การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เริ่มขึ้น เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (28ต.ค.) มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยมี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ว่าที่ประธาน สปช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาหลักการของคณะกรรมาธิการประสานงานกิจการสปช. (วิปสปช.)ชั่วคราว ที่เสนอแนวทางการคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 20 คน ในส่วนของสปช.
โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการวิปสปช. ชั่วคราว ได้รายงานถึงหลักเกณฑ์ พิจารณาการคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า
1. ต้องเป็นผู้มีความสามารถเหมาะสม โดยสมัครใจ และมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องกรอกใบสมัครด้วยตนเอง 2. สปช.ที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อ ก็สามารถเสนอชื่อมาได้ ในวันนี้ (29 ต.ค.) ก่อนเวลา 12.00 น.
3. ให้สปช. พิจารณาเลือกจำนวน 20คน จากรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อ หรือสมัคร โดยสมาชิกสามารถเลือกได้ไม่เกิน20 คน ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด จากลำดับที่ 1 ถึง 20 จะได้เป็นกรรมาธิการยกร่างฯ กรณีที่เลือกมากกว่า 20 คน ให้ถือเป็นบัตรเสีย โดยผู้สมัคร ต้องกรอกรายชื่อ พร้อมระบุที่มา ด้าน หรือ ภาค และจะเป็นกรรมาธิการคณะอื่นไม่ได้ จนกว่าจะทำการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ เพื่อป้องกันการมีส่วนได้เสีย ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปี
จากนั้น นายเทียนฉาย ได้เปิดให้สมาชิกได้แสดงความเห็นต่อมติของวิปสปช.ชั่วคราว ซึ่งสมาชิก สปช.ได้แสดงความเห็นออกเป็นสองฝ่าย โดย สปช. ฝ่ายที่เห็นด้วยกับแนวทางวิปสปช. ให้เหตุผลว่า เป็นแนวทางที่ให้สปช. แต่ละด้านเสนอตัวแทนมา และยังให้อิสระผู้ที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อไปลงสมัครเองได้ ถือเป็นการเปิดฟรีตามที่ต้องการ หากไปล็อกว่า ต้องให้มีตัวแทนสปช. ด้านละ 1 คน จะเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญชั่วคราว เรื่องการกำหนดโควตากรรมาธิการยกร่างฯ
นายวันชัย สอนศิริ สปช.ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า ขณะนี้สปช.สายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทุกคนเห็นด้วยกับแนวทางที่ วิปสปช.เสนอมา และมีมติไปเรียบร้อยแล้วว่า จะส่งรายชื่อผู้สมัคร 4 คน ไปให้สปช.พิจารณา ถือเป็นแนวทางตามรัฐธรรมนูญ และยังให้อิสระแก่ สปช.อีกด้วย เพราะใครที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อ ก็สามารถเสนอตัวเองลงสมัครได้
ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยซึ่ง ส่วนใหญ่เป็น สปช.จังหวัด ให้เหตุผลว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรกระจายโควตาไปทุกด้าน และไปยังระดับจังหวัดด้วย โดยเสนอให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีตัวแทนจากสปช.ทั้ง 11 ด้านๆ ละ 1 คน และตัวแทน 4 ภาคๆ ละ 1 คน รวม 15 คน ส่วนอีก 5 คนที่เหลือ ให้ที่ประชุมสปช. ฟรีโหวตลงมติตัดสินว่าจะเลือกใคร
นายชาลี เจริญสุข สปช.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การทำงานเพื่อปฏิรูป ต้องให้เกิดความรอบด้าน และหลากหลาย โดยเฉพาะ สปช. จากกลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีบทบาทไปช่วยเติมเต็มการทำงานของสปช.ในแต่ละด้าน ให้มีความครบถ้วน มีส่วนเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ดังนั้นการจัดสรรกรรมาธิการยกร่างฯ ควรให้มาจากด้านวิชาชีพ 11 ด้านๆ ละ 1 คน อีก 4 คน มาจากสปช.จังหวัด และที่เหลืออีก 5 คน มาจากการเลือกของที่ประชุม
นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง สปช.สายการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญต้องรอบคอบ ไม่ใช่นำรัฐธรรมนูญไปฆ่าใคร จึงต้องเปิดกว้างให้ทุกจังหวัด และทุกด้านมีส่วนร่วมมากที่สุด ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องมีผู้มีความสามารถเฉพาะด้านไปร่วมยกร่างด้วย แต่ข้อเสนอของวิปสปช. ที่ให้มีการโหวตทีเดียว 20 คนนั้น อาจจะเกิดการบล็อกโหวต หรือได้คนที่ไม่มีความรู้ไปยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงอยากเสนอให้มีการเลือกจากตัวแทนสปช. แต่ละด้านรวม 15 คน ส่วนอีก 5 คนที่เหลือ ใช้วิธีฟรีโหวตเลือก ซึ่งไม่ใช่เรื่องการแบ่งโควตา และไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ สปช.ด้านสังคม กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่วิปสปช.เสนอ เพราะ เสียงส่วนใหญ่อยากให้กระจายว่าแต่ละด้าน แต่ผลวิปออกมากลายเป็นเลือกรายคน ไม่รู้ว่าฟังสมาชิก หรือเอาแต่ใจตนเอง ในที่สุดก็จะมีการล็อบบี้กัน ทำไมต้องให้พวกตนออกกำลัง
