จี้สาวลึกขบวนการปล้นพลังงานชาติเข้ากระเป๋าตัวเอง “ประพันธ์ คูณมี" อย่าจบแค่มหาเศรษฐีหมื่นล้าน เชื่อ "แก๊งนพพร" ร่วม "คณะบุคคล"ไซฟ่อนเงินรัฐ โยงนักการเมืองใหญ่ ข้าราชการ ทหาร คนใน กฟผ.-กพช.-รมต.พลังงาน ทุกสมัยมีเอี่ยว
จากกรณีนายนพพร ศุภพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี โฮลดิ้ง จำกัด เจ้าของตำแหน่งเศรษฐีอันดับที่ 31 ของไทยจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ที่ระบุว่ามีทรัพย์สินมีค่ารวมกว่า 2.6 หมื่นล้านถูกออกหมายจับข้อหาร้ายแรงร่วมกับเครือข่ายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) และ พวกดังที่ปรากฎเป็นข่าวครึกโครมไปแล้วนั้น
เบื้องหลังความร่ำรวยของมหาเศรษฐีหนุ่มรายนี้ที่มีที่มาจากธุรกิจพลังงานลม เขาได้เชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกทำไม่กี่ปีมีรายได้นับพันล้าน มีทรัพย์สินทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ เป็นหมื่นล้านและหลายหมื่นล้านชั่วเวลาไม่ถึง 10 ปี ตรงนี้กลายเป็นประเด็นที่สังคมสงสัย การดำเนินธุรกิจพลังงานลมสามารถทำกำไร มีรายได้มากมายมหาศาลปานนั้นจริงหรือ?
***ปฐมบทพลังงานลม
ควรทราบว่า พลังงานลม เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทนที่เป็นของใหม่ในบ้านเรา ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลมาต่อเนื่อง เพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารพลังงานที่พลังงานหลักอื่นๆเช่น น้ำมัน ก๊าช มีราคาแพง
กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และ อนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน อธิบายเรื่องนี้ไว้ในเว็บไซต์ว่า ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลม และ กำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ในปัจจุบันคนจึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น
ฟังหลักการแล้วก็ดูดี แต่ในทางปฎิบัติ จากการศึกษาแผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านพลังงานลมบ้างแต่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าพลังงานลมเป็นพลังงานค่อนข้างสะอาด แต่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ยังคงพึ่งพาไม่ได้ ยกเว้นในพื้นที่ที่มีลมพัดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เนื่องจากการที่ความเร็วของกังหันมีความจำเป็นต้องมีไฟฟ้าควบคุมตลอดเวลา คุณค่าของลมสำหรับระบบไฟฟ้าจึงต่ำ และในหลายๆ กรณีจำเป็นต้องมีกำลังไฟฟ้าสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่ไม่มีลม
สำหรับรัฐบาลโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องพลังงานลมให้ประชาชนรับทราบ และ นับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา กฟผ. ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นข้อเสนอในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และ ขายไฟฟ้าเข้าระบบให้แก่การไฟฟ้า ในรูปของการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP โดยมีเงินสนับสนุนให้ ปัจจุบันฟาร์มพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่ ต. ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
กฟผ. มีความเห็นว่าปัญหาเรื่องเทคนิคและการลงทุนไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่สำคัญสุด แต่ปัญหาอยู่ที่ศักยภาพของลม ทั้งนี้ กฟผ. มีโครงการสาธิตการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า ขนาด 192 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดว่ามีลมแรงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ก็ยังมีความเร็วลมเฉลี่ย 5 เมตรต่อวินาที และไม่มีความสม่ำเสมอ ซึ่งแนวทางการพัฒนาในอนาคต จะเป็นการศึกษาเพื่อนำมาใช้ร่วมกับวิธีการผลิตไฟฟ้ารูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดความมั่งคงเพิ่มขึ้น
ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ?าจากพลังงานลมอยู?ที่ 332.5 kW เกือบทั้งหมดเป?นโครงการสาธิต ส่วนใหญ่เป็นของ กฟผ. และ ของเอกชน 1 ชุด ที่กิ่งอําเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี 150 kW 1 ชุด ดําเนินการโดยบริษัท รีไซเคิล เอ็นจีเนียร?ริ่ง จํากัด เป็นการผลิตไฟฟ้?าใช้?ในอาคาร
