**ในขณะที่คนไทยกำลังถูกโฆษณาชวนเชื่อให้รู้สึกว่าได้รับความสุขจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ด้วยนโยบายลดราคาสินค้าแบบสะบั้นหั่นแหลกข้ามปี ทั้งๆ ที่โดยธรรมชาติแม้รัฐบาลจะไม่มีนโยบายดังกล่าว บริษัทห้างร้านก็ลดราคาโละสต๊อกกันทุกสิ้นปีอยู่แล้ว
การลดราคาสินค้าจึงมิอาจเรียกได้ว่าเป็นการ“คืนความสุข”แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามา“ผสมโรงรับความสุข” ที่บรรดาผู้ประกอบการเขาพร้อมจะคืนให้กับประชาชนอยู่แล้วต่างหาก
ยิ่งเมื่อไล่ดูรายจ่ายของประชาชนนับจากการบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะยิ่งเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า นอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำได้แล้ว ยังกำหนดนโยบายเพิ่มภาระประชาชนทำให้ชีวิตมีราคาแพงขึ้นอีกด้วย
เริ่มตั้งแต่การปรับราคาก๊าซแอลพีจีเป็น 24.16 บาท ต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ทุกครัวเรือนต้องใช้แก๊สหุงต้มแพงขึ้นทันที 100 บาท เมื่อซื้อก๊าซถังละ 15 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังเตรียมการที่จะปรับราคาก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เคยตรึงราคาไว้ที่ 8.50 บาท จนมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขยับขึ้นไป 2 บาทเป็น 10.50 บาท ล่าสุดรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นราคาจากยุคยิ่งลักษณ์อีก 2 บาท เป็น 12.50 บาท และยังไม่หยุดอยู่แค่นี้โดยมีแผนที่จะปรับราคาเป็น 15-16 บาท เท่ากับว่าขึ้นราคาเกือบ 100 % จากราคาที่คนไทยเคยจ่ายที่ 8.50 บาท
ผลจากการปรับราคาทั้งแอลพีจี และเอ็นจีวี ทำให้คนไทยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการเดินทางตามมาทันที โดยกรมการขนส่งทางบก จะเริ่มปรับอัตราค่าแท็กซี่ใหม่ในวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ตามอัตราใหม่ ดังนี้
- ระยะทาง 1 กิโลเมตรแรก ยังคงไว้ที่ 35 บาท
- ระยะทางเกินกว่า 1-10 กิโลเมตรละ 5 บาท 50 สตางค์
- ระยะทางเกินกว่า 10-20 กิโลเมตรละ 7 บาท 50 สตางค์
- กิโลเมตรที่ 21-40 ราคา 6 บาท 50 สตางค์
- กิโลเมตรที่ 41-60 ราคา 7 บาท
- กิโลเมตรที่ 61-80 ราคา 8 บาท
ส่วนในช่วงที่รถติด และจอดนิ่งนั้นมีการปรับเพิ่มจากนาทีละ 1 บาท 50 สตางค์ เป็น 2 บาท
จากนโยบายดังกล่าว ทำให้คนที่ไม่มีรถใช้แต่ต้องกินข้าว ทำครัว ต้องจ่ายแพงขึ้นจากการใช้แก๊สแอลพีจีในภาคครัวเรือน เช่นเดียวกับคนที่มีรถส่วนตัวแต่ใช้แอลพีจี หรือ เอ็นจีวี และคนที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว แต่ใช้รถสาธารณะเช่นแท๊กซี่ ก็ต้องจ่ายแพงขึ้นจากการปรับราคาค่าโดยสารที่ได้รับการอนุมัติในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์
นี่คือรูปธรรมจากการบริหารงานที่ส่งผลถึงประชาชนโดยตรง และคนไทยต้องคิดเอาเองว่า สิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มอบให้คือ ความสุข หรือเปล่า
**เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่รัฐบาลซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในขณะนี้ มิได้มีความคิดที่จะคิดแก้ปัญหาเกี่ยวกับการผูดขาดของทุนพลังงาน มัวแต่สาละวนวุ่นวายอยู่กับการปรับโครงสร้างราคา ซึ่งมีผลลัพธ์อยู่ที่เพิ่มรายจ่ายประชาชนไปเป็นกำไรของทุนพลังงาน แต่ไม่เคยชี้แจงเกี่ยวกับต้นทุนของก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจี ที่แท้จริงว่าคือเท่าไหร่กันแน่
เพราะราคาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นราคาที่ ปตท.และผู้ขุดเจาะ (ปตท.สผ.) กำหนดกันเองโดยที่ภาครัฐ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาดังกล่าวเป็นธรรม แถมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ยังใจดียกเลิกการตรึงราคาก๊าซแอลพีจีหน้าโรงกลั่นที่เคยกำหนดไว้ที่ 333 เหรียญสหรัฐ ต่อตันไปเรียบร้อยแล้ว
