เมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (2 ธ.ค.) ที่รัฐสภา นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ว่า ได้เริ่มพิจารณากรอบแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น ตามที่คณะอนุกรรมาธิการยกร่างฯ ทั้ง 10 คณะ นำเสนอแล้ว โดยจะทำการพิจารณา ถึงวันที่ 14 ธ.ค. นี้ และตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.–17 ธ.ค. คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะเข้ารับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่ง สปช.ก็จะทำการส่งความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมายังคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ภายในวันที่ 19 ธ.ค. จากนั้นวันที่ 20 ธ.ค. –26 ธ.ค. คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะทำการประชุมกำหนดทิศทาง เพื่อเริ่มต้นยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งได้แต่งตั้งให้ คณะอนุกรรมาธิการยกร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ตามความเห็นของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ โดยมีนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ เป็นประธาน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ นายดิสทัต โหตระกิตย์ เป็นที่ปรึกษา ส่วนคณะอนุกรรมาธิการส่วนใหญ่ ก็จะประกอบด้วยตัวแทนจากคณะกรรมาการกฤษฎีกา
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ชุดนางกาญจนา จะยกร่างฯ เบื้องต้นควบคู่กับกมธ. ยกร่างฯชุดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.57 - 5 ม.ค. 58 เพื่อส่งต่อให้คณะอนุกรรมาธิการฯทั้ง 10 คณะพิจารณา ถึงวันที่ 10 ม.ค. ก่อนส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ พิจารณาในวันที่ 12 ม.ค. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 เม.ย. ก่อนส่งให้ที่ประชุมสปช. พิจารณาในวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนด
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า จากกรณีที่ประเทศไทยเกิดปัญหาการทุจริตจำนวนมากในวงการตำรวจ รวมถึงความคิดที่แตกต่างกัน ในการส่งฟ้องบางคดี ระหว่าง ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด ทำให้คณะอนุกรรมาธิการ 3 ด้าน ประกอบด้วย ศาล องค์กรอิสระ และการคลัง ของกรรมาธิการยกร่างฯ ซึ่งผ่านการเห็นชอบจาก นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ แล้ว พร้อมเห็นว่าควรไปหารือกับ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เพื่อออกมาตราการ และความชัดเจน สำหรับการปราบปรามการทุจริต 5 ข้อ เช่น การฟ้องศาลในคดีวินัยการคลังและงบประมาณ ที่ไม่ใช่กระบวนการที่ชัดเจนแบบคดีอาญา แต่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริต โดยเห็นว่า ควรมีการตั้งศาลขึ้นมาใหม่ เป็นศาลคดีวินัยการคลังและงบประมาณ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของศาลฎีกา หรือศาลอุทธรณ์ เป็นต้น โดยจะมีการแถลงสรุปความชัดเจนในกรณีดังกล่าว ไม่เกินสัปดาห์หน้า
**ระบบศาลมี 4 ศาลเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น นายบรรเจิด สิงคะเนติ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 7 ว่าด้วยภาค 3 นิติธรรม ศาล และกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนของหมวด 1 ศาล และกระบวนการยุติธรรม กล่าวก่อนเข้าประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ได้มีการนำเสนอ 2 กรอบหลักการใหญ่ คือ
1. เรื่องศาลให้ คงจำนวน 4 ศาล เช่นเดิม คือ ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง และ ศาลทหาร ส่วนกรณีของศาลที่พิจารณาเกี่ยวกับความผิด หรือคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามที่กระแสข่าวว่า นายอุดม เฟื่องฟุ้ง อนุกรรมาธิการฯ เสนอให้เพิ่มกระบวนการอุทธรณ์ในศาลที่พิจารณาในคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ถือเป็นข้อเสนอหนึ่ง แต่ในเรื่องของการอุทธรณ์นั้น ในรัฐธรรมนูญ 2550 มีระบุอยู่แล้ว ในเรื่องของการทบทวน กล่าวคือ หากมีข้อมูลใหม่ หรือข้อมูลเพิ่มเติมสามารถให้ดำเนินการทบทวนได้ อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาในรายละเอียดดังกล่าวอีกครั้ง
