วานนี้ (23พ.ย.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล ถ.ศรีอยุธยา สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ร่วมกับมูลนิธิสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ได้จัดพิธีมอบเข็มทองคำเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2557 อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่ 1 และประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่นอีก 5 คน โดยมี นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล
จากนั้น นายบวรศักดิ์ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง"อานิสงส์ของการสวดมต์" ตอนหนึ่งว่า การบริหารการปกครอง จำเป็นต้องพึ่งหลักพุทธศาสนา จะไปยึดตามแบบตะวันตกอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมุ่งเน้นให้ระบบดี แต่มักจะจะทิ้งตัวคน ซึ่งในความเป็นจริงระบบที่ดี คนก็ต้องดีด้วย หากระบบไม่ดี คนก็ไม่ดี ก็จะเกิดความเสียหายเหมือนอย่างรัฐธรรมนูญในอดีต
"พระพุทธเจ้ากล่าวถึงผู้นำโดยเปรียบเทียบว่า ในฝูงโคจะมีโคตัวหนึ่งที่เป็นผู้นำ ถ้าตัวผู้นำพาฝูงโค ลงแม่น้ำลึก และตลิ่งชัน โคในฝูงก็จะตายจำนวนมาก แต่ถ้าผู้นำพาลงน้ำตื้น ตลิ่งเรียบ โคทั้งฝูงก็จะสวัสดี ดังนั้นผู้นำต้องมีปัญหาแห่งการรู้แจ้ง เพราะสังคมจะดีหรือร้ายนั้น ขึ้นอยู่ที่ตัวผู้นำจะพาไป" นายบวรศักดิ์ กล่าว
จากนั้นนายบวรศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐธรรมนูญจะอยู่ได้ถาวรหรือไม่ อยู่ที่ 1. ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี 2. ผู้ใช้รัฐธรรมนูญที่ดี และ 3. วัฒนธรรมการเมืองที่ดีของพลเมือง นักการเมือง ซึ่ง 3 สิ่งนี้ จะทำให้รัฐธรรมนูญอยู่ได้นาน ถ้ารัฐธรรมนูญดี นักการเมืองไม่ดี หรือรัฐธรรมนูญไม่ดี นักการเมืองดี ยังไงก็มีปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ใหญ่ เพราะการเขียนรัฐธรรมนูญไม่อาจแก้ปัญหาเชิงวัฒนธรรมได้ เช่น วัฒนธรรมอุปถัมภ์ ที่อยู่ในสังคมไทยมานาน เช่น การซื้อเสียง ขายเสียงในการเลือกตั้งที่แก้ไม่ได้ด้วยกกต. หรือรัฐธรรมนูญ แต่จะทำอย่างไร ไม่ให้คนไทยขายเสียง จะทำอย่างไรให้นักการเมืองเห็นว่า การซื้อเสียงเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ เรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายคุ้มครองไม่ได้ หากผู้ใช้ไม่นับถือ ก็จะไม่มีความหมาย รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่กระดาษ หรือเอกสารชิ้นหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นต้องดีทั้งคน และระบบ
เมื่อถามถึงแนวคิดที่จะให้มีการทำประชาพิจารณ์ก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ประชาพิจารณ์มีแน่ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ จะทำอย่างน้อย 10 ครั้ง ส่วน สปช.จะทำในระดับจังหวัด ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ จะมีการประสานกับสปช. เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน โดยคณะอนุกมธ.การมีส่วนร่วม และการรรับฟังความเห็นที่มี นางถวิลวดี บุรีกุล เป็น กมธ.ของสปช.ด้วย และนายประชา เตรัตน์ ก็อยู่ในชุดดังกล่าว ก็จะทำงานประสานกัน เพื่อไปรับฟังความเห็นประชาชน
ส่วนพรรคการเมืองได้ข่าวว่าภายในวันที่ 24 พ.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะแจ้งมายังกมธ.ยกร่างฯ นั้นเมื่อไม่ได้รับอนุญาตของคสช. ที่ไม่ให้ประชุมพรรคการเมือง ก็จะมาในฐานะส่วนตัว ส่วนพรรคเพื่อไทย ก็ติดต่อมา แต่ให้รอ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้แถลงในวันที่ 24 พ.ย. เช่นกัน
