ASTVผู้จัดการรายวัน-"บวรศักดิ์" นำกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สาบานวัดพระแก้ว ยืนยันจะจัดทำด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม เป็นกลาง ไร้อคติ เพื่อประโยชน์ของคนไทยและประเทศชาติ "วิษณุ" เผย "ประวิตร" จะเป็นเงาติดตามการทำงานของ กมธ. ระบุการแก้ไขอาจมีบางส่วนไปบล็อกตระกูลชินบ้าง แต่ยันไม่ได้ตั้งใจ เปิดไทม์ไลน์ ม.ค.ปีหน้า เริ่มยกร่าง ขีดเส้น 4 ก.ย. นำขึ้นทูลเกล้าฯ คาดไม่มีการทำประชามติ เพราะได้ตั้งเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนในทุกภูมิภาคแล้ว
เมื่อเวลา 07.00 น. วานนี้ (5 พ.ย.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 33 คน เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ สักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สักการะพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และสักการะศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ
นายบวรศักดิ์ กล่าวภายหลังเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองว่า ตนได้นำ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญปฏิญาณตนต่อหน้าพระแก้วมรกตว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยึดประโยชน์ของประเทศชาติและประโยชน์ของประชาชนอย่างสูงสุด โดยตนคาดหวังว่าความสามัคคีของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะร่วมยกร่างและจัดทำรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และแก้ปัญหาความของบ้านเมืองให้ยุติลงได้
"ผมขอฝากถึงประชาชนที่มีความคิดเห็นต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าให้ส่งความเห็นมายังกรรมาธิการฯ ได้ ผ่านทางคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน รวมถึงพรรคการเมืองทุกพรรค" นายบวรศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ได้เดินทางกลับมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันต่อแนวทางดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายบวรศักดิ์ ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้ารับฟังหรือถ่ายภาพใดๆ เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว
สำหรับกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ร่วมเดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วย นายจรัส สุวรรณมาลา และ น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา เนื่องจากติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศ และนายปกรณ์ ปรียากร เนื่องจากนับถือศาสนาอิสลาม
***ทาบ "ประวิตร"เงาติดตามการทำงาน กมธ.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวถึงกรณีเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งคณะทำงานติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 120 วัน ครบกำหนดวันที่ 20 เม.ย. 58 ในช่วงเวลานี้อาจมีการรณรงค์ กดดัน ผลักดัน หรือเสนอแนะ ไปที่กมธ.ยกร่างฯฉะนั้นรัฐบาลและคสช.ควรจะมีติดตามเพื่อว่าหากกมธ.ต้องการความสะดวกหรือต้องการข้อมูล ความร่วมมือ งบประมาณ ก็ต้องจัดให้ เมื่อยกร่างเสร็จต้องเอากลับมาถามครม.และคสช.ตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ ฉะนั้น ถ้าไม่ติดตามในระหว่างนี้ถึงเวลานั้นคงต้องทำการบ้านไม่ถูก และคงมีบางเรื่องที่รัฐบาลต้องมีกฎหมายออกมารองรับ จะรอให้ร่างเสร็จแล้วค่อยร่างคงไม่ทัน ถ้าอยากเลือกตั้งเร็วจึงต้องมีการติดตาม ซึ่งเป็นที่มาการตั้งคณะทำงานร่วมครม.และคสช.โดยมอบให้นายกฯและพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานที่ปรึกษาคสช.ไปคิดรูปแบบ ซึ่งเท่าที่คุยกับพล.อ.ประวิตร ท่านได้ปรารภว่าขณะนี้มีคณะที่ปรึกษาคสช.อยู่แล้ว อาจจะใช้เวทีตรงนั้นติดตาม และถ้าจำเป็นอาจจะเชิญใครมาร่วมเฉพาะกิจในการติดตามก็ได้
***รับอาจบล็อกตระกูลชินบ้างแต่ไม่ตั้งใจ
เมื่อถามว่า มีความไม่สบายใจที่กมธ.หลายคนถูกมองมีสีหรือมาร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะที่เขียนตีกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย นายวิษณุ กล่าวว่า มันยังไม่เกิด อย่าตีตนไปก่อนไข้ โอกาสที่จะเกิดมันยาก เพราะอยู่ท่ามกลางของคน ตนไม่เชื่อว่าองค์ประกอบของกมธ.