นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึง การวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เสนอในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีจากคนนอกได้ หรือการให้อำนาจกระทรวงมหาดไทย ในการจัดการเลือกตั้งแทน กกต. ว่าความจริงแล้วเป็นเพียงข้อเสนอของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เท่านั้น เป็นการโยนหินถามทาง ยังไม่เป็นข้อสรุป อย่าเพิ่งไปคอมเม้นต์ หรือแสดงความเห็นอะไรเขาเลย เราแหย่อะไรไป เดี๋ยวเขาก็ย้อนกลับมา
" ผมคุยกับกรรมาธิการยกร่างฯ 2-3 คน ซึ่งเขาก็ยืนยันว่า มันยังไม่ได้เป็นข้อสรุปอะไร เขาเพียงแค่โยนหินมาก้อนหนึ่ง ในนั้นมันมีอะไรอีกหลายอย่าง ที่ยังไม่ได้พูด อย่างนายอภิสิทธิ์ ยังย้อนว่า นายกฯคนนอกควรจะใช้ในยามวิกฤต ก็ต้องมาดูอีกว่าวิกฤต แปลว่าอะไร เพราะฉะนั้น ยังถือเป็นช่วงที่ต้องการคำถามและคำตอบกันอยู่ สำหรับผมเองอยู่ในรัฐบาล ไม่อยากไปยุ่งอะไร" นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายประเด็นที่กรรมาธิการยกร่างฯ โยนมา ล้วนแต่สร้างกระแสในสังคมทั้งนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นความต้องการของกรรมาธิการยกร่างฯ ที่ต้องการสร้างกระแสอยู่แล้ว เพื่อให้สังคมมีปฏิกิริยา ตอนนี้ใครอยากพูกอะไร ก็พูดมาเถอะ เมื่อถามว่า สังคมอยากให้การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยืนอยู่บนผลประโยชน์ประชาชน และประเทศชาติจริงๆ รองนายกฯ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปว่าเขา เพราะยังไม่จบ ยังไม่ตกผลึกว่า สุดท้ายมันจะเป็นอย่างไร และครั้งนี้ทางกรรมาธิการยกร่างฯ เขาก็มองว่า สิ่งที่เขาทำมันก็เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาตินะ ไม่ใช่ไม่เป็น เพียงแต่เราอาจรู้สึกว่า เป็นอย่างไร
"ทางกรรมาธิการฯ เขาตั้งใจอยู่แล้วว่า เมื่อได้ทางมาแล้ว เขาก็ต้องนำกลับไปคิดใหม่ ซึ่งข้อเสนอวันนี้ เป็นข้อ ๆ แต่ตอนร่างรัฐธรรมนูญ เขาจะเอาทุกข้อมาผูกกัน ถึงตอนนั้นเขาอาจจะพบว่า ข้อนี้ไปด้วยกันไม่ได้กับข้อนั้น ก็ต้องเลือกเอาอย่างหนึ่ง อย่างเช่นที่มา ส.ว. ก็ต้องให้สอดคล้องกับเรื่องของอำนาจด้วย เพราะหากไม่ได้มาจากเลือกตั้ง แต่กลับมีอำนาจมาก จะอธิบายกับสังคมอย่างไร เพราะที่มากับอำนาจ มันต้องไปด้วยกัน จะไปถึงขนาดถอดถอนพวกที่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่คุณไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ได้หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ทางการมาธิการยกร่างฯ เขาต้องกลับมาคิดใหม่"
เมื่อถามว่าการโยนหินถามทางแบบนี้ จะไม่ทำให้สังคมแตกแยกก่อนใช่ใหม รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่หรอก และตนไม่มองว่าเป็นความแตกแยกเพราะเป็นการทำโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่เขามีหน้าที่ ไม่ใช่คนอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เราพอใจทึ่จะฟังเขามากกว่าจะให้เขาปิดประตูตีแมว แล้วมาบอกว่าร่างเสร็จแล้ว ดังนั้นวันนี้คิดว่าไม่มีอะไรที่จะต้องแตกแยก เราจะมาบอกว่าสิ่งที่เขาเสนอไม่รักชาติ ไม่ได้
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ความจริงต้องดู 3 อย่าง คือ 1. ที่มาต้องให้สมเหตุสมผล 2. จำนวน เพราะถ้าน้อยไป และมีอำนาจเด็ดขาดก็ลำบาก และ 3. อำนาจที่เราจะให้ บางครั้งเราเอาอำนาจทั้งหมดประเคนให้ไปทั้งหมด เหมือนกับที่เราเคยประเคนให้กับกกต. ในการเป็นผู้กำหนด วางระเบียบ ในการเป็นผู้ปฏิบัติคุมหีบเลือกตั้งเอง และในการเป็นผู้แจกใบเหลือง ใบแดง เองได้ มันก็จะเบ็ดเสร็จ แต่วันนี้เขาถอยกลับมาคิดใหม่แล้ว คือ อาจจะแยกทั้ง 3 ส่วนนี้ออก บางส่วนให้กกต. หรือบางส่วนให้มหาดไทย หรือ หน่วยงานอื่น ซึ่งอาจทำให้สังคมมองว่า เกิดการถ่วงดุลกันดี แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องช่วยกันคิด
