วานนี้ (18ธ.ค.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ ได้ยื่นขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติ และสถานะการดำรงตำแหน่งกรรมการป.ป.ช.ของ นายภักดี โพธิศิริ เมื่อครั้งได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป.ป.ช. ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทองค์การเภสัชกรรม - เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจมุ่งแสวงหาผลกำไร ดังนั้น จึงต้องลาออกจากการเป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ 22 ก.ย.49 แต่จากหลักฐานปรากฏว่า เกิน 15 วัน ซึ่งไม่เป็นไปตาม มาตรา 11 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 จึงไม่มีสถานะเป็นกรรมการตั้งแต่ต้น
นายสรรเสริญ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาข้อกฎหมาย อำนาจหน้าที่คณะกรรมการป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบว่ากรรมการป.ป.ช. คนใดขาดคุณสมบัติ หรือไม่ เนื่องจากมาตรา 16 ได้บัญญัติถึงกระบวนการตรวจสอบว่า หากกรรมการกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ให้วุฒิสภา มีหน้าที่พิจารณาให้พ้นจากตำแหน่ง
นายสรรเสริญ กล่าวด้วยว่า จากข้อเท็จจริงเห็นว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต รมว. ไอซีที เคยใช้เอกสารเรื่องเดียวกันนี้ แถลงต่อวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ นายภักดี พ้นจากตำแหน่งกรรมการป.ป.ช. และ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.55 ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ออกเสียงลงมติ ไม่ให้นายภักดี พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 248 ตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 จึงเห็นว่า วุฒิสภาผู้มีอำนาจลงมติถอดถอนได้พิจารณาข้อเท็จจริง จนได้ข้อยุติแล้ว คณะกรรมการป.ป.ช. จึงไม่มีเหตุต้องพิจารณาเรื่องนี้อีก
ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ตนไปยื่นหนังสือถึง นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของ นายภักดี โพธิศิริ เกี่ยวกับการลาออกจากตำแหน่งในบริษัท ผิด พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 11 นั้น อยากให้สังคมเข้าใจว่า กรณีนี้เป็นการลาออกจาก บริษัท องค์การเภสัชกรรมเมอริเออร์ ชีววัตถุ จำกัด ล่าช้าเกินกว่า 15 วัน หลังจากเข้ารับตำแหน่งกรรมการป.ป.ช. ไม่ใช่บริษัทองค์การเภสัชกรรมฟามาซูติคอล จำกัด ที่มีการสอบสวนไปแล้วก่อนหน้านั้น
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนเพิ่งค้นพบหลักฐานสดๆ ร้อนๆ จึงอยากให้นายปานเทพ เข้าใจด้วยว่า เป็นคนละเรื่องกัน และการที่นายปานเทพ บอกว่าแม้นายภักดี จะขาดคุณสมบัติ ก็ไม่ทำให้การตัดสินของป.ป.ช.ที่ผ่านมา เป็นโมฆะนั้น ตนเห็นว่า ไม่ทราบว่า นายปานเทพ ใช้ตรรกะอะไร เพราะในเมื่อหนึ่งในองค์คณะไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมทำให้ทั้งคณะไม่ถูกต้องไปด้วย
ส่วนที่บอกว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจตรวจสอบกันเองนั้น ตนก็งงเหมือนกันว่า แล้วใครจะเป็นผู้ตรวจสอบ จะเป็นศาลปกครอง หรือ สภานิติบัญญัติแห่งชาต (สนช.) นี่คือจุดบกพร่องขององค์กรอิสระ ที่ไม่มีใครตรวจสอบได้ คิดว่าอยู่เหนือฟ้าหรืออย่างไร จึงอยากฝากให้นายกรัฐมนตรี และ สภาปฏิรูป (สปช.) ช่วยทำการปฏิรูปจุดนี้ด้วย
นายสรรเสริญ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาข้อกฎหมาย อำนาจหน้าที่คณะกรรมการป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบว่ากรรมการป.ป.ช. คนใดขาดคุณสมบัติ หรือไม่ เนื่องจากมาตรา 16 ได้บัญญัติถึงกระบวนการตรวจสอบว่า หากกรรมการกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ให้วุฒิสภา มีหน้าที่พิจารณาให้พ้นจากตำแหน่ง
นายสรรเสริญ กล่าวด้วยว่า จากข้อเท็จจริงเห็นว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีต รมว. ไอซีที เคยใช้เอกสารเรื่องเดียวกันนี้ แถลงต่อวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ นายภักดี พ้นจากตำแหน่งกรรมการป.ป.ช. และ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.55 ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ออกเสียงลงมติ ไม่ให้นายภักดี พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 248 ตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 จึงเห็นว่า วุฒิสภาผู้มีอำนาจลงมติถอดถอนได้พิจารณาข้อเท็จจริง จนได้ข้อยุติแล้ว คณะกรรมการป.ป.ช. จึงไม่มีเหตุต้องพิจารณาเรื่องนี้อีก
ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ตนไปยื่นหนังสือถึง นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของ นายภักดี โพธิศิริ เกี่ยวกับการลาออกจากตำแหน่งในบริษัท ผิด พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 11 นั้น อยากให้สังคมเข้าใจว่า กรณีนี้เป็นการลาออกจาก บริษัท องค์การเภสัชกรรมเมอริเออร์ ชีววัตถุ จำกัด ล่าช้าเกินกว่า 15 วัน หลังจากเข้ารับตำแหน่งกรรมการป.ป.ช. ไม่ใช่บริษัทองค์การเภสัชกรรมฟามาซูติคอล จำกัด ที่มีการสอบสวนไปแล้วก่อนหน้านั้น
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนเพิ่งค้นพบหลักฐานสดๆ ร้อนๆ จึงอยากให้นายปานเทพ เข้าใจด้วยว่า เป็นคนละเรื่องกัน และการที่นายปานเทพ บอกว่าแม้นายภักดี จะขาดคุณสมบัติ ก็ไม่ทำให้การตัดสินของป.ป.ช.ที่ผ่านมา เป็นโมฆะนั้น ตนเห็นว่า ไม่ทราบว่า นายปานเทพ ใช้ตรรกะอะไร เพราะในเมื่อหนึ่งในองค์คณะไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมทำให้ทั้งคณะไม่ถูกต้องไปด้วย
ส่วนที่บอกว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจตรวจสอบกันเองนั้น ตนก็งงเหมือนกันว่า แล้วใครจะเป็นผู้ตรวจสอบ จะเป็นศาลปกครอง หรือ สภานิติบัญญัติแห่งชาต (สนช.) นี่คือจุดบกพร่องขององค์กรอิสระ ที่ไม่มีใครตรวจสอบได้ คิดว่าอยู่เหนือฟ้าหรืออย่างไร จึงอยากฝากให้นายกรัฐมนตรี และ สภาปฏิรูป (สปช.) ช่วยทำการปฏิรูปจุดนี้ด้วย