ที่มีอยู่ก็ดี สถานการณ์ของประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็ดี ซึ่งต้องการความปรองดองและต้องการการปฏิรูป มันยังจะย้อนกลับไปสู่สิ่งที่ทำให้เกิดการติฉินนินทา แต่ถ้าหากว่าผลมันจะเกิดขึ้นบ้าง มันคงไม่ได้เกิดขึ้นจากการตั้งใจหรือตั้งธงให้เป็นเช่นนั้น แต่เป็นผลจากการปฏิรูปและความคิดที่ว่านี่คือสิ่งที่ดีหรือคำตอบสุดท้ายที่ประเทศต้องการมากกว่า ถ้าบังเอิญจะต้องออกมาในทางที่เป็นผลบวกหรือลบแก่ใคร แต่เชื่อว่าไม่มีผู้ใดยอมให้เกิดความตั้งใจตั้งธงอย่างนั้น จนขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณแบบนั้นตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ถ้าย้อนกลับไป
***คาดเลือกตั้งได้ต้นปี 59
เมื่อถามว่า เชื่อมั่นในตัวประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เชื่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นคนดีตั้งใจดี พยายามประนีประนอมเชื่อว่าโดยความแข็งที่มีอยู่คือ ความรู้ และโดยความอ่อนที่ท่านมีคือ รับฟังความเห็น ไม่ได้เผด็จการ
เมื่อถามถึงกรอบเวลาที่จะมีการเลือกตั้งนายวิษณุ กล่าวว่า พูดให้ยาวก็ประมาณเดือน ก.ย.-ต.ค.2558 การเลือกตั้งจะเกิดทันทีไม่ได้ เพราะต้องมีกฎหมายลูก ถ้ารัฐธรรมนูญเขียนละเอียด ก็ไม่ต้องมีกฎหมายลูก ถ้าละเอียดต้องมีกฎหมายลูก 2-3 ฉบับ ซึ่งจะใช้เวลาอีก 2 เดือน หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ แล้วยังต้องปล่อยให้มีการหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น การเลือกตั้งก็ประมาณต้นปี 2559 ก่อนเชงเม้ง ถ้าเลยเชงเม้งก็ช่วงไหว้พระจันทร์
**เปิดไทม์ไลน์ ทูลเกล้าฯ รัฐธรรมนูญใหม่4ก.ย.58
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.00 น. ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อละลายพฤติกรรม โดยมีอาจารย์จากภาควิชาสันทนาการ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้นำทำกิจกรรมดังกล่าว จากนั้นเวลา 12.00 น. ได้รับประทานอาหารร่วมกัน ที่สโมสรรัฐสภา ก่อนที่ช่วงบ่ายจะเข้าประชุมอีกครั้ง เป็นการแนะนำตัวให้ที่ประชุมได้รู้จัก และมีการพูดคุยถึงกรอบการทำงานของกมธ. ยกร่างฯ
ในส่วนของปฏิทินการทำงานของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดไว้ดังนี้ เดือนม.ค.-เม.ย.2558 เป็นระยะเวลาของการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยวันที่ 17 เม.ย.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ต้องจัดทำรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
วันที่ 26 เม.ย.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ สปช. ต้องพิจารณาให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ , วันที่ 16 พ.ค.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ ครม. คสช. สามารถเสนอความเห็น หรือยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ , วันที่ 25 พ.ค.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ สปช. สามารถยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ต่อประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ , วันที่ 23 ก.ค.2558 เป็นวันสุดท้าย ที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ และเสนอ สปช. เพื่อพิจารณา, วันที่ 6 ส.ค.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ สปช. มีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 37 วรรคสอง กำหนด และวันที่ 4 ก.ย.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ประธาน สปช. ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ตามที่รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว มาตรา 32 วรรคสองกำหนด