เมื่อถามว่าเมื่อมีการทำประชาพิจารณ์แล้ว ต้องทำประชามติด้วยหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนยังมีความเห็นอย่างเดิม แต่ไม่อยากพูดอีก ซึ่งอันหนึ่ง เป็นกระบวนการการมีส่วนร่วม ก่อนที่จะมีการเขียนรัฐธรรมนูญ เช่น ตอนปี 2540 ที่ กมธ.จำนวนมากไม่เห็นด้วยในการกำหนดคุณสมบัติ ส.ส. ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งการเขียนแบบนี้ค่อนข้างไม่เป็นสากล แต่เมื่อไปฟังประชาชนที่ต้องการอย่างนั้น ก็ต้องไปปรับตาม แต่ท้ายที่สุดการทำประชามติ ก็อยู่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ถ้าถามความเห็นส่วนตัว ก็บอกแล้วว่าควรทำ แต่คนตัดสินใจไม่ใช่ สปช. หรือกมธ.ยกร่างฯ แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา อย่าเพิ่งพูด
เมื่อถามว่ามี สนช.บางคนแสดงความเห็นว่า ต้องมีการวางกรอบห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ กล่าว่า นั่นเป็นความเห็นส่วนตัว แต่ในกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่ได้คุยกันถึงประเด็นนี้
**ตั้งกก.ยุทธศาสตร์ช่วยงานปฏิรูป
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูป ว่า ขณะนี้จะมีการตั้งกรรมการยุทธศาสตร์ขึ้นมา 3 คณะ เพื่อช่วยงานประธานสปช. คือ 1. ดูแลเรื่องทั่วไปในการปฏิรูป 2. เพื่อประสานงานภายในคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ โดยกรรมการจะมาจากประธานกมธ.แต่ละชุด 3. เพื่อสื่อสารระหว่างภายในกมธ. รัฐบาล สื่อมวลชนและประชาชนให้ได้ทราบความเคลื่อนไหวในการทำงานของสปช.
ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของตน เพราะยอมรับว่าไม่มีความรู้ในทุกๆ เรื่อง และเพื่อทำให้งานด้านการปฏิรูป ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว
**ยันกระแสต้านไม่กระทบการทำงาน
นายเทียนฉาย ยังกล่าวถึง ปัญหาความขัดแย้ง และกระแสการต่อต้านรัฐบาล และคสช. ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในตอนนี้ว่า ยังไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของสปช. แต่หากพบว่ามีปัญหาอะไร ก็ต้องรีบแก้ไขทันที โดยจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า เราเข้ามาเพื่อปฏิรูปประเทศให้ไปสู่ทางที่ดี และตนเชื่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจการเข้ามาทำงานของเรา
ส่วนการที่จะลงพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนนั้น สปช.ได้มีการประสานไปยังหน่วยงานความมั่นคงอยู่แล้ว รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือจากกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด ในการอำนวยความสะดวก พวกเขารู้ว่าพื้นที่ไหนมีความต้องการอะไร ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าห่วง ทั้งนี้ตนหวังว่า การทำงานของสปช.ในการปฏิรูปประเทศ จะสำเร็จด้วยดี
