ช่วงนี้บรรดาท่านผู้มากความรู้ เปี่ยมสภาวะร้อนวิชาต่างแสดงภูมิหลากหลาย ผลักดันแนวทางร่างรัฐธรรมนูญ ระบบการเลือกตั้งไปคนละทิศละทาง ใครร่ำเรียนจากสถาบันใด อ่านหนังสือเล่มไหน ก็ยกมาเป็นรูปแบบระบอบประชาธิปไตยเพื่อคนไทยเรื่องเยอะ
ผู้รู้บางคนเสนอว่าต้องใช้เยอรมนีโมเดล มี ส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิสต์และเลือกตั้งแบ่งเขต ความคิดกระฉูดอยากลองของใหม่ให้ประชาชนเลือกนายกฯ และคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่มีเสียงท้วงติงว่าจะเป็นการเสี่ยงตัดพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกฯ
เมืองไทยมีปัญหาการเมืองแบบประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี 2475 เมื่อนักเรียนนอกร้อนวิชาอ้างว่าเป็นคณะราษฎรก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลพระมหากษัตริย์ ยึดอำนาจมาแบ่งให้พวกกันเอง เป็นบ่อเกิดของการคอร์รัปชันอำนาจ โกงกินสืบทอดมาจนทุกวันนี้
นั่นรวมถึงธรรมเนียมการทำรัฐประหารเกือบ 20 ครั้งโดยคณะทหาร พร้อมกับการจัดทำรัฐธรรมนูญ ยิ่งมีปัญหาเยอะ รัฐธรรมนูญยิ่งมีมาตราข้อกำหนดเยอะ แต่ไม่ยอมรับความเป็นจริงว่าการรัฐประหารและการเมืองน้ำเน่าเป็นวงจรอุบาทว์ด้วยกัน
ทุกครั้งก่อนหลังการล้มล้างรัฐบาล ผู้นำรัฐประหารและนักการเมืองต่างอ้างว่าตัวเองขี้หอม ชาวบ้านได้แต่อุดจมูกมองดูด้วยความสมเพช รู้ดีว่านั่นเป็นเพียงมหกรรม “ผลัดกันโกงบ้านกินเมือง” เลวพอกัน แต่ดุลอำนาจการต่อสู้ไม่เท่ากันเมื่ออีกฝ่ายมีปืน
ทุกวันนี้บ้านเมืองมีทั้ง สนช. และ สปช.สร้างความรู้สึกว่าดูเหมือนดี มีบทบาทวาทกรรมความคิดกระฉูดสารพัดเรื่อง หลังจาก 7 เดือนผ่านไปยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ชาวบ้านดูด้วยความเบื่อหน่ายขณะที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แต่ละคนกว่าแสนบาท
ตั้งต้นมีการแสดงเจตนารมณ์ดูเหมือนดี มาบัดนี้ สปช. และ สนช.เริ่มลองของนำเรื่องนิรโทษกรรมมาเป็นประเด็นหลัก ลืมไปว่าได้ให้สัญญาประชาชนว่าการรัฐประหารจะนำไปสู่การปฏิรูปบ้านเมืองทุกเรื่อง ประธาน สปช.คุยว่าเมืองไทยจะมีสังคมยูโทเปีย
ชาวบ้านฟังแล้วกลุ้มหนัก จะลองเยอรมนีโมเดลก็คงไม่เหมาะ เพราะคนไทยกับคนเยอรมันต่างกันเยอะ เขาไม่มีการซื้อเสียง นักการเมืองก็ไม่หน้าด้านโกงกินกันจนแทบสิ้นแผ่นดิน สังคมยูโทเปียเป็นเพียงแนวคิดของเพลโต แม้แต่คนอิตาเลียนก็มีปัญหาการเมือง จำไม่ได้เรอะว่าอดีตนายกฯ แบร์ลุสโคนี กับบักเหลี่ยมออกแนวเดียวกัน
คงต้องคุยกันอีกยาว เพราะนักร่างรัฐธรรมนูญ นำโดยผู้รู้กฎหมายระดับอภิมหาเนติบริกรต่างไม่ยอมกันโดยไม่ลองภูมิกันถ้วนหน้า ไม่คำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่าพวกนักร่างรัฐธรรมนูญหน้าเดิมๆ มีส่วนในการร่างฉบับก่อนและถูกฉีกซ้ำซากโดยอำนาจปืน
ร่างแล้ว โดนฉีกอีกแล้ว ท่านอภิมหาเนติบริกรไม่รู้สึกย่อท้อหรืออับอาย กลับขยันอาสาร่างฉบับใหม่ให้ยาวซ้ำซ้อนอลังการกว่าเดิม ล่าสุดได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จนมีปัญหาต้องตีความท่านเสนอหน้าตาเฉยว่าควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่านแอบกระซิบสวนมาว่า ร่างเองก็ตีความเองซิฟ่ะ!
