นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมว.พลังงาน และคณะทำงานฝ่ายเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย ประเมินแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงหลังจากนี้ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะซบเซา ทั้งยุโรป จีน หรือญี่ปุ่น ที่ยังดูมีปัญหาอยู่ ขณะที่สหรัฐอเมริกา ก็อาจจะฟื้นขึ้นมาเล็กน้อย การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ จึงไม่เจริญเติบโตมากนัก ส่วนเศรษฐกิจไทย ยังต้องพึ่งต่างประเทศเป็นหลัก เฉพาะการส่งออกก็คิดเป็น 70% ของจีดีพีแล้ว เมื่อต่างประเทศไม่ดี เราก็ไม่ดีไปด้วย
นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ที่กระทบอย่างชัดเจนกับทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนต่างๆ ซึ่งช่วงก่อนที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร 22 พ.ค. 57 ประเทศไทย ก็มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปัญหาที่สะสมมากอยู่แล้ว พอมีการรัฐประหาร ก็ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศไทยหายไปเลย
"ทั่วโลกจะให้การยอมรับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย พอเราไม่เป็นประชาธิปไตยปุ๊บ ก็ยิ่งทำให้ความมั่นใจของต่างชาติลดน้อยลง โดยเฉพาะการคงประกาศกฎอัยการศึกไว้ อันนี้กระทบชัดเจน ทั้งในแง่ท่องเที่ยว ที่เป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเรา"
นายพิชัย กล่าวว่า มีการประเมินว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวหายไปราว 10 % เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ในความเป็นจริง มีความเสียหายมากกว่านั้น ทั้งการเติบโตที่ต้องขยายตัวขึ้น 7-10 % รวมแล้วเท่ากับว่าเราเสียหายด้านการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 20 % และที่สำคัญตัวเลขนักท่องเที่ยว 10% ที่หายไป เป็นกลุ่มของนักท่องเที่ยวที่มีฐานะดี ซึ่งมีอัตราการจับจ่ายใช้สอยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป กลุ่มคนเหล่านี้ก็หลีกเลี่ยงที่จะมาเมืองไทย เพราะประกันภัยไม่ครอบคลุมในพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก รัฐบาลจะไปรับผิดชอบ ก็ลำบาก ฉะนั้นหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้อยู่ ตัวเลขด้านการ
ท่องเที่ยว ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
ในแง่การส่งออกนั้น เมื่อเรามีปัญหาภายในกระทบต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติ ก็ย่อมทำให้เราส่งออกสินค้าได้น้อยอีกทั้งยังทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเราหายไป อัตราการเติบโตด้านการส่งออกของไทยต่ำที่สุดในอาเซียนมา 2 ปีติดต่อกันแล้ว จนจะกลายเป็นตัวถ่วงของภูมิภาค ถือเป็นสัญญาณที่อันตรายมาก เนื่องจากเรามีอัตราการจ้างงานมาก แต่ยอดการส่งออกไม่เพิ่ม ซึ่งวิธีแก้ไขต้องเริ่มปรับเทรนด์ใหม่ จากเดิมที่เราเด่นในแง่ของถูก ซึ่งตอนนี้มีคู่แข่งสำคัญเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา ที่มีต้นทุนด้านต่างๆถูกกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ต้องพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกระดับ ให้เราเป็นศูนย์กลางในการผลิตและส่งออก โดยนำอุปกรณ์ชิ้นส่วน หรือวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาศัยพื้นฐานที่เราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เพื่อนบ้านก็ยังต้องมาพึ่งพิงอยู่ ตราบใดที่เขายังไม่สามารถพัฒนาไปได้มาก แม้ตัวเลขการเติบโตจะสูงกว่าเราก็ตาม ทั้งนี้เมื่อตัวเลขการส่งออกเราไม่ขึ้น ก็กระทบกับการจะเป็นผู้นำอาเซียนของเราด้วย
"การจะเป็นผู้นำอาเซียนได้ อยู่ที่ความเชื่อมั่นของคนอื่น ไม่ใช่ประเทศเรามาประกาศเอง เราจึงต้องพิสูจน์ความมีศัยภาพด้านต่างๆ ด้วย เพราะถ้ายุโรปก็ไม่เอา อเมริกาก็ไม่ยอมรับ ความเชื่อถือต่างต่อเราก็น้อยลงไป"
นายพิชัย ยังได้กล่าวถึงการที่ประเทศไทยจะถูกสหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในสินค้าหลายประเภท ในวันที่ 1 ม.ค. 58 เป็นต้นไปว่า ผลความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจจะถึงหลักแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลพยายามบอกว่า อัตราการส่งออกในปีหน้า จะเติบโตราว 4-5 % ถามว่าจะโตจากส่วนไหน เพราะเราจะขาดตลาดที่สำคัญ ทั้งอียู ที่ประกาศตัดจีเอสพี เราแล้ว หรือสหรัฐอเมริกา ก็ตั้งแง่กับเรา หากอเมริกาตัดจีเอสพี เราด้วย ก็จะเสียหายหนัก จะมามุ่งการค้าขายในอาเซียน ก็ต้องยอมรับว่าตอนนี้ตลาดอาเซียนยังไม่เติบโตมาก การ ค้าระหว่างกันส่วนใหญ่ก็เป็นพวกอุปกรณ์ชิ้นส่วน ที่นำมาผลิตเพื่อส่งออกต่อไปเท่านั้น
ทั้งนี้ การถูกตั้งสิทธิจีเอสพี ไม่ได้กระทบเฉพาะการส่งออก ยังส่งผลกระทบในแง่การลงทุนด้วย เพราะนักลงทุนก็ต้องคำนึงถึงสิทธิจีเอสพี ว่าเราจะได้คืนเมื่อใด หากไม่มีกำหนดระยะเวลา นักลงทุนก็ต้องแสวงหาตัวเลือกที่ประเทศอื่นที่มีสิทธิจีเอสพี ซึ่งจะส่งผลดีกับสินค้าของเขามากกว่า
นายพิชัย ย้ำว่า การที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังการคง ประกาศกฎอัยการศึกไว้นั้น ส่วนตัวมีความเป็นห่วงมาก เพราะปัจจุบันจะเห็นว่ามีความพยายามที่จะนำความมั่นคงของรัฐบาลมาเป็นตัวตั้ง ในการขับเคลื่อนประเทศ โดยการประกาศกฎอัยการศึกเอาไว้ ซึ่งมุมหนึ่งก็เข้าใจในแง่ความจำเป็นต่อภาวะการเมือง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ตัวเลขทางเศรษฐกิจไม่ดี สุดท้ายก็จะทำให้รัฐบาลมีปัญหาเอง เมื่อคนเดือดร้อน ไม่มีรายได้ ก็กระทบความมั่นคงของรัฐบาลอยู่ดี จึงอยากให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบว่า สิ่งใดควรจะเป็นปัจจัยหลักที่รัฐบาลต้องคำนึงถึง
ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า หลายๆ มาตรการของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เข้าข่ายการทำประชานิยม เหมือนรัฐบาลพรรคไทยรักไทย หรือรัฐบาลพรรคเพื่อไทยนั้น นายพิชัย กล่าวว่า เราต้องถามตัวเองก่อน ว่าอะไรคือประชานิยม ไม่อยากให้มองว่าสิ่งไหนเป็นประชานิยมหรือไม่ได้เป็นประชานิยม เพราะบางสิ่งก็ถูกแปลงความหมายไปจนผิดเพี้ยน ถามว่า การช่วยชาวนา กองทุนหมู่บ้าน หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค คือประชานิยมหรือไม่ ถ้ามองว่าการช่วยชนชั้นล่าง คนด้อยโอกาส หรือผู้มีรายได้น้อย มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นการประชานิยม หรือไม่ดี อย่างนี้หลักคิดคุณผิด เราต้องทำความเข้าใจหลักคิดของโครงการนั้นๆ ก่อน แนวนโยบายของรัฐที่ถูกต้องในการจะทำประชานิยม หรือการช่วยคนระดับล่างนั้น ควรจะเป็นการให้เขาสามารถหารายได้เพิ่มขึ้น มากกว่าที่จะนำเงินไปให้เขาเฉยๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือเกษตรกร สิ่งที่ให้ไปควรที่จะยึดโยงกับผลผลิตมากกว่าที่จะยึดโยงกับพื้นที่มากกว่า
"การแจก 1,000 บาทต่อไร่ ให้ชาวนา หรือคนที่มีที่ดินอย่างนี้ ไม่น่าจะใช่ แต่ถ้าให้เงินเพิ่มต้องยึดหลัก productivity ที่ยังทำให้คนขยันปลูก หรือทำงานเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆ แล้วเอาเงินไปให้เขา อย่างการแจกเงิน 1,000 บาทต่อไร่ กลายเป็นว่าเจ้าของที่ดินก็ได้ ชาวนาก็ได้ กลายเป็นซ้ำซ้อน มีการสวมสิทธิ์กันอีก และอาจจะมีปัญหาซ้ำรอยโครงการประกันรายได้ ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์" นายพิชัย ระบุ
นายพิชัย ยังได้กล่าวถึงเสียงสะท้อนที่ว่า โครงการประชานิยมต่างๆ ส่งผลเสียต่อภาพรวมของประเทศด้วยว่า โครงการต่างๆ ที่ผ่านมาก่อนรัฐบาดชุดนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศเจ๊ง วันนี้เรามีหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ราว 46% เท่านั้น ส่วนประเทศที่ทำประชานิยมจนเจ๊ง หนี้ต้องสูงเป็น 100% กว่าแล้ว หลายประเทศในยุโรปที่ทำในเรื่องรัฐสวัสดิการ ยอดหนี้สาธารณะสูงมาก แต่ของเรายังถือว่าไม่สูงมาก คงไม่ถึงกับจะล้มละลาย อย่างที่มีคนนำไปพูด
สำหรับประเด็นการตรากฎหมายเรียกเก็บภาษีที่ดิน หรือภาษีมรดก ที่มีการพูดกันว่า จะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ หรือการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น อดีต รมว.พลังงาน มองว่า ในส่วนภาษีมรดก หากพิจารณาจริงๆ แล้วไม่น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ที่ผ่านมาหลายประเทศก็ยกเลิกเรื่องเหล่านี้ไปพอสมควรแล้ว คือทุกประเทศส่งเสริมให้คนทำมาหากินและเก็บออม ซึ่งตรงนี้ก็เสียภาษีมาตลอด แต่สุดท้ายถึงเวลาจะส่งต่อให้ลูกหลาน กลับมาถูกเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อนไปอีก กลายเป็นว่าอีกหน่อยก็แห่นำเงินไปฝากที่ต่างประเทศ หรือนำออกนอกระบบไปลงใต้ดินจนหมด ก็ส่งผลเสียกับศรษฐกิจของประเทศมากกว่า เชื่อว่าถึงเวลาจริงก็เก็บไม่ได้ แล้วก็ต้องยกเลิก ขณะที่ภาษีที่ดิน หรือทรัพย์สิน อาจจะทำได้ และควรจะมีในระดับหนึ่ง