" พวกผมอยากเสนอชื่อในสภาเลยก็ห้าม พอให้ไปพูดข้างหลัง ก็ว่าหมกๆไม่ปฏิรูป เมื่อเสียงส่วนใหญ่อยากให้กระจาย ทุกคนก็ต้องคุยกัน ผมก็จะเลือกแต่ละด้านแบบเปิดเผย อยากให้ผมเลือกใคร ก็กระซิบมาได้ ไม่หมกใต้โต๊ะแน่นอน เมื่อไม่อยากให้เราทำตรงๆ ด้านไหนต้องการใครส่งไลน์บอกก็ได้ เลือกตามจิตวิญญาณแล้วกัน ถึงวิปไม่สนใจจะฟังสิ่งที่เราต้องการโดยตรง เขียนอ้อมๆ แอ้มๆ เราก็ต้องคุยกันเองว่าแต่ละด้านต้องการใครบ้าง"
ด้านนายอำพล จินดาวัฒนะ ตัวแทนวิป สปช.ชั่วคราว ชี้แจงว่า หลักการของวิปสปช. นอกจากให้สปช. แต่ละด้านมีสิทธิเสนอรายชื่อผู้สมัครมาแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อ มีโอกาสสมัครเองได้ด้วย ไม่มีการตัดสิทธิใครทั้งสิ้น จึงไม่ใช่การแบ่งโควตา คาดว่า ที่ประชุมสปช. ก็คงเลือกกรรมาธิการยกร่างฯ แบบกระจายกันไป เพื่อให้ครอบคลุมสปช. ทั้ง 11ด้าน ถือเป็นวิธีที่รอมชอมที่สุดแล้ว เพราะไม่มีการไปตัดสิทธิ์ใคร
จนกระทั่งเวลา 15.30 น. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สปช. เสนอญัตติปิดการอภิปรายต่อที่ประชุม เนื่องจากมีการอภิปรายยืดเยื้อมานานแล้ว ควรหาข้อสรุปได้แล้ว ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วย จากนั้นได้ลงมติ เห็นด้วยกับแนวทางการคัดเลือกกมธ.ยกร่างฯ ตามข้อเสนอของ วิปสปช.ชั่วคราว ด้วยคะแนน 165 ต่อ 47 เสียง งดออกเสียง 10 และไม่ลงคะแนน 1
โดยนายเทียนฉาย ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า มติเสียงข้างมากดังกล่าวที่ออกมา เป็นการกำหนดเฉพาะวิธีการคัดเลือกสมาชิกสปช. ไปทำหน้าที่กรรมาธิการยกร่างฯเท่านั้น ส่วนแนวทางที่วิปสปช. เสนอให้สมาชิกสปช. ที่เป็นกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่สามารถเป็นกรรมาธิการสามัญคณะอื่นๆ ในสปช.ได้อีกนั้น ขอให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสปช. นำไปพิจารณาต่อไป
ส่วนการกำหนดวันประชุมสปช.นั้น จะกำหนดสัปดาห์ละ 2 วัน คือทุกวันจันทร์และอังคาร อย่างไรก็ตาม ขอนัดประชุมสปช.ครั้งต่อไป ในวันที่ 29 ต.ค. เวลา 14.00 น. เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายชื่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน
** “เจิมศักดิ์-บวรศักดิ์”งัดข้อ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงการร่างข้อบังคับการประชุม สปช. ที่วิป สปช. ระบุว่า ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างฯจะดำรงตำแหน่งใดเป็น กรรมาธิการสามัญ ไม่ได้ จนกว่าการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และเพื่อประโยชน์ไม่ให้มีส่วนได้ส่วนเสีย ห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พ้นตำแหน่ง
โดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สปช. ฐานะประธานคณะกรรมการยกร่างข้อบังคับการประชุม สปช. กล่าวว่า เรื่องนี้มีผู้ที่ไม่เห็นด้วย ในประเด็นดังกล่าว จะนำไปพิจารณาในที่ประชุมของกรรมการยกร่างข้อบังคับ การประชุมสปช. ในวันที่ 29 ต.ค. เบื้องต้นตามที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่าที่รองประธาน สปช. คนที่ 1 ระบุว่า ต้องเปิดกว้างให้ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ามาร่วมทำงานอย่างใกล้ชิด จึงมีรายละเอียดที่จะกำหนดใน ร่างข้อบังคับการประชุมสปช. คือ ให้กรรมาธิการยกร่างฯ ดำรงตำแหน่ง ในกมธ.วิสามัญประจำสภา สปช. ได้ 1 คณะ แต่จะดำรงตำแหน่ง ประธาน หรือเลขานุการ ไม่ได้ เหตุผลที่เปลี่ยนชื่อจาก กมธ.สามัญ เป็นกมธ.วิสามัญ เพื่อเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาทำงานร่วม สปช. เบื้องต้นจะกำหนดให้มีสัดส่วน 1 ใน 5 หรือจำนวน 7 คน
ด้านนายบวรศักดิ์ อภิปรายคัดค้านว่า การทำงานของ กรรมาธิการยกร่างฯ เชื่อว่าจะต้องทำงานตลอดทั้งสัปดาห์ และแบบหามรุ่งหามค่ำ ดังนั้นควรให้สมาชิกฯที่ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของกรรมาธิการ เท่านั้น และไม่ถือว่าเป็นองค์ประชุม เพราะหากให้กรรมาธิการยกร่างฯ เป็นกรรมาธิการสามัญ อาจทำให้มีปัญหา ทั้ง 2 ชุดได้ โดยเฉพาะเวลาขาดประชุม
