xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ขู่ย้าย“ข้าราชการ”สกัดเกียร์ว่าง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เป็นอีกครั้งที่รัฐมนตรีในรัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์ “ อย่าง นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ต้องออกแอคชั่น ขู่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ขยันขันแข็งทำงานสนองนโยบายรัฐบาลชั่วคราว

ถือเป็นสองครั้งแล้วที่นายปิติพงศ์ตองออกมาพูดแรง ๆแบบนี้ เป็นการตำหนิการทำงานของข้าราชการกระทรวงเกษตรฯอย่างหนัก 

ครั้งแรกเป็นการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงประจำสัปดาห์ เมื่อวันที่1 ธ.ค. 2557

"ช่วง 3  เดือนที่ผ่านมา ทำงานล่าช้าและขาดวิสัยทัศน์ โดยโครงการหลายอย่างที่พร้อมเดินหน้าในปีนี้กลับไม่เห็นผลและโรดแม็พปีหน้าไม่มีใครเขียนมาเสนอตนทั้งที่ ได้มอบหมายให้แต่ละกรมไปเขียนแผนรายะเอียดมาซึ่งได้สั่งไปตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. จนต้องเขียนเองทั้งหมดว่าปี 58 จะเดินกันไปอย่างไร"

"เห็นว่าผมมาเพียงปีเดียวเลยทำงานกันสบายนั่งตีกรรเชียงกันไปวัน ๆ หัดไปดูคลิปเหนียวไก่กันบ้าง จะได้มีไอเดียเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ ๆ เข้ามาใช้กับงานได้ อีกเพียงสามอาทิตย์ จะสิ้นปีแล้วผมต้องมานั่งเขียนเองทั้งโครงการตลาดนัดเกษตรกรแผนรณรงค์ประหยัดน้ำ ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาคเกษตร และโรดแม็พปี 2558 หากยังทำงานกันแบบนี้ผมต้องปล่อยให้การเมืองมาแทรกไม่รู้ว่าผมหรือใครจะไปก่อนกันหลังปีใหม่"

“ที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินงานได้ 3 เดือน ได้ใช้เวลาไปกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้านการเกษตรของเกษตรกรที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ การเตรียมการรับมือภัยแล้ง และการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ดังนั้นต่อจากนี้จะเดินหน้างานด้านนโยบายขับเคลื่อนภาคเกษตร (โรดแม็ป) ในปี 2558 โดยได้กระจายงานไปให้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการ” 

“ขีดเส้นตาย เพื่อเริ่มปฏิบัติงานในเดือน ม.ค.2558 เป็นต้น ซึ่งจะได้ทันกับเริ่มต้นปีการเพาะปลูก 2558 และช่วงเดือน ก.ย.2558”

"ถ้าทำไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายเกิดขึ้นได้ตลอด คำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายนอกฤดูกาลสามารถเกิดขึ้นได้”

ครั้งที่สอง 15ธ.ค.2557 นายปิติพงศ์ พูดระหว่างมอบนโยบายให้ข้าราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกระทรวงเกษตรฯ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญ ปี 2558 ตามที่รัฐบาลได้มอบนโยบายไว้ โดยแผนการดำเนินการของกระทรวงเกษตรฯ ต่อหน้า อธิบดีกรม  เลขาธิการสำนักงาน  ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจ  รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการจากทุกจังหวัด  กว่า 1,000  คน  

โดยโรดแมป ปี2558เป็นแผนงาน  4  แผนงาน  ในการดำเนินงานตามนโยบาย ประกอบด้วย 1.แผนปรับโครงสร้างและพัฒนาการผลิต 2.แผนเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานเชิงพาณิชย์  3.แผนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ดิน และที่ดิน และ 4. แผนแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างยั่งยืน งบการตลาดและหนี้สินเกษตรกร  ซึ่งทุกแผนงานจะมีการบูรณาการงานเข้าด้วยกัน ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตน้ำ ดิน การพัฒนาการผลิต การเพิ่มศักยภาพการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า การลดต้นทุนการผลิต และยังรวมถึงการเชื่อมโยงตลาด การหาแหล่งเงินทุน ดังนั้นการพัฒนาการเกษตรต่อไปจะต้องสอดคล้องกับความต้องการใช้ในประเทศ และการส่งออก การพัฒนาและแปรรูปสินค้าเกษตรต้องเชื่อมโยงกับตลาดให้มากขึ้น    



“การพัฒนาแหล่งผลิตและปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตร โดยไม่ตั้งงบประมาณใหม่ แต่งานนี้ค่อนข้างยาก เพราะเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำงานของข้าราชการ จากแปลงสาธิตที่มีย่อยๆ กระจัดกระจาย จะให้รวมเป็นแปลงใหญ่ 

การเพิ่มศักยภาพสหกรณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนรับซื้อสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อส่งออก 

การจัดการที่ดิน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำตามนโยบายของรัฐบาล 

การปรับโครงสร้างการผลิต โดยเฉพาะข้าว และยางพารา ให้เหมาะกับพื้นที่ หรือปรับปรุงคุณภาพการผลิต 

การแก้ไขปัญหาเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาหนี้สิน จึงได้สั่งการแยกประเภทหนี้ชนิดต่างๆของเกษตรกร เช่น หนี้จากการจำนองที่ดิน หนี้ที่เกิดจากโครงการรัฐ และหนี้ที่เกิดจากการจัดซื้อปัจจัยการผลิต เพื่อหาทางช่วยเหลือโดยขอเจรจาลดหนี้ หรืออาจพิจารณาโอนหนี้จากเกษตรกรมาเป็นของรัฐในรายที่มีความจำเป็น รวมทั้งออกกฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือเกษตรกร และปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร เป็นต้น”

