไทยมีเรี่ยวแรงกลับเป็นเรื่องยากขึ้น***
ทิ้งท้ายปี 57 ที่ประชุมกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2%ต่อปี ด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง ซึ่งเสียงเห็นต่างเสนอลดดอกเบี้ย0.25% ออกเสียงลดเพิ่มขึ้นจากการประชุมก่อนหน้า ขณะเดียวกันกนง.ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยเหลือ 0.8% สำหรับปี 57 และปี 58 เหลือ 4.0% จากเดิม 4.8% เพราะการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภค-ลงทุนของเอกชน ภาคท่องเที่ยว
ภาคส่งออกของไทยทุกตัวออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ไว้และมีการปรับลดประมาณการทุกตัว อีกทั้งน้ำหนักความเสี่ยงด้านบวกและด้านลบที่มีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างละครึ่ง ทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติช้ากว่าที่เคยประเมินไว้
“การเร่งรัฐการใช้จ่ายภาครัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายเป็นปัจจัยสำคัญเศรษฐกิจไทยในขณะนี้และในระยะต่อไปนโยบายการเงินของไทยควรอยู่ระดับผ่อนปรน เพื่อช่วยประคองให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งขึ้น ส่วนขนาดผ่อนปรน (คงหรือลด) ขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจไทยออกมา ซึ่งแม้เงินเฟ้อลดลงต่อเนื่องแต่การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้องดูทิศทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินประกอบด้วย” เมธี สุภาพงษ์ เลขานุการบอร์ด กนง.กล่าวทิ้งท้ายในการประชุมครั้งล่าสุด
ปริมาณและสัดส่วนของหนี้สินเหล่านี้ไต่ระดับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดในระบบมียอดคงค้างหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 2.95 แสนล้านบาท สัดส่วน 2.35% ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 57 และยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนแตะ 10.03 ล้านล้านบาท ทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนขยับต่อเนื่องอยู่ที่ 83.49%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ล่าสุดในไตรมาส2 ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยติดลบ 0.68% เริ่มจูงใจให้ผู้ออมหันไปลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้น
เริ่มแรกคณะกรรมการนโยบายการเงิน (บอร์ด กนง.) แสดงความกังวลระดับหนี้ครัวเรือนสูงจากอัตราการก่อหนี้ใหม่ยังสูงกว่าการขยายตัวของรายได้ ไม่ต่าง ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ แบงก์ชาติออกมาระบุว่ากำลังจับตาและห่วงจะกระทบต่อความเปราะบางทางการเงิน แต่ระยะหลังแบงก์ชาติพยายามชี้แจง ตอนนี้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ตัวบั่นทอนเศรษฐกิจและไม่ควรใช้เป็นเงื่อนไขตัดสินนโยบายการเงิน แต่กลับกลัวคนห่วงเกินไปจนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยและฉุดการลงทุน
แม้แรงส่งเครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยดีบ้าง แย่บ้าง หลายคนถามถึงทิศทางเศรษฐกิจไทย ผู้ว่าการแบงก์ชาติ กล่าวว่า ในปี 58 เศรษฐกิจไทยน่าจะเปรียบเหมือนคนป่วยหายจากไข้ ค่อยๆ ฟื้นฟูร่างกายจนแข็งแรงสามารถออกวิ่งได้ และครั้งนี้เมื่อเราฟื้นจากโรคร้ายได้แล้ว เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อมิให้กลับไปเป็นโรคร้ายเช่นเดิมอีก กล่าวคือ เราต้องออกกำลังกายและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้กลับไปอ่อนแอและเจ็บป่วยอีก เปรียบเสมือนเศรษฐกิจไทยที่ต้องปฏิรูปโครงสร้างโดยอาศัยนโยบายด้านซัพพลายไซด์
