สนช. ผ่านร่าง MOUโครงการสร้างรถไฟสายเศรษฐกิจ จากจีนเชื่อมไทย 2 สาย สมาชิกเสนอส่งรายละเอียดโครงการกลับสภาพิจารณา เพื่อความรอบคอบ และระวังประเด็นดุลอำนาจกับมหามิตร "ประจิน"ยันจะไม่กระทบลูกหลานในอนาคต ส่วนร่างภาษีมรดก เลื่อนไปสัปดาห์หน้า อ้างรายละเอียดเยอะ
วานนี้ (4ธ.ค.) มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช. ) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่าง ข้อตกลงระหว่างประเทศ 2 ฉบับ ที่คณะรัฐมนตรีมีได้เสนอตามบทบัญญัติ มาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 คือ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 โดยมีสาระสำคัญ คือ
รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการตาม "กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 " โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน(Standard Gauge)เส้นทางหนองคาย - โคราช - แก่งคอย -มาบตาพุด เป็นระยะทาง 734 กม. และ เส้นทางแก่งคอย -กรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 133 กม. ซึ่งถือเป็นโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยทางฝ่ายจีนจะรับผิดชอบในการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟ ส่วนทางฝ่ายไทย จะมีการให้จีนเข้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนของการเตรียมการ และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยจะพยายามให้เริ่มมีการก่อสร้างในปี 59
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า เหตุผลที่สำคัญที่ได้มีการเสนอร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวคือ ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีกำหนดการที่จะเยือนประเทศจีนในเวลาอันใกล้นี้ จึงมีความจำเป็นที่ทางครม.ได้นำร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มาให้ทางสนช. พิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกสนช. ส่วนใหญ่ อภิปรายสนับสนุนข้อตกลงดังกล่าว โดยนายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. กล่าวว่า ขอสนับสนุนความตกลงระหว่างไทย-จีน แต่เห็นว่าควรจะเอารายละเอียดกลับมาให้สภาฯ ช่วยพิจารณาให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม รวมทั้งต้องพิจารณาเรื่องดุลอำนาจกับมหามิตรอื่นๆ ทั้ง ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย
ด้าน พล.อ.อ.ประจิน ชี้แจงว่า การดำเนินการนี้ จะเป็นหนึ่งในโครงการเชื่อมจีนกับอาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นแน่นอน และขอยืนยันว่าจะไม่มอบสิทธิประโยชน์เรื่องที่ดินให้จีน เพราะจะพยายามดูแลโครงการนี้ ไม่ให้เกิดผลกระทบลูกหลานในอนาคต
ส่วนจะใช้การร่วมลงทุน ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง โดยตามข้อตกลงนี้มอบหมายให้ รมต.คมนาคม เจรจากับจีน โดยยืนยันว่า จะทำให้ดีที่สุด และเมื่อเริ่มขั้นตอนแรก การสำรวจและวางแผนก็จะนำเข้าสู่กรรมาธิการคมนาคมเพื่อพิจารณารายละเอียดต่อไป
อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งว่า ได้มีการปรึกษากับนายสมหมาย ภาษี รมว.การคลัง แล้วเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. .... และ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีเนื้อหาที่สำคัญ ที่จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเป็นจำนวนมาก และคาดกันว่าจะมีผู้อภิปรายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ออกไปเป็นวันที่ 18 ธ.ค.57
วานนี้ (4ธ.ค.) มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช. ) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่าง ข้อตกลงระหว่างประเทศ 2 ฉบับ ที่คณะรัฐมนตรีมีได้เสนอตามบทบัญญัติ มาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 คือ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 โดยมีสาระสำคัญ คือ
รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการตาม "กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 " โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน(Standard Gauge)เส้นทางหนองคาย - โคราช - แก่งคอย -มาบตาพุด เป็นระยะทาง 734 กม. และ เส้นทางแก่งคอย -กรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 133 กม. ซึ่งถือเป็นโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยทางฝ่ายจีนจะรับผิดชอบในการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟ ส่วนทางฝ่ายไทย จะมีการให้จีนเข้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนของการเตรียมการ และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยจะพยายามให้เริ่มมีการก่อสร้างในปี 59
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า เหตุผลที่สำคัญที่ได้มีการเสนอร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวคือ ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีกำหนดการที่จะเยือนประเทศจีนในเวลาอันใกล้นี้ จึงมีความจำเป็นที่ทางครม.ได้นำร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มาให้ทางสนช. พิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกสนช. ส่วนใหญ่ อภิปรายสนับสนุนข้อตกลงดังกล่าว โดยนายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. กล่าวว่า ขอสนับสนุนความตกลงระหว่างไทย-จีน แต่เห็นว่าควรจะเอารายละเอียดกลับมาให้สภาฯ ช่วยพิจารณาให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม รวมทั้งต้องพิจารณาเรื่องดุลอำนาจกับมหามิตรอื่นๆ ทั้ง ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย
ด้าน พล.อ.อ.ประจิน ชี้แจงว่า การดำเนินการนี้ จะเป็นหนึ่งในโครงการเชื่อมจีนกับอาเซียน ซึ่งจะเกิดขึ้นแน่นอน และขอยืนยันว่าจะไม่มอบสิทธิประโยชน์เรื่องที่ดินให้จีน เพราะจะพยายามดูแลโครงการนี้ ไม่ให้เกิดผลกระทบลูกหลานในอนาคต
ส่วนจะใช้การร่วมลงทุน ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง โดยตามข้อตกลงนี้มอบหมายให้ รมต.คมนาคม เจรจากับจีน โดยยืนยันว่า จะทำให้ดีที่สุด และเมื่อเริ่มขั้นตอนแรก การสำรวจและวางแผนก็จะนำเข้าสู่กรรมาธิการคมนาคมเพื่อพิจารณารายละเอียดต่อไป
อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งว่า ได้มีการปรึกษากับนายสมหมาย ภาษี รมว.การคลัง แล้วเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. .... และ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีเนื้อหาที่สำคัญ ที่จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเป็นจำนวนมาก และคาดกันว่าจะมีผู้อภิปรายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ออกไปเป็นวันที่ 18 ธ.ค.57