**เดินหน้าวางกรอบยกร่างฯรธน.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุกมธ.พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 8 ว่าด้วยนิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กล่าวว่า ในวันนี้ (24 พ.ย.) ทางอนุฯกมธ. จะประชุมเพื่อวางกรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ ในประเด็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ว่าจะต้องตรวจสอบเรื่องใด ตรวจสอบใคร และใช้กลไกใด จากนั้นก็จะเข้าสู่การพิจารณาเนื้อหาสาระ ในส่วนขององค์กรอิสระ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการตั้งสภาตรวจสอบภาคประชาชน 77 จังหวัด ว่ารูปแบบการดำเนินงานและกรอบอำนาจหน้าที่ ควรจะเป็นอย่างไร และหน่วยงานใดจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการช่วยประสานการทำงาน
สำหรับความคืบหน้าการเชิญพรรคการเมือง และกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมือง มาเสนอความคิดเห็นต่อ กมธ.ยกร่างฯนั้น ทราบว่าในช่วงเช้าวันอังคารที่ 25 พ.ย. ทางกปปส. ก็จะส่งตัวแทนเข้ามาหารือกับ กมธ.ยกร่างฯ ส่วนพรรคเพื่อไทย (พท.) ก็ประสานมาว่า จะส่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีบทบาทสำคัญของพรรคมาเป็นตัวแทนในการเสนอความคิดเห็น ส่วนจะเป็นวันและเวลาใด ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน
ทั้งนี้ มองว่าการที่พรรคการเมือง และกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองให้ความร่วมมือมาเสนอความคิดเห็นต่อกมธ.ยกร่างฯนั้นเป็นเรื่องที่ดี และเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายมากเพราะความเห็นและข้อมูลที่เสนอมานั้นก็จะถูกนำไปประกอบการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
**บังคับให้ปรองดองไม่ใช่ทางแก้
นายถาวร เสนเนียม แกนนำกลุ่ม กปปส. กล่าวถึงการเข้าให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อกมธ.ยกร่างฯ ว่า ในวันนี้ (24 พ.ย.) จะมีการพูดคุยกันระหว่างแกนนำ ที่จะเข้าไปให้ความเห็น ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อยุติในการนำเสนอข้อคิดเห็น ตามกำหนดนัดหมาย ในวันที่ 25 พ.ย. ซึ่งส่วนตัวแล้ว จะเสนอแนะแนวทางที่จะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่คณะกมธ.ยกร่างฯ เช่น ปัญหาที่เกิดจากพรรคการเมือง ที่มีนายทุนเป็นเจ้าของ ครอบงำการดำเนินงานของรัฐสภา
"พรรคการเมืองจะจดทะเบียนได้อย่างแรก ต้องมีสมาชิกพรรคอย่างน้อย 5% ของผู้สิทธิเลือกตั้ง และสมาชิกพรรคจะต้องกระจายได้สัดส่วนกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกภูมิภาค การเริ่มจดทะเบียนของพรรคการเมือง ต้องดำเนินการได้ยากกว่าทุกวันนี้ สมาชิกพรรคต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกำหนดนโยบาย เลือกผู้บริหารพรรค รวมทั้งกำหนดนโยบายของพรรค เพื่อที่จะนำไปเป็นนโยบายในการบริหารประเทศ การส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค จะต้องผ่านการทำไพรมารี่โหวต หรือ ส.ว. จะมีอำนาจถอดถอนไม่ได้ เพราะมันผิดหลัก ควรให้ศาลเป็นผู้ดำเนินการ เรื่องกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปตำรวจ และการกระจายอำนาจ เช่นให้มีการเลือกตั้งผูว่าราชการจังหวัด เริ่มจากจังหวัดที่มีความพร้อม รวมถึงการศึกษา ที่ต้องให้คนชั้นล่างมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน
ส่วนกรณีที่จะมีการกำหนด หมวดความปรองดองไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่ากระบวนการดังกล่าว ควรที่จะมีการลงลึกไปในถึงสาเหตุของต้นของปัญหา ที่ทำให้คนไทยมีความเหลื่อมล้ำ และทะเลาะกัน คือสาเหตุใด เพราะในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 นั้น ก็มีการเขียนเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำไว้เยอะ แต่ก็ไม่มีการระบุเป็นรูปธรรม ซึ่งตรงนี้ ทางสปช. หรือแม้แต่ คสช. เอง ก็ต้องยอมรับว่า สาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร ก่อนที่จะไปดำเนินการแก้ปัญหา เพราะหากบังคับในรัฐธรรมนูญโดยให้ทุกฝ่ายปรองดองกัน ก็จะไม่เป็นการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด
**แนะแก้ปัญหาปากท้องลดขัดแย้ง
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิก สปช. ในฐานะโฆษกวิปสปช. กล่าวว่า กฎอัยการศึกไม่เป็นปัญหาต่อการปฏิรูปประเทศ แต่หากรัฐบาลและคสช. ใช้อำนาจตรงนี้เป็น จะเป็นการเสริมให้การปฏิรูปมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่หากมีการปล่อยฟรี ให้กลุ่มหรือบุคคลต่างๆ ทำอะไรได้ตามใจชอบ อาจจะเป็นปัญหาต่อการปฏิรูปได้ ทั้งการปลุกระดม กระแสการต่อต้าน ปลุกม็อบขึ้นมา ทำให้เหตุการณ์บานปลายมากขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งหากรัฐบาลและคสช. ต้องการให้สถานการณ์เบาบางลง ไม่ควรที่จะไปใช้กำลัง หรือใช้กฎหมายเข้าสู้ แต่ควรจะเน้นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ นำเม็ดเงินกระจายลงสู่ทุกพื้นที่ เพราะหากสามารถแก้ไขปัญหาปากท้องได้ กระแสการต่อต้าน และปัญหาความขัดแย้งจะเบาบางลงได้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ จะสนใจเรื่องปัญหาปากท้องมากกว่าปัญหาการเมือง หากพวกเขาท้องอิ่ม คนที่จะไปปลุกกระแสต่อต้านก็จะไม่มีผล
** เตือนอย่าใช้กำลังแก้ปัญหา
นายยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า กระแสความขัดแย้งและต่อต้านรัฐบาลวันนี้มีการขยายตัวมากขึ้นในหลายพื้นที่ รัฐบาลควรจัดเวทีให้ทุกฝ่ายอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันพูดคุยเพื่อหาทางออก ใช้หลักของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ไม่ควรใช้กำลัง หรือกฎหมายเข้าปราบปราบกลุ่มคนที่ต่อต้านหรือเห็นต่าง เพราะกลุ่มที่ต่อต้านอาจจะลงใต้ดิน ทำให้เป็นปัญหาที่จะแก้ได้ยากมากขึ้น ส่วนที่กรณีที่มีบุคคลชู 3 นิ้ว ตามสถานที่ต่างๆ ก็ถือว่าทำได้ตามหลักสิทธิเสรีภาพ หากทำเชิงสัญลักษณ์ไม่ได้ใช้ความรุนแรง ก็คงจะไม่เสียหายอะไร แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการเข้ามาพูดคุยกันในระบบรัฐบาลต้องหาทางรับฟังความเห็นจากพวกเขาเหล่านั้น
** สังคมติดกับ เศรษฐกิจติดหล่ม
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า 6 เดือนของการยึดอำนาจ สังคมไทยยังติดกับความขัดแย้ง แตกแยก แม้จะดูคลี่คลายขึ้น ก็เพราะกฎอัยการศึก ในขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง ยังจับกลุ่มจับขั้ว รอเคลื่อนไหวอยู่ เพราะการเปลี่ยนรัฐบาลในช่วงสภาวะแบ่งข้าง แบ่งสี ยังไม่สามารถจัดการกับต้นเหตุความขัดแย้งได้จริง เป็นเพียงการเปลี่ยนขั้วอำนาจเท่านั้น
ในขณะที่เศรษฐกิจยังติดหล่มโดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับ ปัญหาปากท้องชาวบ้าน ค่าครองชีพยังถีบตัวสูง ราคาพืชการเกษตรตกต่ำ ทั้งระบบ แม้การเมืองนิ่งอาจเป็นที่พอใจของเศรษฐกิจระดับมหภาค แต่ระดับล่าง กลับแย่ลง
ส่วนการเมือง ยังติดไฟแดง ตกอยู่ในอาการบังคับให้หยุด แต่ไม่รู้จะไปทางไหน การเมืองของคสช. ยังเป็นปริศนา การจัดการกับต้นเหตุปัญหา การคอร์รัปชัน การถอดถอน ไม่ชัดเจน การปฏิรูปที่เป็นงานบวก กลับเริ่มมีแรงต้านมากกว่าแรงหนุน
ช่วงเวลาจากนี้ไปครม.ต้องลงพื้นที่มากขึ้น ไม่ใช่ฟังแต่กลไกราชการ จัดการกับราชการเกียร์ว่าง ประชุมครม.เศรษฐกิจ ครม.สังคม ต่อเนื่อง และมีวาระร่วมมากกว่านี้ ไม่ใช่แค่ชวนประชาชนฝัน และมองไปข้างหน้า แต่แกล้งลืมจัดการกับต้นเหตุแห่งปัญหา