2. กระบวนการยุติธรรม ได้เสนอเรื่องสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร และหลักประกันของคนในกระบวนการยุติธรรม ความเที่ยงธรรม รวมถึงระบบทางอาญาเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการ นอกจากนั้นในคดีสำคัญ ต้องให้อัยการเข้าไปร่วมสอบสวนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตั้งแต่ต้นทาง และจะกำหนดให้รัฐช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชน อาทิ การให้ความรู้ , ให้คำแนะนำ , การไกล่เกลี่ย
**ที่มาของนายกฯ-ครม.ใช้แบบเดิม
นายสุจิต บุญบงการ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 3 ว่าด้วยภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี , หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ, หมวด 3 รัฐสภา และ หมวด 4 คณะรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางคณะอนุฯ มีข้อสรุปต่อข้อเสนอ คือ
1. ที่มาของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี คือให้ใช้รูปแบบที่มาเหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2550 คือให้สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ที่เลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีหลักพิจารณาว่า ที่ผ่านมาระบบการเลือกนายกฯในรูปแบบสภาฯ ดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีปัญหา แต่กรณีที่เกิดปัญหาเป็นเพราะผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองใช้อำนาจทางบริหารที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้นหากยึดรูปแบบเดิม และแก้ไขในส่วนที่มีข้อบกพร่อง จะเป็นการแก้ปัญหาได้มากกว่า โดยข้อเสนอดังกล่าว เป็นข้อสรุปจากเสียงข้างมากของอนุกรรมาธิการ ส่วนข้อเสนอข้างน้อย คือ เสนอให้เลือกคณะรัฐมนตรีโดยตรง ยังคงสงวนสิทธิ์ไว้ และนำเข้าสู่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหญ่ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้มีประเด็นที่พิจารณาต่อคือ การให้เลือกคณะรัฐมนตรี ผ่านการเลือกตั้งตรงของประชาชนนั้น จะเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายบริหารมากเกินไป จนทำให้เป็นปัญหาต่อการบริหารงานในอนาคตได้
นายสุจิต กล่าวด้วยว่า จากการพบปะกับ นายซีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมานายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ได้สอบถามถึงประเด็นการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งประเทศอิสราเอล เคยใช้ และได้มีการยกเลิกไปแล้ว โดยนายซีมอน ระบุถึงเหตุผลของการยกเลิกดังกล่าวว่า เป็นเพราะมีปัญหาของระบบการทำงาน ที่ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งมากเกินไป นอกจากนั้นในประเด็นพิจารณาที่ยกกรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่ประสบความสำเร็จมาพิจารณา แต่เชื่อว่าจะไม่เหมาะกับประเทศไทย เพราะสหรัฐอเมริกา มีวัฒนธรรมของการออมชอม และประนีประนอมมากกว่า