“หากเปรียบเป็นทีมฟุตบอล ภาคธุรกิจและธนาคาร คือ กองหน้าที่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ เพื่อบุกทำประตู ส่วนรัฐบาล หรือ กองกลางเป็นคนทำเกม (Play Maker) คอยกำหนดนโยบายชี้ทิศทาง สนับสนุนการบุก ขณะที่แบงก์ชาติ คือ กองหลังคอยดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างราบรื่นและมั่นคง”
สำหรับปีแพะมองว่าตลาดการเงินอาจมีความผันผวนเพิ่มขึ้น เพราะความแตกต่างด้านนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก สหรัฐมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปี 58 ขณะที่ญี่ปุ่นและกลุ่มยูโรจะยังคงผ่อนคลายดอกเบี้ยต่อไป จึงมีโอกาสที่เงินไหลเข้าสหรัฐมากขึ้นและไหลออกจากญี่ปุ่นและกลุ่มยูโรไปยังประเทศอื่นที่เศรษฐกิจดีกว่า สำหรับประเทศไทย แบงก์ชาติจะเข้าไปดูแลเฉพาะช่วงที่เงินบาทเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐาน และค่าเงินเป็นเรื่องคาดการณ์ยาก จึงแนะนำให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกไทยทำการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไว้ดีที่สุด
ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส ที่ปรึกษางานด้านเสถียรภาพการเงิน กล่าวว่า ยิ่งความหวังเศรษฐกิจโลกได้น้อยลงก็ต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตัวเอง และประเทศไทยก็มีปัญหาโครงสร้างอยู่แล้ว ยิ่งต้องปฏิรูปตัวเองให้เร็วขึ้น ฉะนั้น โจทย์สำคัญของเศรษฐกิจไทยปี 58 คือ นโยบายภาคการคลังบวกการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการใช้จ่ายเพื่อวางรากฐานการเติบโตในอนาคต
“การปฏิรูปเศรษฐกิจต้องใช้เวลา การทำช้าอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ยิ่งไม่ทำหรือช้าไปอีกผลกระทบมากกว่านี้
ซึ่งเศรษฐกิจไทยเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ปฏิรูปเศรษฐกิจจีนว่าการปฏิรูปอาจต้องสูญเสียการขยายตัวในระยะสั้นบ้าง แต่เป็นกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะยาว นั่นคือผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าต้นทุนเสียไปแน่นอน”
การปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ถือเป็นพระเอกในปี 58 สร้างบรรยากาศภายในประเทศ ลดการผูกขาดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและเป็นวิธีที่ดีที่สุดช่วยธุรกิจขนาดเล็ก เอื้อการแข่งขันระดับประเทศ การปฏิรูปพลังงาน อยากให้มีกำลังใจทำต่อไป เพราะเป็นตัวเดียวทำให้ประเทศเสียเงินไปฟรีๆ อย่างอุดหนุนราคาดีเซลต้องเสียเงินไป 1 แสนล้านบาทต่อปี แทนที่สร้างรถไฟฟ้าได้หลายสาย
ซึ่งปัจจุบันทุกประเทศในโลก รวมถึงประเทศผลิตน้ำมันยังเลิกอุดหนุน ไทยเป็นประเทศนำเข้ายิ่งต้องเลิกทำ
การปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ระบบโลจิสติกส์ ขนส่งมวลชน ควรทำให้คนเห็นชัดเจนว่าจะเสร็จเมื่อไรในแต่ละโครงการ อย่างน้อยคนเชื่อว่าทำแน่ ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ไม่แค่ผลระยะสั้นเท่านั้น อีกทั้งคนได้รับความสะดวกและต้นทุนการเดินทางถูกลง การปฏิรูปแรงงานควรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันพัฒนาภาคเกษตร
***“ปัจจัยสำคัญสุด คือ มนุษย์ต้องทำให้คนภายในประเทศเป็นคนช่างคิด คิดเป็น มีเหตุผล ซึ่งคนเหล่านี้จะเคารพกฎระเบียบ คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม และก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งการผลิตใหม่ๆ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นเสมอ ไม่ถูกจำกัดแรงงานและทุน แม้จะใช้คนเท่าเดิมก็ตาม จึงเป็นปัจจัยเดียวทำให้ประเทศชาติเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตได้”.***