"เวลาขาดจากกรรมาธิการยกร่างฯ อาจอ้างว่า ไปประชุมกรรมาธิการสามัญ ซึ่งจริงหรือไม่ ก็ไม่รู้ หรืออาจทำให้องค์ประชุมในกรรมาธิการสามัญ มีปัญหา ถ้าจะเขียนก็ให้ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ โดยไม่นับเป็นองค์ประชุม ถึงจะเหมาะสม และเข้าประชุมเรื่องที่จำเป็น และสำคัญเท่านั้น" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ด้านนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สปช. อภิปรายตำหนิการให้ความเห็นของ นายบวรศักดิ์ ว่าเป็นการแสดงวุฒิภาวะที่มีปัญหา หากเป็นไปตามข่าวที่ นายบวรศักดิ์ จะเข้าไปเป็นประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วมีความคิดดังกล่าว อาจทำให้มีปัญหา และกรรมาธิการฯยกร่าง จะมีท่าทีแบบนี้ไม่ได้ ข้อเสนอของนายบวรศักดิ์นั้น ตนไม่ขัดข้อง แต่การอภิปรายด้วยถ้อยคำดังกล่าว ทำให้ตนต่อต้าน และต้องการลุกเสนอญัตติให้โหวตคะแนนสวนทาง แต่ตนจะไม่ทำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในประเด็นดังกล่าว ที่ประชุมไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ และในวันที่ 29 ต.ค. กรรมการร่างข้อบังคับ สปช. จะมีการหารือกัน ในเวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
** 4 พ.ย.ได้ชื่อกมธ.ในส่วนของครม.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมตรี กล่าวถึงการเลือกบุคคลไปเป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของครม. ว่า ยังไม่ได้มีการหารือ โดยจะนัดหารือกันในวันที่ 4 พ.ย.นี้ ในการประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. กับ ครม.
ส่วนรายชื่อแคนดิเดตในสัดส่วนของครม. 5 คน ที่ปรากฏออกมาตามสื่อนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ตอบไม่ถูก เพราะตนตอบไปหลายครั้งแล้วว่า ต้องฟัง สนช. สปช. ซึ่งพิจารณาก่อนนั้น ว่าเลือกใครไปแล้ว บางที ครม. คิดแต่ สนช. กับสปช. เลือกไปแล้ว ชื่อก็จะไปซ้ำกัน ซึ่ง 1-2 วันที่ผ่านมา ก็พบว่ารายชื่อซ้ำไป1-2คนแล้ว ที่สัดส่วนอื่นจะเสนอ และก็ไม่รู้ว่า ชื่อที่ซ้ำกันสัดส่วนอื่นเขาจะเลือกหรือไม่ ถ้าเขาเสนอก็ต้องยกโควต้าให้เขา ส่วนครม. ก็ต้องมาคิดทีหลัง
"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ก็คิดเผื่อเอาไว้แล้วหลายชื่อ ยืนยันว่า ได้ชื่อวันที่ 4 พ.ย. แน่นอน เพราะหลังจากนั้น คงจะไม่ทัน และในการประชุมครม. ก็ยังไม่ได้คุยกัน แต่ยอมรับว่า นายกฯ มีการหารือในวงเล็ก และมีบุคคลในใจที่ให้ไปตรวจสอบดูว่า คนเหล่านั้นเป็นอย่างไร" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามย้ำว่า รายชื่อแคนดิเดต กมธ.5 คน สัดส่วนของ ครม. คือ นายอัชพร จารุจินดา นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ฯลฯ เป็นรายชื่อที่อยู่ในใจบ้างหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่ตอบ
เมื่อถามว่า แสดงว่าสัดส่วนจาก ครม.5 คน จะมาจากคนนอกทั้งหมด ไม่ใช่เลือกคนในครม. ที่เป็นรัฐมนตรีใช่ หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวติดตลกว่า "ไม่ใช่ ถ้าอย่างนั้นเป็นแผนกำจัด ครม.แล้ว"
** สนช.คัดกมธ.ยกร่างฯ 30 ต.ค.
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษก คณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง การสรรหาบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในกมธ.ยกร่างฯ จำนวน 5 คน ตามสัดส่วนของสนช. ว่า ขณะนี้มีผู้สมัครแล้วจำนวน 11 คน ซึ่งขั้นตอนในการเลือก จะใช้ลักษณะของการฟรีโหวต ในที่ประชุม สนช.วันที่ 30 ต.ค.นี้ เพื่อเลือกให้เหลือ 5 คน โดย สนช.แต่ละคน มีสิทธิเลือกและลงคะแนนได้ไม่เกิน 5 คน
อย่างไรก็ตาม วิปสนช. มีความเห็นว่า หากสมาชิกสนช.คนใด ที่ได้ทำหน้าที่ในกมธ.ยกร่างฯแล้ว จะยังสามารถทำหน้าที่กรรมาธิการสามัญประจำ สนช.ได้ตามเดิม เพียงแต่สมาชิก สนช. ที่ไปทำงานในตำแหน่งกมธ.ยกร่างฯ จะต้องคำนึงถึงภาระหน้าที่ในตำแหน่งกมธ.ยกร่างฯ ที่ต้องทำงานแบบเต็มเวลา
สำหรับรายชื่อผู้สมัครเป็นกมธ.ยกร่างฯ ในส่วนของสนช. ขณะนี้มีทั้งสิ้น 11 คน คือ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายดิสทัต โหตระกิตย์ รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ นายประมุท สูตะบุตร พล.อ.นิวัฒน์ ศรีเพ็ญ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ และ นายปรีชา วัชราภัย
