ASTVผู้จัดการรายวัน - นักวิชาการติงการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีจุดอ่อนที่อัตราภาษีต่ำ และอาจไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่มีการซื้อขายที่ดินสูงมากในพื้นที่ชายแดน และหวั่นผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรที่เช่าที่ดินต้องแบกรับภาระภาษีแทน
นางปัทมวดี โพชนุกูล นักวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในหัวข้อ “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทุน คน ที่ดิน” ในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2558 ของสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ วานนี้(11 พ.ย.) ว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าเสนอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมองว่าเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่ดิน แต่มีจุดอ่อนตรงที่อัตราเรียกเก็บภาษีที่ต่ำ อาจไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดิน ซึ่งปัจจุบันมีการซื้อขายกันสูงมากโดยเฉพาะบริเวณชายแดน เพราะคนที่มีอำนาจซื้อมากก็จะยังคงซื้อที่ดินกักตุนไว้อยู่
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกรชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองแต่ต้องเช่าที่นา อาจได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินจะผลักภาระดังกล่าวให้กับเกษตรกรได้ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระมากขึ้นทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำด้านสังคมตามมา และควรสนุบสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งกองทุนที่ดินขึ้นมาดูแลชาวบ้านในท้องถิ่นที่เดือดร้อน เพื่อไม่ให้ที่ดินตกไปอยู่ในมือของนายทุน โดยรูปแบบกองทุนให้ชุมชนในพื้นที่เป็นผู้ออกแบบเอง
นายกนก วงษ์ตระหง่าน อดีตนักวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำของคนว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งเแก้ไขความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาอย่างจริงจังและทันที ไม่ต้องการให้มีการวางนโยบายแก้ไข เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลทุกยุคมีแต่วางนโยบายจนทำให้คุณภาพการศึกษาของไทยเทียบต่ำสุดในโลก ขณะที่รัฐอัดฉีดงบประมาณด้านการศึกษาสูงถึง 5 แสนล้านบาท จะเห็นได้จากคะแนนโอเน็ตระดับชั้นมัธยมศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา และคะแนนวิชาหลักทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอังกฤษพบว่าส่วนใหญ่สอบตก ขณะที่เด็กนักเรียนที่เก่งมีเพียง 10% ที่จะคะแนนสูงมากแต่ยังมีความเห็นแก่ตัว
บ่งชี้ให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมามักทุ่มงบให้กับครูในการฝึกอบรม การซื้ออุปกรณ์การศึกษา และจ่ายค่าวิทยฐานะให้กับครูเป็นเงินที่สูงมาก ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษา พบว่าครูได้ประโยชน์มาก จนครูขาดจิตสำนึกการเป็นผู้ให้ แต่มุ่งหวังความก้าวหน้าของตัวแทนที่จะเป็นความสำเร็จของนักเรียน ทำให้ผู้ปกครองเริ่มผิดหวังกับระบบการศึกษาที่นักเรียน นักศึกษาจบมาแล้วไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ต้องเป็นภาระต่อครอบครัว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากในระบบการศึกษาของไทย
วิธีแก้ไขคุณภาพการศึกษาที่ด้อยของไทยนั้น ควรเปลี่ยนแนวคิดใหม่ เป็นเริ่มต้นที่ครูแล้วจบลงที่นักเรียน ไม่ใช้เริ่มต้นที่ครูแล้วสิ้นสุดลงที่ครู โดยปฏิรูปการสอนตั้งแต่วิชาชีพของครูใหม่ให้มีใจรักในวิชาชีพ พร้อมที่จะทุ่มเทพัฒนาการสอนให้เด็กนักเรียนได้เข้าใจ
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการด้านบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่า บริษัทที่มีขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้มากกว่าบริษัทขนาดกลางและเล็ก ขณะที่กฎหมายการแข่งขันทางการค้าไทยก็ล้าหลังเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียนทั้งๆที่ไทยเริ่มบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก่อนประเทศอื่นๆแต่ไม่ได้มีการบังคับใช้จริงจัง
จากการทำการสำรวจพบว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี2547 พบว่า รายได้ของบริษัทขนาดใหญ่ 20 รายแรก ทำรายได้มีสัดส่วนอยู่ที่ 83% แต่ปี 2556 พบว่าสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 89% บ่งชี้ว่าธุรกิจขนาดกลางและเล็กถูกบีบให้เล็กลง เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่อาศัยความได้เปรียบคู่แข่งโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจผูกขาด และอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อย (Non Traded Sector)
