ในรอบ 10 ปีมานี้มีคนพูดถึงคำ 2 คำกันมาก หนึ่งคือความสมานฉันท์ สองคือความปรองดอง มีการตั้งคณะกรรมการและคณะกรรมาธิการกันมาหลายชุด มีข้อเสนอหลากหลาย แต่ผลที่ได้ก็อย่างที่เราทราบกันคือไม่ได้ผล คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดที่กำลังทำงานกันอยู่ก็พูดถึงภารกิจในการสร้างความสมานฉันท์สร้างความปรองดองกันมากเช่นกัน ถึงกับมีการกำหนดโครงสร้างไว้ในภาคที่ 4 ให้มีหมวดว่าด้วยการสร้างความปรองดองขึ้นมาเป็นพิเศษ รูปแบบแม้ยังไม่ตกผลึก แต่ก็คงไม่หนีการสร้างคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่งอยู่ดี
แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีผู้เข้ามาให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการคนหนึ่งมีมุมมองที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ไม่ต้องไปแสวงหากลไกอะไรมากหรอก เพราะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่แหละคือคณะกรรมการสร้างความปรองดองโดยตัวของตัวเองอยู่แล้ว
หากร่างรัฐธรรมนูญออกมาให้รัฐธรรมนูญที่ดี ให้เป็นที่พอจะยอมรับกันได้ของทุกฝ่าย ความขัดแย้งจะลดลงไป 50 เปอร์เซนต์ทันที
ผมเห็นด้วยในหลักการนี้อย่างยิ่ง
แต่คำถามที่ตามมาคือรัฐธรรมนูญที่ดีเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญที่ดีในความเข้าใจและความต้องการของฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างในสังคมขณะนี้ดูเหมือนจะอยู่สุดคนละขั้วคนละข้างเลย
แม้แต่ในฝ่ายที่ดูเหมือนที่เคยมีความคิดเห็นที่ใกล้เคียงกันกระทั่งเคยขึ้นเวทีเดียวกัน ก็ยังมีไมตรีวิวาทะกันอย่างหนักในประเด็นว่าควรออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่ให้เลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรงหรือไม่
การจะร่างรัฐธรรมนูญให้พอจะเป็นที่ยอมรับกันได้ของทุกฝ่ายจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ในมุมมองของผม ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรออกแบบให้สามารถ “ผนึกรวมพลังอำนาจที่มีอยู่จริง” ในสังคมไทยเอาไว้ในโครงสร้างองค์กรทางการเมืองต่าง ๆ ให้ได้
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือให้เป็นโครงสร้างทางการเมืองที่เป็นที่ประนอมอำนาจของ “ทุกพลังอำนาจที่มีอยู่จริง” ในสังคมไทย
การยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ที่เป็นเหตุการณ์ช่วงต้น ๆ ของความขัดแย้งในสังคมไทยมองจากมุมมองนี้เกิดขึ้นเพราะการขัดกันของรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ
ฉบับหนึ่ง - รัฐธรรมนูญ 2540
ฉบับหนึ่ง – รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
คำว่า “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม” ในที่นี้หมายถึงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยโดยองค์รวมทั้งหมดนั้นแหละ ไม่ใช่รัฐธรรมนงรัฐธรรมนูญอะไรหรอก ความหมายของความขัดแย้งตามมุมมองนี้จึงเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐธรรมนูญ 2540 หรืออันที่จริงรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่มีลักษณะ “ประชาธิปไตยเต็มใบ” ที่คัดเลือกมาตรการดี ๆ เด่น ๆ มาจากประเทศประชาธิปไตยทั่วโลก รวมทั้งรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วย กับความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ของสังคมไทย
มาดูกันก่อนว่า แนวความคิดนี้มองความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ของสังคมไทยไว้อย่างไร ?
หรือพูดให้เก๋ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของสังคมไทยมีโครงสร้างอย่างไร ?