**ถอดถอนนิคม-สมศักดิ์ 6 พ.ย.
นพ.เจตน์ ยังกล่าวถึง การพิจารณาคดีการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของส.ว.โดยมิชอบแล้ว เห็นว่าจะเสนอให้ที่ประชุมสนช. พิจารณาในวันที่ 6 พ.ย. เพื่อให้มีมติตัดสินว่า สนช.จะมีอำนาจถอดถอน และดำเนินการตามกระบวนการหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากเห็นว่า สนช.มีอำนาจ ก็จะเข้าสู่กระบวนการตามข้อบังคับการประชุม สนช.ต่อไป แต่ถ้าสนช.เห็นว่าสนช.ไม่มีอำนาจก็เท่ากับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นอันตกไป
นอกจากนี้ สนช.ได้รับรายงานการพิจารณาคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีรับจำนำข้าว จาก ป.ป.ช. แล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมสนช. จะต้องดำเนินการภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 13 พ.ย. โดยความชัดเจนในประเด็นนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. จะเป็นผู้ชี้แจงต่อสาธารณะด้วยตัวเองต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้สนช.ยังไม่มีกำหนดว่าจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของสนช.ในช่วงใดเพราะต้องรอรายละเอียดจากป.ป.ช.ก่อน
**ยกอัยการศึกขู่สสภากระจกสปท.
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมครม. นายกฯ ได้พูดถึงสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ตามที่เป็นข่าว โดยนายกฯ ได้สอบถามความเห็น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายวิษณุ ให้ความเห็นว่า จริงๆ ช่วงนี้อยู่ระหว่างการประกาศกฎอัยการศึก อยากให้ทุกส่วนระมัดระวังการพูดจาอะไรก็แล้วแต่ที่ถ้าผิดกฎหมาย จะทำให้ลำบากใจทุกฝ่าย รวมทั้งผู้รักษากฎหมายด้วย และมันไม่ได้เป็นเวทีที่เป็นทางการ อาจจะเสนอแต่ไม่มีผู้รับไปปฏิบัติ จึงอยากให้เข้ามาเป็นเครือข่ายทางการดีกว่า เพราะขณะนี้เรามีทั้ง สปช. ที่กำลังจะเปิดสภา มีทั้งผู้ตกรอบแรก รอบที่สอง เป็นกลุ่มๆ ที่จะเสนอความคิดได้ จึงอยากเชิญชวน สปท.เข้ามาเป็นเครือข่าย คงมีการประสานงานกันในโอกาสต่อไป
** จี้ถอดถอนสปช.โคราช
วานนี้ (28 ต.ค.) ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี ประธานเครือข่ายคนโคราชรักสันติ (ครส.) และพวก เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียน ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครราชสีมา ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ขอให้ตรวจสอบการเป็นสมาชิก สปช. จังหวัดนครราชสีมา ของนายกษิดิ์เดชธนทัต หรือ นายสำเริง เสกขุนทด ที่มีประวัติ และพฤติกรรมไม่เหมาะสมแก่การดำรงตำแหน่งสปช.
โดย ทพ.ศุภผล กล่าวว่า การเดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนครั้งนี้ เป็นการยื่นครั้งที่ 3 แล้ว โดยก่อนหน้านั้นได้ไปยื่นหนังสือต่อ พล.ท.อัศวิน รัชฎานนท์ ประธาน กกต. ประจำจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช.จังหวัดนครราชสีมา และเข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี ผ่านกองทัพภาคที่ 2 มาแล้ว
ทั้งนี้ การยื่นเรื่องผ่านศูนย์ดำรงธรรม จ.นครราชสีมา ได้นำแผนผังความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงระหว่าง นายกษิดิ์เดชธนทัต หรือ สำเริง เสกขุนทด สปช.นครราชสีมา กับนางประชุม ซอมกระโทก กรรมการสรรหา สปช. จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อกัน รวมถึงพฤติกรรมในเชิงชู้สาวกับลูกน้องในองค์กร ทั้งที่มีครอบครัวแล้ว คือนางสาวเอ็ม (นามสมมติ) เจ้าหน้าที่การเงิน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) พร้อมซื้อรถยนต์ป้ายแดงให้ 1 คัน รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สามารถชี้แจงที่ไปที่มาได้ ขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) และความร่ำรวยผิดปกติ ทั้งเรื่องเงิน 2 ล้านบาท ปริศนาที่ได้มา และมีรถยนต์สี่ประตูคันใหม่ อีก 1 คัน
"หวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ที่มีอำนาจโดยตรงจะทราบเรื่องนี้ และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปเสาะหาข้อเท็จจริงมา และบอกกับสังคมว่า คนแบบนี้เข้าไปเป็นตัวแทนลูกหลานย่าโม และคนโคราชได้อย่างไร และไม่ต้องมาถามประชาชนว่า ให้เอาข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดมา เพราะเราได้ชี้เบาะแสให้แล้ว คิดว่าจะมีความคืบหน้าในการดำเนินการถอดถอนบุคคลดังกล่าว ออกจากตำแหน่ง โดยภาคประชาชนยืนยันที่จะติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างถึงที่สุด" ทพ.ศุภผลกล่าว
ด้านนายธนะรัชต์ ประภาพันธ์ หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้มารับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไว้ พร้อมรับปากจะประสานส่วนที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป คาดว่าจะทราบผลการดำเนินการภายใน 15 วัน
โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการวิปสปช. ชั่วคราว ได้รายงานถึงหลักเกณฑ์ พิจารณาการคัดเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า
1. ต้องเป็นผู้มีความสามารถเหมาะสม โดยสมัครใจ และมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องกรอกใบสมัครด้วยตนเอง 2. สปช.ที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อ ก็สามารถเสนอชื่อมาได้ ในวันนี้ (29 ต.ค.) ก่อนเวลา 12.00 น.