เมื่อถามว่า อย่างประเด็นให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง และมีการคัดค้านมาก ความจริงมีช่องทางอื่นมากกว่าจะให้กระทรวงมหาดไทย หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คนจัดการเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ ยุติธรรมหรือไม่ มันอยู่ที่คนไปกำกับ และจับผิด ซึ่งตนคิดว่าไม่แปลกหรอก ถ้าจะให้อยู่ที่มหาดไทย และให้ กกต.เป็นคนคุม สามารถจับผิด และฟ้องได้เลย
**นิรโทษกรณีล้มเลือกตั้งไม่ช่วยอะไร
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ออกมาย้อนตนเอง ที่ไม่อยากให้กกต.ออกมาพูดเรื่องการให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ก.พ.57 ล้ม ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 3 พันล้านบาท โดยเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเลย ถ้าอยากให้บ้านเมืองสงบ ว่า นายสมชัย ก็พูดถูก ไม่ได้ผิดอะไร ตนก็รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ เพียงแต่ตนเห็นว่าอันนั้นมันปลายทาง อยู่ดีๆ นิรโทษกรรม ก็อาจจะคิดได้ว่า พ้นทุกข์ พ้นโศก แต่ในใจยังมีความรู้สึกร้าวลึกกันอยู่ มันก็เกิดเหตุอีก วันหลังก็ต้องมานิรโทษกรรมกันอีก ตนถึงบอกว่า มันต้องพูดถึงต้นเหตุด้วย ว่ามันเกิดจากอะไร ต้องทำให้เขาละลายพฤติกรรมในใจที่เขารู้สึกว่า เมื่อนิรโทษกรรมแล้ว เขาก็พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบใหม่ได้
"ความจริง กกต.เขาก็ไม่ได้ว่าอะไรผมรุนแรง เป็นธรรมดา เมื่อกระทบเขา เขาก็ต้องออกมาชี้แจง ผมยังเห็นว่า ถ้าทำทุกอย่างด้วยความเป็นธรรมและยุติธรรม ความปรองดองก็จะเกิด ถ้ามีตัวนี้ได้ ทุกอย่างก็จบ ซึ่งนิรโทษกรรม ก็เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นธรรม และคืนความเป็นธรรม ความปรองดองก็เกิดขึ้นได้" นายวิษณุ กล่าว
** ชพน.รับได้ ที่มานายกฯคนนอก
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา กล่าวว่า ท่าทีของพรรคต่อประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี ในร่างรัฐธรรมนูญนั้น โดยเจตนารมณ์ของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ควรที่จะกำหนดให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยึดโยงกับประชาชน และมาจากการเลือกตั้งส.ส. เพราะจะมีความชอบธรรมและการยอมรับ รวมทั้งเข้าใจปัญหาพื้นฐานของประชาชน แต่ในกรณีที่บ้านเมืองไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ มีวิกฤตการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจหรือความมั่นคงของชาติ และมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดช่องทางให้คนนอก ที่ไม่ได้อยู่ในระบบเลือกตั้งเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์และไม่ให้เกิดภาวะทางตันของบ้านเมือง และรัฐธรรมนูญ พรรคชาติพัฒนามีความเห็นว่า เป็นเรื่องที่สมควรพิจารณา เพื่อเป็นทางออกให้กับประเทศจากภาวะวิกฤติต่างๆ โดยเฉพาะจากเหตุการณ์วิกฤต และประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่ควรต้องมีการกำหนดเงื่อนไขของสถานการณ์ของวิกฤตการณ์ให้ชัดเจน กระบวนการการเข้าสู่อำนาจที่จะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกัน จากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาด้วยเสียงสนับสนุนที่มากเพียงพอ ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ ที่จะได้รับมอบหมายจากรัฐสภาในการเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศที่มีความแตกต่างจากนายกรัฐมนตรีในภาวะปกติ