ปรับกระบวนการปฏิรูปให้เป็นเวทีเปิด ดึงประชาชนมาเป็นแนวร่วมให้กว้างขึ้น ผ่อนปรนกฎอัยการศึก ไม่เหมารวม แม่น้ำทั้ง 5 สายควรกระชับทิศทางและความเป็นเอกภาพมากกว่า
จากนั้น นายบวรศักดิ์ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง"อานิสงส์ของการสวดมต์" ตอนหนึ่งว่า การบริหารการปกครอง จำเป็นต้องพึ่งหลักพุทธศาสนา จะไปยึดตามแบบตะวันตกอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมุ่งเน้นให้ระบบดี แต่มักจะจะทิ้งตัวคน ซึ่งในความเป็นจริงระบบที่ดี คนก็ต้องดีด้วย หากระบบไม่ดี คนก็ไม่ดี ก็จะเกิดความเสียหายเหมือนอย่างรัฐธรรมนูญในอดีต
"พระพุทธเจ้ากล่าวถึงผู้นำโดยเปรียบเทียบว่า ในฝูงโคจะมีโคตัวหนึ่งที่เป็นผู้นำ ถ้าตัวผู้นำพาฝูงโค ลงแม่น้ำลึก และตลิ่งชัน โคในฝูงก็จะตายจำนวนมาก แต่ถ้าผู้นำพาลงน้ำตื้น ตลิ่งเรียบ โคทั้งฝูงก็จะสวัสดี ดังนั้นผู้นำต้องมีปัญหาแห่งการรู้แจ้ง เพราะสังคมจะดีหรือร้ายนั้น ขึ้นอยู่ที่ตัวผู้นำจะพาไป" นายบวรศักดิ์ กล่าว
จากนั้นนายบวรศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐธรรมนูญจะอยู่ได้ถาวรหรือไม่ อยู่ที่ 1. ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี 2. ผู้ใช้รัฐธรรมนูญที่ดี และ 3. วัฒนธรรมการเมืองที่ดีของพลเมือง นักการเมือง ซึ่ง 3 สิ่งนี้ จะทำให้รัฐธรรมนูญอยู่ได้นาน ถ้ารัฐธรรมนูญดี นักการเมืองไม่ดี หรือรัฐธรรมนูญไม่ดี นักการเมืองดี ยังไงก็มีปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ใหญ่ เพราะการเขียนรัฐธรรมนูญไม่อาจแก้ปัญหาเชิงวัฒนธรรมได้ เช่น วัฒนธรรมอุปถัมภ์ ที่อยู่ในสังคมไทยมานาน เช่น การซื้อเสียง ขายเสียงในการเลือกตั้งที่แก้ไม่ได้ด้วยกกต. หรือรัฐธรรมนูญ แต่จะทำอย่างไร ไม่ให้คนไทยขายเสียง จะทำอย่างไรให้นักการเมืองเห็นว่า การซื้อเสียงเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ เรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายคุ้มครองไม่ได้ หากผู้ใช้ไม่นับถือ ก็จะไม่มีความหมาย รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่กระดาษ หรือเอกสารชิ้นหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นต้องดีทั้งคน และระบบ
เมื่อถามถึงแนวคิดที่จะให้มีการทำประชาพิจารณ์ก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ประชาพิจารณ์มีแน่ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ จะทำอย่างน้อย 10 ครั้ง ส่วน สปช.จะทำในระดับจังหวัด ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ จะมีการประสานกับสปช. เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน โดยคณะอนุกมธ.การมีส่วนร่วม และการรรับฟังความเห็นที่มี นางถวิลวดี บุรีกุล เป็น กมธ.ของสปช.ด้วย และนายประชา เตรัตน์ ก็อยู่ในชุดดังกล่าว ก็จะทำงานประสานกัน เพื่อไปรับฟังความเห็นประชาชน
ส่วนพรรคการเมืองได้ข่าวว่าภายในวันที่ 24 พ.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะแจ้งมายังกมธ.ยกร่างฯ นั้นเมื่อไม่ได้รับอนุญาตของคสช. ที่ไม่ให้ประชุมพรรคการเมือง ก็จะมาในฐานะส่วนตัว ส่วนพรรคเพื่อไทย ก็ติดต่อมา แต่ให้รอ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้แถลงในวันที่ 24 พ.ย. เช่นกัน
