วานนี้ (13 พ.ย.)ที่ รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ( สนช.) โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ... โดยมี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เป็นผู้ชี้แจง โดยระบุว่าโดยที่ในปัจจุบันสื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมากขึ้น แต่สื่อที่เหมาะสมแก่เด็กและเยาวชนมีจำนวนน้อย ซึ่งการผลิตที่ปลอดภัย และสร้างสรรค์มีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งไม่เป็นที่นิยมของผู้ผลิต และผู้สนับสนุนการผลิตสื่อ ทำให้ขาดเงินทุนในการผลิตและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ในการผลิต การพัฒนาและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ดีของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อ จึงจำเป็นต้องมีการตรา พ.ร.บ.เพื่อรองรับการดำเนินงานของกองทุนดังกล่าว
นายมณเฑียร บุญตัน ได้อภิปรายว่า ตนรู้สึกเสียดายที่ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่มีเครือข่ายภาคประชาชนได้มีการนำเสนอ และปรับปรุงนั้น ไม่ได้มีการพิจารณาในสภาแห่งนี้ ซึ่งตนมีข้อสังเกตว่า การดำเนินการของสื่อสร้างสรรค์ ยังขาดองค์ประกอบที่จะให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย เข้าถึงเนื้อหาของสื่อ ดังนั้น ขอให้ทางคณะกรรมาธิการรับไปพิจารณา
นายสมชาย แสวงการ ระบุว่า ผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กนั้น ขาดแคลนเงินทุนในการผลิต ทำให้ต้องพึ่งพาเงินทุนจากบริษัทจากภายนอก ทำให้ผู้ผลิตต้องผลิตรายการตามทิศทางของเจ้าของทุน ทำให้เด็กขาดคุณภาพ เพราะในปัจจุบันมีเยาวชน 22-23 ล้านคน และใช้ชีวิตอยู่กับสื่อมากถึง 8 ชม.ต่อวัน อีกทั้งคนไทยใช้สื่อมากติดอันดับโลก จากประชากร 65 ล้านคน มีมือถือ 98 ล้านเลขหมาย มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 26 ล้านผู้ใช้ 25 ล้านบัญชีเฟสบุ๊ก 33 ล้านบัญชีไลน์ สื่อสารกันแต่สิ่งไร้สาระ ซึ่งเยาวชน 20 ล้านคน เป็นเด็กจะทำอย่างไรสร้างภูมิคุ้มกัน
ทั้งนี้ กฎหมายนี้เป็นที่เฝ้ารอมานานผ่านการผลักดันมานานนับ 10 ปี แต่ไม่อยากให้ความพยายามสูญเปล่า อย่างที่ผ่านมามีโครงการสร้างห้องสมุดชุมชน แต่สุดท้ายกลายเป็นโรงเลี้ยงสัตว์ จึงอยากเห็นการบริหารจัดการที่ดี ไม่เปิดช่องให้เกิดการทุจริตไปจ้างใครไม่รู้มาผลิต รวมทั้งต้องดูโครงสร้างดีๆ ไม่ให้การเมืองมาแทรกนำเงินไปใช้ผิดประเภท
ส่วน น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. กล่าวว่า เป็นห่วงในมาตรา 6 ที่ระบุว่า เงินกองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินจาก ( 1) เงินที่ได้รับจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงฯ แต่ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ หรือ ระบุชัดเป็นตัวเงิน จึงอาจเป็นปัญหาต่อไป
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้มีการลงมติรับหลักการในร่างกฎหมายดังกล่าว โดยมีมติเห็นด้วย 176 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง และได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ จำนวน 18 คน ตามข้อบังคับฯ ข้อ 89 ที่ระบุให้ การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่ประธานสภาวินิจฉัยว่า มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ หากสภามิได้พิจารณา โดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด โดยมีระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน และมีระยะเวลาการทำงาน 30 วัน