"เรื่องภาษีมรดก เหมือนการ Propaganda ว่า รัฐจะไปเก็บภาษีจากคนรวย รัฐไม่ได้เห็นแก่คนรวยนะ แต่ถามว่าคนจนได้ประโยชน์ไหม คงไม่มาก แค่ได้ความรู้สึกสะใจ ที่คนรวยลำบาก หลักคิดจริงๆ แล้วทุกประเทศต้องส่งเสริมให้คนรวยมีมากขึ้น ให้มีคนรวยเยอะๆ ต้องหาทางที่ทำให้คนรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น และกลายเป็นคนรวยขึ้นเยอะๆ มากกว่า ประเทศถึงจะเจริญขึ้น ไม่ใช่ลากคนรวยลงมา แล้วให้คนจนสะใจ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง" นายพิชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ที่กระทบอย่างชัดเจนกับทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนต่างๆ ซึ่งช่วงก่อนที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร 22 พ.ค. 57 ประเทศไทย ก็มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปัญหาที่สะสมมากอยู่แล้ว พอมีการรัฐประหาร ก็ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศไทยหายไปเลย
"ทั่วโลกจะให้การยอมรับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย พอเราไม่เป็นประชาธิปไตยปุ๊บ ก็ยิ่งทำให้ความมั่นใจของต่างชาติลดน้อยลง โดยเฉพาะการคงประกาศกฎอัยการศึกไว้ อันนี้กระทบชัดเจน ทั้งในแง่ท่องเที่ยว ที่เป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเรา"
นายพิชัย กล่าวว่า มีการประเมินว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวหายไปราว 10 % เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ในความเป็นจริง มีความเสียหายมากกว่านั้น ทั้งการเติบโตที่ต้องขยายตัวขึ้น 7-10 % รวมแล้วเท่ากับว่าเราเสียหายด้านการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 20 % และที่สำคัญตัวเลขนักท่องเที่ยว 10% ที่หายไป เป็นกลุ่มของนักท่องเที่ยวที่มีฐานะดี ซึ่งมีอัตราการจับจ่ายใช้สอยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป กลุ่มคนเหล่านี้ก็หลีกเลี่ยงที่จะมาเมืองไทย เพราะประกันภัยไม่ครอบคลุมในพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก รัฐบาลจะไปรับผิดชอบ ก็ลำบาก ฉะนั้นหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้อยู่ ตัวเลขด้านการ
ท่องเที่ยว ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
ในแง่การส่งออกนั้น เมื่อเรามีปัญหาภายในกระทบต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติ ก็ย่อมทำให้เราส่งออกสินค้าได้น้อยอีกทั้งยังทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเราหายไป อัตราการเติบโตด้านการส่งออกของไทยต่ำที่สุดในอาเซียนมา 2 ปีติดต่อกันแล้ว จนจะกลายเป็นตัวถ่วงของภูมิภาค ถือเป็นสัญญาณที่อันตรายมาก เนื่องจากเรามีอัตราการจ้างงานมาก แต่ยอดการส่งออกไม่เพิ่ม ซึ่งวิธีแก้ไขต้องเริ่มปรับเทรนด์ใหม่ จากเดิมที่เราเด่นในแง่ของถูก ซึ่งตอนนี้มีคู่แข่งสำคัญเป็นประเทศเพื่อนบ้านของเรา ที่มีต้นทุนด้านต่างๆถูกกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็ต้องพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกระดับ ให้เราเป็นศูนย์กลางในการผลิตและส่งออก โดยนำอุปกรณ์ชิ้นส่วน หรือวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาศัยพื้นฐานที่เราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เพื่อนบ้านก็ยังต้องมาพึ่งพิงอยู่ ตราบใดที่เขายังไม่สามารถพัฒนาไปได้มาก แม้ตัวเลขการเติบโตจะสูงกว่าเราก็ตาม ทั้งนี้เมื่อตัวเลขการส่งออกเราไม่ขึ้น ก็กระทบกับการจะเป็นผู้นำอาเซียนของเราด้วย
