เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (29ต.ค.) มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยมีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ว่าที่ประธาน สปช. ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมเฉพาะคราว เพื่อดำเนินการวาระสำคัญคือ การให้สมาชิกคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 20 คน โดยมีผู้สมัครทั้งสิ้น 31 คน ดังนี้
ด้านการเมือง 6 คน 1. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช 2.นายชูชัย ศุภวงศ์ 3.นางตรึงใจ บูรณสมภพ 4.นายไพบูลย์ นิติตะวัน 5.นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ 6.นายอมร วานิชวิวัฒน์ , ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มี 1 คน คือนางถวิลวดี บุรีกุล, ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มี 5 คน ได้แก่ 1.นายคำนูณ สิทธิสมาน 2.พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ 3.นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ 4.นายอุดม เฟื่องฟุ้ง และ 5.นายวรรณชัย บุญบำรุง
ด้านการปกครองท้องถิ่น มี 4 คน ได้แก่ 1. นายจรัส สุวรรณมาลา 2.นายไพโรจน์ พรหมสาสน์ 3.นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ และนายวุฒิสาร ตันไชย , ด้านการศึกษา มี 2 คน ได้แก่ นางทิชา ณ นคร และ นายมีชัย วีระไวทยะ, ด้านเศรษฐกิจ มี 1 คน ได้แก่ นางนรีวรรณ จิตนกานนท์, ด้านพลังงาน มี 1 คน ได้แก่ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวินิช
ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มี 3 คน ได้แก่ 1.นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ 2.น.ส.สุภัทรา นาคะผิว และ 3.พล.อ.ชูศิลป์ คุณาไทย, ด้านสื่อสารมวลชน มี 1 คนได้แก่ นายมานิจ สุขสมจิตร, ด้านสังคม มี 1 คน คือ น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา ด้านอื่นๆ จำนวน 2 คน ได้แก่ นายนิรันดร์ พันทรกิจ และ พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์
ขณะที่รายจังหวัด ที่แบ่งเป็น 4 ภาค มีตัวแทนที่เข้าสมัครภาคละ 1 คน ได้แก่ ภาคเหนือ คือ นายจุมพล สุขมั่น, ภาคใต้ คือ นายเชิดชัย วงศ์เสรี, ภาคกลาง-ตะวันออก คือ นายประชา เตรัตน์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ พล.ท.นคร สุขประเสริฐ
ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการลงคะแนน นายเทียนฉาย ได้ให้ผู้สมัครแต่ละคน แสดงตนด้วยการแนะนำที่มาแต่ละด้าน ประวัติการศึกษา และผลงานที่ผ่านมา คนละ 2 นาที
หลังจากใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง ที่ประชุมได้ดำเนินการคัดเลือก โดยนายเทียนฉายได้ทำการตรวจสอบองค์ประชุมก่อน ปรากฏว่า มีสมาชิกจำนวน 234 คน จากนั้นให้สมาชิกลงคะแนนด้วยวิธีลับตามลำดับรายชื่อที่ขาน ด้วยวิธีการให้สมาชิกใช้ดินสอฝนหมายเลขที่ประสงค์จะเลือกลงบนกระดาษในคูหาที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียม โดยได้แจกชื่อ และหมายเลขผู้สมัครให้กับสมาชิก เพื่อประกอบในการลงคะแนนด้วย จากนั้นให้นำไปหย่อนลงในกล่องสีเขียว โดยนายเทียนฉาย ได้กำชับช่างภาพ ห้ามทำการซูมภาพขณะที่สมาชิกกำลังทำการลงคะแนนด้วย
หลังจากใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง การลงคะแนนได้เสร็จสิ้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำกระดาษที่สมาชิกลงคะแนน ไปใส่ในเครื่องนับคะแนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่รอผลการนับคะแนน มีสมาชิกบางส่วนทยอยเดินทางกลับบ้าน หลังจากลงคะแนนเสร็จสิ้น นายชูชาติ อินสว่าง สปช. จ.สุพรรณบุรี ได้ลุกขึ้นถามว่า เมื่อลงคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว จำเป็นที่สมาชิกต้องอยู่เพื่อให้การรับรองทั้ง 20 คน หรือไม่ ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. ด้านกฎหมาย แนะนำว่า ผลการคัดเลือกกรรมาธิการ 20 คน จำเป็นต้องได้รับการลงมติรับรองจากที่ประชุมใหญ่สปช. ขอให้ประธาน ประกาศให้สมาชิกอยู่ก่อน ดังนั้นนายเทียนฉาย จึงได้กล่าวว่า ขณะนี้การประชุมยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อได้กรรมาธิการครบ 20 คนแล้ว ตนจะประกาศปิดประชุม
จนเมื่อเวลา 18.15 น. นายเทียนฉาย ประกาศผลการลงคะแนนดังนี้ ลำดับที่ 1 นายมานิจ สุขสมจิตร ด้านสื่อมวลชน 222 คะแนน 2 .นายประชา เตรัตน์ ภาคกลางและตะวันออก 209 คะแนน 3 .นางถวิลวดี บุรีกุล ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 206 คะแนน 4. น.ส. สมสุข บุญญะบัญชา ด้านสังคม 202 คะแนน 5. นายเชิดชัย วงศ์เสรี ภาคใต้ 198 คะแนน 6. พล.ท.นคร สุขประเสริฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 197 คะแนน 7. พล.ท.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ด้านพลังงาน 195 คะแนน 8. นายจุมพล สุขมั่น ภาคเหนือ 192 คะแนน 9. นายวุฒิสาร ตันไชย ด้านการปกครองท้องถิ่น 188 คะแนน
10.นายคำนูณ สิทธิสมาน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 182 คะแนน 11.นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ด้านการเมือง 177 คะแนน 12. นางทิชา ณ นคร ด้านการศึกษา 171 คะแนน 13. นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ด้านเศรษฐกิจ 163 คะแนน 14. นายจรัส สุวรรณมาลา ด้านปกครองท้องถิ่น 142 คะแนน 15. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ด้านการเมือง 125 คะแนน 16. น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 125 คะแนน 17. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ด้าสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 122 คะแนน 18. นายชูชัย ศุภวงศ์ ด้านการเมือง 118 คะแนน 19. พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ ด้านอื่นๆ 118 คะแนน และ 20. นายมีชัย วีระไวทยะ ด้านการศึกษา 117 คะแนน โดยมีจำนวนบัตรผู้ลงคะแนนทั้งสิ้น 239 ใบ ไม่มีบัตรเสีย และไม่มีการงดออกเสียง
**"คำนูณ"เผยมีแนวคิดอยู่ในหัวแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปช. ในฐานะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังจากที่ได้รับเลือกจาก สปช.ให้เป็น 1 ใน 20 คนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญว่า จากนี้ไปก็ถือว่ามีงานหนักมากขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ เพราะตนไม่เคยทำมาก่อน ส่วนกรอบทำงานต่อจากนี้ ก็ต้องดูความคิดส่วนตัวของคณะกรรมาธิการฯก่อน ว่าคิดอย่างไรกันบ้าง สำหรับตนก็มีแนวคิดต่อกฎหมายหลายๆ มาตราไว้แล้ว แต่ความสำคัญก็คงต้องยกให้กับทางสนช.เป็นหลักด้วย ซึ่งการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ก็จะต้องนำกฎหมายของปีก่อนๆ มาร่วมกันพิจารณาหลายๆ ฉบับ คงไม่มีโมเดลฉบับใดเป็นต้นแบบ
ทั้งนี้นายคำนูณ ยังกล่าวถึงกระบวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้มีคำสั่งให้บรรจุวาระถอดถอนในวันพุธ ที่ 12 พ.ย.นี้ ว่าให้ จับตาดูกระบวนการครั้งนี้ เพราะจะไม่เหมือนกับกรณีการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ที่ครั้งนั้นเป็นเพียงวาระหารือ ว่าจะรับหรือไม่รับเท่านั้น แต่สำหรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือการนับหนึ่งเริ่มต้นกระบวนการถอดถอนทันที ซึ่งหมายความว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องมาชี้แจง เหมือนกับการถอดถอนหลาย ๆ กรณีในวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม ตนขอชื่อชมการทำหน้าที่ของนายพรเพชร ด้วย
