นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ จะเป็นฉบับแรก ที่มีหมวด 4 ที่ว่าด้วยการปฏิรูปลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และการสร้างความปรองดอง ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป
ส่วนกรณีที่นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ เสนอให้มีการนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดองก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนายเอนก รับผิดชอบพิจารณาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใน หมวด 4 อยู่ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงความเห็นในชั้นอนุกรรมาธิการ ซึ่งตนยังไม่สามารถให้ความเห็นอะไรได้ ต้องรับฟังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก่อน ว่าจะเห็นเป็นอย่างไร โดยอนุกรรมาธิการพิจารณาจัดทำรัฐธรรมนูญทั้ง 10 คณะ มีนัดส่งการบ้านต่อกรรมาธิการยกร่างฯในวันที่ 1 ธ.ค. ส่วน สปช.จะส่งการบ้านในวันที่ 15 - 17 ธ.ค. ซึ่งทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะทำการตรวจการบ้านทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 18 - 26 ธ.ค. ทำให้ปลายเดือน ธ.ค. ก็จะพอทราบได้ว่าแนวทางและหน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นอย่างไร
" ส่วนระยะเวลาการร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าจะเป็นไปตามโรดแมปแน่นอน เพราะหากไม่ทัน ก็ตายตกไปตามกัน ไม่มีใครอยากเอาชื่อเสียงมาทิ้งไว้ที่นี่อยู่แล้ว และขอยืนยันอีกครั้งว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะไม่มีพิมพ์เขียวเอาไว้ก่อน เนื่องจากยังมีกระบวนการที่ให้สปช. สนช. คสช. และครม. ได้เสนอแก้ไขอีก" นายบวรศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามถึง ข้อเสนอที่ให้เลือกตั้ง คณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีโดยตรง นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวมีมาตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แล้ว ซึ่งประเทศอิสราเอล ก็เคยใช้แนวทางนี้ ก่อนที่สุดท้ายจะยกเลิกไป การเสนอรูปแบบการเลือกตั้งใดจำเป็นต้องเสนอให้สอดคล้องต่อสภาพทางสังคมของไทย
**จี้คสช.-รัฐบาลแสดงจุดยืนให้ชัด
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.)กล่าวถึง ข้อเสนอของ อนุกมธ.ปรองดอง ที่จะให้ออกกม.นิรโทษฯว่า เป็นข้อเสนอที่สังคมเคยพยามยามเสนอกันมา แต่ล้มเหลวเพราะมีการลักไก่และบิดเบือนในขั้นตอนการออกกฎหมายจนกลายเป็นวิกฤติการเมืองมาแล้ว โดยเฉพาะกรอบของการนิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แกนนำ แต่ไม่รวมคดีอาญาร้ายแรง คดีทุจริต และคดี ม.112
ทั้งนี้ ผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แกนนำ และติดคุกอยู่ในขณะนี้ เป็นคดีอุกฉกรรจ์ทั้งนั้น เช่น เผาศาลากลาง ครอบครองอาวุธสงคราม หรือ ม. 112 เป็นคดีร้ายแรงประมาณ 30 คน ศาลก็เริ่มให้ประกันตัวไปบ้างแล้ว
แต่คนที่มีคดีติดตัว และยังไม่ตัดสิน หรือไม่ถูกจำคุก หรืออาจได้ประกันตัว เพราะเป็นคดีไม่ร้ายแรงนั้น คนกลุ่มนี้อาจมีประมาณ 2 พันคน มีทุกกลุ่ม ทุกสี ซึ่งก็น่าเห็นใจ ต้องไปทำตัวเลข เอาข้อมูล เอารายละเอียดของคดีออกมา สังคมจะได้เห็นว่า ใครบ้างจะได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมตามกรอบนี้ จะได้ไม่หวาดระแวงว่า จะมีการซุกวาระซ่อนเร้นกันอีกหรือไม่
**โยนรัฐบาลตัดสินใจเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษฯ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงข้อเสนอให้ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดองว่า การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องเริ่มต้นจากรัฐบาลเป็นผู้เสนอกฎหมาย ส่งมาให้สนช. พิจารณา ตนเชื่อว่าสนช. คงต้องมีเตรียมศึกษาเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้า
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นกฎหมายเชิงนโยบาย ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร หากตัดสินใจให้มีกฎหมายฉบับนี้ จะต้องพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ 1. จะนิรโทษกรรมในห้วงเวลาใด และ 2. จะนิรโทษกรรมจากฐานความผิดใด แต่ส่วนตัวเห็นว่า เรื่องการนิรโทษกรรมมีประโยชน์ เพราะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความปรองดอง แต่ต้องพิจารณาใน 2 แนวทางดังกล่าวให้ดี เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