จากความไม่คุ้มค่าและความไม่แน่นอนของลม ธุรกิจพลังงานลมนับตั้งแต่เชิญชวนเอกชนมาลงทุนเมื่อหลายสิบปีก่อนจึงไม่มีใครให้ความสนใจ โครงการต่างๆจึงล่องลอยอยู่ในสายลม กระทั่งมาถึงยุคที่ นาย ส. นักการเมืองใหญ่เข้าครอบงำกระทรวงพลังงานและรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานสบช่องมองเห็นขุมทรัพย์จากเงินงบประมาณมหาศาลในการอุดหนุนและผลักดันพลังงานทดแทน
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราจึงได้เห็น โครงการพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากแกลบ พลังงานชีวมวลต่างๆ และ พลังงานลม ผุดพรายขึ้นมาพร้อมๆ กับปฎิบัติการหากินกับพลังงานทางเลือกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันของคนกลุ่มหนึ่ง...ซึ่งก็รวมถึง นายนพพร หรือ เสี่ยเก่ง เจ้าของเครือข่ายบริษัทที่ลงทุนพลังงานลม
“คนในวงการธุรกิจพลังงานรู้กันดี พลังงานลม หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ ในทางธุรกิจไม่สามารถทำรายได้มากมายมหาศาลเป็นหมื่นๆ ล้านบาทหรอก” ประธานคณะกรรมการบริษัทด้านพลังงานไฟฟ้ารายหนึ่งให้ความเห็น
*** ภูเขาน้ำแข็งละลาย
เมื่อนายนพพร หรือ เสี่ยเก่ง มหาเศรษฐีหมื่นล้านของฟอร์บส์ ถูกออกหมายจับ น้ำแข็งที่จับอยู่บนยอดเขาก็ละลาย
ความจริงแล้ว ก่อนน้ำแข็งจะละลาย มีคนๆหนึ่งที่เปิดประเด็นธุรกิจพลังงานลมให้สังคมรับรู้ถึงความสกปรกโสมมที่ซ่อนอยู่ในภูเขาภายใต้เครือข่ายผลประโยชน์โครงการพลังงานลม “ประพันธ์ คูณมี” นักกฎหมายอิสระ คือ คนๆนั้น
เขาเขียนบทความเรื่อง “วงจรอุบาทว์ เครือข่ายผลประโยชน์โครงการพลังงานลม มูลค่าหมื่นล้านบาท” ในคอลัมน์ “ปากกล้าขาไม่สั่น” ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการรายวันตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2554
นายประพันธ์ ระบุถึงข้อมูลที่ได้มาตั้งแต่ปี 2554ว่า เขาเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาข้อมูลข้อเท็จจริงทางด้านกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาหาผลประะโยชน์กับพลังงาน ประกอบกับจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงมีความรู้ต่อ ข้อมูลที่ได้มา ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึก เพราะได้มาจากต้นตอของขบวนการเหล่านี้มาอย่างดี
“ขบวนการหาผลประโยชน์กับพลังงานเหล่านี้ ไม่มีใครเข้ามาตรวจสอบตั้งแต่ต้น และมีน้อยคนที่เขามาศึกษาขบวนการเหล่านี้อย่างจริงจัง”
จนมาวันนี้ข่าวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนพลังงาน โดยเฉพาะตัว นายนพพร ศุภพิพัฒน์ นักธุรกิจพลังงานลม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีอุ้มเพื่อลดหนี้ของเครือข่ายพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ และ พวก
“วันนี้เมื่อมาพิจารณากับข้อมูลเดิมๆ เป็นภาพที่ชัดเจนว่าใครเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนพวกนี้ ทั้งนักการเมือง ที่สวมหัวเป็นรัฐมนตรี หลายยุคหลายสมัย พวกนี้ในอดีตใหญ่มาก แถมยังมีอิทธิพลกับระบบข้าราชการจนถึงปัจจุบัน”
*** “คณะบุคคล” หากินเป็นขบวนการ
นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า กรณีเครือข่ายธุรกิจพลังงานของนายนพพร ที่ตนเขียนไว้เมื่อปี 2554 เกี่ยวข้องกับกลุ่มทุน ผู้มีอำนาจอย่างไร จะเห็นได้จาก บริษัทของนายนพพร สามารเข้าออกหน่วยราชการได้อย่างสะดวกสบาย
“กลุ่มทุนใหญ่เหล่านี้ สามารถเข้าถึงผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าถึงผู้บริหารในกระทรวงพลังงาน เข้าถึงกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) บางคน หรือเข้าถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้โดยง่าย”
“การเข้าถึงโดยง่าย อาจจะโยงไปถึงผู้บริหาร องค์กรอย่าง ปตท. แต่กระบวนการของนายนพพร อาจเข้าออกเพื่อหาผลประโยชน์ กับ กฟผ.และกระทรวงพลังงานมากกว่า”
นายประพันธ์ ระบุว่า ข้อเท็จจริงต่อวงเงินมหาศาลแต่ละโครงการที่กลุ่มนายนพพรเข้ามาโยงถึงผู้ที่มีอำนาจฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการที่รวมกันเป็น “คณะบุคคล”