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน สปช. ด้านการเมือง กล่าวภายหลังได้รับเลือกเป็น กมธ.ยกร่างฯ ว่า ตนสัญญาว่าจะใช้ความรู้ความสามารถเข้าไปร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญให้ตรงกับความต้องการของมวลมหาประชาชน ตามที่ได้เคยสัญญาไว้แน่นอน ทั้งนี้ น่าแปลกใจว่าผู้สมัครบางคนกลับไม่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 20 กมธ.ยกร่างฯ อย่าง นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่มากความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า โอกาสสำหรับสมาชิก สปช.ที่พลาด ยังเปิดกว้าง อาจจะได้เข้ามาร่วมกมธ.ยกร่างฯในสัดส่วนของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ก็เป็นได้
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการคัดเลือก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของสนช. 5 คน ว่าล่าสุด มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้งสิ้น 11 คน โดยแต่ละคนมีความรู้ ความสามารถ มีความเหมาะสม ไม่ขัดคุณสมบัติ ซึ่งวิปสนช. เห็นว่า เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งจะเสนอรายชื่อบุคคลผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้ง 11 คน ให้ที่ประชุมใหญ่ สนช. ได้ลงมติเลือกให้เหลือ 5 คน ในวันที่ 30 ต.ค. เพื่อไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรม โดยผู้ได้รับการเลือกทั้ง 5 คน จะต้องเป็นผู้เสียสละในการทำหน้าที่ ทั้ง สนช. และกรรมาธิการยกร่างฯ อีกทั้งยังต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปีอีกด้วย
ด้านการเมือง 6 คน 1. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช 2.นายชูชัย ศุภวงศ์ 3.นางตรึงใจ บูรณสมภพ 4.นายไพบูลย์ นิติตะวัน 5.นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ 6.นายอมร วานิชวิวัฒน์ , ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มี 1 คน คือนางถวิลวดี บุรีกุล, ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มี 5 คน ได้แก่ 1.นายคำนูณ สิทธิสมาน 2.พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ 3.นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ 4.นายอุดม เฟื่องฟุ้ง และ 5.นายวรรณชัย บุญบำรุง
ด้านการปกครองท้องถิ่น มี 4 คน ได้แก่ 1. นายจรัส สุวรรณมาลา 2.นายไพโรจน์ พรหมสาสน์ 3.นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ และนายวุฒิสาร ตันไชย , ด้านการศึกษา มี 2 คน ได้แก่ นางทิชา ณ นคร และ นายมีชัย วีระไวทยะ, ด้านเศรษฐกิจ มี 1 คน ได้แก่ นางนรีวรรณ จิตนกานนท์, ด้านพลังงาน มี 1 คน ได้แก่ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวินิช
ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มี 3 คน ได้แก่ 1.นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ 2.น.ส.สุภัทรา นาคะผิว และ 3.พล.อ.ชูศิลป์ คุณาไทย, ด้านสื่อสารมวลชน มี 1 คนได้แก่ นายมานิจ สุขสมจิตร, ด้านสังคม มี 1 คน คือ น.ส.สมสุข บุญญะบัญชา ด้านอื่นๆ จำนวน 2 คน ได้แก่ นายนิรันดร์ พันทรกิจ และ พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์