** ยังไม่มีสัญญาณส่อเลื่อนเลือกตั้ง
นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง วันเลือกตั้งที่อาจต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์2559 ว่า รัฐบาลน่าจะยังยึดถือกรอบระยะเวลาเดิมเป็นสำคัญ เพราะขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณใดส่งมาว่าจะมีการขยายระยะเวลาการดำเนินงานตามโรดแมป ระยะที่ 2 ออกไป มีแต่คณะทำงานการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ของ สปช. ที่เร่งดำเนินการศึกษาเตรียมเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในส่วนของคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง ที่ตนทำหน้าที่อยู่คาดว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ หลังจากที่ได้ประชุมกันมาหลายนัด อย่างไรก็ตาม หากระยะเวลาการดำเนินงานตามโรดแมป ระยะที่ 2 ต้องเลื่อนออกไปบ้าง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ส่วนแนวทางการนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดอง ที่คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 10 ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน เสนอนั้น ตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่กระบวนการที่จะนำไปสู่การนิรโทษกรรมได้ จะต้องนำคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายมาคุยกันจนตกผลึกให้ได้แนวทางการดำเนินงานร่วมกันก่อน ส่วนจะนิรโทษกรรมสุดซอย หรือ ครึ่งซอย ก็ขึ้นอยู่ที่การพูดคุยของทุกฝ่ายว่าจะเห็นเป็นอย่างไร แต่ส่วนตัวมองว่าควรนิรโทษกรรม เรื่องที่จำเป็นไปตามลำดับ โดยเริ่มจากนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองที่เป็นประชาชนธรรมดา ซึ่งติดคุกมาหลายปีแล้ว เพียงเพราะไปร่วมชุมนุม เป็นต้น
ส่วนกรณีที่นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ เสนอให้มีการนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดองก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนายเอนก รับผิดชอบพิจารณาการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใน หมวด 4 อยู่ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงความเห็นในชั้นอนุกรรมาธิการ ซึ่งตนยังไม่สามารถให้ความเห็นอะไรได้ ต้องรับฟังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก่อน ว่าจะเห็นเป็นอย่างไร โดยอนุกรรมาธิการพิจารณาจัดทำรัฐธรรมนูญทั้ง 10 คณะ มีนัดส่งการบ้านต่อกรรมาธิการยกร่างฯในวันที่ 1 ธ.ค. ส่วน สปช.จะส่งการบ้านในวันที่ 15 - 17 ธ.ค. ซึ่งทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะทำการตรวจการบ้านทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 18 - 26 ธ.ค. ทำให้ปลายเดือน ธ.ค. ก็จะพอทราบได้ว่าแนวทางและหน้าตาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเป็นอย่างไร
" ส่วนระยะเวลาการร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าจะเป็นไปตามโรดแมปแน่นอน เพราะหากไม่ทัน ก็ตายตกไปตามกัน ไม่มีใครอยากเอาชื่อเสียงมาทิ้งไว้ที่นี่อยู่แล้ว และขอยืนยันอีกครั้งว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะไม่มีพิมพ์เขียวเอาไว้ก่อน เนื่องจากยังมีกระบวนการที่ให้สปช. สนช. คสช. และครม. ได้เสนอแก้ไขอีก" นายบวรศักดิ์ กล่าว
เมื่อถามถึง ข้อเสนอที่ให้เลือกตั้ง คณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีโดยตรง นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวมีมาตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แล้ว ซึ่งประเทศอิสราเอล ก็เคยใช้แนวทางนี้ ก่อนที่สุดท้ายจะยกเลิกไป การเสนอรูปแบบการเลือกตั้งใดจำเป็นต้องเสนอให้สอดคล้องต่อสภาพทางสังคมของไทย
**จี้คสช.-รัฐบาลแสดงจุดยืนให้ชัด
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.)กล่าวถึง ข้อเสนอของ อนุกมธ.ปรองดอง ที่จะให้ออกกม.นิรโทษฯว่า เป็นข้อเสนอที่สังคมเคยพยามยามเสนอกันมา แต่ล้มเหลวเพราะมีการลักไก่และบิดเบือนในขั้นตอนการออกกฎหมายจนกลายเป็นวิกฤติการเมืองมาแล้ว โดยเฉพาะกรอบของการนิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แกนนำ แต่ไม่รวมคดีอาญาร้ายแรง คดีทุจริต และคดี ม.112
ทั้งนี้ ผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แกนนำ และติดคุกอยู่ในขณะนี้ เป็นคดีอุกฉกรรจ์ทั้งนั้น เช่น เผาศาลากลาง ครอบครองอาวุธสงคราม หรือ ม. 112 เป็นคดีร้ายแรงประมาณ 30 คน ศาลก็เริ่มให้ประกันตัวไปบ้างแล้ว
แต่คนที่มีคดีติดตัว และยังไม่ตัดสิน หรือไม่ถูกจำคุก หรืออาจได้ประกันตัว เพราะเป็นคดีไม่ร้ายแรงนั้น คนกลุ่มนี้อาจมีประมาณ 2 พันคน มีทุกกลุ่ม ทุกสี ซึ่งก็น่าเห็นใจ ต้องไปทำตัวเลข เอาข้อมูล เอารายละเอียดของคดีออกมา สังคมจะได้เห็นว่า ใครบ้างจะได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมตามกรอบนี้ จะได้ไม่หวาดระแวงว่า จะมีการซุกวาระซ่อนเร้นกันอีกหรือไม่
**โยนรัฐบาลตัดสินใจเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษฯ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงข้อเสนอให้ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดองว่า การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต้องเริ่มต้นจากรัฐบาลเป็นผู้เสนอกฎหมาย ส่งมาให้สนช. พิจารณา ตนเชื่อว่าสนช. คงต้องมีเตรียมศึกษาเรื่องนี้ไว้ล่วงหน้า
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 กล่าวว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นกฎหมายเชิงนโยบาย ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร หากตัดสินใจให้มีกฎหมายฉบับนี้ จะต้องพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ 1. จะนิรโทษกรรมในห้วงเวลาใด และ 2. จะนิรโทษกรรมจากฐานความผิดใด แต่ส่วนตัวเห็นว่า เรื่องการนิรโทษกรรมมีประโยชน์ เพราะเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความปรองดอง แต่ต้องพิจารณาใน 2 แนวทางดังกล่าวให้ดี เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
** ยังไม่มีสัญญาณส่อเลื่อนเลือกตั้ง
นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง วันเลือกตั้งที่อาจต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์2559 ว่า รัฐบาลน่าจะยังยึดถือกรอบระยะเวลาเดิมเป็นสำคัญ เพราะขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณใดส่งมาว่าจะมีการขยายระยะเวลาการดำเนินงานตามโรดแมป ระยะที่ 2 ออกไป มีแต่คณะทำงานการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ของ สปช. ที่เร่งดำเนินการศึกษาเตรียมเสนอแนะแนวทางการปฏิรูปต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในส่วนของคณะกรรมาธิการปฏิรูปด้านการเมือง ที่ตนทำหน้าที่อยู่คาดว่าจะได้ข้อสรุปในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ หลังจากที่ได้ประชุมกันมาหลายนัด อย่างไรก็ตาม หากระยะเวลาการดำเนินงานตามโรดแมป ระยะที่ 2 ต้องเลื่อนออกไปบ้าง ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ส่วนแนวทางการนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดอง ที่คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 10 ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน เสนอนั้น ตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่กระบวนการที่จะนำไปสู่การนิรโทษกรรมได้ จะต้องนำคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายมาคุยกันจนตกผลึกให้ได้แนวทางการดำเนินงานร่วมกันก่อน ส่วนจะนิรโทษกรรมสุดซอย หรือ ครึ่งซอย ก็ขึ้นอยู่ที่การพูดคุยของทุกฝ่ายว่าจะเห็นเป็นอย่างไร แต่ส่วนตัวมองว่าควรนิรโทษกรรม เรื่องที่จำเป็นไปตามลำดับ โดยเริ่มจากนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองที่เป็นประชาชนธรรมดา ซึ่งติดคุกมาหลายปีแล้ว เพียงเพราะไปร่วมชุมนุม เป็นต้น