“ในอดีตกิจการพลังงานลม ถ้าเสนอเข้ามายังบอร์ดนโยบายกิจการพลังงานก็จะต้องผ่านการตรวจสอบหลายด่าน แต่กลับมีแค่รายเดียวที่เสนอเข้ามายังไงก็อนุมัติผ่านให้ ผู้ประกอบการรายอื่นทำไม่ได้ กลายเป็นว่ากฎที่ทำอออกมาเพื่อแข่งขันทางการค้า ให้ประโยชน์กับคนกลุ่มเดียวทั้งๆ ที่บางโครงการยังไม่ได้อนุมัติเม็ดเงินก็ออกมาแล้ว”
“ผมตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะเป็นขบวนการ "ไซฟ่อนเงิน" ปล้นเอาเงินของรัฐออกมาให้กลุ่มทุนของตัวเอง ในลักษณะนำมาซื้อหุ้นของกิจการตัวเอง โดยมีนายนพพร เป็นผู้เดินเรื่องแทน ‘คณะบุคคล’ ทั้งหมด โดยเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน เปรียบเป็น ‘อาชญากรรม’ เลยก็ได้”
นายประพันธ์ ยกตัวอย่างกรณีของ บริษัทโรงไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง ที่เป็นบริษัทลูกของ กฟผ.ว่า น่าแปลกใจ ที่บริษัทพลังงานลม ของนายนพพรเมื่อได้รับอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าเป็นแห่งแรกแล้ว กลับมีการขายหุ้นย้อนกลับไปให้บริษัทพลังงานอีกบริษัท ที่อยู่ในเครือของโรงไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งอีกโดยเงินกลับไปยังบริษัทของนายนพพรอีกทอดหนึ่ง
“จนบริษัทนายนพพร มีสถานะการเงินเหนือกว่าคู่แข่งอื่น หลังจาก กพช.กำหนดให้วางเงินประกันเพื่อเสนอขายไฟฟ้าเมกะวัตต์ละ สองแสนบาท ซึ่งประกาศภายหลังกลุ่มนานพพรซื้อไปแล้ว โครงการเขาค้อจึงเป็นเรื่องที่กลุ่มทุนนี้เข้ามาหาผลประโยชน์อีก”
นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลของตนเป็นข้อเท็จจริง หากเจ้าหน้าที่ตำรวจและกระบวนการสอบสวน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสาวลึกไปถึงกลุ่มทุนที่เข้ามาหาผลประโยชน์กับพลังงาน สมบัติของชาติก็สามารถทำได้จะเจอกับทุนใหญ่ที่โกงกันมานาน ทุจริตกันมานาน
นอกเสียแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะสรุปสำนวนแค่การกระทำผิดในเรื่องของการจ้างวานให้ผู้อื่นกระทำผิดเท่านั้น เพราะเรื่องนี้สามารถตีแผ่นขบวนการหาผลประโยชน์กับ “คณะบุคคล” เหล่านี้ได้อย่างดีที่สุด จะได้รู้ว่าใคร ตำแหน่งไหนกระทำการปล้นพลังงานไปจากคนไทย
*** พฤติการณ์ลงทุนขัดต่อกม.
กล่าวย้อนถึงเฉพาะข้อมูลวงจรอุบาทว์เครือข่ายผลประโยชน์โครงการพลังงงานลมมูลค่าหมื่นล้านที่นายประพันธ์นำมาตีแผ่ ต้องเริ่มจากนโยบายพลังงานปี 2552 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ขณะนั้น โยงใยกับตัวละครที่เข้ามาเกี่ยวข้องและทรงอิทธิพลต่อ กพช. คือ นาย ส. ศิษย์เก่าวิศวะเกษตรฯ ที่ต่อมาอาศัยการดำเนินการผ่านนอมีนีทั้งภรรยา และ คนสนิท เข้ามาเป็นใหญ่อยู่ในกระทรวงพลังงาน ดำเนินการอนุมัติหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ในพลังงานลมที่จะนำไปสู่ผลประโยชน์ ผสานกับขุมข่ายข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ทั้งอดีตและ ยังอยู่ในตำแหน่ง ดำเนินการรับช่วงกันเป็นทอดๆ สอดประสานกับ นายนพพร ผู้ที่ถูกวางตัวให้เข้ามารับบทบาทเป็นเอกชนผู้ลงทุน ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนแครตสายพลังงาน นำโดย ทั้งอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตผู้บริหาร กฟผ. -กฟภ.และ อดีต ผู้บริหารบริษัทลูกของ กฟผ.อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนข้าราชการทหาร ข้าราชการประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งการตั้งให้เป็นประธานบอร์ด กรรมการบริษัท ที่นายนพพร จัดตั้งขึ้น
กล่าวได้ว่า วงจรอุบาทว์เครือข่ายผลประโยชน์ธุรกิจพลังงานลมมูลค่าหมื่นล้าน หมุนจากนักการเมืองผู้กว้างขวางแล้วม้วนเอาบรรดาทุนพลังงาน ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เข้ามาสุมหัวรวมกันพร้อมสรรพ
พฤติการณ์ของกลุ่มนี้จับจังหวะเริ่มต้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 ภายหลังกพช.อนุมัติการกำหนดนโยบายพลังงานทดแทนพลังงานลม 800 MW ให้เงินเพิ่ม 3.50 บาท/หน่วย,ให้กำหนดให้มีการวางหลักประกันเพื่อเสนอขายไฟฟ้า ,เห็นชอบให้แก้ไขระเบียบที่ดิน สปก.เพื่อทุ่งกังหันลม
ต่อมาเห็นชอบอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าโครงการเขาค้อ 60 MW และ เห็นชอบลงนามซื้อไฟฟ้าโครงการ ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา 2 โครงการๆละ 90MW รวม 180 MW ในพื้นที่ สปก.
