**เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า นโยบายพลังงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นการ “คืนความสุขให้ทุนพลังงาน สร้างภาระให้ประชาชน”โดยพิสูจน์ได้จากการปรับราคาแก๊สแอลพีจี ที่ให้ภาคครัวเรือน ขนส่ง และอุตสาหกรรม จ่ายเท่ากันในราคา 24.16 บาท
นโยบายดังกล่าว ทำให้ประชาชนจ่ายแพงขึ้นประมาณ 6 บาท จากเดิมในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยตรึงราคาไว้ที่ 18.13 บาท ส่วนภาคอุตสาหกรรม ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีนโยบายให้ซื้อในราคาตลาดโลกที่ 30.13 บาท ได้ผลบุญจากนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จ่ายถูกลง 6 บาท
เท่ากับว่าการปฏิรูปราคาแอลพีจี ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ลดผลักภาระรายจ่ายของภาคอุตสาหกรรมไปให้ประชาชนแบกรับแทนเต็มๆ
**ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีใหม่ จากเดิมที่ไม่ได้เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน มาเป็นจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 5.64 บาท สวนทางกับข้ออ้างที่รัฐบาลพยายามยัดเยียดให้ประชาชนเชื่อว่า แอลพีจีถูกเป็นภาระต่อกองทุนน้ำมัน ทำให้ราคาเบนซินแพง เพราะหลังจากการขึ้นราคาแอลพีจี อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลก็ยังคงจัดเก็บเงินจากเบนซินและน้ำมันชนิดอื่นเข้ากองทุนน้ำมันในอัตราที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก
โครงสร้างราคาน้ำมันในปัจจุบันมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากน้ำมันแต่ละประเภท ดังนี้ เบนซิน 95 เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 10.15 บาท แก๊สโซฮอล 95 เก็บเข้ากองทุนน้ำมัน 4.65 บาท แก๊สโซฮอล 91 เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 2.95 บาท E 20 เก็บเข้ากองทุนน้ำมัน 1.2 บาท E 85 ใช้เงินกองทุนน้ำมันอุดหนุน 8.23 บาท ดีเซล เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 4.8 บาท
จากโครงสร้างดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงินส่วนใหญ่ของกองทุนน้ำมันถูกนำไปใช้อุดหนุนให้กับ E 85 ทำให้ราคาขายปลีกถูกกว่าน้ำมันชนิดอื่น โดยอยู่ที่ลิตรละ 22.88 บาท แต่ถ้าไม่มีการนำเงินจากกองทุนน้ำมันไปอุดหนุน ราคาขายปลีกจะอยู่ที่ 31.11 บาท แพงกว่า E20 ที่ ขายปลีกในราคา 29.88 บาท
ข้ออ้างที่ว่า เงินจากกองทุนน้ำมันถูกนำไปชดเชยให้กับแก๊สแอลพีจี จึงเป็นการพูดความจริงเพียงเสี้ยวเดียว เพราะภาระของกองทุนน้ำมัน ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจาก แอลพีจี แต่เป็นการนำเงินไปชดเชยให้กับพลังงานทางเลือกให้มีราคาถูก เพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้นต่างหาก
แต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่ทำให้ E 85 เป็นจำเลยสังคม ว่าสร้างภาระให้กับกองทุนน้ำมัน ทำให้คนที่ใช้เบนซินต้องจ่ายแพง ตรงกันข้ามกับการประโคมข้อมูลข้างเดียวจนแอลพีจี กลายเป็นผู้ร้ายขโมยเงินจากคนใช้เบนซิน ซี่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เพราะราคาน้ำมันเบนซินที่ถูกลงจากเดิมในปัจจุบัน เป็นเพราะราคาน้ำมันในตลาดลดลงถึง 40 % ไม่ได้เกี่ยวกับภาระที่ต้องมาชดเชยแอลพีจีลดลง เนื่องจากราคาแอลพีจี ขยับขึ้นไปแล้ว และไม่มีความจำเป็นต้องบริหารจัดการกองทุนน้ำมันที่ติดลบอีก เพราะสถานะกองทุนน้ำมันในปัจจุบัน เป็นบวกอยู่ถึง 7,923 ล้านบาท
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ เมื่อแอลพีจีไม่เป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันแล้ว รัฐบาลกลับเก็บเงินจากแอลพีจี 5.64 บาท เข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งต้องตั้งคำถามว่าเอาเงินจากแอลพีจี ไปอุดหนุนใคร เพราะมีการระบุต้นทุนเฉลี่ยไว้ในโครงสร้างราคาแอลพีจี อยู่ที่ 16.54 บาท แต่ราคาขายปลีกที่รัฐบาลอ้างว่า จะเป็นการสะท้อนต้นทุน และราคาที่แท้จริงอยู่ที่ 24.16 บาท สูงกว่าต้นทุนที่รัฐกำหนดไว้ถึง 7.62 บาท ถ้าหักเงินที่รัฐเก็บเข้ากองทุนน้ำมันออกไป ประชาชนจะจ่ายค่าแอลพีจี ลดลงเหลือ 18.52 บาท