** เท่ากับว่าราคาหน้าโรงกลั่นจะขึ้นลงได้ตามใจชอบของผู้ประกอบการ ส่วนประชาชนถูกมัดมือชกยัดเยียดให้ซื้อในราคาขายปลีกที่ผู้ประกอบการกำหนดโดยมีรัฐเป็นคนอำนวยความสะดวกให้
ที่เป็นเช่นนี้เพราะธุรกิจพลังงานในประเทศเป็นระบบผูกขาดตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดย ปตท. ซึ่งพิสูจน์ได้จากโครงสร้างพลังงานของไทยเริ่มตั้งแต่การขุดเจาะโดย ปตท.สผ. มี ปตท. เป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติได้รับสิทธิพิเศษในการซื้อที่ปากหลุมเพียงเจ้าเดียว และยังเป็นเจ้าของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งยังมีปัญหาว่าคืนให้รัฐไม่ครบตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
นอกจาก ปตท.จะเป็นผู้ขุดเจาะ จัดหาก๊าซ เป็นเจ้าของระบบท่อก๊าซแล้ว ยังผูกขาดเรื่องโรงกลั่น เพราะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในกิจการโรงกลั่น 5 แห่งจาก 6 แห่ง ที่มีอยู่ในประเทศนี้ โดยในปัจจุบันเหลือเพียงเอสโซ่แค่แห่งเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ถูกปตท.เทกโอเวอร์ ทำให้ปตท.และบริษัทในเครือ มีส่วนแบ่งตลาดการกลั่นน้ำมันสูงถึง ร้อยละ 85
ไม่เพียงเท่านั้น ปตท. ยังมีธุรกิจปลายทางเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกด้วย ทำให้เกิดการผูกขาดธุรกิจพลังงานทั้งระบบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการกำหนดนโยบายเอื้อประโยชน์ให้กับ ปตท. โดยอ้างความเป็นรัฐวิสาหกิจ
**ถ้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ มีความจริงใจที่จะทำให้ราคาพลังงานเป็นธรรมกับประชาชน มีการจัดสรรทรัพยากรให้กับคนไทยอย่างเสมอภาค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ต้องเริ่มต้นด้วยการสลายการผูกขาดของทุนพลังงานก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ใช่มุ่งที่การขึ้นราคาแอลพีจี และ เอ็นจีวี โดยฉกฉวยโอกาสช่วงที่ราคาน้ำมันโลกลดมาบังหน้า ตบตาประชาชนว่า คนใช้แก๊สแพงขึ้นแต่ทำให้คนใช้น้ำมันจ่ายถูกลง ซึ่งเป็นการโกหกประชาชน
ที่สำคัญคือ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ไม่เคยพูดถึงปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของบรรดาข้าราชการที่ไปเป็นบอร์ดอยู่ใน ปตท. และบริษัทในเครือ จนมีรายได้ในแต่ละเดือนสูงกว่าเงินเดือนข้าราชการเกือบ 5 เท่า ทำให้คนเหล่านี้ไม่คิดรักษาผลประโยชน์ของประชาชนแต่ปกป้อง ปตท.ที่เป็นหม้อข้าวกันแบบสุดตัวจนเกิดสภาพ “การผูกขาดโดยเสรี”ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ถ้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์มีความต้องการทำเพื่อชาติจริง ต้องตั้งสติใหม่ เริ่มดำเนินการในสิ่งที่ถูกต้องทันทีด้วยการสลายการผูกขาดของ ปตท. เริ่มจากการจัดการเรื่องปัญหาการคืนท่อก๊าซให้จบ เพราะทั้ง สตง. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ต่างก็ยืนยันว่าการคืนท่อก๊าซของปตท.ยังไม่ครบถ้วน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการรายงานเท็จต่อศาลปกครองด้วย
ประชาชนไม่ได้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ไปยึดท่อก๊าซ แต่ขอให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพราะกระบวนการคืนท่อก๊าซที่ผ่านมาไม่โปร่งใส มีการสมรู้ร่วมคิดระหว่างข้าราชการระดับสูงกับปตท. ซึ่ง ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ซึ่งเป็น รมว.พลังงานในขณะนั้น ย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจว่าความจริงคืออะไร
เมื่อความเป็นเจ้าของระบบท่อก๊าซกลับคืนมาเป็นของรัฐจะส่งผลดีในหลายประการ คือ ลดการผูกขาดโดย ปตท. รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาใช้บริการท่อก๊าซ ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น
