xs
xsm
sm
md
lg

ทปอ.เสนอ6แนวทางปฏิรูปฯ ตั้งสภาพลเมืองกลไกตรวจสอบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดี สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในฐานะรักษาการประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พร้อมสมาชิก เข้ายื่นข้อเสนอแนะจากคณะทำงานการปฏิรูปด้านการเมือง ทปอ. ที่มี นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นประธานที่ประชุม ต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจาก ทปอ. แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่
1. การปฏิรูโครงสร้างอำนาจทางการเมือง โดยให้แยกอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน โดยทั้งสองอำนาจต่างยึดโยงมาจากประชาชน คือ ให้มีการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงจากประชาชนแบบเดียวกับผู้ว่ากทม. หรือนายกฯอบจ. ส่วน ส.ส.มีที่มาจาก 2 ช่องทางคือ เลือกตั้งระบบเขตผู้สมัคร ไม่ต้องสังกัดพรรค และ เลือกตั้้งมาจากแต่ละสาขาอาชีพ และห้ามส.ส.ไปทำงานฝ่ายบริหาร รวมทั้งให้มีสภาพลเมืองไม่เกิน 900 คน มาจากประธานสภาเทศบาลเลือกกันเอง อำเภอละ 1 คน เพื่อตรวจสอบการทำงานฝ่ายบริหารและสะท้อนปัญหา การปฏิรูปพรรคการเมือง ให้ไม่ถูกครอบงำจากกลุ่มทุน เป็นสถาบันการเมืองยั่งยืน มีสมาชิกกระจายอยู่ทุกภาค ปฏิรูประบบผลตอบแทนใ ห้สมฐานะทั้งฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ จัดระบบสวัสดิการที่เหมาะสม กำหนดข้อห้ามต่างๆ เพื่อป้องกันการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน
2. ปฏิรูปการกระจายอำนาจ เพิ่มอำนาจสภาท้องถิ่นในการตรวจสอบถ่วงดุลย์อำนาจให้เป็นจริง มีกฎหมายลูกรองรับบทบัญญัติจากรัฐธรมนูญเกี่ยวกับท้องถิ่น กำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นด้วยกระบวนการการเมืองของพลเมือง เพื่อต้องการคนดีเข้ามาใช้อำนาจรัฐในโครงสร้างที่ดี เพิ่มองค์กรตรวจสอบคุณภาพบริการสาธารณะ เพื่อเสริมการทำหน้าที่การกำกับการควบคุมการทำงานของท้องถิ่น เพิ่มอำนาจในการจัดเก็บรายได้ให้อำนาจและบทบาทองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่จัดเก็บภาษีโดยตรงมากขึ้น
3.ปฏิรูปการศึกษา มีเป้าหมายให้สามารถผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพและผลิตภาพสูงขึ้น โดยปฏิรูปครูผ่านกระบวนการคัดครองตั้งแต่ครูขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษามีกลไกการผลิตและพัฒนาครูต่อเนื่อง มีมาตรการจูงใจให้เข้าสู่สภาวิชาชีพครู จัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ ปฏิรูปการบริหารจัดการกระจายอำนาจทางการศึกษา วางกลไกการจัดการบนฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
4. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม แก้ปัญหาและพัฒนาระบบยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพพร้อมนำแนวคิดยุติธรรมทางเลือกมาช่วยเสริมการทำให้เกิดกระบวนการยุติธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้เกิดการคุ้มครองสิทธิที่ครอบคุลมทั้งต่อผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และผู้ต้องโทษ เปิดให้ประชาชนตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานด้านยุติธรรม ปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะกับยุคสมัย
5.ปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งกำหนดขอบเขตการศึกษาแค่ สถาบันอุดมศึกษา พรรคการเมือง องค์กรบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) โดยลดแรงจูงใจใฝ่คอรัปชั่น ลดการหวังผลจากการคอรัปชั่นที่เป็นเงินหรือสิทธิประโยชน์เป็นกอบเป็นกำ และเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดแก่ผู้ที่เล็งว่าควรจะทุจริตหรือไม่โดยการเพิ่มความโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งเพิ่มความจริงจังแก่ผู้รับผิดชอบ
6.ปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนาราวมของประเทศ เพิ่มสัดสว่นการลงทุนวิจัยภาคเอกชน 70% ภาครัฐ 30 % จำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ห้องปฏิบัติการหรือศูนย์ความเป็นเลิศทางการวิจัยระดับชาติ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
ด้านนายเทียนฉาย กล่าวว่า จะนำข้อมูลที่ได้นี้ไปสังเคราะห์ใช้ประโยชน์ในการปฏิรูปต่อไป นอกจากนี้ในส่วนของข้อเสนอที่ปรากฏจากคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ที่ปรากฏเวลานี้เป็นเพียงเแค่ข้อสรุปที่ได้จากในชั้นกรรมาธิการเท่านั้นยังต้องนำไปพิจารณาในที่ประชุม สปช.และอาจมีความเห็นเพิ่มเติมต่อไป โดยจะเริ่มประชุมวันที่ 15-17 ธ.ค. และพิจารณาขัดเกลาวันสุดท้าย 18 ธ.ค. เพื่อส่งให้กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 19 ธ.ค. และจะมีการแถลงรายละเอียดครั้งใหญ่ในวันดังกล่าวด้วย
.
กำลังโหลดความคิดเห็น