มุมมองนี้จำแนกว่าองค์ประกอบของสังคมไทยมี 4 ส่วนหลัก สังคมจะราบรื่นสมานฉันท์ “ปรองดอง” ได้ก็ต่อเมื่อเกิดดุลยภาพอย่างลงตัวในองค์ประกอบทั้งสี่นี้ คือ
1. พระมหากษัตริย์ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ - สังคมไทยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบันมีแต่การเปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน ไม่มีการลุกขึ้นสู้แล้วก่อการเปลี่ยนแปลงจากเบื้องล่าง หรือมีอยู่บ้างก็เล็กและพ่ายแพ้ พระมหากษัตริย์นับแต่ยุคสุโขทัยมา ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็น Statesman หรือรัฐบุรุษในความหมายที่แท้จริง บทบาทแจ่มชัด ชัดเจน แต่โครงสร้างใหม่ในทางลายลักษณ์อักษรพระองค์จะไม่ทรงมีบทบาททางการเมือง ยกเว้นในยามวิกฤตนองเลือด หรือใกล้จะนองเลือด
2. ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท - คนกลุ่มนี้เข้าถึงทรัพยากรได้ยาก เป็นผู้เสียเปรียบถาวรนับแต่เกิดแผนปฏิรูปทุนนิยมในปี 2504 พวกเขามีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาดน้อยหรือไม่มีเลย ต้องพึ่งพิงคนอื่น มีจุดเด่นอยู่อย่างเดียวคือมีจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเลือกตั้ง จึงเป็น “ฐานคะแนนเสียงของนักการเมือง” มาโดยตลอด
3. ชนชั้นกลาง ทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ - คนกลุ่มนี้มีความสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาด รวมทั้งสามารถเข้าถึงทรัพยากร จึงเป็น “ฐานนโยบายของนักการเมือง” มาโดยตลอดเช่นกัน
4. ทหาร และข้าราชการพลเรือน – เป็นผู้กุมอำนาจรัฐตัวจริงมายาวนาน แม้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังปี 2475 จนถึงก่อนปี 2540 ก็ยังคงมีบทบาทอยู่ทั้งในทางความเป็นจริง แต่ในทางลายลักษณ์อักษรกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง และถูกกีดกันออกจากการเมือง
นี่เป็นความสัมพันธ์ในวิถีและในสำนึกคนไทยโดยไม่รู้ตัว
เรามีองค์ประกอบที่ 2 และที่ 3 อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรที่เลือกมาจากประชาชนทั่วประเทศ ให้รัฐบาลมาจากสภาผู้แทนราษฎร จนมีคำกล่าวติดปากว่าคนต่างจังหวัดเป็นคนตั้งรัฐบาล และมีองค์ประกอบที่ 4 อยู่ในวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และในช่วงแรก ๆ ข้าราชการประจำสามารถเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ ทำให้พอจะกล่าวได้ว่าองค์ประกอบทั้งสี่มีดุลยภาพในระดับหนึ่ง
กลไกคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยคือการปรับเปลี่ยนดุลยภาพนี้ไป
สาเหตุความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรทุกฉบับ และวิกฤตทางการเมือง ก็เพราะไม่มีดุลยภาพระหว่างองค์ประกอบหลัก หรือนับหนึ่งที่พูดได้ว่า รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
รัฐธรรมนูญ 2540 ล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เพราะแม้จะออกแบบให้มีส.ส. 2 ระบบ คือ ส.ส.เขต กับส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ประเภทบัญชีเดียว 100 คน ก็เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างมาให้ชนชั้นกลางเป็นฐานคะแนนเสียงด้วยในส่วนของปาร์ตี้ลิสต์ แต่ก็กลับไปออกแบบให้มีส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง โดยเป็นการตัดสินใจกันในสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนั้นอย่างกะทันหัน และอย่างยอมจำนนต่อมายาภาพที่ว่า “ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง” ข้อเสนอให้ส.ว.ทั้งสภามาจากการสรรหาเพื่อให้เป็นตัวแทนขององค์ประกอบอื่นในสังคมไทยจึงตกไป
ยิ่งเป็นการลดบทบาทขององค์ประกอบที่ 4 ออกห่างไปจากเวทีการเมือง
เสียงข้างมากเด็ดขาดของพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งในระบบใหม่ที่มีส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศยิ่งลดดบทบาทขององค์ประกอบที่ 4
และเริ่มเข้าใกล้กับสภาวะกระทบกับสถานะขององค์ประกอบที่ 1 โดยธรรมชาติ
หลายคนอาจวิพากษ์วิจารณ์ผมว่ามุมมองเรื่ององค์ประกอบ 4 ส่วนนี้เป็นมุมมองที่มีปัญหา เพราะโดยหลักประชาธิปไตยแล้วทุกประการต้องมาจากประชาชนเท่านั้น จะไปจัดให้ข้าราชการทหารและพลเรือนเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบหรือพลังอำนาจได้อย่างไร ข้าราชการทหารและพลเรือนต้องขึ้นกับรัฐบาล
เข้าใจครับ แต่เรื่องนี้ต้องคุยกันยาวและคงไม่เป็นที่ยอมรับได้ได้ง่าย ๆ
แต่ที่ผมพยายามพูดมานี่ ก็ในมุมมองของความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ในสังคม หรือดัดจริตพูดให้เท่ ๆ ว่ารัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
นักวิชาการบางท่านไปไกลกว่าผมด้วยซ้ำ โดยบอกว่าการเลือกตั้งสลับการรัฐประหารหรือเลือกตั้งสลับรัฎฐาธิปัตย์เป็นระบบของประเทศไทยที่สร้างดุลยภาพขึ้นมาแบบไทย ๆ
ความปรองดองที่แท้จริงเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมไทยวันนี้หรอกหากเราไม่สามารถออกแบบให้องค์ประกอบแห่งพลังอำนาจทั้ง 4 ส่วนมีที่ยืนและที่พูดในโครงสร้างทางการเมืองในระบบอย่างเหมาะสม !