**เปิดเวทีฟังความเห็นแทนประชามติ
พล.ท.นคร สุขประเสริฐ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการวางแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อประเด็นการรับฟังความเห็นของประชาชนว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ไม่ได้กำหนดให้ต้องนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำประชามติก่อน ดังนั้น เท่าที่ได้หารือกับ สปช. สายจังหวัด มีความเห็นร่วมกันว่า จะจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหา การปฏิรูปประเทศ และข้อเสนอแนะต่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 77 จังหวัด เพื่อสร้างการยึดโยงกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และลดคำครหาที่ว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมถึงการแก้ปัญหาของประเทศ เป็นแบบบนลงล่าง หรือบนหอคอยงาช้าง ส่วนรูปแบบหลักนั้น จะใช้กลไกของกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา สปช. ทั้ง 18 คณะ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดดำเนินการ
**กมธ.ยกร่างฯประชุมนัดแรกวันนี้
นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ออกหนังสือเชิญคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน ประชุมในวันที่ 6 พ.ย.2557 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3 เพื่อเลือกรองประธานคณะกรรมาธิการ และตำแหน่งต่างๆ รวมถึงวางกรอบการดำเนินงานยกร่างรัฐธรรมนูญ
**ร่างรธน.ต้องเปิดกว้างความเห็นประชาชน
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปช. ในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวทางการทำงานว่า ได้หารือถึงกรอบการทำงานคร่าวๆ เนื่องจากระยะเวลาในการทำงานค่อนข้างจำกัด อีกทั้งยังมีวันหยุดเทศกาลสำคัญๆ อีกหลายวันด้วย แต่ยังไม่ได้กำหนดชัดเจน เนื่องจากสมาชิกยังเดินทางมากันไม่ครบ และยังได้พูดคุยถึงการตั้งคณะอนุกรรมาธิการต่างๆ ว่าอาจจะให้ทางอนุกรรมาธิการได้ทำงานในช่วงเช้า และเข้าร่วมกับกรรมาธิการในช่วงบ่าย จะได้ทำงานยาวไปถึงช่วงค่ำได้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการนำรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ มาพิจารณาปรับใช้หรือไม่ นายคำนูณกล่าวว่า คงต้องนำมาทั้งปี 40 และปี 50 เพราะถือว่ามาจากร่างเดียวกัน คงจะต้องนำมาพิจารณาให้หลากหลาย แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องยึดหลักรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ด้วย และที่สำคัญหลักในการเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และเข้าร่วม ก็ถือว่าเป็นอีกขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป
เมื่อเวลา 07.00 น. วานนี้ (5 พ.ย.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นำกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 33 คน เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้แก่ สักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สักการะพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และสักการะศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ
นายบวรศักดิ์ กล่าวภายหลังเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองว่า ตนได้นำ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญปฏิญาณตนต่อหน้าพระแก้วมรกตว่าจะจัดทำรัฐธรรมนูญด้วยความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม เป็นกลาง ปราศจากอคติ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยึดประโยชน์ของประเทศชาติและประโยชน์ของประชาชนอย่างสูงสุด โดยตนคาดหวังว่าความสามัคคีของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะร่วมยกร่างและจัดทำรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน และแก้ปัญหาความของบ้านเมืองให้ยุติลงได้
"ผมขอฝากถึงประชาชนที่มีความคิดเห็นต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าให้ส่งความเห็นมายังกรรมาธิการฯ ได้ ผ่านทางคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน รวมถึงพรรคการเมืองทุกพรรค" นายบวรศักดิ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ได้เดินทางกลับมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันต่อแนวทางดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายบวรศักดิ์ ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้ารับฟังหรือถ่ายภาพใดๆ เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว
สำหรับกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ร่วมเดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วย นายจรัส สุวรรณมาลา และ น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา เนื่องจากติดภารกิจเดินทางไปต่างประเทศ และนายปกรณ์ ปรียากร เนื่องจากนับถือศาสนาอิสลาม
***ทาบ "ประวิตร"เงาติดตามการทำงาน กมธ.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวถึงกรณีเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งคณะทำงานติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 120 วัน ครบกำหนดวันที่ 20 เม.ย. 58 ในช่วงเวลานี้อาจมีการรณรงค์ กดดัน ผลักดัน หรือเสนอแนะ ไปที่กมธ.ยกร่างฯฉะนั้นรัฐบาลและคสช.ควรจะมีติดตามเพื่อว่าหากกมธ.ต้องการความสะดวกหรือต้องการข้อมูล ความร่วมมือ งบประมาณ ก็ต้องจัดให้ เมื่อยกร่างเสร็จต้องเอากลับมาถามครม.และคสช.ตามที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ ฉะนั้น ถ้าไม่ติดตามในระหว่างนี้ถึงเวลานั้นคงต้องทำการบ้านไม่ถูก และคงมีบางเรื่องที่รัฐบาลต้องมีกฎหมายออกมารองรับ จะรอให้ร่างเสร็จแล้วค่อยร่างคงไม่ทัน ถ้าอยากเลือกตั้งเร็วจึงต้องมีการติดตาม ซึ่งเป็นที่มาการตั้งคณะทำงานร่วมครม.และคสช.โดยมอบให้นายกฯและพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม ในฐานะประธานที่ปรึกษาคสช.ไปคิดรูปแบบ ซึ่งเท่าที่คุยกับพล.อ.ประวิตร ท่านได้ปรารภว่าขณะนี้มีคณะที่ปรึกษาคสช.อยู่แล้ว อาจจะใช้เวทีตรงนั้นติดตาม และถ้าจำเป็นอาจจะเชิญใครมาร่วมเฉพาะกิจในการติดตามก็ได้
***รับอาจบล็อกตระกูลชินบ้างแต่ไม่ตั้งใจ
เมื่อถามว่า มีความไม่สบายใจที่กมธ.หลายคนถูกมองมีสีหรือมาร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะที่เขียนตีกัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคเพื่อไทย นายวิษณุ กล่าวว่า มันยังไม่เกิด อย่าตีตนไปก่อนไข้ โอกาสที่จะเกิดมันยาก เพราะอยู่ท่ามกลางของคน ตนไม่เชื่อว่าองค์ประกอบของกมธ.ที่มีอยู่ก็ดี สถานการณ์ของประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็ดี ซึ่งต้องการความปรองดองและต้องการการปฏิรูป มันยังจะย้อนกลับไปสู่สิ่งที่ทำให้เกิดการติฉินนินทา แต่ถ้าหากว่าผลมันจะเกิดขึ้นบ้าง มันคงไม่ได้เกิดขึ้นจากการตั้งใจหรือตั้งธงให้เป็นเช่นนั้น แต่เป็นผลจากการปฏิรูปและความคิดที่ว่านี่คือสิ่งที่ดีหรือคำตอบสุดท้ายที่ประเทศต้องการมากกว่า ถ้าบังเอิญจะต้องออกมาในทางที่เป็นผลบวกหรือลบแก่ใคร แต่เชื่อว่าไม่มีผู้ใดยอมให้เกิดความตั้งใจตั้งธงอย่างนั้น จนขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณแบบนั้นตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ถ้าย้อนกลับไป
***คาดเลือกตั้งได้ต้นปี 59
เมื่อถามว่า เชื่อมั่นในตัวประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เชื่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นคนดีตั้งใจดี พยายามประนีประนอมเชื่อว่าโดยความแข็งที่มีอยู่คือ ความรู้ และโดยความอ่อนที่ท่านมีคือ รับฟังความเห็น ไม่ได้เผด็จการ
เมื่อถามถึงกรอบเวลาที่จะมีการเลือกตั้งนายวิษณุ กล่าวว่า พูดให้ยาวก็ประมาณเดือน ก.ย.-ต.ค.2558 การเลือกตั้งจะเกิดทันทีไม่ได้ เพราะต้องมีกฎหมายลูก ถ้ารัฐธรรมนูญเขียนละเอียด ก็ไม่ต้องมีกฎหมายลูก ถ้าละเอียดต้องมีกฎหมายลูก 2-3 ฉบับ ซึ่งจะใช้เวลาอีก 2 เดือน หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ แล้วยังต้องปล่อยให้มีการหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น การเลือกตั้งก็ประมาณต้นปี 2559 ก่อนเชงเม้ง ถ้าเลยเชงเม้งก็ช่วงไหว้พระจันทร์
**เปิดไทม์ไลน์ ทูลเกล้าฯ รัฐธรรมนูญใหม่4ก.ย.58
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.00 น. ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อละลายพฤติกรรม โดยมีอาจารย์จากภาควิชาสันทนาการ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้นำทำกิจกรรมดังกล่าว จากนั้นเวลา 12.00 น. ได้รับประทานอาหารร่วมกัน ที่สโมสรรัฐสภา ก่อนที่ช่วงบ่ายจะเข้าประชุมอีกครั้ง เป็นการแนะนำตัวให้ที่ประชุมได้รู้จัก และมีการพูดคุยถึงกรอบการทำงานของกมธ. ยกร่างฯ
ในส่วนของปฏิทินการทำงานของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดไว้ดังนี้ เดือนม.ค.-เม.ย.2558 เป็นระยะเวลาของการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยวันที่ 17 เม.ย.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ต้องจัดทำรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
วันที่ 26 เม.ย.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ สปช. ต้องพิจารณาให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ , วันที่ 16 พ.ค.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ ครม. คสช. สามารถเสนอความเห็น หรือยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ , วันที่ 25 พ.ค.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ สปช. สามารถยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ต่อประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ , วันที่ 23 ก.ค.2558 เป็นวันสุดท้าย ที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จ และเสนอ สปช. เพื่อพิจารณา, วันที่ 6 ส.ค.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ สปช. มีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 37 วรรคสอง กำหนด และวันที่ 4 ก.ย.2558 เป็นวันสุดท้ายที่ประธาน สปช. ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ตามที่รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว มาตรา 32 วรรคสองกำหนด
**เปิดเวทีฟังความเห็นแทนประชามติ
พล.ท.นคร สุขประเสริฐ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการวางแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อประเด็นการรับฟังความเห็นของประชาชนว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ไม่ได้กำหนดให้ต้องนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำประชามติก่อน ดังนั้น เท่าที่ได้หารือกับ สปช. สายจังหวัด มีความเห็นร่วมกันว่า จะจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหา การปฏิรูปประเทศ และข้อเสนอแนะต่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 77 จังหวัด เพื่อสร้างการยึดโยงกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และลดคำครหาที่ว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมถึงการแก้ปัญหาของประเทศ เป็นแบบบนลงล่าง หรือบนหอคอยงาช้าง ส่วนรูปแบบหลักนั้น จะใช้กลไกของกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา สปช. ทั้ง 18 คณะ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดดำเนินการ
**กมธ.ยกร่างฯประชุมนัดแรกวันนี้
นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ออกหนังสือเชิญคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน ประชุมในวันที่ 6 พ.ย.2557 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3 เพื่อเลือกรองประธานคณะกรรมาธิการ และตำแหน่งต่างๆ รวมถึงวางกรอบการดำเนินงานยกร่างรัฐธรรมนูญ
**ร่างรธน.ต้องเปิดกว้างความเห็นประชาชน
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปช. ในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวทางการทำงานว่า ได้หารือถึงกรอบการทำงานคร่าวๆ เนื่องจากระยะเวลาในการทำงานค่อนข้างจำกัด อีกทั้งยังมีวันหยุดเทศกาลสำคัญๆ อีกหลายวันด้วย แต่ยังไม่ได้กำหนดชัดเจน เนื่องจากสมาชิกยังเดินทางมากันไม่ครบ และยังได้พูดคุยถึงการตั้งคณะอนุกรรมาธิการต่างๆ ว่าอาจจะให้ทางอนุกรรมาธิการได้ทำงานในช่วงเช้า และเข้าร่วมกับกรรมาธิการในช่วงบ่าย จะได้ทำงานยาวไปถึงช่วงค่ำได้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการนำรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ มาพิจารณาปรับใช้หรือไม่ นายคำนูณกล่าวว่า คงต้องนำมาทั้งปี 40 และปี 50 เพราะถือว่ามาจากร่างเดียวกัน คงจะต้องนำมาพิจารณาให้หลากหลาย แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องยึดหลักรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ด้วย และที่สำคัญหลักในการเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และเข้าร่วม ก็ถือว่าเป็นอีกขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป