ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558 - 2565
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางหนองคาย -โคราช- แก่งคอย ท่าเรือมาบตาพุด ประมาณ 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย - กรุงเทพ ฯ ประมาณ 133 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลในการดำเนินโครงการความร่วมมือ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงถึงเหตุผลที่ได้นำเสนอร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน โดยระบุว่า เหตุผลที่สำคัญที่ได้มีการเสนอร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีกำหนดการที่จะเยือนประเทศจีนในเวลาอันใกล้นี้ จึงมีความจำเป็นที่คณะรัฐมนตรีได้นำร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมาให้ทาง สนช.พิจารณา
ทั้งนี้ สมาชิก สนช.มีการอภิปรายในประเด็นดังกล่าวโดยส่วนใหญ่ได้อภิปรายสนับสนุน ก่อนจะมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ด้วยคะแนน 187 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางหนองคาย -โคราช- แก่งคอย ท่าเรือมาบตาพุด ประมาณ 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย - กรุงเทพ ฯ ประมาณ 133 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลในการดำเนินโครงการความร่วมมือ
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงถึงเหตุผลที่ได้นำเสนอร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน โดยระบุว่า เหตุผลที่สำคัญที่ได้มีการเสนอร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีกำหนดการที่จะเยือนประเทศจีนในเวลาอันใกล้นี้ จึงมีความจำเป็นที่คณะรัฐมนตรีได้นำร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมาให้ทาง สนช.พิจารณา
ทั้งนี้ สมาชิก สนช.มีการอภิปรายในประเด็นดังกล่าวโดยส่วนใหญ่ได้อภิปรายสนับสนุน ก่อนจะมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ด้วยคะแนน 187 ต่อ 0 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง