**จะเรียกว่าได้จังหวะสำหรับการเดินสายออกไปพบปะมวลชนตามต่างจังหวัดเสียที สำหรับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และในฐานะนายกรัฐมนตรี ที่บริหารราชการแผ่นดิน อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาจากระยะเวลาที่ผ่านมาได้ช่วงหนึ่งนั่นคือในฐานะ คสช.ก็ผ่านมานับ 6 เดือนแล้ว รัฐบาลก็เข้าสู่เดือนที่สาม ก็ถึงคราวที่ต้องออกไปสำรวจความเคลื่อนไหวข้างนอกได้แล้ว
อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญหรือเป็นความตั้งใจหรือเปล่าก็ไม่รู้ ที่มีการแถลงออกมาแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนำคณะซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ร่วมเดินทางไปด้วย ตามข่าวบอกว่าจะไปตรวจเยี่ยมปัญหาภัยแล้ง และตรวจเยี่ยมแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน โดยเป้าหมายสำคัญอีกแห่งก็คือ ไปเยี่ยมชม"ศูนย์ดำรงธรรม" ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่เมื่อเกี่ยวกับเรื่องภัยแล้ง ก็น่าจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมทางไปด้วย
แต่ที่น่าจับตาก็คือ ทำไมต้องเริ่มที่ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ในวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน โดยจะเป็นแบบไปเช้าเย็นกลับ อย่างไรก็ดี หากย้อนกลับไปพิจารณาจากเหตุการณ์สำคัญในก่อนและวันสุกดิบในช่วงวันรัฐประหาร เข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา หากจำกันได้ได้เกิดกรณี "ขอนแก่นโมเดล" นั่นคือ การบุกเข้าจับกุมและล็อกตัวกลุ่มติดอาวุธเสื้อแดง ที่เตรียมก่อความวุ่นวายในจุดยุทธศาสตร์สำคัญหลายพื้นที่ เป็นลักษณะเตรียมลุกฮือพร้อมๆ กัน แต่เมื่อฝ่ายทหารเข้าสกัดกั้นได้สำเร็จ ก็ถือว่าหยุดความสูญเสีย
ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับเช่นเดียวกันแล้วว่า จังหวัดขอนแก่น เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง เพราะเป็นฐานเสียงที่หนาแน่นอีกจังหวัดในภาคอีสาน นอกเหนือจากภาคเหนือ
ดังนั้นการเลือกพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเป็นแห่งแรกในการประเดิมเดินสายตรวจเยี่ยมประชาชนดูแลความเดือดร้อน แน่นอนว่า ย่อมต้องมีการอธิบายได้สมเหตุสมผล เช่น เรื่องภัยแล้ง ความเดือดร้อนหลายอย่างทั้งการแก้ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตร และในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในมือสามารถสั่งการแก้ปัญหาได้อย่างฉับไว อาจสร้างความประทับใจให้กับชาวบ้านที่รอความหวังอยู่ก็เป็นได้
ขณะเดียวกัน การให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่เลือกขอนแก่นเป็นแห่งแรก อีกทางหนึ่งย่อมหวังผลทางการเมือง ในด้านมวลชน อย่างน้อยก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังให้กับพื้นที่ขอนแก่น และภาคอีสาน เป็นแห่งแรกในช่วงที่กำลังเกิดปัญหาได้อย่างเหมาะเจาะพอดี อย่างน้อยก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการแสดงความเอาใจใส่ ในยามทุกข์ยาก โดยเฉพาะในช่วงที่ปัญหาข้าวนาทีกำลังทะลักออกสู่ตลาด ขณะที่ราคากำลังตกต่ำซึ่งอาจจะนำไปเปรียบกับราคาในโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลก่อน แม้ว่าจะขาดทุนกันมหาศาล แต่สำหรับชาวนาถือว่าได้ราคามากกว่าในปัจจุบัน
นอกเหนือจากนี้การเลือกขอนแก่น หรือ "ขอนแก่นโมเดล" ในคราวนี้ อาจมองได้ในอีกแง่มุมหนึ่งในทางการเมืองอาจเป็นการ "แตะมือ" เพื่อสร้างความปรองดองในความหมายของ "ผู้นำ" ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาล อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวย้ำอยู่เสมอ อย่างน้อยก็เป็นการอธิบายเรื่องการลดความขัดแย้ง และที่สำคัญก็ต้องจับตาในอนาคตจะมีใครบ้างในคสช. ที่จะมาต่อยอดอำนาจทางการเมืองหลังจากมีรัฐธรรมนูญ และมีการเลือกตั้งในคราวต่อไป หลังจากเริ่มมีความเคลื่อนไหวออกมาถึงเรื่อง "พรรคทหาร" ออกมาให้ได้ยินมากขึ้น
**ดังนั้นหากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เตรียมเดินทางลงพื้นที่ในภาคอีสาน โดยเริ่มที่ขอนแก่น ถือว่ามีนัยยะทางการเมือง อย่างน้อยก็เป็นการแตะมือเข้าหามวลชน โดยเฉพาะมวลชนที่ส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อแดง เป็นการเข้าหาแบบเอาใจใส่ ขณะเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมศรัทธาที่เริ่มเสื่อมถอยลง ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างกระแสดึงความนิยมให้กลับมา แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องจับตาเหมือนกันว่าจะมีรายการ "ผิดคิว" มีการประท้วงโวยวายอะไรออกมาในพื้นที่ออกมาให้เห็นบ้างหรือไม่ เพราะถ้ามี ก็เสียหายไม่น้อยเหมือนกัน !!
อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญหรือเป็นความตั้งใจหรือเปล่าก็ไม่รู้ ที่มีการแถลงออกมาแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนำคณะซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ร่วมเดินทางไปด้วย ตามข่าวบอกว่าจะไปตรวจเยี่ยมปัญหาภัยแล้ง และตรวจเยี่ยมแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน โดยเป้าหมายสำคัญอีกแห่งก็คือ ไปเยี่ยมชม"ศูนย์ดำรงธรรม" ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่เมื่อเกี่ยวกับเรื่องภัยแล้ง ก็น่าจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมทางไปด้วย
แต่ที่น่าจับตาก็คือ ทำไมต้องเริ่มที่ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ในวันพุธที่ 19 พฤศจิกายน โดยจะเป็นแบบไปเช้าเย็นกลับ อย่างไรก็ดี หากย้อนกลับไปพิจารณาจากเหตุการณ์สำคัญในก่อนและวันสุกดิบในช่วงวันรัฐประหาร เข้ามาควบคุมอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา หากจำกันได้ได้เกิดกรณี "ขอนแก่นโมเดล" นั่นคือ การบุกเข้าจับกุมและล็อกตัวกลุ่มติดอาวุธเสื้อแดง ที่เตรียมก่อความวุ่นวายในจุดยุทธศาสตร์สำคัญหลายพื้นที่ เป็นลักษณะเตรียมลุกฮือพร้อมๆ กัน แต่เมื่อฝ่ายทหารเข้าสกัดกั้นได้สำเร็จ ก็ถือว่าหยุดความสูญเสีย
ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับเช่นเดียวกันแล้วว่า จังหวัดขอนแก่น เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง เพราะเป็นฐานเสียงที่หนาแน่นอีกจังหวัดในภาคอีสาน นอกเหนือจากภาคเหนือ
ดังนั้นการเลือกพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเป็นแห่งแรกในการประเดิมเดินสายตรวจเยี่ยมประชาชนดูแลความเดือดร้อน แน่นอนว่า ย่อมต้องมีการอธิบายได้สมเหตุสมผล เช่น เรื่องภัยแล้ง ความเดือดร้อนหลายอย่างทั้งการแก้ปัญหาเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตร และในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้นำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในมือสามารถสั่งการแก้ปัญหาได้อย่างฉับไว อาจสร้างความประทับใจให้กับชาวบ้านที่รอความหวังอยู่ก็เป็นได้
ขณะเดียวกัน การให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่เลือกขอนแก่นเป็นแห่งแรก อีกทางหนึ่งย่อมหวังผลทางการเมือง ในด้านมวลชน อย่างน้อยก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังให้กับพื้นที่ขอนแก่น และภาคอีสาน เป็นแห่งแรกในช่วงที่กำลังเกิดปัญหาได้อย่างเหมาะเจาะพอดี อย่างน้อยก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า เป็นการแสดงความเอาใจใส่ ในยามทุกข์ยาก โดยเฉพาะในช่วงที่ปัญหาข้าวนาทีกำลังทะลักออกสู่ตลาด ขณะที่ราคากำลังตกต่ำซึ่งอาจจะนำไปเปรียบกับราคาในโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลก่อน แม้ว่าจะขาดทุนกันมหาศาล แต่สำหรับชาวนาถือว่าได้ราคามากกว่าในปัจจุบัน
นอกเหนือจากนี้การเลือกขอนแก่น หรือ "ขอนแก่นโมเดล" ในคราวนี้ อาจมองได้ในอีกแง่มุมหนึ่งในทางการเมืองอาจเป็นการ "แตะมือ" เพื่อสร้างความปรองดองในความหมายของ "ผู้นำ" ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาล อย่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวย้ำอยู่เสมอ อย่างน้อยก็เป็นการอธิบายเรื่องการลดความขัดแย้ง และที่สำคัญก็ต้องจับตาในอนาคตจะมีใครบ้างในคสช. ที่จะมาต่อยอดอำนาจทางการเมืองหลังจากมีรัฐธรรมนูญ และมีการเลือกตั้งในคราวต่อไป หลังจากเริ่มมีความเคลื่อนไหวออกมาถึงเรื่อง "พรรคทหาร" ออกมาให้ได้ยินมากขึ้น
**ดังนั้นหากพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เตรียมเดินทางลงพื้นที่ในภาคอีสาน โดยเริ่มที่ขอนแก่น ถือว่ามีนัยยะทางการเมือง อย่างน้อยก็เป็นการแตะมือเข้าหามวลชน โดยเฉพาะมวลชนที่ส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อแดง เป็นการเข้าหาแบบเอาใจใส่ ขณะเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมศรัทธาที่เริ่มเสื่อมถอยลง ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างกระแสดึงความนิยมให้กลับมา แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องจับตาเหมือนกันว่าจะมีรายการ "ผิดคิว" มีการประท้วงโวยวายอะไรออกมาในพื้นที่ออกมาให้เห็นบ้างหรือไม่ เพราะถ้ามี ก็เสียหายไม่น้อยเหมือนกัน !!