**เรื่องแบบนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล้าทำเพื่อ คืนความสุขให้คนไทยมั้ย !!
การลดราคาสินค้าจึงมิอาจเรียกได้ว่าเป็นการ“คืนความสุข”แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เข้ามา“ผสมโรงรับความสุข” ที่บรรดาผู้ประกอบการเขาพร้อมจะคืนให้กับประชาชนอยู่แล้วต่างหาก
ยิ่งเมื่อไล่ดูรายจ่ายของประชาชนนับจากการบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะยิ่งเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า นอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำได้แล้ว ยังกำหนดนโยบายเพิ่มภาระประชาชนทำให้ชีวิตมีราคาแพงขึ้นอีกด้วย
เริ่มตั้งแต่การปรับราคาก๊าซแอลพีจีเป็น 24.16 บาท ต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ทุกครัวเรือนต้องใช้แก๊สหุงต้มแพงขึ้นทันที 100 บาท เมื่อซื้อก๊าซถังละ 15 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังเตรียมการที่จะปรับราคาก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เคยตรึงราคาไว้ที่ 8.50 บาท จนมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ขยับขึ้นไป 2 บาทเป็น 10.50 บาท ล่าสุดรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นราคาจากยุคยิ่งลักษณ์อีก 2 บาท เป็น 12.50 บาท และยังไม่หยุดอยู่แค่นี้โดยมีแผนที่จะปรับราคาเป็น 15-16 บาท เท่ากับว่าขึ้นราคาเกือบ 100 % จากราคาที่คนไทยเคยจ่ายที่ 8.50 บาท
ผลจากการปรับราคาทั้งแอลพีจี และเอ็นจีวี ทำให้คนไทยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการเดินทางตามมาทันที โดยกรมการขนส่งทางบก จะเริ่มปรับอัตราค่าแท็กซี่ใหม่ในวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ตามอัตราใหม่ ดังนี้
- ระยะทาง 1 กิโลเมตรแรก ยังคงไว้ที่ 35 บาท
- ระยะทางเกินกว่า 1-10 กิโลเมตรละ 5 บาท 50 สตางค์
- ระยะทางเกินกว่า 10-20 กิโลเมตรละ 7 บาท 50 สตางค์
- กิโลเมตรที่ 21-40 ราคา 6 บาท 50 สตางค์
- กิโลเมตรที่ 41-60 ราคา 7 บาท
- กิโลเมตรที่ 61-80 ราคา 8 บาท
ส่วนในช่วงที่รถติด และจอดนิ่งนั้นมีการปรับเพิ่มจากนาทีละ 1 บาท 50 สตางค์ เป็น 2 บาท
จากนโยบายดังกล่าว ทำให้คนที่ไม่มีรถใช้แต่ต้องกินข้าว ทำครัว ต้องจ่ายแพงขึ้นจากการใช้แก๊สแอลพีจีในภาคครัวเรือน เช่นเดียวกับคนที่มีรถส่วนตัวแต่ใช้แอลพีจี หรือ เอ็นจีวี และคนที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว แต่ใช้รถสาธารณะเช่นแท๊กซี่ ก็ต้องจ่ายแพงขึ้นจากการปรับราคาค่าโดยสารที่ได้รับการอนุมัติในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์
นี่คือรูปธรรมจากการบริหารงานที่ส่งผลถึงประชาชนโดยตรง และคนไทยต้องคิดเอาเองว่า สิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มอบให้คือ ความสุข หรือเปล่า
**เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่รัฐบาลซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในขณะนี้ มิได้มีความคิดที่จะคิดแก้ปัญหาเกี่ยวกับการผูดขาดของทุนพลังงาน มัวแต่สาละวนวุ่นวายอยู่กับการปรับโครงสร้างราคา ซึ่งมีผลลัพธ์อยู่ที่เพิ่มรายจ่ายประชาชนไปเป็นกำไรของทุนพลังงาน แต่ไม่เคยชี้แจงเกี่ยวกับต้นทุนของก๊าซเอ็นจีวี และแอลพีจี ที่แท้จริงว่าคือเท่าไหร่กันแน่
เพราะราคาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นราคาที่ ปตท.และผู้ขุดเจาะ (ปตท.สผ.) กำหนดกันเองโดยที่ภาครัฐ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาดังกล่าวเป็นธรรม แถมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ยังใจดียกเลิกการตรึงราคาก๊าซแอลพีจีหน้าโรงกลั่นที่เคยกำหนดไว้ที่ 333 เหรียญสหรัฐ ต่อตันไปเรียบร้อยแล้ว