ดูแนวโน้มแล้วปัญหาบ้านเมืองจะต้องเผชิญปัญหาอีกนาน ความพยายามสร้างบรรยากาศปรองดองสมานฉันท์ถูกมองว่าเป็นมหกรรมหลอกตัวเอง ต้มตุ๋นชาวบ้าน สร้างฉากโลกสวย แท้ที่จริงเป็นคำอ้างเพื่อไม่ต้องรับภาระหนักอกจัดการคนชั่วร้ายกังฉิน
ร่างรัฐธรรมนูญแต่เน้นเรื่องนิรโทษกรรม ความคืบหน้าเรื่องปฏิรูปยังไม่เห็นแววของความสำเร็จ เหลือเวลาอีกไม่นานก่อนกำหนดเลือกตั้ง เมื่อดูสถานการณ์ สิ่งบอกเหตุต่างๆ แล้วน่าหวาดเสียวว่าจะเกิดอุบัติเหตุทำให้หยุดชะงัก ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่อีก
ลืมไปแล้วมั้ง ว่าวิกฤตการเมือง การชุมนุมยืดเยื้อนานกว่า 7 เดือนเพื่อขับไล่นักการเมืองกังฉินกินเมืองนั้นมีต้นตอมาจากความพยายามของ ส.ส. และ ส.ว.ในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม วางกฎต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้พวกเดียวกันนั่นเอง
เสียงเตือนของผู้เฒ่าจิ๋วเรื่องปฏิวัติรัฐประหารซ้ำย่อมไม่ใช่คำพูดเลื่อนลอยแน่! ยิ่งมีเสียงเตือนจากท่านอภิมหาเนติบริกรเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญว่า “วันนี้ทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว เหมือนคำโบราณว่า ‘ลงเรือแป๊ะ ก็ต้องตามใจแป๊ะ’ ไม่เช่นนั้นจะถูกแป๊ะไล่ลงจากเรือ คือเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการให้เข้าใจ...” ยิ่งทำให้คิดว่าน่าจะมีสภาวะเสี่ยงสูง
จะมีประชาธิปไตยแบบแป๊ะหรือไง? ยุคนี้แป๊ะไม่ควรมีอิทธิพลกำหนดให้คนลงเรือต้องตามใจแป๊ะ ตรงกันข้ามนี่เป็นยุคบริการ ดังนั้นแป๊ะต้องตามใจคนจ่ายเงิน...เอ่อ...ชาวบ้านอยากรู้ว่า “ใคร” คือแป๊ะ แม้จะรู้มากกว่าเป็นเลาๆ ว่าแป๊ะที่ว่านั้นเป็นใคร
การตามใจแป๊ะหรือประชาธิปไตยแบบแป๊ะน่าหวาดเสียวมาก เพราะแนวคิดของแป๊ะมีศัพท์การเมืองแบบแป๊ะ เช่น “หยวนๆ” “เกี้ยเซียะ” “ฮั้ว” “เก๋าเจี๊ยะ” โดยปกติแป๊ะไม่ใส่ใจการเมืองเว้นแต่บางเวลาแป๊ะ “เจี๊ยะป้าบ่อสื่อ” คือ “กินข้าวอิ่มแล้วไม่มีอะไรทำ”
การเมืองยุคนี้ท่านผู้มีอำนาจบอกว่าต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านตัวแทน คือ สปช. ทั้งๆ ที่คณะของท่านมีอำนาจ แต่ไม่ยอมใช้อำนาจจัดการให้เบ็ดเสร็จตามเจตนารมณ์การรัฐประหาร ยอมทนฟังเสียงค่อนแคะว่าสงสัยว่าจะ “เสียของ” อีกรอบ
ท่านอภิมหาเนติบริกรไม่เคยเข้าสู่การเมืองด้วยการเสนอตัวมาให้ประชาชนเลือก ท่านชอบรอให้ผู้กุมอำนาจรัฐเชิญไปรับงานร่างกฎหมาย รัฐธรรมนูญ โดยมีข้ออ้างสวยหรูฟังดูดีว่าถ้าคนร่างและคนเล่นเป็นพวกเดียวกันจะมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยลืมไปว่า “เนติบริกร” เป็นคนแรกที่ต้องทำตาม “แป๊ะ” สั่ง เป็นปัญหาซ้ำซากโดยตลอด
ถึงเวลาที่คนไทยต้องปฏิเสธประชาธิปไตยระบบแป๊ะ ไม่ตามใจแป๊ะ! ถ้าแป๊ะทำ “เรือหาย” แป๊ะไม่รับผิดชอบแน่ เราต้องกล้าถีบแป๊ะตกเรือแล้วร่วมกันพายเรือเข้าฝั่งเอง