3. ให้สปช. พิจารณาเลือกจำนวน 20คน จากรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อ หรือสมัคร โดยสมาชิกสามารถเลือกได้ไม่เกิน20 คน ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด จากลำดับที่ 1 ถึง 20 จะได้เป็นกรรมาธิการยกร่างฯ กรณีที่เลือกมากกว่า 20 คน ให้ถือเป็นบัตรเสีย โดยผู้สมัคร ต้องกรอกรายชื่อ พร้อมระบุที่มา ด้าน หรือ ภาค และจะเป็นกรรมาธิการคณะอื่นไม่ได้ จนกว่าจะทำการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ เพื่อป้องกันการมีส่วนได้เสีย ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปี
จากนั้น นายเทียนฉาย ได้เปิดให้สมาชิกได้แสดงความเห็นต่อมติของวิปสปช.ชั่วคราว ซึ่งสมาชิก สปช.ได้แสดงความเห็นออกเป็นสองฝ่าย โดย สปช. ฝ่ายที่เห็นด้วยกับแนวทางวิปสปช. ให้เหตุผลว่า เป็นแนวทางที่ให้สปช. แต่ละด้านเสนอตัวแทนมา และยังให้อิสระผู้ที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อไปลงสมัครเองได้ ถือเป็นการเปิดฟรีตามที่ต้องการ หากไปล็อกว่า ต้องให้มีตัวแทนสปช. ด้านละ 1 คน จะเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญชั่วคราว เรื่องการกำหนดโควตากรรมาธิการยกร่างฯ
นายวันชัย สอนศิริ สปช.ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวว่า ขณะนี้สปช.สายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทุกคนเห็นด้วยกับแนวทางที่ วิปสปช.เสนอมา และมีมติไปเรียบร้อยแล้วว่า จะส่งรายชื่อผู้สมัคร 4 คน ไปให้สปช.พิจารณา ถือเป็นแนวทางตามรัฐธรรมนูญ และยังให้อิสระแก่ สปช.อีกด้วย เพราะใครที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อ ก็สามารถเสนอตัวเองลงสมัครได้
ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยซึ่ง ส่วนใหญ่เป็น สปช.จังหวัด ให้เหตุผลว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรกระจายโควตาไปทุกด้าน และไปยังระดับจังหวัดด้วย โดยเสนอให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีตัวแทนจากสปช.ทั้ง 11 ด้านๆ ละ 1 คน และตัวแทน 4 ภาคๆ ละ 1 คน รวม 15 คน ส่วนอีก 5 คนที่เหลือ ให้ที่ประชุมสปช. ฟรีโหวตลงมติตัดสินว่าจะเลือกใคร
นายชาลี เจริญสุข สปช.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การทำงานเพื่อปฏิรูป ต้องให้เกิดความรอบด้าน และหลากหลาย โดยเฉพาะ สปช. จากกลุ่มจังหวัด ซึ่งจะมีบทบาทไปช่วยเติมเต็มการทำงานของสปช.ในแต่ละด้าน ให้มีความครบถ้วน มีส่วนเชื่อมโยงกับท้องถิ่น ดังนั้นการจัดสรรกรรมาธิการยกร่างฯ ควรให้มาจากด้านวิชาชีพ 11 ด้านๆ ละ 1 คน อีก 4 คน มาจากสปช.จังหวัด และที่เหลืออีก 5 คน มาจากการเลือกของที่ประชุม
นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง สปช.สายการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญต้องรอบคอบ ไม่ใช่นำรัฐธรรมนูญไปฆ่าใคร จึงต้องเปิดกว้างให้ทุกจังหวัด และทุกด้านมีส่วนร่วมมากที่สุด ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องมีผู้มีความสามารถเฉพาะด้านไปร่วมยกร่างด้วย แต่ข้อเสนอของวิปสปช. ที่ให้มีการโหวตทีเดียว 20 คนนั้น อาจจะเกิดการบล็อกโหวต หรือได้คนที่ไม่มีความรู้ไปยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงอยากเสนอให้มีการเลือกจากตัวแทนสปช. แต่ละด้านรวม 15 คน ส่วนอีก 5 คนที่เหลือ ใช้วิธีฟรีโหวตเลือก ซึ่งไม่ใช่เรื่องการแบ่งโควตา และไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ สปช.ด้านสังคม กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่วิปสปช.เสนอ เพราะ เสียงส่วนใหญ่อยากให้กระจายว่าแต่ละด้าน แต่ผลวิปออกมากลายเป็นเลือกรายคน ไม่รู้ว่าฟังสมาชิก หรือเอาแต่ใจตนเอง ในที่สุดก็จะมีการล็อบบี้กัน ทำไมต้องให้พวกตนออกกำลัง
" พวกผมอยากเสนอชื่อในสภาเลยก็ห้าม พอให้ไปพูดข้างหลัง ก็ว่าหมกๆไม่ปฏิรูป เมื่อเสียงส่วนใหญ่อยากให้กระจาย ทุกคนก็ต้องคุยกัน ผมก็จะเลือกแต่ละด้านแบบเปิดเผย อยากให้ผมเลือกใคร ก็กระซิบมาได้ ไม่หมกใต้โต๊ะแน่นอน เมื่อไม่อยากให้เราทำตรงๆ ด้านไหนต้องการใครส่งไลน์บอกก็ได้ เลือกตามจิตวิญญาณแล้วกัน ถึงวิปไม่สนใจจะฟังสิ่งที่เราต้องการโดยตรง เขียนอ้อมๆ แอ้มๆ เราก็ต้องคุยกันเองว่าแต่ละด้านต้องการใครบ้าง"