โครงการเขาค้อ เป็นตัวอย่างโครงการที่มีปัญหาดันทุรังให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะ ผิดระเบียบและเงื่อนไข ไม่มีรายงาน EIA ด้วยอยู่ในเขตป่าสงวนและผ่านลุ่มน้ำชั้นหนึ่ง เกินกำหนด 2 ปีจากวันตอบรับซื้อ และ ไม่ได้รับอนุญาตเดินสายส่งไฟฟ้าจาก กฟภ. ความพยายามสะสางปัญหายื้อเยื้อมาหลายปี จนล่าสุดด้วยพลังพิเศษบางอย่างโครงการพร้อมจะเดินหน้า ธนาคารกำลังจะจรดปากกาปล่อยเงินกู้ แต่สุดท้ายพอนายนพพร ถูกออกหมายจับ ทุกอย่างก็กลายเป็นอากาศธาตุ โดยมีรายงานว่าธนาคารที่กำลังจะปล่อยกู้ได้ระงับการเซ็นสัญญาเรียบร้อย
ทั้งนี้ บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ซึ่งมี นายนพพร เป็นประธานกรรมการ และ ผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ใช้บริการเงินกู้กับธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อไปทำโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมที่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ 12 โครงการ รวมเป็นเงินเกือบ 2 หมื่นล้านบาท
ขณะที่โครงการ ต.ห้วยบง เจอปัญหาการใช้พื้นที่ ผิดระเบียบว่าด้วยการกิจการสาธารณูปโภค ได้แก่ สร้างถนน สายส่งไฟฟ้าในพื้นที่สปก.ที่ให้ดำเนินการได้เฉพาะกิจการไม่แสวงหากำไรเท่านั้น ไม่ทำการเวณคืนชดเชยพื้นที่เกษตรกรทุกรายที่นำไปใช้ก่อสร้างแบบเพื่อขนอุปกรณ์ และ การสร้างสายส่งไฟฟ้า และ บริษัทที่ลงทุน กว้านซื้อสิทธิการครอบครอง สปก.4-01 และ ภบท.5 ไม่ชอบด้วยกฎหมายนับหมื่นไร่
ทั้งหมดนี้ ดำเนินการโดย บริษัทที่มีนายนพพรเป็นผู้ก่อตั้ง ทั้งบริษัท ซัสเทนเอเบิล เอนเนอยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด เพราะเพื่อน้ำหนักความน่าเชื่อถือและเมื่อการลงทุนดูเป็นปัญหาติดขัด กลุ่มทุนนี้ก็ชักชวน บริษัทราชบุรีพลังงาน บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ที่มีเหล่าคนของนักการเมือง ส.นั่งเป็นบอร์ดดึงเข้ามาร่วมหุ้นลงทุน นายนพพรก็ส่งอีกสองบริษัทคือ เฟิร์สโคราชวินด์ จำกัด และ บริษัท เค อาร์ ทู เป็นผู้ดำเนินธุรกิจ และ ให้บริษัท รีนิวเอเบลเอนเนอร์ยี จำกัด ดำเนินการกว้านซื้อสิทธิที่ดิน สปก.4-01 ภบท.5 80,000 กว่าไร่ในเวลา 5 ปี และ ไม่น่าแปลกใจที่ประธานบริษัทของนายนพพร จะมีนายพลทหารเข้ามานั่ง ทางหนึ่งเพื่อเป็นยันต์กันผี ทางหนึ่งเป็นสายสัมพันธ์ที่จะไปสู่ผู้มีอำนาจรัฐปัจจุบัน
ไล่เลียงดูจะเห็นว่า จากนายนพพร มหาเศรษฐีหมื่นล้านอันดับที่ 31 ของฟอร์บถูกจับ ภูเขาน้ำแข็งละลายความจริงเรื่องผลประโยชน์พลังงานทดแทนมูลค่าหมื่นล้านก็ถูกเปิดเผย ไม่ต้องสงสัยคนกลุ่มนี้จะร่ำรวยมหาศาลเพียงใด
จากกรณีนายนพพร ศุภพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี โฮลดิ้ง จำกัด เจ้าของตำแหน่งเศรษฐีอันดับที่ 31 ของไทยจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ที่ระบุว่ามีทรัพย์สินมีค่ารวมกว่า 2.6 หมื่นล้านถูกออกหมายจับข้อหาร้ายแรงร่วมกับเครือข่ายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) และ พวกดังที่ปรากฎเป็นข่าวครึกโครมไปแล้วนั้น
เบื้องหลังความร่ำรวยของมหาเศรษฐีหนุ่มรายนี้ที่มีที่มาจากธุรกิจพลังงานลม เขาได้เชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกทำไม่กี่ปีมีรายได้นับพันล้าน มีทรัพย์สินทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ เป็นหมื่นล้านและหลายหมื่นล้านชั่วเวลาไม่ถึง 10 ปี ตรงนี้กลายเป็นประเด็นที่สังคมสงสัย การดำเนินธุรกิจพลังงานลมสามารถทำกำไร มีรายได้มากมายมหาศาลปานนั้นจริงหรือ?
***ปฐมบทพลังงานลม
ควรทราบว่า พลังงานลม เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทนที่เป็นของใหม่ในบ้านเรา ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลมาต่อเนื่อง เพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารพลังงานที่พลังงานหลักอื่นๆเช่น น้ำมัน ก๊าช มีราคาแพง
กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และ อนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน อธิบายเรื่องนี้ไว้ในเว็บไซต์ว่า ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลม และ กำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ในปัจจุบันคนจึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น
ฟังหลักการแล้วก็ดูดี แต่ในทางปฎิบัติ จากการศึกษาแผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านพลังงานลมบ้างแต่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าพลังงานลมเป็นพลังงานค่อนข้างสะอาด แต่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ยังคงพึ่งพาไม่ได้ ยกเว้นในพื้นที่ที่มีลมพัดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เนื่องจากการที่ความเร็วของกังหันมีความจำเป็นต้องมีไฟฟ้าควบคุมตลอดเวลา คุณค่าของลมสำหรับระบบไฟฟ้าจึงต่ำ และในหลายๆ กรณีจำเป็นต้องมีกำลังไฟฟ้าสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่ไม่มีลม
สำหรับรัฐบาลโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องพลังงานลมให้ประชาชนรับทราบ และ นับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา กฟผ. ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นข้อเสนอในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และ ขายไฟฟ้าเข้าระบบให้แก่การไฟฟ้า ในรูปของการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP โดยมีเงินสนับสนุนให้ ปัจจุบันฟาร์มพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่ ต. ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา
กฟผ. มีความเห็นว่าปัญหาเรื่องเทคนิคและการลงทุนไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่สำคัญสุด แต่ปัญหาอยู่ที่ศักยภาพของลม ทั้งนี้ กฟผ. มีโครงการสาธิตการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า ขนาด 192 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดว่ามีลมแรงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ก็ยังมีความเร็วลมเฉลี่ย 5 เมตรต่อวินาที และไม่มีความสม่ำเสมอ ซึ่งแนวทางการพัฒนาในอนาคต จะเป็นการศึกษาเพื่อนำมาใช้ร่วมกับวิธีการผลิตไฟฟ้ารูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดความมั่งคงเพิ่มขึ้น
ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ?าจากพลังงานลมอยู?ที่ 332.5 kW เกือบทั้งหมดเป?นโครงการสาธิต ส่วนใหญ่เป็นของ กฟผ. และ ของเอกชน 1 ชุด ที่กิ่งอําเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี 150 kW 1 ชุด ดําเนินการโดยบริษัท รีไซเคิล เอ็นจีเนียร?ริ่ง จํากัด เป็นการผลิตไฟฟ้?าใช้?ในอาคาร
จากความไม่คุ้มค่าและความไม่แน่นอนของลม ธุรกิจพลังงานลมนับตั้งแต่เชิญชวนเอกชนมาลงทุนเมื่อหลายสิบปีก่อนจึงไม่มีใครให้ความสนใจ โครงการต่างๆจึงล่องลอยอยู่ในสายลม กระทั่งมาถึงยุคที่ นาย ส. นักการเมืองใหญ่เข้าครอบงำกระทรวงพลังงานและรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานสบช่องมองเห็นขุมทรัพย์จากเงินงบประมาณมหาศาลในการอุดหนุนและผลักดันพลังงานทดแทน
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเราจึงได้เห็น โครงการพลังงานทดแทนต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากแกลบ พลังงานชีวมวลต่างๆ และ พลังงานลม ผุดพรายขึ้นมาพร้อมๆ กับปฎิบัติการหากินกับพลังงานทางเลือกกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันของคนกลุ่มหนึ่ง...ซึ่งก็รวมถึง นายนพพร หรือ เสี่ยเก่ง เจ้าของเครือข่ายบริษัทที่ลงทุนพลังงานลม