** "เสรี"ค้านสมัครส.ส.ไม่สังกัดพรรค
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วางแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกบุคคลที่จะเป็น ส.ส. หรือไม่เป็นส.ส. ก็ได้ การให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาฯได้ และให้สภาฯสามารถลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ เท่ากับว่า เป็นเรื่องเดิมที่ยังแก้ปัญหาเสถียรภาพนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ซ้ำร้ายนายกรัฐมนตรี ยังไม่มีอิสระจากมติของสภาฯ อีกด้วย
นอกจากนี้ ปัญหาใหญ่คือ ส.ส. ะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ และในการลงมติ ส.ส.มีอิสระจากมติพรรคการเมือง ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า ต่อไประบบพรรคการเมืองต้องล่มสลาย ตัวส.ส.เองจะขายตัว ทั้งระยะสั้น และระยะยาว เสียงของส.ส.จะมีค่า มีราคาเป็นเงิน เป็นผลประโยชน์ และรัฐบาลจะต้องหาวิธีการให้ได้คะแนนเสียงส.ส. มาสนับสนุนในการตั้งนายกรัฐมนตรี และการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.)
"การลงทุนทางการเมือง จะเริ่มต้นรุนแรงตั้งแต่ยังไม่เลือกตั้ง ขณะที่การเลือกตั้ง ก็จะต้องลงทุนเพื่อให้จำนวนส.ส.มากเพื่อมาจัดตั้งรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ และเมื่อเข้ามาแล้วก็จะเข้ามาถอนทุน หาผลประโยชน์ หาทุนเพื่อไปลงเลือกตั้งในคราวต่อไป ระบบให้สภาผู้แทนราษฎร สามารถลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ระบบนี้ก็จะไม่สามารถทำให้เกิดผลได้ เพราะคะแนนเสียงข้างมากอยู่ข้างรัฐบาล และที่จะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น เมื่อส.ส. สามารถขายตัวได้โดยง่าย และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะแก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันต่อไปได้อย่างไร เมื่อหัวมันส่าย หางมันก็คงต้องกระดิก" นายเสรี กล่าว
**รธน.ฉบับใหม่ไม่ควรมีถึง 300 มาตรา
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะมีประมาณ 250 - 300 มาตรา ว่า ตนในฐานะนักกฎหมายเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ควรมีถึง 300 มาตรา แต่คิดว่าควรเอารายละเอียดไปทำเป็นกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะดีกว่า
**"ธนะศักดิ์"คุยต่างชาติเชื่อมั่นไทย
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการทำงานของรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงที่ผ่านมาว่า รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศได้สร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นกับนานาชาติ ถึงการดำเนินการของไทยที่ยืนยันการเดินหน้าตามแผนโรดแมป ที่วางเอาไว้ ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ร้อยละ 85 ประเทศทั่วโลก ต่างเชื่อมั่นและให้การสนับสนุน ส่วนที่เหลือก็ไม่ต่อต้าน เพราะรัฐบาลไทยใช้ความจริงใจ ซึ่งขณะนี้ไม่ว่าเดินทางไปที่ใด ประเทศไทยไม่เคยถูกคำถามถึงสถานการณ์ในไทย ว่าเป็นอย่างไร มีแต่เขาจะถามว่าจะให้เขาช่วยเหลืออะไรบ้าง และไม่มีคำถามว่า เมื่อใดที่ไทยจะจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลไทย
ดังนั้นทิศทางการทำงานในปีหน้า ก็คือการรักษาความเชื่อมั่น ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน และรัฐบาลพร้อมที่จะรับฟัง
สำหรับกรณีที่มีรายงานว่า โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า การที่ไทยจะเลือกตั้งในปี 2559 ถือเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด และรับไม่ได้นั้น พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า เราได้สอบถามเรื่องดังกล่าวจากทางการสหรัฐฯแล้ว ซึ่งได้รับการยืนยันว่า ไม่ได้เป็นท่าทีอย่างเป็นทางการ และประเด็นนี้ไม่มีในคำให้สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการของเขา ทั้งนี้ทางสหรัฐฯ บอกว่าเสียใจที่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น
" ผมคุยกับกรรมาธิการยกร่างฯ 2-3 คน ซึ่งเขาก็ยืนยันว่า มันยังไม่ได้เป็นข้อสรุปอะไร เขาเพียงแค่โยนหินมาก้อนหนึ่ง ในนั้นมันมีอะไรอีกหลายอย่าง ที่ยังไม่ได้พูด อย่างนายอภิสิทธิ์ ยังย้อนว่า นายกฯคนนอกควรจะใช้ในยามวิกฤต ก็ต้องมาดูอีกว่าวิกฤต แปลว่าอะไร เพราะฉะนั้น ยังถือเป็นช่วงที่ต้องการคำถามและคำตอบกันอยู่ สำหรับผมเองอยู่ในรัฐบาล ไม่อยากไปยุ่งอะไร" นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายประเด็นที่กรรมาธิการยกร่างฯ โยนมา ล้วนแต่สร้างกระแสในสังคมทั้งนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นความต้องการของกรรมาธิการยกร่างฯ ที่ต้องการสร้างกระแสอยู่แล้ว เพื่อให้สังคมมีปฏิกิริยา ตอนนี้ใครอยากพูกอะไร ก็พูดมาเถอะ เมื่อถามว่า สังคมอยากให้การยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยืนอยู่บนผลประโยชน์ประชาชน และประเทศชาติจริงๆ รองนายกฯ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปว่าเขา เพราะยังไม่จบ ยังไม่ตกผลึกว่า สุดท้ายมันจะเป็นอย่างไร และครั้งนี้ทางกรรมาธิการยกร่างฯ เขาก็มองว่า สิ่งที่เขาทำมันก็เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาตินะ ไม่ใช่ไม่เป็น เพียงแต่เราอาจรู้สึกว่า เป็นอย่างไร
"ทางกรรมาธิการฯ เขาตั้งใจอยู่แล้วว่า เมื่อได้ทางมาแล้ว เขาก็ต้องนำกลับไปคิดใหม่ ซึ่งข้อเสนอวันนี้ เป็นข้อ ๆ แต่ตอนร่างรัฐธรรมนูญ เขาจะเอาทุกข้อมาผูกกัน ถึงตอนนั้นเขาอาจจะพบว่า ข้อนี้ไปด้วยกันไม่ได้กับข้อนั้น ก็ต้องเลือกเอาอย่างหนึ่ง อย่างเช่นที่มา ส.ว. ก็ต้องให้สอดคล้องกับเรื่องของอำนาจด้วย เพราะหากไม่ได้มาจากเลือกตั้ง แต่กลับมีอำนาจมาก จะอธิบายกับสังคมอย่างไร เพราะที่มากับอำนาจ มันต้องไปด้วยกัน จะไปถึงขนาดถอดถอนพวกที่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่คุณไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ได้หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ทางการมาธิการยกร่างฯ เขาต้องกลับมาคิดใหม่"
เมื่อถามว่าการโยนหินถามทางแบบนี้ จะไม่ทำให้สังคมแตกแยกก่อนใช่ใหม รองนายกฯ กล่าวว่า ไม่หรอก และตนไม่มองว่าเป็นความแตกแยกเพราะเป็นการทำโดยคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่เขามีหน้าที่ ไม่ใช่คนอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เราพอใจทึ่จะฟังเขามากกว่าจะให้เขาปิดประตูตีแมว แล้วมาบอกว่าร่างเสร็จแล้ว ดังนั้นวันนี้คิดว่าไม่มีอะไรที่จะต้องแตกแยก เราจะมาบอกว่าสิ่งที่เขาเสนอไม่รักชาติ ไม่ได้
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ความจริงต้องดู 3 อย่าง คือ 1. ที่มาต้องให้สมเหตุสมผล 2. จำนวน เพราะถ้าน้อยไป และมีอำนาจเด็ดขาดก็ลำบาก และ 3. อำนาจที่เราจะให้ บางครั้งเราเอาอำนาจทั้งหมดประเคนให้ไปทั้งหมด เหมือนกับที่เราเคยประเคนให้กับกกต. ในการเป็นผู้กำหนด วางระเบียบ ในการเป็นผู้ปฏิบัติคุมหีบเลือกตั้งเอง และในการเป็นผู้แจกใบเหลือง ใบแดง เองได้ มันก็จะเบ็ดเสร็จ แต่วันนี้เขาถอยกลับมาคิดใหม่แล้ว คือ อาจจะแยกทั้ง 3 ส่วนนี้ออก บางส่วนให้กกต. หรือบางส่วนให้มหาดไทย หรือ หน่วยงานอื่น ซึ่งอาจทำให้สังคมมองว่า เกิดการถ่วงดุลกันดี แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องช่วยกันคิด