ด้านนายอำพล จินดาวัฒนะ ตัวแทนวิป สปช.ชั่วคราว ชี้แจงว่า หลักการของวิปสปช. นอกจากให้สปช. แต่ละด้านมีสิทธิเสนอรายชื่อผู้สมัครมาแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับการเสนอชื่อ มีโอกาสสมัครเองได้ด้วย ไม่มีการตัดสิทธิใครทั้งสิ้น จึงไม่ใช่การแบ่งโควตา คาดว่า ที่ประชุมสปช. ก็คงเลือกกรรมาธิการยกร่างฯ แบบกระจายกันไป เพื่อให้ครอบคลุมสปช. ทั้ง 11ด้าน ถือเป็นวิธีที่รอมชอมที่สุดแล้ว เพราะไม่มีการไปตัดสิทธิ์ใคร
จนกระทั่งเวลา 15.30 น. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สปช. เสนอญัตติปิดการอภิปรายต่อที่ประชุม เนื่องจากมีการอภิปรายยืดเยื้อมานานแล้ว ควรหาข้อสรุปได้แล้ว ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วย จากนั้นได้ลงมติ เห็นด้วยกับแนวทางการคัดเลือกกมธ.ยกร่างฯ ตามข้อเสนอของ วิปสปช.ชั่วคราว ด้วยคะแนน 165 ต่อ 47 เสียง งดออกเสียง 10 และไม่ลงคะแนน 1
โดยนายเทียนฉาย ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า มติเสียงข้างมากดังกล่าวที่ออกมา เป็นการกำหนดเฉพาะวิธีการคัดเลือกสมาชิกสปช. ไปทำหน้าที่กรรมาธิการยกร่างฯเท่านั้น ส่วนแนวทางที่วิปสปช. เสนอให้สมาชิกสปช. ที่เป็นกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่สามารถเป็นกรรมาธิการสามัญคณะอื่นๆ ในสปช.ได้อีกนั้น ขอให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสปช. นำไปพิจารณาต่อไป
ส่วนการกำหนดวันประชุมสปช.นั้น จะกำหนดสัปดาห์ละ 2 วัน คือทุกวันจันทร์และอังคาร อย่างไรก็ตาม ขอนัดประชุมสปช.ครั้งต่อไป ในวันที่ 29 ต.ค. เวลา 14.00 น. เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายชื่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน
** “เจิมศักดิ์-บวรศักดิ์”งัดข้อ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงการร่างข้อบังคับการประชุม สปช. ที่วิป สปช. ระบุว่า ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างฯจะดำรงตำแหน่งใดเป็น กรรมาธิการสามัญ ไม่ได้ จนกว่าการดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และเพื่อประโยชน์ไม่ให้มีส่วนได้ส่วนเสีย ห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พ้นตำแหน่ง
โดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สปช. ฐานะประธานคณะกรรมการยกร่างข้อบังคับการประชุม สปช. กล่าวว่า เรื่องนี้มีผู้ที่ไม่เห็นด้วย ในประเด็นดังกล่าว จะนำไปพิจารณาในที่ประชุมของกรรมการยกร่างข้อบังคับ การประชุมสปช. ในวันที่ 29 ต.ค. เบื้องต้นตามที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่าที่รองประธาน สปช. คนที่ 1 ระบุว่า ต้องเปิดกว้างให้ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ามาร่วมทำงานอย่างใกล้ชิด จึงมีรายละเอียดที่จะกำหนดใน ร่างข้อบังคับการประชุมสปช. คือ ให้กรรมาธิการยกร่างฯ ดำรงตำแหน่ง ในกมธ.วิสามัญประจำสภา สปช. ได้ 1 คณะ แต่จะดำรงตำแหน่ง ประธาน หรือเลขานุการ ไม่ได้ เหตุผลที่เปลี่ยนชื่อจาก กมธ.สามัญ เป็นกมธ.วิสามัญ เพื่อเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาทำงานร่วม สปช. เบื้องต้นจะกำหนดให้มีสัดส่วน 1 ใน 5 หรือจำนวน 7 คน
ด้านนายบวรศักดิ์ อภิปรายคัดค้านว่า การทำงานของ กรรมาธิการยกร่างฯ เชื่อว่าจะต้องทำงานตลอดทั้งสัปดาห์ และแบบหามรุ่งหามค่ำ ดังนั้นควรให้สมาชิกฯที่ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของกรรมาธิการ เท่านั้น และไม่ถือว่าเป็นองค์ประชุม เพราะหากให้กรรมาธิการยกร่างฯ เป็นกรรมาธิการสามัญ อาจทำให้มีปัญหา ทั้ง 2 ชุดได้ โดยเฉพาะเวลาขาดประชุม