ผู้รู้บางคนเสนอว่าต้องใช้เยอรมนีโมเดล มี ส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิสต์และเลือกตั้งแบ่งเขต ความคิดกระฉูดอยากลองของใหม่ให้ประชาชนเลือกนายกฯ และคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่มีเสียงท้วงติงว่าจะเป็นการเสี่ยงตัดพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกฯ
เมืองไทยมีปัญหาการเมืองแบบประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี 2475 เมื่อนักเรียนนอกร้อนวิชาอ้างว่าเป็นคณะราษฎรก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลพระมหากษัตริย์ ยึดอำนาจมาแบ่งให้พวกกันเอง เป็นบ่อเกิดของการคอร์รัปชันอำนาจ โกงกินสืบทอดมาจนทุกวันนี้
นั่นรวมถึงธรรมเนียมการทำรัฐประหารเกือบ 20 ครั้งโดยคณะทหาร พร้อมกับการจัดทำรัฐธรรมนูญ ยิ่งมีปัญหาเยอะ รัฐธรรมนูญยิ่งมีมาตราข้อกำหนดเยอะ แต่ไม่ยอมรับความเป็นจริงว่าการรัฐประหารและการเมืองน้ำเน่าเป็นวงจรอุบาทว์ด้วยกัน
ทุกครั้งก่อนหลังการล้มล้างรัฐบาล ผู้นำรัฐประหารและนักการเมืองต่างอ้างว่าตัวเองขี้หอม ชาวบ้านได้แต่อุดจมูกมองดูด้วยความสมเพช รู้ดีว่านั่นเป็นเพียงมหกรรม “ผลัดกันโกงบ้านกินเมือง” เลวพอกัน แต่ดุลอำนาจการต่อสู้ไม่เท่ากันเมื่ออีกฝ่ายมีปืน
ทุกวันนี้บ้านเมืองมีทั้ง สนช. และ สปช.สร้างความรู้สึกว่าดูเหมือนดี มีบทบาทวาทกรรมความคิดกระฉูดสารพัดเรื่อง หลังจาก 7 เดือนผ่านไปยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ชาวบ้านดูด้วยความเบื่อหน่ายขณะที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แต่ละคนกว่าแสนบาท
ตั้งต้นมีการแสดงเจตนารมณ์ดูเหมือนดี มาบัดนี้ สปช. และ สนช.เริ่มลองของนำเรื่องนิรโทษกรรมมาเป็นประเด็นหลัก ลืมไปว่าได้ให้สัญญาประชาชนว่าการรัฐประหารจะนำไปสู่การปฏิรูปบ้านเมืองทุกเรื่อง ประธาน สปช.คุยว่าเมืองไทยจะมีสังคมยูโทเปีย
ชาวบ้านฟังแล้วกลุ้มหนัก จะลองเยอรมนีโมเดลก็คงไม่เหมาะ เพราะคนไทยกับคนเยอรมันต่างกันเยอะ เขาไม่มีการซื้อเสียง นักการเมืองก็ไม่หน้าด้านโกงกินกันจนแทบสิ้นแผ่นดิน สังคมยูโทเปียเป็นเพียงแนวคิดของเพลโต แม้แต่คนอิตาเลียนก็มีปัญหาการเมือง จำไม่ได้เรอะว่าอดีตนายกฯ แบร์ลุสโคนี กับบักเหลี่ยมออกแนวเดียวกัน
คงต้องคุยกันอีกยาว เพราะนักร่างรัฐธรรมนูญ นำโดยผู้รู้กฎหมายระดับอภิมหาเนติบริกรต่างไม่ยอมกันโดยไม่ลองภูมิกันถ้วนหน้า ไม่คำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่าพวกนักร่างรัฐธรรมนูญหน้าเดิมๆ มีส่วนในการร่างฉบับก่อนและถูกฉีกซ้ำซากโดยอำนาจปืน
ร่างแล้ว โดนฉีกอีกแล้ว ท่านอภิมหาเนติบริกรไม่รู้สึกย่อท้อหรืออับอาย กลับขยันอาสาร่างฉบับใหม่ให้ยาวซ้ำซ้อนอลังการกว่าเดิม ล่าสุดได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จนมีปัญหาต้องตีความท่านเสนอหน้าตาเฉยว่าควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่านแอบกระซิบสวนมาว่า ร่างเองก็ตีความเองซิฟ่ะ!