ด้านผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) รองประคณะกรรมาธิการการศึกษา สนช. คนที่ 1 เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ เราพูดถึงเรื่อง พ.ร.บ.สื่อสร้างสรรค์หรือ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ....ให้เป็นเครื่องมือผลิตสื่อสร้างสรรค์เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อว่า ตอนนี้ทางสนช. ก็เตรียมเร่ง พ.ร.บ.สื่อสร้างสรรค์อยู่ เพราะเห็นว่าสื่อมีอิทธิพลกับเด็กและเยาวชนมาก โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์มีทุกบ้าน ไม่ว่าครอบครัวนั้นจะมีฐานะเป็นอย่างไร ก็มีโทรทัศน์ไว้ดู เด็กและเยาวชนก็เปิดละครและรายการต่างๆดู โดยที่ผู้จัดจะสร้างละครแบบเดิมคือ ยังมีความรุนแรง มีตบตี แย่งสามีแย่งผู้ชาย ทะเลาะเบาะแว้ง หรือสื่อไปในทางเพศโดยทีเขียนไว้ว่าขณะที่มีการออกอากาศว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการชม ผมอยากฝากถามผู้ผลิตละครว่า ก่อนจะให้คนดูอย่างเด็กและเยาวชนใช้วิจารณญาณ ผมอยากจะให้ผู้จัดผู้ผลิตละคร หรือละครต่างๆ มีวิจารณญาณในการผลิต การเลือกบท การกำกับ คนที่สร้างสรรค์ผลงานละครโทรทัศน์ต้องมีวิจารณญาณก่อน อย่ามาคาดหวังว่าเด็กและเยาวชนหรือให้พ่อแม่ผู้ปกครองคนในครอบครัวเป็นคนเลือกว่าอะไรควรดูหรือไม่ควรดู ผมคิดว่าผู้ผลิตผู้จัดละครต้องรับผิดชอบสังคมก่อนที่จะผลิตอะไร และหากจะตอบว่าสร้างละครน้ำดีแล้วผู้สนับสนุนหรือสปอนเซอร์มีน้อย เราก็ต้องอธิบายต่อสปอนแซอร์ให้ได้ว่าเพราะอะไร และการรับผิดชอบต่อสังคมอาจจะทำให้เราได้กำไรน้อยลง หากแต่สังคมดีขึ้น ผู้จัดละครไทยควรจะตระหนักเรื่องเหล่านี้ให้มาก มิฉะนั้นแล้วตัวผู้จัดละครโทรทัศน์จะมีส่วนอย่างยิ่งในการเพิ่มปัญหาสังคม ดังนั้นการจะสร้างละครแต่ละเรื่องจึงควรจะสร้างละครที่เสริมสร้างคุณธรรมที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน
"หากร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่าน คงจะมีการแนวคิดและแนวทางในการเข้าไปสนับสนุนผู้สร้าง ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่สร้างสรรค์มากกว่านี้ เพราะอย่าลืมว่าสังคมไทยจะดีขึ้นและพัฒนาไปได้นั้นสื่อและรายการที่สร้างสรรค์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพราะการดูสิ่งดีๆ เรื่องราวที่สร้างสรรค์จะเป็นแรงบันดาลใจดีๆ ให้เด็กๆและเยาวชนได้ ในทางตรงข้ามถ้าเขารับแต่เรื่องราวหรือละครที่มีความรุนแรง ก้าวร้าว ทะเลาะกัน มันก็จะเกิดเป็นความเคยชินขึ้นและเขาก็จะมองเรื่องราวเหล่านั้นเป็นเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก หากเขามองความรุนแรง ก้าวร้าวในละครเป็นเรื่องปกติและชินชากับเรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งเท่ากับผู้จัดผู้ผลิตละครกำลังสร้างให้เด็กและเยาวชนไทยกำลังสร้างเด็กไทยให้มีคุณลักษณะเช่นนั้น แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม" อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าว
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ดีของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อ จึงจำเป็นต้องมีการตรา พ.ร.บ.เพื่อรองรับการดำเนินงานของกองทุนดังกล่าว
นายมณเฑียร บุญตัน ได้อภิปรายว่า ตนรู้สึกเสียดายที่ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่มีเครือข่ายภาคประชาชนได้มีการนำเสนอ และปรับปรุงนั้น ไม่ได้มีการพิจารณาในสภาแห่งนี้ ซึ่งตนมีข้อสังเกตว่า การดำเนินการของสื่อสร้างสรรค์ ยังขาดองค์ประกอบที่จะให้ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย เข้าถึงเนื้อหาของสื่อ ดังนั้น ขอให้ทางคณะกรรมาธิการรับไปพิจารณา
นายสมชาย แสวงการ ระบุว่า ผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กนั้น ขาดแคลนเงินทุนในการผลิต ทำให้ต้องพึ่งพาเงินทุนจากบริษัทจากภายนอก ทำให้ผู้ผลิตต้องผลิตรายการตามทิศทางของเจ้าของทุน ทำให้เด็กขาดคุณภาพ เพราะในปัจจุบันมีเยาวชน 22-23 ล้านคน และใช้ชีวิตอยู่กับสื่อมากถึง 8 ชม.ต่อวัน อีกทั้งคนไทยใช้สื่อมากติดอันดับโลก จากประชากร 65 ล้านคน มีมือถือ 98 ล้านเลขหมาย มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 26 ล้านผู้ใช้ 25 ล้านบัญชีเฟสบุ๊ก 33 ล้านบัญชีไลน์ สื่อสารกันแต่สิ่งไร้สาระ ซึ่งเยาวชน 20 ล้านคน เป็นเด็กจะทำอย่างไรสร้างภูมิคุ้มกัน
ทั้งนี้ กฎหมายนี้เป็นที่เฝ้ารอมานานผ่านการผลักดันมานานนับ 10 ปี แต่ไม่อยากให้ความพยายามสูญเปล่า อย่างที่ผ่านมามีโครงการสร้างห้องสมุดชุมชน แต่สุดท้ายกลายเป็นโรงเลี้ยงสัตว์ จึงอยากเห็นการบริหารจัดการที่ดี ไม่เปิดช่องให้เกิดการทุจริตไปจ้างใครไม่รู้มาผลิต รวมทั้งต้องดูโครงสร้างดีๆ ไม่ให้การเมืองมาแทรกนำเงินไปใช้ผิดประเภท
ส่วน น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สนช. กล่าวว่า เป็นห่วงในมาตรา 6 ที่ระบุว่า เงินกองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินจาก ( 1) เงินที่ได้รับจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงฯ แต่ไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ หรือ ระบุชัดเป็นตัวเงิน จึงอาจเป็นปัญหาต่อไป
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้มีการลงมติรับหลักการในร่างกฎหมายดังกล่าว โดยมีมติเห็นด้วย 176 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง และได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ จำนวน 18 คน ตามข้อบังคับฯ ข้อ 89 ที่ระบุให้ การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่ประธานสภาวินิจฉัยว่า มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ หากสภามิได้พิจารณา โดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด โดยมีระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน และมีระยะเวลาการทำงาน 30 วัน
ด้านผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) รองประคณะกรรมาธิการการศึกษา สนช. คนที่ 1 เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ เราพูดถึงเรื่อง พ.ร.บ.สื่อสร้างสรรค์หรือ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ....ให้เป็นเครื่องมือผลิตสื่อสร้างสรรค์เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อว่า ตอนนี้ทางสนช. ก็เตรียมเร่ง พ.ร.บ.สื่อสร้างสรรค์อยู่ เพราะเห็นว่าสื่อมีอิทธิพลกับเด็กและเยาวชนมาก โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์มีทุกบ้าน ไม่ว่าครอบครัวนั้นจะมีฐานะเป็นอย่างไร ก็มีโทรทัศน์ไว้ดู เด็กและเยาวชนก็เปิดละครและรายการต่างๆดู โดยที่ผู้จัดจะสร้างละครแบบเดิมคือ ยังมีความรุนแรง มีตบตี แย่งสามีแย่งผู้ชาย ทะเลาะเบาะแว้ง หรือสื่อไปในทางเพศโดยทีเขียนไว้ว่าขณะที่มีการออกอากาศว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการชม ผมอยากฝากถามผู้ผลิตละครว่า ก่อนจะให้คนดูอย่างเด็กและเยาวชนใช้วิจารณญาณ ผมอยากจะให้ผู้จัดผู้ผลิตละคร หรือละครต่างๆ มีวิจารณญาณในการผลิต การเลือกบท การกำกับ คนที่สร้างสรรค์ผลงานละครโทรทัศน์ต้องมีวิจารณญาณก่อน อย่ามาคาดหวังว่าเด็กและเยาวชนหรือให้พ่อแม่ผู้ปกครองคนในครอบครัวเป็นคนเลือกว่าอะไรควรดูหรือไม่ควรดู ผมคิดว่าผู้ผลิตผู้จัดละครต้องรับผิดชอบสังคมก่อนที่จะผลิตอะไร และหากจะตอบว่าสร้างละครน้ำดีแล้วผู้สนับสนุนหรือสปอนเซอร์มีน้อย เราก็ต้องอธิบายต่อสปอนแซอร์ให้ได้ว่าเพราะอะไร และการรับผิดชอบต่อสังคมอาจจะทำให้เราได้กำไรน้อยลง หากแต่สังคมดีขึ้น ผู้จัดละครไทยควรจะตระหนักเรื่องเหล่านี้ให้มาก มิฉะนั้นแล้วตัวผู้จัดละครโทรทัศน์จะมีส่วนอย่างยิ่งในการเพิ่มปัญหาสังคม ดังนั้นการจะสร้างละครแต่ละเรื่องจึงควรจะสร้างละครที่เสริมสร้างคุณธรรมที่ดี และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน
"หากร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผ่าน คงจะมีการแนวคิดและแนวทางในการเข้าไปสนับสนุนผู้สร้าง ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่สร้างสรรค์มากกว่านี้ เพราะอย่าลืมว่าสังคมไทยจะดีขึ้นและพัฒนาไปได้นั้นสื่อและรายการที่สร้างสรรค์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพราะการดูสิ่งดีๆ เรื่องราวที่สร้างสรรค์จะเป็นแรงบันดาลใจดีๆ ให้เด็กๆและเยาวชนได้ ในทางตรงข้ามถ้าเขารับแต่เรื่องราวหรือละครที่มีความรุนแรง ก้าวร้าว ทะเลาะกัน มันก็จะเกิดเป็นความเคยชินขึ้นและเขาก็จะมองเรื่องราวเหล่านั้นเป็นเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก หากเขามองความรุนแรง ก้าวร้าวในละครเป็นเรื่องปกติและชินชากับเรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งเท่ากับผู้จัดผู้ผลิตละครกำลังสร้างให้เด็กและเยาวชนไทยกำลังสร้างเด็กไทยให้มีคุณลักษณะเช่นนั้น แม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม" อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าว