"เวลาขาดจากกรรมาธิการยกร่างฯ อาจอ้างว่า ไปประชุมกรรมาธิการสามัญ ซึ่งจริงหรือไม่ ก็ไม่รู้ หรืออาจทำให้องค์ประชุมในกรรมาธิการสามัญ มีปัญหา ถ้าจะเขียนก็ให้ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ โดยไม่นับเป็นองค์ประชุม ถึงจะเหมาะสม และเข้าประชุมเรื่องที่จำเป็น และสำคัญเท่านั้น" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ด้านนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สปช. อภิปรายตำหนิการให้ความเห็นของ นายบวรศักดิ์ ว่าเป็นการแสดงวุฒิภาวะที่มีปัญหา หากเป็นไปตามข่าวที่ นายบวรศักดิ์ จะเข้าไปเป็นประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วมีความคิดดังกล่าว อาจทำให้มีปัญหา และกรรมาธิการฯยกร่าง จะมีท่าทีแบบนี้ไม่ได้ ข้อเสนอของนายบวรศักดิ์นั้น ตนไม่ขัดข้อง แต่การอภิปรายด้วยถ้อยคำดังกล่าว ทำให้ตนต่อต้าน และต้องการลุกเสนอญัตติให้โหวตคะแนนสวนทาง แต่ตนจะไม่ทำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในประเด็นดังกล่าว ที่ประชุมไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ และในวันที่ 29 ต.ค. กรรมการร่างข้อบังคับ สปช. จะมีการหารือกัน ในเวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
** 4 พ.ย.ได้ชื่อกมธ.ในส่วนของครม.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมตรี กล่าวถึงการเลือกบุคคลไปเป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของครม. ว่า ยังไม่ได้มีการหารือ โดยจะนัดหารือกันในวันที่ 4 พ.ย.นี้ ในการประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. กับ ครม.
ส่วนรายชื่อแคนดิเดตในสัดส่วนของครม. 5 คน ที่ปรากฏออกมาตามสื่อนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ตอบไม่ถูก เพราะตนตอบไปหลายครั้งแล้วว่า ต้องฟัง สนช. สปช. ซึ่งพิจารณาก่อนนั้น ว่าเลือกใครไปแล้ว บางที ครม. คิดแต่ สนช. กับสปช. เลือกไปแล้ว ชื่อก็จะไปซ้ำกัน ซึ่ง 1-2 วันที่ผ่านมา ก็พบว่ารายชื่อซ้ำไป1-2คนแล้ว ที่สัดส่วนอื่นจะเสนอ และก็ไม่รู้ว่า ชื่อที่ซ้ำกันสัดส่วนอื่นเขาจะเลือกหรือไม่ ถ้าเขาเสนอก็ต้องยกโควต้าให้เขา ส่วนครม. ก็ต้องมาคิดทีหลัง
"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ก็คิดเผื่อเอาไว้แล้วหลายชื่อ ยืนยันว่า ได้ชื่อวันที่ 4 พ.ย. แน่นอน เพราะหลังจากนั้น คงจะไม่ทัน และในการประชุมครม. ก็ยังไม่ได้คุยกัน แต่ยอมรับว่า นายกฯ มีการหารือในวงเล็ก และมีบุคคลในใจที่ให้ไปตรวจสอบดูว่า คนเหล่านั้นเป็นอย่างไร" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามย้ำว่า รายชื่อแคนดิเดต กมธ.5 คน สัดส่วนของ ครม. คือ นายอัชพร จารุจินดา นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ฯลฯ เป็นรายชื่อที่อยู่ในใจบ้างหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่ตอบ
เมื่อถามว่า แสดงว่าสัดส่วนจาก ครม.5 คน จะมาจากคนนอกทั้งหมด ไม่ใช่เลือกคนในครม. ที่เป็นรัฐมนตรีใช่ หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวติดตลกว่า "ไม่ใช่ ถ้าอย่างนั้นเป็นแผนกำจัด ครม.แล้ว"
** สนช.คัดกมธ.ยกร่างฯ 30 ต.ค.
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษก คณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง การสรรหาบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในกมธ.ยกร่างฯ จำนวน 5 คน ตามสัดส่วนของสนช. ว่า ขณะนี้มีผู้สมัครแล้วจำนวน 11 คน ซึ่งขั้นตอนในการเลือก จะใช้ลักษณะของการฟรีโหวต ในที่ประชุม สนช.วันที่ 30 ต.ค.นี้ เพื่อเลือกให้เหลือ 5 คน โดย สนช.แต่ละคน มีสิทธิเลือกและลงคะแนนได้ไม่เกิน 5 คน
อย่างไรก็ตาม วิปสนช. มีความเห็นว่า หากสมาชิกสนช.คนใด ที่ได้ทำหน้าที่ในกมธ.ยกร่างฯแล้ว จะยังสามารถทำหน้าที่กรรมาธิการสามัญประจำ สนช.ได้ตามเดิม เพียงแต่สมาชิก สนช. ที่ไปทำงานในตำแหน่งกมธ.ยกร่างฯ จะต้องคำนึงถึงภาระหน้าที่ในตำแหน่งกมธ.ยกร่างฯ ที่ต้องทำงานแบบเต็มเวลา
สำหรับรายชื่อผู้สมัครเป็นกมธ.ยกร่างฯ ในส่วนของสนช. ขณะนี้มีทั้งสิ้น 11 คน คือ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นายดิสทัต โหตระกิตย์ รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ นายประมุท สูตะบุตร พล.อ.นิวัฒน์ ศรีเพ็ญ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ และ นายปรีชา วัชราภัย