**ไม่เพิ่มส.ส.-คงส.ว.2ระบบ
2. ที่มาของ ส.ส. จะให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบเขต และบัญชีรายชื่อ โดยเสนอจำนวนส.ส. อยู่ที่ 350 คน ทั้งนี้อาจจะปรับลดจากจำนวนดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่เพิ่มมากไปกว่านี้ โดยมีเหตุผลคือ เพื่อให้การทำงานของ ส.ส.มีความคล่องตัว และสามารถตอบสนอง เข้าถึงประชาชนได้อย่างมีศักยภาพ ส่วนที่มาของส.ว. จะยังคง 2 ระบบ คือ มาจากการเลือกตั้ง และ สรรหาตามวิชาชีพที่มีกรอบการสรรหาอย่างกว้าง ทั้งนี้ในรูปแบบสรรหานั้น อาจต้องมีการโหวตจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือประชาชนด้วย
ส่วนหน้าที่ถอดถอนของส.ว.นั้น อนุกรรมาธิการฯ ยังให้คงไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม รูปแบบทั้งหมดนั้นเป็นเพียงข้อเสนอต่อกมธ.ยกร่างฯ เท่านั้น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
**ให้กระจายอำนาจตำรวจลงท้องถิ่น
นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ปรับโครงสร้างสำนักตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ทั้งระบบ พร้อมทั้งให้ ยุบสำนักงานข้าราชการตำรวจ (กตร.) ในการแต่งตั้ง
โยกย้ายตำรวจ โดยมีองค์กรกลางเข้ามาทำหน้าที่ เพื่อให้ตำรวจปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยองค์กรใหม่ดังกล่าวตามที่กฎหมายบัญญัติ คือ สภากิจการตำรวจแห่งชาติ และมีกรรมการ ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวกับความมั่นคง และหัวหน้าส่วนราชการกระบวนการยุติธรรม กรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ผ่านการคัดเลือกจากส.ส.และ ส.ว. เข้ามาทำหน้าที่
อย่างไรก็ดี เพื่อต้องการกระจายอำนาจการบริหารจากเดิมที่รวมศูนย์ไว้ที่ สตช. ให้กระจายไปสู่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานตามกฎหมายคอยกำกับ รวมทั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ แต่งตั้ง โยกย้าย หรือถอดถอน
นอกจากนี้ ให้จัดโครงสร้างองค์กรตำรวจ รวมถึงปรับเปลี่ยนหน่วยงานให้มีความเหมาะสม โดยให้ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับงานด้านใด ให้โอนไปขึ้นตรงกับหน่วยงานนั้น เช่น ตำรวจป่าไม้ ไปอยู่กับกรมป่าไม้ ตำรวจรถไฟ ไปอยู่การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ตำรวจท่องเที่ยว ให้ไปอยู่กับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นการลดทอนอำนาจโครงสร้างตำรวจ เพราะอำนาจหน้าที่ของตำรวจยังคงอยู่ ทั้งหมดเป็นเพียงตุ๊กตาเบื้องต้นที่จะนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างฯ ส่วนรายละเอียดกระบวนการ จะมอบหมายให้ อนุกมธ. ทำหน้าที่พิจารณาต่อไป และออกกฎหมายลูก เพื่อให้การปรับโครงสร้างเป็นจริง
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ชุดนางกาญจนา จะยกร่างฯ เบื้องต้นควบคู่กับกมธ. ยกร่างฯชุดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.57 - 5 ม.ค. 58 เพื่อส่งต่อให้คณะอนุกรรมาธิการฯทั้ง 10 คณะพิจารณา ถึงวันที่ 10 ม.ค. ก่อนส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ พิจารณาในวันที่ 12 ม.ค. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 เม.ย. ก่อนส่งให้ที่ประชุมสปช. พิจารณาในวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนด
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า จากกรณีที่ประเทศไทยเกิดปัญหาการทุจริตจำนวนมากในวงการตำรวจ รวมถึงความคิดที่แตกต่างกัน ในการส่งฟ้องบางคดี ระหว่าง ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด ทำให้คณะอนุกรรมาธิการ 3 ด้าน ประกอบด้วย ศาล องค์กรอิสระ และการคลัง ของกรรมาธิการยกร่างฯ ซึ่งผ่านการเห็นชอบจาก นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ แล้ว พร้อมเห็นว่าควรไปหารือกับ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. เพื่อออกมาตราการ และความชัดเจน สำหรับการปราบปรามการทุจริต 5 ข้อ เช่น การฟ้องศาลในคดีวินัยการคลังและงบประมาณ ที่ไม่ใช่กระบวนการที่ชัดเจนแบบคดีอาญา แต่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริต โดยเห็นว่า ควรมีการตั้งศาลขึ้นมาใหม่ เป็นศาลคดีวินัยการคลังและงบประมาณ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของศาลฎีกา หรือศาลอุทธรณ์ เป็นต้น โดยจะมีการแถลงสรุปความชัดเจนในกรณีดังกล่าว ไม่เกินสัปดาห์หน้า