ร่างรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรต้องไม่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมเสียทั้งหมด !!
แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีผู้เข้ามาให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการคนหนึ่งมีมุมมองที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ไม่ต้องไปแสวงหากลไกอะไรมากหรอก เพราะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่แหละคือคณะกรรมการสร้างความปรองดองโดยตัวของตัวเองอยู่แล้ว
หากร่างรัฐธรรมนูญออกมาให้รัฐธรรมนูญที่ดี ให้เป็นที่พอจะยอมรับกันได้ของทุกฝ่าย ความขัดแย้งจะลดลงไป 50 เปอร์เซนต์ทันที
ผมเห็นด้วยในหลักการนี้อย่างยิ่ง
แต่คำถามที่ตามมาคือรัฐธรรมนูญที่ดีเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญที่ดีในความเข้าใจและความต้องการของฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างในสังคมขณะนี้ดูเหมือนจะอยู่สุดคนละขั้วคนละข้างเลย
แม้แต่ในฝ่ายที่ดูเหมือนที่เคยมีความคิดเห็นที่ใกล้เคียงกันกระทั่งเคยขึ้นเวทีเดียวกัน ก็ยังมีไมตรีวิวาทะกันอย่างหนักในประเด็นว่าควรออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่ให้เลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรงหรือไม่
การจะร่างรัฐธรรมนูญให้พอจะเป็นที่ยอมรับกันได้ของทุกฝ่ายจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ในมุมมองของผม ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรออกแบบให้สามารถ “ผนึกรวมพลังอำนาจที่มีอยู่จริง” ในสังคมไทยเอาไว้ในโครงสร้างองค์กรทางการเมืองต่าง ๆ ให้ได้
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือให้เป็นโครงสร้างทางการเมืองที่เป็นที่ประนอมอำนาจของ “ทุกพลังอำนาจที่มีอยู่จริง” ในสังคมไทย
การยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ที่เป็นเหตุการณ์ช่วงต้น ๆ ของความขัดแย้งในสังคมไทยมองจากมุมมองนี้เกิดขึ้นเพราะการขัดกันของรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ
ฉบับหนึ่ง - รัฐธรรมนูญ 2540
ฉบับหนึ่ง – รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
คำว่า “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม” ในที่นี้หมายถึงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยโดยองค์รวมทั้งหมดนั้นแหละ ไม่ใช่รัฐธรรมนงรัฐธรรมนูญอะไรหรอก ความหมายของความขัดแย้งตามมุมมองนี้จึงเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐธรรมนูญ 2540 หรืออันที่จริงรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่มีลักษณะ “ประชาธิปไตยเต็มใบ” ที่คัดเลือกมาตรการดี ๆ เด่น ๆ มาจากประเทศประชาธิปไตยทั่วโลก รวมทั้งรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วย กับความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ของสังคมไทย
มาดูกันก่อนว่า แนวความคิดนี้มองความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ของสังคมไทยไว้อย่างไร ?
หรือพูดให้เก๋ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของสังคมไทยมีโครงสร้างอย่างไร ?