**ถอดถอนนิคม-สมศักดิ์ 6 พ.ย.
นพ.เจตน์ ยังกล่าวถึง การพิจารณาคดีการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของส.ว.โดยมิชอบแล้ว เห็นว่าจะเสนอให้ที่ประชุมสนช. พิจารณาในวันที่ 6 พ.ย. เพื่อให้มีมติตัดสินว่า สนช.จะมีอำนาจถอดถอน และดำเนินการตามกระบวนการหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากเห็นว่า สนช.มีอำนาจ ก็จะเข้าสู่กระบวนการตามข้อบังคับการประชุม สนช.ต่อไป แต่ถ้าสนช.เห็นว่าสนช.ไม่มีอำนาจก็เท่ากับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นอันตกไป
นอกจากนี้ สนช.ได้รับรายงานการพิจารณาคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีรับจำนำข้าว จาก ป.ป.ช. แล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมสนช. จะต้องดำเนินการภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 13 พ.ย. โดยความชัดเจนในประเด็นนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. จะเป็นผู้ชี้แจงต่อสาธารณะด้วยตัวเองต่อไป ซึ่งในเรื่องนี้สนช.ยังไม่มีกำหนดว่าจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของสนช.ในช่วงใดเพราะต้องรอรายละเอียดจากป.ป.ช.ก่อน
**ยกอัยการศึกขู่สสภากระจกสปท.
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมครม. นายกฯ ได้พูดถึงสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ตามที่เป็นข่าว โดยนายกฯ ได้สอบถามความเห็น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายวิษณุ ให้ความเห็นว่า จริงๆ ช่วงนี้อยู่ระหว่างการประกาศกฎอัยการศึก อยากให้ทุกส่วนระมัดระวังการพูดจาอะไรก็แล้วแต่ที่ถ้าผิดกฎหมาย จะทำให้ลำบากใจทุกฝ่าย รวมทั้งผู้รักษากฎหมายด้วย และมันไม่ได้เป็นเวทีที่เป็นทางการ อาจจะเสนอแต่ไม่มีผู้รับไปปฏิบัติ จึงอยากให้เข้ามาเป็นเครือข่ายทางการดีกว่า เพราะขณะนี้เรามีทั้ง สปช. ที่กำลังจะเปิดสภา มีทั้งผู้ตกรอบแรก รอบที่สอง เป็นกลุ่มๆ ที่จะเสนอความคิดได้ จึงอยากเชิญชวน สปท.เข้ามาเป็นเครือข่าย คงมีการประสานงานกันในโอกาสต่อไป
** จี้ถอดถอนสปช.โคราช
วานนี้ (28 ต.ค.) ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี ประธานเครือข่ายคนโคราชรักสันติ (ครส.) และพวก เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียน ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครราชสีมา ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ขอให้ตรวจสอบการเป็นสมาชิก สปช. จังหวัดนครราชสีมา ของนายกษิดิ์เดชธนทัต หรือ นายสำเริง เสกขุนทด ที่มีประวัติ และพฤติกรรมไม่เหมาะสมแก่การดำรงตำแหน่งสปช.
โดย ทพ.ศุภผล กล่าวว่า การเดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนครั้งนี้ เป็นการยื่นครั้งที่ 3 แล้ว โดยก่อนหน้านั้นได้ไปยื่นหนังสือต่อ พล.ท.อัศวิน รัชฎานนท์ ประธาน กกต. ประจำจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช.จังหวัดนครราชสีมา และเข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี ผ่านกองทัพภาคที่ 2 มาแล้ว
ทั้งนี้ การยื่นเรื่องผ่านศูนย์ดำรงธรรม จ.นครราชสีมา ได้นำแผนผังความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงระหว่าง นายกษิดิ์เดชธนทัต หรือ สำเริง เสกขุนทด สปช.นครราชสีมา กับนางประชุม ซอมกระโทก กรรมการสรรหา สปช. จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อกัน รวมถึงพฤติกรรมในเชิงชู้สาวกับลูกน้องในองค์กร ทั้งที่มีครอบครัวแล้ว คือนางสาวเอ็ม (นามสมมติ) เจ้าหน้าที่การเงิน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) พร้อมซื้อรถยนต์ป้ายแดงให้ 1 คัน รวมทั้งการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สามารถชี้แจงที่ไปที่มาได้ ขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) และความร่ำรวยผิดปกติ ทั้งเรื่องเงิน 2 ล้านบาท ปริศนาที่ได้มา และมีรถยนต์สี่ประตูคันใหม่ อีก 1 คัน
"หวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ที่มีอำนาจโดยตรงจะทราบเรื่องนี้ และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปเสาะหาข้อเท็จจริงมา และบอกกับสังคมว่า คนแบบนี้เข้าไปเป็นตัวแทนลูกหลานย่าโม และคนโคราชได้อย่างไร และไม่ต้องมาถามประชาชนว่า ให้เอาข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดมา เพราะเราได้ชี้เบาะแสให้แล้ว คิดว่าจะมีความคืบหน้าในการดำเนินการถอดถอนบุคคลดังกล่าว ออกจากตำแหน่ง โดยภาคประชาชนยืนยันที่จะติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้อย่างถึงที่สุด" ทพ.ศุภผลกล่าว
ด้านนายธนะรัชต์ ประภาพันธ์ หัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้มารับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไว้ พร้อมรับปากจะประสานส่วนที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป คาดว่าจะทราบผลการดำเนินการภายใน 15 วัน