ส่วน “นายอำนวย ปะติเส” รมช.เกษตรฯ บอกว่า ต่อไปนี้การทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรต้องจบที่ระดับจังหวัด ที่จะต้องมีวอร์รูมขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์ดำรงธรรมระดับจังหวัด เหมือนกับกระทรวงมหาดไทย

นอกจากนั้นต่อไปขอให้ทุกจังหวัดมีฐานข้อมูลด้านเกษตรของตัวเอง รวมถึงต้องมีข้อมูลด้วยว่ามูลค่าสินค้าเกษตรของแต่ละจังหวัดมีเท่าไหร่ และอะไรคือตัวทำรายได้ ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรต่อไปต้องเป็นเชิงรุก และมองภาพข้างหน้าได้ออกเพื่อวางแผนรับมืออย่างน้อย 3 เดือนก่อนฤดูการผลิต 

ทั้งหมดนี้ มีสาเหตุที่นายปีติพงศ์ เห็นว่า 3 เดือนที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้า ผู้บริหารระดับกรมยังทำงานในระบบเดิม จึงทำให้การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรไม่ได้ผล 

“จะสั่งย้ายอธิบดีทุกกรม หากโรดแม็พปี 2558 ไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม และเป็นไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายในเดือน มี.ค.2558 และขอให้ยึดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ให้ส่งเสริมการเกษตรรวมแปลงขนาดใหญ่ 1 พันไร่ขึ้นไป ที่จะเป็นต้นแบบต่อเกษตรกรในการผลิตสินค้าในอนาคต”

ถือว่าเป็นรัฐมนตรีคนที่สองต่อจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ออกมาขู่แรงๆแบบนี้

หากจำกันได้ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ พูดเอาไว้สกัดข้าราชการปากพร้อย จากข้อเขียนของ “สุริยะใส กตะศิลา“ที่โพตส์ในเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า ได้ยินนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ ฉุนจัดจวก ข้าราชการมหาดไทย ที่เป็นขั้วอำนาจเก่าเกียร์ว่าง ปากพล่อย ปล่อยข่าวบอกว่า อีกปีเดียวรัฐบาล คสช.ก็ไปแล้ว

ผมหวนนึกถึงในสมัย คมช. 49-51 พล.อ.สนธิ และ พล.อ.สุรยุทธ์ หรือที่เรียกกันว่า “รัฐบาลขิงแก่” ก็เผชิญสภาวะเช่นเดียวกัน เมื่อข้าราชการบางส่วนรวมหัวกัน”เกียร์ว่าง” เฉื่อยงาน อู้และกระทั่งดื้องาน เพื่อรอนายใหม่กลับมา

“นายใหม่” ไม่ใช่ใครก็คือ “นายคนเดิม” เพราะอาจประเมินแล้วกลับมาเรืองอำนาจแน่นอน

ด้วยเหตุนี้ นโยบายของรัฐบาลจึงเหมือน “ผายลม” หายไปกับสายลม ไม่ได้รับการสนองตอบใดๆ

วันนี้ครบ 6 เดือน ของการยึดอำนาจ 22 พค. 57 สภาวะ “เกียร์ว่าง ” กำลังคุกคามรัฐบาล คสช. พล.อ.ประยุทธ์ อย่างปฏิเสธไม่ได้

ถึงขั้นเอ่ยปากพูดกลางอากาศเมื่อวาน!

ดีแล้วครับที่พูด ที่ยอมรับความจริง เพราะนี่เป็นความจริงที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน แม้นมีศูนย์ดำรงธรรม ก็ใช่ว่าจะกระตุ้น กระตุกการทำงานของข้าราชการได้เสมอไป

ก่อนหน้านี้การเผาตัวประท้วงหนี้นอกระบบ ของป้าสังเวียน รักษาเพ็ชร์ จ.ลพบุรี ก็ย่อมสะท้อนสภาวะเกียร์ว่างได้เป็นอย่างนี้ ทั้งที่ปัญหาหนี้นอกระบบ คสช.มีคำสั่งชัดเจนห้าเจ้าหนี้ไล่บี้ลูกหนี้

สัญญาณจากฝ่ายบริหารจะชัดเจน ดีแค่ไหน ไม่พอครับ ถ้าเจอข้าราชการเกียร์ว่าง

ถึงเวลาต้องยกระดับศูนย์ดำรงธรรมให้มากกว่ารับเรื่องราวร้องทุกข์ แต่ต้องติดตามตรวจสอบและสะท้อนการทำงานของกลไกรัฐอย่างเป็นระบบ อย่าลืมว่าหลายครั้งข้อมูลจากราชการก็เป็นเท็จ เอาใจนาย ซุกขยะ ปัดปัญหา จนชินชากันมาแล้ว

อย่าให้ถึงสภาวะ “สูญญากาศ” ของกลไกการบริหารราชการแผ่นดิน เลยครับ!

วันก่อนคณะรัฐมนตรี ก็แจกของขวัญปีใหม่ ให้ข้าราชการไทย 1.98 ล้านคน เทงบประมาณเกือบ 2.3 หมื่นล้าน ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและพนักงานทุกประเภท เป็นการขยายเพดานเงินเดือนขั้นสูง ที่ปรับพรวดเดียว 3 ขั้น 10 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่พนักงานราชการก็ได้เพิ่ม 4 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มงานขั้นสูงด้านเทคนิควิชาชีพ ก็ได้บวกเพิ่มอีก 4 เปอร์เซ็นต์ แถมพนักงานราชการกว่า 3 หมื่นคน ที่เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ก็ยังได้อานิสงค์ ขึ้นเงินเดือนเหมือนกัน

ถือเป็นการสกัดเกียร์ว่างของข้าราชการได้ดีพอสมควรหรือไม่


กำลังโหลดความคิดเห็น