**เท่ากับว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้สะท้อนราคาที่แท้จริงของแอลพีจี ตามที่มีการกล่าวอ้าง แต่เป็นการบังคับให้ประชาชนจ่ายแพงแทนภาคอุตสาหกรรม และยังรีดเลือดไปโปะในกองทุนน้ำมันเพิ่ม โดยไม่มีคำอธิบายว่า นำไปใช้เพื่อการใด
เลวร้ายที่สุดสำหรับแพกเกจแอลพีจี คือ การอนุญาตให้ผู้ค้าส่งออกแอลพีจีได้โดยเสรี ทั้งๆ ที่อ้างมาตลอดว่า พลังงานในประเทศจะหมด ต้องปรับราคาขึ้นเพื่อให้คนประหยัด และแก้ปัญหาการลักลอบส่งออกไปขายในต่างประเทศ แต่เมื่อมีการปรับราคาสมใจอยากแล้ว กลับเปิดประตูอ้าซ่า ให้ส่งออกได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
**จากความจริงทั้งหมด บ่งชี้ว่านโยบายแอลพีจี ของพล.อ.ประยุทธ์ คืนความสุขให้นายทุนแต่ฝ่ายเดียว ออกมาตรการปรับราคาแอลพีจีเพิ่มเพื่อเปิดทางให้ผู้ค้าทำกำไรจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ให้คนไทยใช้ทรัพยากรของตัวเองในราคาตลาดโลก
จึงอยากให้รัฐบาบกลับมาทบทวนดูว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น ส่งผลกระทบอะไรบ้าง ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน โดยควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1) ยกเลิกการจัดเก็บเงินจากแอลพีจี เข้ากองทุนน้ำมันในทันที ซึ่งจะทำให้คนไทยซื้อแอลพีจีถูกลง 5.64 บาท
2) เปิดเผยการคำนวณราคาต้นทุนอย่างโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบ
3) ต้องยึดหลักคิดว่า แอลพีจี เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่คนไทยมีสิทธิใช้ในราคาที่เป็นธรรม ไม่ใช่ราคาเดียวกับตลาดโลก
4) เลิกนโยบายผลักภาระของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าแอลพีจีมาเป็นภาระให้ประชาชนจ่ายแพง
5) เปิดเผยราคาแอลพีจีที่ปิโตรเคมีจ่ายว่าถูกกว่าอุตสาหกรรม ครัวเรือน และขนส่ง จริงหรือไม่
6) ยกเลิกการส่งออกแอลพีจี เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน
**ข้อเสนอข้างต้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลทำได้ทันที เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่ถ้าไม่ทำก็คงหนีไม่พ้นข้อหา “ทิ้งประชาชนไปอุ้มทุนพลังงาน”
นโยบายดังกล่าว ทำให้ประชาชนจ่ายแพงขึ้นประมาณ 6 บาท จากเดิมในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยตรึงราคาไว้ที่ 18.13 บาท ส่วนภาคอุตสาหกรรม ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีนโยบายให้ซื้อในราคาตลาดโลกที่ 30.13 บาท ได้ผลบุญจากนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จ่ายถูกลง 6 บาท
เท่ากับว่าการปฏิรูปราคาแอลพีจี ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ลดผลักภาระรายจ่ายของภาคอุตสาหกรรมไปให้ประชาชนแบกรับแทนเต็มๆ
**ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีใหม่ จากเดิมที่ไม่ได้เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน มาเป็นจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 5.64 บาท สวนทางกับข้ออ้างที่รัฐบาลพยายามยัดเยียดให้ประชาชนเชื่อว่า แอลพีจีถูกเป็นภาระต่อกองทุนน้ำมัน ทำให้ราคาเบนซินแพง เพราะหลังจากการขึ้นราคาแอลพีจี อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลก็ยังคงจัดเก็บเงินจากเบนซินและน้ำมันชนิดอื่นเข้ากองทุนน้ำมันในอัตราที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก
โครงสร้างราคาน้ำมันในปัจจุบันมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากน้ำมันแต่ละประเภท ดังนี้ เบนซิน 95 เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 10.15 บาท แก๊สโซฮอล 95 เก็บเข้ากองทุนน้ำมัน 4.65 บาท แก๊สโซฮอล 91 เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 2.95 บาท E 20 เก็บเข้ากองทุนน้ำมัน 1.2 บาท E 85 ใช้เงินกองทุนน้ำมันอุดหนุน 8.23 บาท ดีเซล เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 4.8 บาท