ดูแนวโน้มแล้วปัญหาบ้านเมืองจะต้องเผชิญปัญหาอีกนาน ความพยายามสร้างบรรยากาศปรองดองสมานฉันท์ถูกมองว่าเป็นมหกรรมหลอกตัวเอง ต้มตุ๋นชาวบ้าน สร้างฉากโลกสวย แท้ที่จริงเป็นคำอ้างเพื่อไม่ต้องรับภาระหนักอกจัดการคนชั่วร้ายกังฉิน
ร่างรัฐธรรมนูญแต่เน้นเรื่องนิรโทษกรรม ความคืบหน้าเรื่องปฏิรูปยังไม่เห็นแววของความสำเร็จ เหลือเวลาอีกไม่นานก่อนกำหนดเลือกตั้ง เมื่อดูสถานการณ์ สิ่งบอกเหตุต่างๆ แล้วน่าหวาดเสียวว่าจะเกิดอุบัติเหตุทำให้หยุดชะงัก ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่อีก
ลืมไปแล้วมั้ง ว่าวิกฤตการเมือง การชุมนุมยืดเยื้อนานกว่า 7 เดือนเพื่อขับไล่นักการเมืองกังฉินกินเมืองนั้นมีต้นตอมาจากความพยายามของ ส.ส. และ ส.ว.ในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม วางกฎต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้พวกเดียวกันนั่นเอง
เสียงเตือนของผู้เฒ่าจิ๋วเรื่องปฏิวัติรัฐประหารซ้ำย่อมไม่ใช่คำพูดเลื่อนลอยแน่! ยิ่งมีเสียงเตือนจากท่านอภิมหาเนติบริกรเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญว่า “วันนี้ทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว เหมือนคำโบราณว่า ‘ลงเรือแป๊ะ ก็ต้องตามใจแป๊ะ’ ไม่เช่นนั้นจะถูกแป๊ะไล่ลงจากเรือ คือเข้าใจในสิ่งที่เขาต้องการให้เข้าใจ...” ยิ่งทำให้คิดว่าน่าจะมีสภาวะเสี่ยงสูง
จะมีประชาธิปไตยแบบแป๊ะหรือไง? ยุคนี้แป๊ะไม่ควรมีอิทธิพลกำหนดให้คนลงเรือต้องตามใจแป๊ะ ตรงกันข้ามนี่เป็นยุคบริการ ดังนั้นแป๊ะต้องตามใจคนจ่ายเงิน...เอ่อ...ชาวบ้านอยากรู้ว่า “ใคร” คือแป๊ะ แม้จะรู้มากกว่าเป็นเลาๆ ว่าแป๊ะที่ว่านั้นเป็นใคร
การตามใจแป๊ะหรือประชาธิปไตยแบบแป๊ะน่าหวาดเสียวมาก เพราะแนวคิดของแป๊ะมีศัพท์การเมืองแบบแป๊ะ เช่น “หยวนๆ” “เกี้ยเซียะ” “ฮั้ว” “เก๋าเจี๊ยะ” โดยปกติแป๊ะไม่ใส่ใจการเมืองเว้นแต่บางเวลาแป๊ะ “เจี๊ยะป้าบ่อสื่อ” คือ “กินข้าวอิ่มแล้วไม่มีอะไรทำ”
การเมืองยุคนี้ท่านผู้มีอำนาจบอกว่าต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านตัวแทน คือ สปช. ทั้งๆ ที่คณะของท่านมีอำนาจ แต่ไม่ยอมใช้อำนาจจัดการให้เบ็ดเสร็จตามเจตนารมณ์การรัฐประหาร ยอมทนฟังเสียงค่อนแคะว่าสงสัยว่าจะ “เสียของ” อีกรอบ
ท่านอภิมหาเนติบริกรไม่เคยเข้าสู่การเมืองด้วยการเสนอตัวมาให้ประชาชนเลือก ท่านชอบรอให้ผู้กุมอำนาจรัฐเชิญไปรับงานร่างกฎหมาย รัฐธรรมนูญ โดยมีข้ออ้างสวยหรูฟังดูดีว่าถ้าคนร่างและคนเล่นเป็นพวกเดียวกันจะมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยลืมไปว่า “เนติบริกร” เป็นคนแรกที่ต้องทำตาม “แป๊ะ” สั่ง เป็นปัญหาซ้ำซากโดยตลอด
ถึงเวลาที่คนไทยต้องปฏิเสธประชาธิปไตยระบบแป๊ะ ไม่ตามใจแป๊ะ! ถ้าแป๊ะทำ “เรือหาย” แป๊ะไม่รับผิดชอบแน่ เราต้องกล้าถีบแป๊ะตกเรือแล้วร่วมกันพายเรือเข้าฝั่งเอง