“คนในวงการธุรกิจพลังงานรู้กันดี พลังงานลม หรือ พลังงานแสงอาทิตย์ ในทางธุรกิจไม่สามารถทำรายได้มากมายมหาศาลเป็นหมื่นๆ ล้านบาทหรอก” ประธานคณะกรรมการบริษัทด้านพลังงานไฟฟ้ารายหนึ่งให้ความเห็น
*** ภูเขาน้ำแข็งละลาย
เมื่อนายนพพร หรือ เสี่ยเก่ง มหาเศรษฐีหมื่นล้านของฟอร์บส์ ถูกออกหมายจับ น้ำแข็งที่จับอยู่บนยอดเขาก็ละลาย
ความจริงแล้ว ก่อนน้ำแข็งจะละลาย มีคนๆหนึ่งที่เปิดประเด็นธุรกิจพลังงานลมให้สังคมรับรู้ถึงความสกปรกโสมมที่ซ่อนอยู่ในภูเขาภายใต้เครือข่ายผลประโยชน์โครงการพลังงานลม “ประพันธ์ คูณมี” นักกฎหมายอิสระ คือ คนๆนั้น
เขาเขียนบทความเรื่อง “วงจรอุบาทว์ เครือข่ายผลประโยชน์โครงการพลังงานลม มูลค่าหมื่นล้านบาท” ในคอลัมน์ “ปากกล้าขาไม่สั่น” ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เอเอสทีวีผู้จัดการรายวันตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2554
นายประพันธ์ ระบุถึงข้อมูลที่ได้มาตั้งแต่ปี 2554ว่า เขาเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาข้อมูลข้อเท็จจริงทางด้านกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาหาผลประะโยชน์กับพลังงาน ประกอบกับจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงมีความรู้ต่อ ข้อมูลที่ได้มา ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึก เพราะได้มาจากต้นตอของขบวนการเหล่านี้มาอย่างดี
“ขบวนการหาผลประโยชน์กับพลังงานเหล่านี้ ไม่มีใครเข้ามาตรวจสอบตั้งแต่ต้น และมีน้อยคนที่เขามาศึกษาขบวนการเหล่านี้อย่างจริงจัง”
จนมาวันนี้ข่าวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนพลังงาน โดยเฉพาะตัว นายนพพร ศุภพิพัฒน์ นักธุรกิจพลังงานลม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีอุ้มเพื่อลดหนี้ของเครือข่ายพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ และ พวก
“วันนี้เมื่อมาพิจารณากับข้อมูลเดิมๆ เป็นภาพที่ชัดเจนว่าใครเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนพวกนี้ ทั้งนักการเมือง ที่สวมหัวเป็นรัฐมนตรี หลายยุคหลายสมัย พวกนี้ในอดีตใหญ่มาก แถมยังมีอิทธิพลกับระบบข้าราชการจนถึงปัจจุบัน”
*** “คณะบุคคล” หากินเป็นขบวนการ
นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า กรณีเครือข่ายธุรกิจพลังงานของนายนพพร ที่ตนเขียนไว้เมื่อปี 2554 เกี่ยวข้องกับกลุ่มทุน ผู้มีอำนาจอย่างไร จะเห็นได้จาก บริษัทของนายนพพร สามารเข้าออกหน่วยราชการได้อย่างสะดวกสบาย
“กลุ่มทุนใหญ่เหล่านี้ สามารถเข้าถึงผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าถึงผู้บริหารในกระทรวงพลังงาน เข้าถึงกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) บางคน หรือเข้าถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้โดยง่าย”
“การเข้าถึงโดยง่าย อาจจะโยงไปถึงผู้บริหาร องค์กรอย่าง ปตท. แต่กระบวนการของนายนพพร อาจเข้าออกเพื่อหาผลประโยชน์ กับ กฟผ.และกระทรวงพลังงานมากกว่า”
นายประพันธ์ ระบุว่า ข้อเท็จจริงต่อวงเงินมหาศาลแต่ละโครงการที่กลุ่มนายนพพรเข้ามาโยงถึงผู้ที่มีอำนาจฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการที่รวมกันเป็น “คณะบุคคล”
“ในอดีตกิจการพลังงานลม ถ้าเสนอเข้ามายังบอร์ดนโยบายกิจการพลังงานก็จะต้องผ่านการตรวจสอบหลายด่าน แต่กลับมีแค่รายเดียวที่เสนอเข้ามายังไงก็อนุมัติผ่านให้ ผู้ประกอบการรายอื่นทำไม่ได้ กลายเป็นว่ากฎที่ทำอออกมาเพื่อแข่งขันทางการค้า ให้ประโยชน์กับคนกลุ่มเดียวทั้งๆ ที่บางโครงการยังไม่ได้อนุมัติเม็ดเงินก็ออกมาแล้ว”
“ผมตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะเป็นขบวนการ "ไซฟ่อนเงิน" ปล้นเอาเงินของรัฐออกมาให้กลุ่มทุนของตัวเอง ในลักษณะนำมาซื้อหุ้นของกิจการตัวเอง โดยมีนายนพพร เป็นผู้เดินเรื่องแทน ‘คณะบุคคล’ ทั้งหมด โดยเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน เปรียบเป็น ‘อาชญากรรม’ เลยก็ได้”
นายประพันธ์ ยกตัวอย่างกรณีของ บริษัทโรงไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง ที่เป็นบริษัทลูกของ กฟผ.ว่า น่าแปลกใจ ที่บริษัทพลังงานลม ของนายนพพรเมื่อได้รับอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าเป็นแห่งแรกแล้ว กลับมีการขายหุ้นย้อนกลับไปให้บริษัทพลังงานอีกบริษัท ที่อยู่ในเครือของโรงไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งอีกโดยเงินกลับไปยังบริษัทของนายนพพรอีกทอดหนึ่ง
“จนบริษัทนายนพพร มีสถานะการเงินเหนือกว่าคู่แข่งอื่น หลังจาก กพช.กำหนดให้วางเงินประกันเพื่อเสนอขายไฟฟ้าเมกะวัตต์ละ สองแสนบาท ซึ่งประกาศภายหลังกลุ่มนานพพรซื้อไปแล้ว โครงการเขาค้อจึงเป็นเรื่องที่กลุ่มทุนนี้เข้ามาหาผลประโยชน์อีก”
นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลของตนเป็นข้อเท็จจริง หากเจ้าหน้าที่ตำรวจและกระบวนการสอบสวน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะสาวลึกไปถึงกลุ่มทุนที่เข้ามาหาผลประโยชน์กับพลังงาน สมบัติของชาติก็สามารถทำได้จะเจอกับทุนใหญ่ที่โกงกันมานาน ทุจริตกันมานาน
นอกเสียแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะสรุปสำนวนแค่การกระทำผิดในเรื่องของการจ้างวานให้ผู้อื่นกระทำผิดเท่านั้น เพราะเรื่องนี้สามารถตีแผ่นขบวนการหาผลประโยชน์กับ “คณะบุคคล” เหล่านี้ได้อย่างดีที่สุด จะได้รู้ว่าใคร ตำแหน่งไหนกระทำการปล้นพลังงานไปจากคนไทย
*** พฤติการณ์ลงทุนขัดต่อกม.
กล่าวย้อนถึงเฉพาะข้อมูลวงจรอุบาทว์เครือข่ายผลประโยชน์โครงการพลังงงานลมมูลค่าหมื่นล้านที่นายประพันธ์นำมาตีแผ่ ต้องเริ่มจากนโยบายพลังงานปี 2552 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ขณะนั้น โยงใยกับตัวละครที่เข้ามาเกี่ยวข้องและทรงอิทธิพลต่อ กพช. คือ นาย ส. ศิษย์เก่าวิศวะเกษตรฯ ที่ต่อมาอาศัยการดำเนินการผ่านนอมีนีทั้งภรรยา และ คนสนิท เข้ามาเป็นใหญ่อยู่ในกระทรวงพลังงาน ดำเนินการอนุมัติหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ในพลังงานลมที่จะนำไปสู่ผลประโยชน์ ผสานกับขุมข่ายข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ทั้งอดีตและ ยังอยู่ในตำแหน่ง ดำเนินการรับช่วงกันเป็นทอดๆ สอดประสานกับ นายนพพร ผู้ที่ถูกวางตัวให้เข้ามารับบทบาทเป็นเอกชนผู้ลงทุน ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนแครตสายพลังงาน นำโดย ทั้งอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตผู้บริหาร กฟผ. -กฟภ.และ อดีต ผู้บริหารบริษัทลูกของ กฟผ.อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนข้าราชการทหาร ข้าราชการประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งการตั้งให้เป็นประธานบอร์ด กรรมการบริษัท ที่นายนพพร จัดตั้งขึ้น
กล่าวได้ว่า วงจรอุบาทว์เครือข่ายผลประโยชน์ธุรกิจพลังงานลมมูลค่าหมื่นล้าน หมุนจากนักการเมืองผู้กว้างขวางแล้วม้วนเอาบรรดาทุนพลังงาน ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เข้ามาสุมหัวรวมกันพร้อมสรรพ
พฤติการณ์ของกลุ่มนี้จับจังหวะเริ่มต้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 ภายหลังกพช.อนุมัติการกำหนดนโยบายพลังงานทดแทนพลังงานลม 800 MW ให้เงินเพิ่ม 3.50 บาท/หน่วย,ให้กำหนดให้มีการวางหลักประกันเพื่อเสนอขายไฟฟ้า ,เห็นชอบให้แก้ไขระเบียบที่ดิน สปก.เพื่อทุ่งกังหันลม
ต่อมาเห็นชอบอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าโครงการเขาค้อ 60 MW และ เห็นชอบลงนามซื้อไฟฟ้าโครงการ ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา 2 โครงการๆละ 90MW รวม 180 MW ในพื้นที่ สปก.