มุมมองนี้จำแนกว่าองค์ประกอบของสังคมไทยมี 4 ส่วนหลัก สังคมจะราบรื่นสมานฉันท์ “ปรองดอง” ได้ก็ต่อเมื่อเกิดดุลยภาพอย่างลงตัวในองค์ประกอบทั้งสี่นี้ คือ
1. พระมหากษัตริย์ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ - สังคมไทยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบันมีแต่การเปลี่ยนแปลงจากเบื้องบน ไม่มีการลุกขึ้นสู้แล้วก่อการเปลี่ยนแปลงจากเบื้องล่าง หรือมีอยู่บ้างก็เล็กและพ่ายแพ้ พระมหากษัตริย์นับแต่ยุคสุโขทัยมา ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็น Statesman หรือรัฐบุรุษในความหมายที่แท้จริง บทบาทแจ่มชัด ชัดเจน แต่โครงสร้างใหม่ในทางลายลักษณ์อักษรพระองค์จะไม่ทรงมีบทบาททางการเมือง ยกเว้นในยามวิกฤตนองเลือด หรือใกล้จะนองเลือด
2. ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท - คนกลุ่มนี้เข้าถึงทรัพยากรได้ยาก เป็นผู้เสียเปรียบถาวรนับแต่เกิดแผนปฏิรูปทุนนิยมในปี 2504 พวกเขามีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาดน้อยหรือไม่มีเลย ต้องพึ่งพิงคนอื่น มีจุดเด่นอยู่อย่างเดียวคือมีจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเลือกตั้ง จึงเป็น “ฐานคะแนนเสียงของนักการเมือง” มาโดยตลอด
3. ชนชั้นกลาง ทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ - คนกลุ่มนี้มีความสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจและระบบตลาด รวมทั้งสามารถเข้าถึงทรัพยากร จึงเป็น “ฐานนโยบายของนักการเมือง” มาโดยตลอดเช่นกัน
4. ทหาร และข้าราชการพลเรือน – เป็นผู้กุมอำนาจรัฐตัวจริงมายาวนาน แม้หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังปี 2475 จนถึงก่อนปี 2540 ก็ยังคงมีบทบาทอยู่ทั้งในทางความเป็นจริง แต่ในทางลายลักษณ์อักษรกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง และถูกกีดกันออกจากการเมือง
นี่เป็นความสัมพันธ์ในวิถีและในสำนึกคนไทยโดยไม่รู้ตัว
เรามีองค์ประกอบที่ 2 และที่ 3 อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรที่เลือกมาจากประชาชนทั่วประเทศ ให้รัฐบาลมาจากสภาผู้แทนราษฎร จนมีคำกล่าวติดปากว่าคนต่างจังหวัดเป็นคนตั้งรัฐบาล และมีองค์ประกอบที่ 4 อยู่ในวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และในช่วงแรก ๆ ข้าราชการประจำสามารถเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ ทำให้พอจะกล่าวได้ว่าองค์ประกอบทั้งสี่มีดุลยภาพในระดับหนึ่ง
กลไกคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยคือการปรับเปลี่ยนดุลยภาพนี้ไป
สาเหตุความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรทุกฉบับ และวิกฤตทางการเมือง ก็เพราะไม่มีดุลยภาพระหว่างองค์ประกอบหลัก หรือนับหนึ่งที่พูดได้ว่า รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
รัฐธรรมนูญ 2540 ล้มเหลวเพราะเหตุนี้
เพราะแม้จะออกแบบให้มีส.ส. 2 ระบบ คือ ส.ส.เขต กับส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ประเภทบัญชีเดียว 100 คน ก็เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างมาให้ชนชั้นกลางเป็นฐานคะแนนเสียงด้วยในส่วนของปาร์ตี้ลิสต์ แต่ก็กลับไปออกแบบให้มีส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรง โดยเป็นการตัดสินใจกันในสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนั้นอย่างกะทันหัน และอย่างยอมจำนนต่อมายาภาพที่ว่า “ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง” ข้อเสนอให้ส.ว.ทั้งสภามาจากการสรรหาเพื่อให้เป็นตัวแทนขององค์ประกอบอื่นในสังคมไทยจึงตกไป
ยิ่งเป็นการลดบทบาทขององค์ประกอบที่ 4 ออกห่างไปจากเวทีการเมือง
เสียงข้างมากเด็ดขาดของพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งในระบบใหม่ที่มีส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศยิ่งลดดบทบาทขององค์ประกอบที่ 4
และเริ่มเข้าใกล้กับสภาวะกระทบกับสถานะขององค์ประกอบที่ 1 โดยธรรมชาติ
หลายคนอาจวิพากษ์วิจารณ์ผมว่ามุมมองเรื่ององค์ประกอบ 4 ส่วนนี้เป็นมุมมองที่มีปัญหา เพราะโดยหลักประชาธิปไตยแล้วทุกประการต้องมาจากประชาชนเท่านั้น จะไปจัดให้ข้าราชการทหารและพลเรือนเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบหรือพลังอำนาจได้อย่างไร ข้าราชการทหารและพลเรือนต้องขึ้นกับรัฐบาล
เข้าใจครับ แต่เรื่องนี้ต้องคุยกันยาวและคงไม่เป็นที่ยอมรับได้ได้ง่าย ๆ
แต่ที่ผมพยายามพูดมานี่ ก็ในมุมมองของความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ในสังคม หรือดัดจริตพูดให้เท่ ๆ ว่ารัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม
นักวิชาการบางท่านไปไกลกว่าผมด้วยซ้ำ โดยบอกว่าการเลือกตั้งสลับการรัฐประหารหรือเลือกตั้งสลับรัฎฐาธิปัตย์เป็นระบบของประเทศไทยที่สร้างดุลยภาพขึ้นมาแบบไทย ๆ
ความปรองดองที่แท้จริงเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมไทยวันนี้หรอกหากเราไม่สามารถออกแบบให้องค์ประกอบแห่งพลังอำนาจทั้ง 4 ส่วนมีที่ยืนและที่พูดในโครงสร้างทางการเมืองในระบบอย่างเหมาะสม !
ร่างรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรต้องไม่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมเสียทั้งหมด !!