**ระบบศาลมี 4 ศาลเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น นายบรรเจิด สิงคะเนติ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 7 ว่าด้วยภาค 3 นิติธรรม ศาล และกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนของหมวด 1 ศาล และกระบวนการยุติธรรม กล่าวก่อนเข้าประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ได้มีการนำเสนอ 2 กรอบหลักการใหญ่ คือ
1. เรื่องศาลให้ คงจำนวน 4 ศาล เช่นเดิม คือ ศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง และ ศาลทหาร ส่วนกรณีของศาลที่พิจารณาเกี่ยวกับความผิด หรือคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามที่กระแสข่าวว่า นายอุดม เฟื่องฟุ้ง อนุกรรมาธิการฯ เสนอให้เพิ่มกระบวนการอุทธรณ์ในศาลที่พิจารณาในคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ถือเป็นข้อเสนอหนึ่ง แต่ในเรื่องของการอุทธรณ์นั้น ในรัฐธรรมนูญ 2550 มีระบุอยู่แล้ว ในเรื่องของการทบทวน กล่าวคือ หากมีข้อมูลใหม่ หรือข้อมูลเพิ่มเติมสามารถให้ดำเนินการทบทวนได้ อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาในรายละเอียดดังกล่าวอีกครั้ง
2. กระบวนการยุติธรรม ได้เสนอเรื่องสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร และหลักประกันของคนในกระบวนการยุติธรรม ความเที่ยงธรรม รวมถึงระบบทางอาญาเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการ นอกจากนั้นในคดีสำคัญ ต้องให้อัยการเข้าไปร่วมสอบสวนร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตั้งแต่ต้นทาง และจะกำหนดให้รัฐช่วยเหลือทางกฎหมายกับประชาชน อาทิ การให้ความรู้ , ให้คำแนะนำ , การไกล่เกลี่ย
**ที่มาของนายกฯ-ครม.ใช้แบบเดิม
นายสุจิต บุญบงการ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 3 ว่าด้วยภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 1 ระบบผู้แทนที่ดี และผู้นำการเมืองที่ดี , หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ, หมวด 3 รัฐสภา และ หมวด 4 คณะรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางคณะอนุฯ มีข้อสรุปต่อข้อเสนอ คือ
1. ที่มาของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี คือให้ใช้รูปแบบที่มาเหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2550 คือให้สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ที่เลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีหลักพิจารณาว่า ที่ผ่านมาระบบการเลือกนายกฯในรูปแบบสภาฯ ดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีปัญหา แต่กรณีที่เกิดปัญหาเป็นเพราะผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองใช้อำนาจทางบริหารที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้นหากยึดรูปแบบเดิม และแก้ไขในส่วนที่มีข้อบกพร่อง จะเป็นการแก้ปัญหาได้มากกว่า โดยข้อเสนอดังกล่าว เป็นข้อสรุปจากเสียงข้างมากของอนุกรรมาธิการ ส่วนข้อเสนอข้างน้อย คือ เสนอให้เลือกคณะรัฐมนตรีโดยตรง ยังคงสงวนสิทธิ์ไว้ และนำเข้าสู่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหญ่ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้มีประเด็นที่พิจารณาต่อคือ การให้เลือกคณะรัฐมนตรี ผ่านการเลือกตั้งตรงของประชาชนนั้น จะเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายบริหารมากเกินไป จนทำให้เป็นปัญหาต่อการบริหารงานในอนาคตได้
นายสุจิต กล่าวด้วยว่า จากการพบปะกับ นายซีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมานายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ได้สอบถามถึงประเด็นการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ซึ่งประเทศอิสราเอล เคยใช้ และได้มีการยกเลิกไปแล้ว โดยนายซีมอน ระบุถึงเหตุผลของการยกเลิกดังกล่าวว่า เป็นเพราะมีปัญหาของระบบการทำงาน ที่ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งมากเกินไป นอกจากนั้นในประเด็นพิจารณาที่ยกกรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่ประสบความสำเร็จมาพิจารณา แต่เชื่อว่าจะไม่เหมาะกับประเทศไทย เพราะสหรัฐอเมริกา มีวัฒนธรรมของการออมชอม และประนีประนอมมากกว่า
**ไม่เพิ่มส.ส.-คงส.ว.2ระบบ
2. ที่มาของ ส.ส. จะให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบเขต และบัญชีรายชื่อ โดยเสนอจำนวนส.ส. อยู่ที่ 350 คน ทั้งนี้อาจจะปรับลดจากจำนวนดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่เพิ่มมากไปกว่านี้ โดยมีเหตุผลคือ เพื่อให้การทำงานของ ส.ส.มีความคล่องตัว และสามารถตอบสนอง เข้าถึงประชาชนได้อย่างมีศักยภาพ ส่วนที่มาของส.ว. จะยังคง 2 ระบบ คือ มาจากการเลือกตั้ง และ สรรหาตามวิชาชีพที่มีกรอบการสรรหาอย่างกว้าง ทั้งนี้ในรูปแบบสรรหานั้น อาจต้องมีการโหวตจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือประชาชนด้วย
ส่วนหน้าที่ถอดถอนของส.ว.นั้น อนุกรรมาธิการฯ ยังให้คงไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม รูปแบบทั้งหมดนั้นเป็นเพียงข้อเสนอต่อกมธ.ยกร่างฯ เท่านั้น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
**ให้กระจายอำนาจตำรวจลงท้องถิ่น
นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ปรับโครงสร้างสำนักตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ทั้งระบบ พร้อมทั้งให้ ยุบสำนักงานข้าราชการตำรวจ (กตร.) ในการแต่งตั้ง
โยกย้ายตำรวจ โดยมีองค์กรกลางเข้ามาทำหน้าที่ เพื่อให้ตำรวจปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยองค์กรใหม่ดังกล่าวตามที่กฎหมายบัญญัติ คือ สภากิจการตำรวจแห่งชาติ และมีกรรมการ ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวกับความมั่นคง และหัวหน้าส่วนราชการกระบวนการยุติธรรม กรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ผ่านการคัดเลือกจากส.ส.และ ส.ว. เข้ามาทำหน้าที่
อย่างไรก็ดี เพื่อต้องการกระจายอำนาจการบริหารจากเดิมที่รวมศูนย์ไว้ที่ สตช. ให้กระจายไปสู่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานตามกฎหมายคอยกำกับ รวมทั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ แต่งตั้ง โยกย้าย หรือถอดถอน
นอกจากนี้ ให้จัดโครงสร้างองค์กรตำรวจ รวมถึงปรับเปลี่ยนหน่วยงานให้มีความเหมาะสม โดยให้ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับงานด้านใด ให้โอนไปขึ้นตรงกับหน่วยงานนั้น เช่น ตำรวจป่าไม้ ไปอยู่กับกรมป่าไม้ ตำรวจรถไฟ ไปอยู่การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ตำรวจท่องเที่ยว ให้ไปอยู่กับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น
ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นการลดทอนอำนาจโครงสร้างตำรวจ เพราะอำนาจหน้าที่ของตำรวจยังคงอยู่ ทั้งหมดเป็นเพียงตุ๊กตาเบื้องต้นที่จะนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างฯ ส่วนรายละเอียดกระบวนการ จะมอบหมายให้ อนุกมธ. ทำหน้าที่พิจารณาต่อไป และออกกฎหมายลูก เพื่อให้การปรับโครงสร้างเป็นจริง