"การจะเป็นผู้นำอาเซียนได้ อยู่ที่ความเชื่อมั่นของคนอื่น ไม่ใช่ประเทศเรามาประกาศเอง เราจึงต้องพิสูจน์ความมีศัยภาพด้านต่างๆ ด้วย เพราะถ้ายุโรปก็ไม่เอา อเมริกาก็ไม่ยอมรับ ความเชื่อถือต่างต่อเราก็น้อยลงไป"
นายพิชัย ยังได้กล่าวถึงการที่ประเทศไทยจะถูกสหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ในสินค้าหลายประเภท ในวันที่ 1 ม.ค. 58 เป็นต้นไปว่า ผลความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจจะถึงหลักแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลพยายามบอกว่า อัตราการส่งออกในปีหน้า จะเติบโตราว 4-5 % ถามว่าจะโตจากส่วนไหน เพราะเราจะขาดตลาดที่สำคัญ ทั้งอียู ที่ประกาศตัดจีเอสพี เราแล้ว หรือสหรัฐอเมริกา ก็ตั้งแง่กับเรา หากอเมริกาตัดจีเอสพี เราด้วย ก็จะเสียหายหนัก จะมามุ่งการค้าขายในอาเซียน ก็ต้องยอมรับว่าตอนนี้ตลาดอาเซียนยังไม่เติบโตมาก การ ค้าระหว่างกันส่วนใหญ่ก็เป็นพวกอุปกรณ์ชิ้นส่วน ที่นำมาผลิตเพื่อส่งออกต่อไปเท่านั้น
ทั้งนี้ การถูกตั้งสิทธิจีเอสพี ไม่ได้กระทบเฉพาะการส่งออก ยังส่งผลกระทบในแง่การลงทุนด้วย เพราะนักลงทุนก็ต้องคำนึงถึงสิทธิจีเอสพี ว่าเราจะได้คืนเมื่อใด หากไม่มีกำหนดระยะเวลา นักลงทุนก็ต้องแสวงหาตัวเลือกที่ประเทศอื่นที่มีสิทธิจีเอสพี ซึ่งจะส่งผลดีกับสินค้าของเขามากกว่า
นายพิชัย ย้ำว่า การที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังการคง ประกาศกฎอัยการศึกไว้นั้น ส่วนตัวมีความเป็นห่วงมาก เพราะปัจจุบันจะเห็นว่ามีความพยายามที่จะนำความมั่นคงของรัฐบาลมาเป็นตัวตั้ง ในการขับเคลื่อนประเทศ โดยการประกาศกฎอัยการศึกเอาไว้ ซึ่งมุมหนึ่งก็เข้าใจในแง่ความจำเป็นต่อภาวะการเมือง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ตัวเลขทางเศรษฐกิจไม่ดี สุดท้ายก็จะทำให้รัฐบาลมีปัญหาเอง เมื่อคนเดือดร้อน ไม่มีรายได้ ก็กระทบความมั่นคงของรัฐบาลอยู่ดี จึงอยากให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบว่า สิ่งใดควรจะเป็นปัจจัยหลักที่รัฐบาลต้องคำนึงถึง
ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า หลายๆ มาตรการของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เข้าข่ายการทำประชานิยม เหมือนรัฐบาลพรรคไทยรักไทย หรือรัฐบาลพรรคเพื่อไทยนั้น นายพิชัย กล่าวว่า เราต้องถามตัวเองก่อน ว่าอะไรคือประชานิยม ไม่อยากให้มองว่าสิ่งไหนเป็นประชานิยมหรือไม่ได้เป็นประชานิยม เพราะบางสิ่งก็ถูกแปลงความหมายไปจนผิดเพี้ยน ถามว่า การช่วยชาวนา กองทุนหมู่บ้าน หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค คือประชานิยมหรือไม่ ถ้ามองว่าการช่วยชนชั้นล่าง คนด้อยโอกาส หรือผู้มีรายได้น้อย มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นการประชานิยม หรือไม่ดี อย่างนี้หลักคิดคุณผิด เราต้องทำความเข้าใจหลักคิดของโครงการนั้นๆ ก่อน แนวนโยบายของรัฐที่ถูกต้องในการจะทำประชานิยม หรือการช่วยคนระดับล่างนั้น ควรจะเป็นการให้เขาสามารถหารายได้เพิ่มขึ้น มากกว่าที่จะนำเงินไปให้เขาเฉยๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือเกษตรกร สิ่งที่ให้ไปควรที่จะยึดโยงกับผลผลิตมากกว่าที่จะยึดโยงกับพื้นที่มากกว่า