เมื่อถามว่า อย่างประเด็นให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง และมีการคัดค้านมาก ความจริงมีช่องทางอื่นมากกว่าจะให้กระทรวงมหาดไทย หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คนจัดการเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ ยุติธรรมหรือไม่ มันอยู่ที่คนไปกำกับ และจับผิด ซึ่งตนคิดว่าไม่แปลกหรอก ถ้าจะให้อยู่ที่มหาดไทย และให้ กกต.เป็นคนคุม สามารถจับผิด และฟ้องได้เลย
**นิรโทษกรณีล้มเลือกตั้งไม่ช่วยอะไร
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณี นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ออกมาย้อนตนเอง ที่ไม่อยากให้กกต.ออกมาพูดเรื่องการให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ก.พ.57 ล้ม ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 3 พันล้านบาท โดยเสนอให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเลย ถ้าอยากให้บ้านเมืองสงบ ว่า นายสมชัย ก็พูดถูก ไม่ได้ผิดอะไร ตนก็รู้ ไม่ใช่ไม่รู้ เพียงแต่ตนเห็นว่าอันนั้นมันปลายทาง อยู่ดีๆ นิรโทษกรรม ก็อาจจะคิดได้ว่า พ้นทุกข์ พ้นโศก แต่ในใจยังมีความรู้สึกร้าวลึกกันอยู่ มันก็เกิดเหตุอีก วันหลังก็ต้องมานิรโทษกรรมกันอีก ตนถึงบอกว่า มันต้องพูดถึงต้นเหตุด้วย ว่ามันเกิดจากอะไร ต้องทำให้เขาละลายพฤติกรรมในใจที่เขารู้สึกว่า เมื่อนิรโทษกรรมแล้ว เขาก็พร้อมที่จะเข้าสู่ระบบใหม่ได้
"ความจริง กกต.เขาก็ไม่ได้ว่าอะไรผมรุนแรง เป็นธรรมดา เมื่อกระทบเขา เขาก็ต้องออกมาชี้แจง ผมยังเห็นว่า ถ้าทำทุกอย่างด้วยความเป็นธรรมและยุติธรรม ความปรองดองก็จะเกิด ถ้ามีตัวนี้ได้ ทุกอย่างก็จบ ซึ่งนิรโทษกรรม ก็เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นธรรม และคืนความเป็นธรรม ความปรองดองก็เกิดขึ้นได้" นายวิษณุ กล่าว
** ชพน.รับได้ ที่มานายกฯคนนอก
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา กล่าวว่า ท่าทีของพรรคต่อประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี ในร่างรัฐธรรมนูญนั้น โดยเจตนารมณ์ของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ควรที่จะกำหนดให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยึดโยงกับประชาชน และมาจากการเลือกตั้งส.ส. เพราะจะมีความชอบธรรมและการยอมรับ รวมทั้งเข้าใจปัญหาพื้นฐานของประชาชน แต่ในกรณีที่บ้านเมืองไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ มีวิกฤตการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจหรือความมั่นคงของชาติ และมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดช่องทางให้คนนอก ที่ไม่ได้อยู่ในระบบเลือกตั้งเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์และไม่ให้เกิดภาวะทางตันของบ้านเมือง และรัฐธรรมนูญ พรรคชาติพัฒนามีความเห็นว่า เป็นเรื่องที่สมควรพิจารณา เพื่อเป็นทางออกให้กับประเทศจากภาวะวิกฤติต่างๆ โดยเฉพาะจากเหตุการณ์วิกฤต และประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่ควรต้องมีการกำหนดเงื่อนไขของสถานการณ์ของวิกฤตการณ์ให้ชัดเจน กระบวนการการเข้าสู่อำนาจที่จะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกัน จากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาด้วยเสียงสนับสนุนที่มากเพียงพอ ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ ที่จะได้รับมอบหมายจากรัฐสภาในการเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศที่มีความแตกต่างจากนายกรัฐมนตรีในภาวะปกติ
** "เสรี"ค้านสมัครส.ส.ไม่สังกัดพรรค
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วางแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกบุคคลที่จะเป็น ส.ส. หรือไม่เป็นส.ส. ก็ได้ การให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสามารถยุบสภาฯได้ และให้สภาฯสามารถลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ เท่ากับว่า เป็นเรื่องเดิมที่ยังแก้ปัญหาเสถียรภาพนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ซ้ำร้ายนายกรัฐมนตรี ยังไม่มีอิสระจากมติของสภาฯ อีกด้วย