** เท่ากับว่าราคาหน้าโรงกลั่นจะขึ้นลงได้ตามใจชอบของผู้ประกอบการ ส่วนประชาชนถูกมัดมือชกยัดเยียดให้ซื้อในราคาขายปลีกที่ผู้ประกอบการกำหนดโดยมีรัฐเป็นคนอำนวยความสะดวกให้
ที่เป็นเช่นนี้เพราะธุรกิจพลังงานในประเทศเป็นระบบผูกขาดตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดย ปตท. ซึ่งพิสูจน์ได้จากโครงสร้างพลังงานของไทยเริ่มตั้งแต่การขุดเจาะโดย ปตท.สผ. มี ปตท. เป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติได้รับสิทธิพิเศษในการซื้อที่ปากหลุมเพียงเจ้าเดียว และยังเป็นเจ้าของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งยังมีปัญหาว่าคืนให้รัฐไม่ครบตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
นอกจาก ปตท.จะเป็นผู้ขุดเจาะ จัดหาก๊าซ เป็นเจ้าของระบบท่อก๊าซแล้ว ยังผูกขาดเรื่องโรงกลั่น เพราะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในกิจการโรงกลั่น 5 แห่งจาก 6 แห่ง ที่มีอยู่ในประเทศนี้ โดยในปัจจุบันเหลือเพียงเอสโซ่แค่แห่งเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ถูกปตท.เทกโอเวอร์ ทำให้ปตท.และบริษัทในเครือ มีส่วนแบ่งตลาดการกลั่นน้ำมันสูงถึง ร้อยละ 85
ไม่เพียงเท่านั้น ปตท. ยังมีธุรกิจปลายทางเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกด้วย ทำให้เกิดการผูกขาดธุรกิจพลังงานทั้งระบบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการกำหนดนโยบายเอื้อประโยชน์ให้กับ ปตท. โดยอ้างความเป็นรัฐวิสาหกิจ
**ถ้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ มีความจริงใจที่จะทำให้ราคาพลังงานเป็นธรรมกับประชาชน มีการจัดสรรทรัพยากรให้กับคนไทยอย่างเสมอภาค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ต้องเริ่มต้นด้วยการสลายการผูกขาดของทุนพลังงานก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ใช่มุ่งที่การขึ้นราคาแอลพีจี และ เอ็นจีวี โดยฉกฉวยโอกาสช่วงที่ราคาน้ำมันโลกลดมาบังหน้า ตบตาประชาชนว่า คนใช้แก๊สแพงขึ้นแต่ทำให้คนใช้น้ำมันจ่ายถูกลง ซึ่งเป็นการโกหกประชาชน
ที่สำคัญคือ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ไม่เคยพูดถึงปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของบรรดาข้าราชการที่ไปเป็นบอร์ดอยู่ใน ปตท. และบริษัทในเครือ จนมีรายได้ในแต่ละเดือนสูงกว่าเงินเดือนข้าราชการเกือบ 5 เท่า ทำให้คนเหล่านี้ไม่คิดรักษาผลประโยชน์ของประชาชนแต่ปกป้อง ปตท.ที่เป็นหม้อข้าวกันแบบสุดตัวจนเกิดสภาพ “การผูกขาดโดยเสรี”ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ถ้ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์มีความต้องการทำเพื่อชาติจริง ต้องตั้งสติใหม่ เริ่มดำเนินการในสิ่งที่ถูกต้องทันทีด้วยการสลายการผูกขาดของ ปตท. เริ่มจากการจัดการเรื่องปัญหาการคืนท่อก๊าซให้จบ เพราะทั้ง สตง. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ต่างก็ยืนยันว่าการคืนท่อก๊าซของปตท.ยังไม่ครบถ้วน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการรายงานเท็จต่อศาลปกครองด้วย
ประชาชนไม่ได้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ไปยึดท่อก๊าซ แต่ขอให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพราะกระบวนการคืนท่อก๊าซที่ผ่านมาไม่โปร่งใส มีการสมรู้ร่วมคิดระหว่างข้าราชการระดับสูงกับปตท. ซึ่ง ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ซึ่งเป็น รมว.พลังงานในขณะนั้น ย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจว่าความจริงคืออะไร
เมื่อความเป็นเจ้าของระบบท่อก๊าซกลับคืนมาเป็นของรัฐจะส่งผลดีในหลายประการ คือ ลดการผูกขาดโดย ปตท. รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาใช้บริการท่อก๊าซ ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้น
**เรื่องแบบนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล้าทำเพื่อ คืนความสุขให้คนไทยมั้ย !!