xs
xsm
sm
md
lg

ก.ล.ต.ผุดโมเดลกองทุนหวังระดมทุนลุยสุวรรณภูมิเฟส 2

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.ล.ต. ทำโมเดลออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมาพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อสอนวิธีระดมทุนให้กระทรวงคมนาคม “ประจิน” คาดได้หารือร่วมกันภายในเดือนนี้ จ่อใช้งานพัฒนาสุวรรณภูมิ เฟส 2 เป็นโครงการนำร่องออกกองทุนฯ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในเดือนนี้นายวรพล โสคติยานุรักษ์ กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะเข้ามาหารือที่กระทรวงคมนาคม พร้อมนำโมเดลการออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาท่าอากาศยานมาแนะนำ เพื่อใช้เป็นโมเดลนำร่องว่าหากกระทรวงคมนาคมจะลงทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และระดมทุนด้วยการออกกองทุนฯจะต้องดำเนินการอย่างไร และมีผลดีผลเสียอย่างไร

ทั้งนี้เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะใช้วิธีการออกกองทุนฯมาดำเนินการโครงสร้างที่บรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลา 8 ปี (ปี 2558 - 2565) ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงว่าการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 จะเป็นโครงการแรกที่ใช้วิธีการออกกองทุน แม้ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT ต้องจ่ายจะสูงกว่าการกู้เงินจากสถาบันการเงิน แต่รัฐบาลเห็นว่ารูปแบบการระ ดมทุนนี้จะทำให้คนไทยมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม

“ความจริงเรานัดกับ ก.ล.ต.วันที่ 9 ธ.ค.นี้ เพียงแต่กระทรวงติดภารกิจ จึงต้องขอเลื่อนออกไปก่อน โดย ก.ล.ต.เขาอยากมาให้เร็วที่สุด เขาอยากมาช่วยเซตการออกกองอทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เรา และตอนนี้ทาง ก.ล.ต.ได้ทำโมเดลการออกกองทุนเพื่อพัฒนาสนามบิน เตรียมมาให้เราดูเป็นตัวอย่าง เพราะมีความเป็นไปได้ว่าเราจะใช้โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นโครงการนำร่องในการออกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า วานนี้ (3 ธ.ค.) ยังได้เรียกประชุมหน่วยงานในสังกัดมาหรือร่วมกับสำนักคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public-Private Partnership : PPP) ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) แต่พบว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวมีขั้นตอนยุ่งยาก และมีข้อบังคับปลีกย่อยที่ส่งผลกระทบในทางปฏิบัติ เช่น ต้องระบุให้ชัดเจนว่ามีแผนใช้เงินแต่ละปีอย่างไร และมีระเบียบว่าโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ต้องใช้ระเบียบมาตราหนึ่ง แต่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องใช้อีกมาตราหนึ่ง

ดังนั้นที่ประชุมร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคมและ สคร.จึงมีความเห็นว่าต้องปรับแก้กฎหมายบางมาตราใน พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ. 2556 เพื่อให้การนำไปปฏิบัติมีความคล่องตัวมากขึ้น โดย สคร.ระบุว่า จะนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เพื่อตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมาย โดยการปรับแกกฎหมายจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หรือจะเสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม 2558

นอกจากนี้ สคร.ยังได้แนะนำกระทรวงคมนาคมด้วยว่า หากใช้วิธีออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแบบรายโครงการแล้วเกิดปัญหาว่าบางโครงการอาจมีรายได้เข้ากองทุนน้อย ไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุน กระทรวงฯก็ควรใช้วิธีรวมโครงการที่เกี่ยว ข้องเข้าด้วยกันแล้วออกเป็นกองทุนเดียว เพื่อให้เกิดการเฉลี่ยรายได้เข้าสู่กองทุน ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนมากขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น