"การแจก 1,000 บาทต่อไร่ ให้ชาวนา หรือคนที่มีที่ดินอย่างนี้ ไม่น่าจะใช่ แต่ถ้าให้เงินเพิ่มต้องยึดหลัก productivity ที่ยังทำให้คนขยันปลูก หรือทำงานเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆ แล้วเอาเงินไปให้เขา อย่างการแจกเงิน 1,000 บาทต่อไร่ กลายเป็นว่าเจ้าของที่ดินก็ได้ ชาวนาก็ได้ กลายเป็นซ้ำซ้อน มีการสวมสิทธิ์กันอีก และอาจจะมีปัญหาซ้ำรอยโครงการประกันรายได้ ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์" นายพิชัย ระบุ
นายพิชัย ยังได้กล่าวถึงเสียงสะท้อนที่ว่า โครงการประชานิยมต่างๆ ส่งผลเสียต่อภาพรวมของประเทศด้วยว่า โครงการต่างๆ ที่ผ่านมาก่อนรัฐบาดชุดนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศเจ๊ง วันนี้เรามีหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ราว 46% เท่านั้น ส่วนประเทศที่ทำประชานิยมจนเจ๊ง หนี้ต้องสูงเป็น 100% กว่าแล้ว หลายประเทศในยุโรปที่ทำในเรื่องรัฐสวัสดิการ ยอดหนี้สาธารณะสูงมาก แต่ของเรายังถือว่าไม่สูงมาก คงไม่ถึงกับจะล้มละลาย อย่างที่มีคนนำไปพูด
สำหรับประเด็นการตรากฎหมายเรียกเก็บภาษีที่ดิน หรือภาษีมรดก ที่มีการพูดกันว่า จะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ หรือการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น อดีต รมว.พลังงาน มองว่า ในส่วนภาษีมรดก หากพิจารณาจริงๆ แล้วไม่น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ที่ผ่านมาหลายประเทศก็ยกเลิกเรื่องเหล่านี้ไปพอสมควรแล้ว คือทุกประเทศส่งเสริมให้คนทำมาหากินและเก็บออม ซึ่งตรงนี้ก็เสียภาษีมาตลอด แต่สุดท้ายถึงเวลาจะส่งต่อให้ลูกหลาน กลับมาถูกเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อนไปอีก กลายเป็นว่าอีกหน่อยก็แห่นำเงินไปฝากที่ต่างประเทศ หรือนำออกนอกระบบไปลงใต้ดินจนหมด ก็ส่งผลเสียกับศรษฐกิจของประเทศมากกว่า เชื่อว่าถึงเวลาจริงก็เก็บไม่ได้ แล้วก็ต้องยกเลิก ขณะที่ภาษีที่ดิน หรือทรัพย์สิน อาจจะทำได้ และควรจะมีในระดับหนึ่ง
"เรื่องภาษีมรดก เหมือนการ Propaganda ว่า รัฐจะไปเก็บภาษีจากคนรวย รัฐไม่ได้เห็นแก่คนรวยนะ แต่ถามว่าคนจนได้ประโยชน์ไหม คงไม่มาก แค่ได้ความรู้สึกสะใจ ที่คนรวยลำบาก หลักคิดจริงๆ แล้วทุกประเทศต้องส่งเสริมให้คนรวยมีมากขึ้น ให้มีคนรวยเยอะๆ ต้องหาทางที่ทำให้คนรายได้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น และกลายเป็นคนรวยขึ้นเยอะๆ มากกว่า ประเทศถึงจะเจริญขึ้น ไม่ใช่ลากคนรวยลงมา แล้วให้คนจนสะใจ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง" นายพิชัย กล่าว