เมื่อถามว่าเมื่อมีการทำประชาพิจารณ์แล้ว ต้องทำประชามติด้วยหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนยังมีความเห็นอย่างเดิม แต่ไม่อยากพูดอีก ซึ่งอันหนึ่ง เป็นกระบวนการการมีส่วนร่วม ก่อนที่จะมีการเขียนรัฐธรรมนูญ เช่น ตอนปี 2540 ที่ กมธ.จำนวนมากไม่เห็นด้วยในการกำหนดคุณสมบัติ ส.ส. ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งการเขียนแบบนี้ค่อนข้างไม่เป็นสากล แต่เมื่อไปฟังประชาชนที่ต้องการอย่างนั้น ก็ต้องไปปรับตาม แต่ท้ายที่สุดการทำประชามติ ก็อยู่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ถ้าถามความเห็นส่วนตัว ก็บอกแล้วว่าควรทำ แต่คนตัดสินใจไม่ใช่ สปช. หรือกมธ.ยกร่างฯ แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา อย่าเพิ่งพูด
เมื่อถามว่ามี สนช.บางคนแสดงความเห็นว่า ต้องมีการวางกรอบห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ กล่าว่า นั่นเป็นความเห็นส่วนตัว แต่ในกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่ได้คุยกันถึงประเด็นนี้
**ตั้งกก.ยุทธศาสตร์ช่วยงานปฏิรูป
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูป ว่า ขณะนี้จะมีการตั้งกรรมการยุทธศาสตร์ขึ้นมา 3 คณะ เพื่อช่วยงานประธานสปช. คือ 1. ดูแลเรื่องทั่วไปในการปฏิรูป 2. เพื่อประสานงานภายในคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ โดยกรรมการจะมาจากประธานกมธ.แต่ละชุด 3. เพื่อสื่อสารระหว่างภายในกมธ. รัฐบาล สื่อมวลชนและประชาชนให้ได้ทราบความเคลื่อนไหวในการทำงานของสปช.
ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของตน เพราะยอมรับว่าไม่มีความรู้ในทุกๆ เรื่อง และเพื่อทำให้งานด้านการปฏิรูป ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว
**ยันกระแสต้านไม่กระทบการทำงาน
นายเทียนฉาย ยังกล่าวถึง ปัญหาความขัดแย้ง และกระแสการต่อต้านรัฐบาล และคสช. ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในตอนนี้ว่า ยังไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของสปช. แต่หากพบว่ามีปัญหาอะไร ก็ต้องรีบแก้ไขทันที โดยจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า เราเข้ามาเพื่อปฏิรูปประเทศให้ไปสู่ทางที่ดี และตนเชื่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจการเข้ามาทำงานของเรา
ส่วนการที่จะลงพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนนั้น สปช.ได้มีการประสานไปยังหน่วยงานความมั่นคงอยู่แล้ว รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือจากกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด ในการอำนวยความสะดวก พวกเขารู้ว่าพื้นที่ไหนมีความต้องการอะไร ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าห่วง ทั้งนี้ตนหวังว่า การทำงานของสปช.ในการปฏิรูปประเทศ จะสำเร็จด้วยดี
**เดินหน้าวางกรอบยกร่างฯรธน.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุกมธ.พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 8 ว่าด้วยนิติธรรม ศาล และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ กล่าวว่า ในวันนี้ (24 พ.ย.) ทางอนุฯกมธ. จะประชุมเพื่อวางกรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ ในประเด็นเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ว่าจะต้องตรวจสอบเรื่องใด ตรวจสอบใคร และใช้กลไกใด จากนั้นก็จะเข้าสู่การพิจารณาเนื้อหาสาระ ในส่วนขององค์กรอิสระ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการตั้งสภาตรวจสอบภาคประชาชน 77 จังหวัด ว่ารูปแบบการดำเนินงานและกรอบอำนาจหน้าที่ ควรจะเป็นอย่างไร และหน่วยงานใดจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการช่วยประสานการทำงาน
สำหรับความคืบหน้าการเชิญพรรคการเมือง และกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมือง มาเสนอความคิดเห็นต่อ กมธ.