ขณะที่รายจังหวัด ที่แบ่งเป็น 4 ภาค มีตัวแทนที่เข้าสมัครภาคละ 1 คน ได้แก่ ภาคเหนือ คือ นายจุมพล สุขมั่น, ภาคใต้ คือ นายเชิดชัย วงศ์เสรี, ภาคกลาง-ตะวันออก คือ นายประชา เตรัตน์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ พล.ท.นคร สุขประเสริฐ
ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการลงคะแนน นายเทียนฉาย ได้ให้ผู้สมัครแต่ละคน แสดงตนด้วยการแนะนำที่มาแต่ละด้าน ประวัติการศึกษา และผลงานที่ผ่านมา คนละ 2 นาที
หลังจากใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงครึ่ง ที่ประชุมได้ดำเนินการคัดเลือก โดยนายเทียนฉายได้ทำการตรวจสอบองค์ประชุมก่อน ปรากฏว่า มีสมาชิกจำนวน 234 คน จากนั้นให้สมาชิกลงคะแนนด้วยวิธีลับตามลำดับรายชื่อที่ขาน ด้วยวิธีการให้สมาชิกใช้ดินสอฝนหมายเลขที่ประสงค์จะเลือกลงบนกระดาษในคูหาที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียม โดยได้แจกชื่อ และหมายเลขผู้สมัครให้กับสมาชิก เพื่อประกอบในการลงคะแนนด้วย จากนั้นให้นำไปหย่อนลงในกล่องสีเขียว โดยนายเทียนฉาย ได้กำชับช่างภาพ ห้ามทำการซูมภาพขณะที่สมาชิกกำลังทำการลงคะแนนด้วย
หลังจากใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง การลงคะแนนได้เสร็จสิ้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำกระดาษที่สมาชิกลงคะแนน ไปใส่ในเครื่องนับคะแนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่รอผลการนับคะแนน มีสมาชิกบางส่วนทยอยเดินทางกลับบ้าน หลังจากลงคะแนนเสร็จสิ้น นายชูชาติ อินสว่าง สปช. จ.สุพรรณบุรี ได้ลุกขึ้นถามว่า เมื่อลงคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว จำเป็นที่สมาชิกต้องอยู่เพื่อให้การรับรองทั้ง 20 คน หรือไม่ ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. ด้านกฎหมาย แนะนำว่า ผลการคัดเลือกกรรมาธิการ 20 คน จำเป็นต้องได้รับการลงมติรับรองจากที่ประชุมใหญ่สปช. ขอให้ประธาน ประกาศให้สมาชิกอยู่ก่อน ดังนั้นนายเทียนฉาย จึงได้กล่าวว่า ขณะนี้การประชุมยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อได้กรรมาธิการครบ 20 คนแล้ว ตนจะประกาศปิดประชุม
จนเมื่อเวลา 18.15 น. นายเทียนฉาย ประกาศผลการลงคะแนนดังนี้ ลำดับที่ 1 นายมานิจ สุขสมจิตร ด้านสื่อมวลชน 222 คะแนน 2 .นายประชา เตรัตน์ ภาคกลางและตะวันออก 209 คะแนน 3 .นางถวิลวดี บุรีกุล ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 206 คะแนน 4. น.ส. สมสุข บุญญะบัญชา ด้านสังคม 202 คะแนน 5. นายเชิดชัย วงศ์เสรี ภาคใต้ 198 คะแนน 6. พล.ท.นคร สุขประเสริฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 197 คะแนน 7. พล.ท.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ด้านพลังงาน 195 คะแนน 8. นายจุมพล สุขมั่น ภาคเหนือ 192 คะแนน 9. นายวุฒิสาร ตันไชย ด้านการปกครองท้องถิ่น 188 คะแนน
10.นายคำนูณ สิทธิสมาน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 182 คะแนน 11.นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ด้านการเมือง 177 คะแนน 12. นางทิชา ณ นคร ด้านการศึกษา 171 คะแนน 13. นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ด้านเศรษฐกิจ 163 คะแนน 14. นายจรัส สุวรรณมาลา ด้านปกครองท้องถิ่น 142 คะแนน 15. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ด้านการเมือง 125 คะแนน 16. น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 125 คะแนน 17. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ด้าสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 122 คะแนน 18. นายชูชัย ศุภวงศ์ ด้านการเมือง 118 คะแนน 19. พล.ท.นาวิน ดำริกาญจน์ ด้านอื่นๆ 118 คะแนน และ 20. นายมีชัย วีระไวทยะ ด้านการศึกษา 117 คะแนน โดยมีจำนวนบัตรผู้ลงคะแนนทั้งสิ้น 239 ใบ ไม่มีบัตรเสีย และไม่มีการงดออกเสียง