โครงการเขาค้อ เป็นตัวอย่างโครงการที่มีปัญหาดันทุรังให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะ ผิดระเบียบและเงื่อนไข ไม่มีรายงาน EIA ด้วยอยู่ในเขตป่าสงวนและผ่านลุ่มน้ำชั้นหนึ่ง เกินกำหนด 2 ปีจากวันตอบรับซื้อ และ ไม่ได้รับอนุญาตเดินสายส่งไฟฟ้าจาก กฟภ. ความพยายามสะสางปัญหายื้อเยื้อมาหลายปี จนล่าสุดด้วยพลังพิเศษบางอย่างโครงการพร้อมจะเดินหน้า ธนาคารกำลังจะจรดปากกาปล่อยเงินกู้ แต่สุดท้ายพอนายนพพร ถูกออกหมายจับ ทุกอย่างก็กลายเป็นอากาศธาตุ โดยมีรายงานว่าธนาคารที่กำลังจะปล่อยกู้ได้ระงับการเซ็นสัญญาเรียบร้อย
ทั้งนี้ บริษัท วินด์ เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง ซึ่งมี นายนพพร เป็นประธานกรรมการ และ ผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ใช้บริการเงินกู้กับธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อไปทำโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมที่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ 12 โครงการ รวมเป็นเงินเกือบ 2 หมื่นล้านบาท
ขณะที่โครงการ ต.ห้วยบง เจอปัญหาการใช้พื้นที่ ผิดระเบียบว่าด้วยการกิจการสาธารณูปโภค ได้แก่ สร้างถนน สายส่งไฟฟ้าในพื้นที่สปก.ที่ให้ดำเนินการได้เฉพาะกิจการไม่แสวงหากำไรเท่านั้น ไม่ทำการเวณคืนชดเชยพื้นที่เกษตรกรทุกรายที่นำไปใช้ก่อสร้างแบบเพื่อขนอุปกรณ์ และ การสร้างสายส่งไฟฟ้า และ บริษัทที่ลงทุน กว้านซื้อสิทธิการครอบครอง สปก.4-01 และ ภบท.5 ไม่ชอบด้วยกฎหมายนับหมื่นไร่
ทั้งหมดนี้ ดำเนินการโดย บริษัทที่มีนายนพพรเป็นผู้ก่อตั้ง ทั้งบริษัท ซัสเทนเอเบิล เอนเนอยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด เพราะเพื่อน้ำหนักความน่าเชื่อถือและเมื่อการลงทุนดูเป็นปัญหาติดขัด กลุ่มทุนนี้ก็ชักชวน บริษัทราชบุรีพลังงาน บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ที่มีเหล่าคนของนักการเมือง ส.นั่งเป็นบอร์ดดึงเข้ามาร่วมหุ้นลงทุน นายนพพรก็ส่งอีกสองบริษัทคือ เฟิร์สโคราชวินด์ จำกัด และ บริษัท เค อาร์ ทู เป็นผู้ดำเนินธุรกิจ และ ให้บริษัท รีนิวเอเบลเอนเนอร์ยี จำกัด ดำเนินการกว้านซื้อสิทธิที่ดิน สปก.4-01 ภบท.5 80,000 กว่าไร่ในเวลา 5 ปี และ ไม่น่าแปลกใจที่ประธานบริษัทของนายนพพร จะมีนายพลทหารเข้ามานั่ง ทางหนึ่งเพื่อเป็นยันต์กันผี ทางหนึ่งเป็นสายสัมพันธ์ที่จะไปสู่ผู้มีอำนาจรัฐปัจจุบัน
ไล่เลียงดูจะเห็นว่า จากนายนพพร มหาเศรษฐีหมื่นล้านอันดับที่ 31 ของฟอร์บถูกจับ ภูเขาน้ำแข็งละลายความจริงเรื่องผลประโยชน์พลังงานทดแทนมูลค่าหมื่นล้านก็ถูกเปิดเผย ไม่ต้องสงสัยคนกลุ่มนี้จะร่ำรวยมหาศาลเพียงใด