จากโครงสร้างดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงินส่วนใหญ่ของกองทุนน้ำมันถูกนำไปใช้อุดหนุนให้กับ E 85 ทำให้ราคาขายปลีกถูกกว่าน้ำมันชนิดอื่น โดยอยู่ที่ลิตรละ 22.88 บาท แต่ถ้าไม่มีการนำเงินจากกองทุนน้ำมันไปอุดหนุน ราคาขายปลีกจะอยู่ที่ 31.11 บาท แพงกว่า E20 ที่ ขายปลีกในราคา 29.88 บาท
ข้ออ้างที่ว่า เงินจากกองทุนน้ำมันถูกนำไปชดเชยให้กับแก๊สแอลพีจี จึงเป็นการพูดความจริงเพียงเสี้ยวเดียว เพราะภาระของกองทุนน้ำมัน ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจาก แอลพีจี แต่เป็นการนำเงินไปชดเชยให้กับพลังงานทางเลือกให้มีราคาถูก เพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้นต่างหาก
แต่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่ทำให้ E 85 เป็นจำเลยสังคม ว่าสร้างภาระให้กับกองทุนน้ำมัน ทำให้คนที่ใช้เบนซินต้องจ่ายแพง ตรงกันข้ามกับการประโคมข้อมูลข้างเดียวจนแอลพีจี กลายเป็นผู้ร้ายขโมยเงินจากคนใช้เบนซิน ซี่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เพราะราคาน้ำมันเบนซินที่ถูกลงจากเดิมในปัจจุบัน เป็นเพราะราคาน้ำมันในตลาดลดลงถึง 40 % ไม่ได้เกี่ยวกับภาระที่ต้องมาชดเชยแอลพีจีลดลง เนื่องจากราคาแอลพีจี ขยับขึ้นไปแล้ว และไม่มีความจำเป็นต้องบริหารจัดการกองทุนน้ำมันที่ติดลบอีก เพราะสถานะกองทุนน้ำมันในปัจจุบัน เป็นบวกอยู่ถึง 7,923 ล้านบาท
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ เมื่อแอลพีจีไม่เป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันแล้ว รัฐบาลกลับเก็บเงินจากแอลพีจี 5.64 บาท เข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งต้องตั้งคำถามว่าเอาเงินจากแอลพีจี ไปอุดหนุนใคร เพราะมีการระบุต้นทุนเฉลี่ยไว้ในโครงสร้างราคาแอลพีจี อยู่ที่ 16.54 บาท แต่ราคาขายปลีกที่รัฐบาลอ้างว่า จะเป็นการสะท้อนต้นทุน และราคาที่แท้จริงอยู่ที่ 24.16 บาท สูงกว่าต้นทุนที่รัฐกำหนดไว้ถึง 7.62 บาท ถ้าหักเงินที่รัฐเก็บเข้ากองทุนน้ำมันออกไป ประชาชนจะจ่ายค่าแอลพีจี ลดลงเหลือ 18.52 บาท
**เท่ากับว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้สะท้อนราคาที่แท้จริงของแอลพีจี ตามที่มีการกล่าวอ้าง แต่เป็นการบังคับให้ประชาชนจ่ายแพงแทนภาคอุตสาหกรรม และยังรีดเลือดไปโปะในกองทุนน้ำมันเพิ่ม โดยไม่มีคำอธิบายว่า นำไปใช้เพื่อการใด
เลวร้ายที่สุดสำหรับแพกเกจแอลพีจี คือ การอนุญาตให้ผู้ค้าส่งออกแอลพีจีได้โดยเสรี ทั้งๆ ที่อ้างมาตลอดว่า พลังงานในประเทศจะหมด ต้องปรับราคาขึ้นเพื่อให้คนประหยัด และแก้ปัญหาการลักลอบส่งออกไปขายในต่างประเทศ แต่เมื่อมีการปรับราคาสมใจอยากแล้ว กลับเปิดประตูอ้าซ่า ให้ส่งออกได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
**จากความจริงทั้งหมด บ่งชี้ว่านโยบายแอลพีจี ของพล.อ.ประยุทธ์ คืนความสุขให้นายทุนแต่ฝ่ายเดียว ออกมาตรการปรับราคาแอลพีจีเพิ่มเพื่อเปิดทางให้ผู้ค้าทำกำไรจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ให้คนไทยใช้ทรัพยากรของตัวเองในราคาตลาดโลก
จึงอยากให้รัฐบาบกลับมาทบทวนดูว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น ส่งผลกระทบอะไรบ้าง ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน โดยควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1) ยกเลิกการจัดเก็บเงินจากแอลพีจี เข้ากองทุนน้ำมันในทันที ซึ่งจะทำให้คนไทยซื้อแอลพีจีถูกลง 5.64 บาท
2) เปิดเผยการคำนวณราคาต้นทุนอย่างโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบ
3) ต้องยึดหลักคิดว่า แอลพีจี เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่คนไทยมีสิทธิใช้ในราคาที่เป็นธรรม ไม่ใช่ราคาเดียวกับตลาดโลก
4) เลิกนโยบายผลักภาระของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าแอลพีจีมาเป็นภาระให้ประชาชนจ่ายแพง
5) เปิดเผยราคาแอลพีจีที่ปิโตรเคมีจ่ายว่าถูกกว่าอุตสาหกรรม ครัวเรือน และขนส่ง จริงหรือไม่
6) ยกเลิกการส่งออกแอลพีจี เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน
**ข้อเสนอข้างต้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลทำได้ทันที เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่ถ้าไม่ทำก็คงหนีไม่พ้นข้อหา “ทิ้งประชาชนไปอุ้มทุนพลังงาน”