**"คำนูณ"เผยมีแนวคิดอยู่ในหัวแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปช. ในฐานะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังจากที่ได้รับเลือกจาก สปช.ให้เป็น 1 ใน 20 คนที่จะเข้าไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญว่า จากนี้ไปก็ถือว่ามีงานหนักมากขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ เพราะตนไม่เคยทำมาก่อน ส่วนกรอบทำงานต่อจากนี้ ก็ต้องดูความคิดส่วนตัวของคณะกรรมาธิการฯก่อน ว่าคิดอย่างไรกันบ้าง สำหรับตนก็มีแนวคิดต่อกฎหมายหลายๆ มาตราไว้แล้ว แต่ความสำคัญก็คงต้องยกให้กับทางสนช.เป็นหลักด้วย ซึ่งการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ก็จะต้องนำกฎหมายของปีก่อนๆ มาร่วมกันพิจารณาหลายๆ ฉบับ คงไม่มีโมเดลฉบับใดเป็นต้นแบบ
ทั้งนี้นายคำนูณ ยังกล่าวถึงกระบวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้มีคำสั่งให้บรรจุวาระถอดถอนในวันพุธ ที่ 12 พ.ย.นี้ ว่าให้ จับตาดูกระบวนการครั้งนี้ เพราะจะไม่เหมือนกับกรณีการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ที่ครั้งนั้นเป็นเพียงวาระหารือ ว่าจะรับหรือไม่รับเท่านั้น แต่สำหรับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือการนับหนึ่งเริ่มต้นกระบวนการถอดถอนทันที ซึ่งหมายความว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะต้องมาชี้แจง เหมือนกับการถอดถอนหลาย ๆ กรณีในวุฒิสภา อย่างไรก็ตาม ตนขอชื่อชมการทำหน้าที่ของนายพรเพชร ด้วย
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน สปช. ด้านการเมือง กล่าวภายหลังได้รับเลือกเป็น กมธ.ยกร่างฯ ว่า ตนสัญญาว่าจะใช้ความรู้ความสามารถเข้าไปร่วมยกร่างรัฐธรรมนูญให้ตรงกับความต้องการของมวลมหาประชาชน ตามที่ได้เคยสัญญาไว้แน่นอน ทั้งนี้ น่าแปลกใจว่าผู้สมัครบางคนกลับไม่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 20 กมธ.ยกร่างฯ อย่าง นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่มากความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า โอกาสสำหรับสมาชิก สปช.ที่พลาด ยังเปิดกว้าง อาจจะได้เข้ามาร่วมกมธ.ยกร่างฯในสัดส่วนของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ก็เป็นได้
ด้านนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการคัดเลือก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของสนช. 5 คน ว่าล่าสุด มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้งสิ้น 11 คน โดยแต่ละคนมีความรู้ ความสามารถ มีความเหมาะสม ไม่ขัดคุณสมบัติ ซึ่งวิปสนช. เห็นว่า เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งจะเสนอรายชื่อบุคคลผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทั้ง 11 คน ให้ที่ประชุมใหญ่ สนช. ได้ลงมติเลือกให้เหลือ 5 คน ในวันที่ 30 ต.ค. เพื่อไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรม โดยผู้ได้รับการเลือกทั้ง 5 คน จะต้องเป็นผู้เสียสละในการทำหน้าที่ ทั้ง สนช. และกรรมาธิการยกร่างฯ อีกทั้งยังต้องห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปีอีกด้วย