นางปัทมวดี โพชนุกูล นักวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในหัวข้อ “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทุน คน ที่ดิน” ในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2558 ของสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ วานนี้(11 พ.ย.) ว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าเสนอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมองว่าเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่ดิน แต่มีจุดอ่อนตรงที่อัตราเรียกเก็บภาษีที่ต่ำ อาจไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดิน ซึ่งปัจจุบันมีการซื้อขายกันสูงมากโดยเฉพาะบริเวณชายแดน เพราะคนที่มีอำนาจซื้อมากก็จะยังคงซื้อที่ดินกักตุนไว้อยู่
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกรชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองแต่ต้องเช่าที่นา อาจได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินจะผลักภาระดังกล่าวให้กับเกษตรกรได้ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระมากขึ้นทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำด้านสังคมตามมา และควรสนุบสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งกองทุนที่ดินขึ้นมาดูแลชาวบ้านในท้องถิ่นที่เดือดร้อน เพื่อไม่ให้ที่ดินตกไปอยู่ในมือของนายทุน โดยรูปแบบกองทุนให้ชุมชนในพื้นที่เป็นผู้ออกแบบเอง
นายกนก วงษ์ตระหง่าน อดีตนักวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความเหลื่อมล้ำของคนว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งเแก้ไขความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาอย่างจริงจังและทันที ไม่ต้องการให้มีการวางนโยบายแก้ไข เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลทุกยุคมีแต่วางนโยบายจนทำให้คุณภาพการศึกษาของไทยเทียบต่ำสุดในโลก ขณะที่รัฐอัดฉีดงบประมาณด้านการศึกษาสูงถึง 5 แสนล้านบาท จะเห็นได้จากคะแนนโอเน็ตระดับชั้นมัธยมศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา และคะแนนวิชาหลักทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอังกฤษพบว่าส่วนใหญ่สอบตก ขณะที่เด็กนักเรียนที่เก่งมีเพียง 10% ที่จะคะแนนสูงมากแต่ยังมีความเห็นแก่ตัว
บ่งชี้ให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมามักทุ่มงบให้กับครูในการฝึกอบรม การซื้ออุปกรณ์การศึกษา และจ่ายค่าวิทยฐานะให้กับครูเป็นเงินที่สูงมาก ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษา พบว่าครูได้ประโยชน์มาก จนครูขาดจิตสำนึกการเป็นผู้ให้ แต่มุ่งหวังความก้าวหน้าของตัวแทนที่จะเป็นความสำเร็จของนักเรียน ทำให้ผู้ปกครองเริ่มผิดหวังกับระบบการศึกษาที่นักเรียน นักศึกษาจบมาแล้วไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ต้องเป็นภาระต่อครอบครัว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากในระบบการศึกษาของไทย
วิธีแก้ไขคุณภาพการศึกษาที่ด้อยของไทยนั้น ควรเปลี่ยนแนวคิดใหม่ เป็นเริ่มต้นที่ครูแล้วจบลงที่นักเรียน ไม่ใช้เริ่มต้นที่ครูแล้วสิ้นสุดลงที่ครู โดยปฏิรูปการสอนตั้งแต่วิชาชีพของครูใหม่ให้มีใจรักในวิชาชีพ พร้อมที่จะทุ่มเทพัฒนาการสอนให้เด็กนักเรียนได้เข้าใจ
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการด้านบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่า บริษัทที่มีขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้มากกว่าบริษัทขนาดกลางและเล็ก ขณะที่กฎหมายการแข่งขันทางการค้าไทยก็ล้าหลังเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียนทั้งๆที่ไทยเริ่มบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก่อนประเทศอื่นๆแต่ไม่ได้มีการบังคับใช้จริงจัง
จากการทำการสำรวจพบว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี2547 พบว่า รายได้ของบริษัทขนาดใหญ่ 20 รายแรก ทำรายได้มีสัดส่วนอยู่ที่ 83% แต่ปี 2556 พบว่าสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 89% บ่งชี้ว่าธุรกิจขนาดกลางและเล็กถูกบีบให้เล็กลง เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่อาศัยความได้เปรียบคู่แข่งโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจผูกขาด และอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อย (Non Traded Sector)