ยกร่างฯนั้น ทราบว่าในช่วงเช้าวันอังคารที่ 25 พ.ย. ทางกปปส. ก็จะส่งตัวแทนเข้ามาหารือกับ กมธ.ยกร่างฯ ส่วนพรรคเพื่อไทย (พท.) ก็ประสานมาว่า จะส่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีบทบาทสำคัญของพรรคมาเป็นตัวแทนในการเสนอความคิดเห็น ส่วนจะเป็นวันและเวลาใด ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงาน
ทั้งนี้ มองว่าการที่พรรคการเมือง และกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองให้ความร่วมมือมาเสนอความคิดเห็นต่อกมธ.ยกร่างฯนั้นเป็นเรื่องที่ดี และเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายมากเพราะความเห็นและข้อมูลที่เสนอมานั้นก็จะถูกนำไปประกอบการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
**บังคับให้ปรองดองไม่ใช่ทางแก้
นายถาวร เสนเนียม แกนนำกลุ่ม กปปส. กล่าวถึงการเข้าให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อกมธ.ยกร่างฯ ว่า ในวันนี้ (24 พ.ย.) จะมีการพูดคุยกันระหว่างแกนนำ ที่จะเข้าไปให้ความเห็น ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อยุติในการนำเสนอข้อคิดเห็น ตามกำหนดนัดหมาย ในวันที่ 25 พ.ย. ซึ่งส่วนตัวแล้ว จะเสนอแนะแนวทางที่จะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่คณะกมธ.ยกร่างฯ เช่น ปัญหาที่เกิดจากพรรคการเมือง ที่มีนายทุนเป็นเจ้าของ ครอบงำการดำเนินงานของรัฐสภา
"พรรคการเมืองจะจดทะเบียนได้อย่างแรก ต้องมีสมาชิกพรรคอย่างน้อย 5% ของผู้สิทธิเลือกตั้ง และสมาชิกพรรคจะต้องกระจายได้สัดส่วนกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกภูมิภาค การเริ่มจดทะเบียนของพรรคการเมือง ต้องดำเนินการได้ยากกว่าทุกวันนี้ สมาชิกพรรคต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกำหนดนโยบาย เลือกผู้บริหารพรรค รวมทั้งกำหนดนโยบายของพรรค เพื่อที่จะนำไปเป็นนโยบายในการบริหารประเทศ การส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค จะต้องผ่านการทำไพรมารี่โหวต หรือ ส.ว. จะมีอำนาจถอดถอนไม่ได้ เพราะมันผิดหลัก ควรให้ศาลเป็นผู้ดำเนินการ เรื่องกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปตำรวจ และการกระจายอำนาจ เช่นให้มีการเลือกตั้งผูว่าราชการจังหวัด เริ่มจากจังหวัดที่มีความพร้อม รวมถึงการศึกษา ที่ต้องให้คนชั้นล่างมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน
ส่วนกรณีที่จะมีการกำหนด หมวดความปรองดองไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่ากระบวนการดังกล่าว ควรที่จะมีการลงลึกไปในถึงสาเหตุของต้นของปัญหา ที่ทำให้คนไทยมีความเหลื่อมล้ำ และทะเลาะกัน คือสาเหตุใด เพราะในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 นั้น ก็มีการเขียนเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำไว้เยอะ แต่ก็ไม่มีการระบุเป็นรูปธรรม ซึ่งตรงนี้ ทางสปช. หรือแม้แต่ คสช. เอง ก็ต้องยอมรับว่า สาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร ก่อนที่จะไปดำเนินการแก้ปัญหา เพราะหากบังคับในรัฐธรรมนูญโดยให้ทุกฝ่ายปรองดองกัน ก็จะไม่เป็นการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด
**แนะแก้ปัญหาปากท้องลดขัดแย้ง
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิก สปช. ในฐานะโฆษกวิปสปช. กล่าวว่า กฎอัยการศึกไม่เป็นปัญหาต่อการปฏิรูปประเทศ แต่หากรัฐบาลและคสช. ใช้อำนาจตรงนี้เป็น จะเป็นการเสริมให้การปฏิรูปมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่หากมีการปล่อยฟรี ให้กลุ่มหรือบุคคลต่างๆ ทำอะไรได้ตามใจชอบ อาจจะเป็นปัญหาต่อการปฏิรูปได้ ทั้งการปลุกระดม กระแสการต่อต้าน ปลุกม็อบขึ้นมา ทำให้เหตุการณ์บานปลายมากขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งหากรัฐบาลและคสช. ต้องการให้สถานการณ์เบาบางลง ไม่ควรที่จะไปใช้กำลัง หรือใช้กฎหมายเข้าสู้ แต่ควรจะเน้นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ นำเม็ดเงินกระจายลงสู่ทุกพื้นที่ เพราะหากสามารถแก้ไขปัญหาปากท้องได้ กระแสการต่อต้าน และปัญหาความขัดแย้งจะเบาบางลงได้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ จะสนใจเรื่องปัญหาปากท้องมากกว่าปัญหาการเมือง หากพวกเขาท้องอิ่ม คนที่จะไปปลุกกระแสต่อต้านก็จะไม่มีผล
** เตือนอย่าใช้กำลังแก้ปัญหา
นายยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า กระแสความขัดแย้งและต่อต้านรัฐบาลวันนี้มีการขยายตัวมากขึ้นในหลายพื้นที่ รัฐบาลควรจัดเวทีให้ทุกฝ่ายอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันพูดคุยเพื่อหาทางออก ใช้หลักของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ไม่ควรใช้กำลัง หรือกฎหมายเข้าปราบปราบกลุ่มคนที่ต่อต้านหรือเห็นต่าง เพราะกลุ่มที่ต่อต้านอาจจะลงใต้ดิน ทำให้เป็นปัญหาที่จะแก้ได้ยากมากขึ้น ส่วนที่กรณีที่มีบุคคลชู 3 นิ้ว ตามสถานที่ต่างๆ ก็ถือว่าทำได้ตามหลักสิทธิเสรีภาพ หากทำเชิงสัญลักษณ์ไม่ได้ใช้ความรุนแรง ก็คงจะไม่เสียหายอะไร แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการเข้ามาพูดคุยกันในระบบรัฐบาลต้องหาทางรับฟังความเห็นจากพวกเขาเหล่านั้น
** สังคมติดกับ เศรษฐกิจติดหล่ม
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า 6 เดือนของการยึดอำนาจ สังคมไทยยังติดกับความขัดแย้ง แตกแยก แม้จะดูคลี่คลายขึ้น ก็เพราะกฎอัยการศึก ในขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวการเมือง ยังจับกลุ่มจับขั้ว รอเคลื่อนไหวอยู่ เพราะการเปลี่ยนรัฐบาลในช่วงสภาวะแบ่งข้าง แบ่งสี ยังไม่สามารถจัดการกับต้นเหตุความขัดแย้งได้จริง เป็นเพียงการเปลี่ยนขั้วอำนาจเท่านั้น
ในขณะที่เศรษฐกิจยังติดหล่มโดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับ ปัญหาปากท้องชาวบ้าน ค่าครองชีพยังถีบตัวสูง ราคาพืชการเกษตรตกต่ำ ทั้งระบบ แม้การเมืองนิ่งอาจเป็นที่พอใจของเศรษฐกิจระดับมหภาค แต่ระดับล่าง กลับแย่ลง
ส่วนการเมือง ยังติดไฟแดง ตกอยู่ในอาการบังคับให้หยุด แต่ไม่รู้จะไปทางไหน การเมืองของคสช. ยังเป็นปริศนา การจัดการกับต้นเหตุปัญหา การคอร์รัปชัน การถอดถอน ไม่ชัดเจน การปฏิรูปที่เป็นงานบวก กลับเริ่มมีแรงต้านมากกว่าแรงหนุน
ช่วงเวลาจากนี้ไปครม.ต้องลงพื้นที่มากขึ้น ไม่ใช่ฟังแต่กลไกราชการ จัดการกับราชการเกียร์ว่าง ประชุมครม.เศรษฐกิจ ครม.สังคม ต่อเนื่อง และมีวาระร่วมมากกว่านี้ ไม่ใช่แค่ชวนประชาชนฝัน และมองไปข้างหน้า แต่แกล้งลืมจัดการกับต้นเหตุแห่งปัญหา
ปรับกระบวนการปฏิรูปให้เป็นเวทีเปิด ดึงประชาชนมาเป็นแนวร่วมให้กว้างขึ้น ผ่อนปรนกฎอัยการศึก ไม่เหมารวม แม่น้ำทั้ง 5 สายควรกระชับทิศทางและความเป็นเอกภาพมากกว่า