นอกจากนี้ ปัญหาใหญ่คือ ส.ส. ะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ และในการลงมติ ส.ส.มีอิสระจากมติพรรคการเมือง ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า ต่อไประบบพรรคการเมืองต้องล่มสลาย ตัวส.ส.เองจะขายตัว ทั้งระยะสั้น และระยะยาว เสียงของส.ส.จะมีค่า มีราคาเป็นเงิน เป็นผลประโยชน์ และรัฐบาลจะต้องหาวิธีการให้ได้คะแนนเสียงส.ส. มาสนับสนุนในการตั้งนายกรัฐมนตรี และการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.)
"การลงทุนทางการเมือง จะเริ่มต้นรุนแรงตั้งแต่ยังไม่เลือกตั้ง ขณะที่การเลือกตั้ง ก็จะต้องลงทุนเพื่อให้จำนวนส.ส.มากเพื่อมาจัดตั้งรัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ และเมื่อเข้ามาแล้วก็จะเข้ามาถอนทุน หาผลประโยชน์ หาทุนเพื่อไปลงเลือกตั้งในคราวต่อไป ระบบให้สภาผู้แทนราษฎร สามารถลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ระบบนี้ก็จะไม่สามารถทำให้เกิดผลได้ เพราะคะแนนเสียงข้างมากอยู่ข้างรัฐบาล และที่จะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น เมื่อส.ส. สามารถขายตัวได้โดยง่าย และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะแก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชันต่อไปได้อย่างไร เมื่อหัวมันส่าย หางมันก็คงต้องกระดิก" นายเสรี กล่าว
**รธน.ฉบับใหม่ไม่ควรมีถึง 300 มาตรา
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะมีประมาณ 250 - 300 มาตรา ว่า ตนในฐานะนักกฎหมายเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ควรมีถึง 300 มาตรา แต่คิดว่าควรเอารายละเอียดไปทำเป็นกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะดีกว่า
**"ธนะศักดิ์"คุยต่างชาติเชื่อมั่นไทย
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการทำงานของรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ ในช่วงที่ผ่านมาว่า รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศได้สร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นกับนานาชาติ ถึงการดำเนินการของไทยที่ยืนยันการเดินหน้าตามแผนโรดแมป ที่วางเอาไว้ ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ร้อยละ 85 ประเทศทั่วโลก ต่างเชื่อมั่นและให้การสนับสนุน ส่วนที่เหลือก็ไม่ต่อต้าน เพราะรัฐบาลไทยใช้ความจริงใจ ซึ่งขณะนี้ไม่ว่าเดินทางไปที่ใด ประเทศไทยไม่เคยถูกคำถามถึงสถานการณ์ในไทย ว่าเป็นอย่างไร มีแต่เขาจะถามว่าจะให้เขาช่วยเหลืออะไรบ้าง และไม่มีคำถามว่า เมื่อใดที่ไทยจะจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลไทย
ดังนั้นทิศทางการทำงานในปีหน้า ก็คือการรักษาความเชื่อมั่น ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน และรัฐบาลพร้อมที่จะรับฟัง
สำหรับกรณีที่มีรายงานว่า โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า การที่ไทยจะเลือกตั้งในปี 2559 ถือเป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด และรับไม่ได้นั้น พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า เราได้สอบถามเรื่องดังกล่าวจากทางการสหรัฐฯแล้ว ซึ่งได้รับการยืนยันว่า ไม่ได้เป็นท่าทีอย่างเป็นทางการ และประเด็นนี้ไม่มีในคำให้สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการของเขา ทั้งนี้ทางสหรัฐฯ บอกว่าเสียใจที่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น