ASTVผู้จัดการรายวัน-ปูนซิเมนต์ไทยตั้งงบลงทุน 5ปี (2558-62) วงเงิน 2-2.5 แสนล้านบาท ไม่รวมเงินที่เข้าซื้อกิจการ (M&A) เผยเน้นการลงทุนโครงการใหม่ในภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก แย้มปีนี้มี EBITDAทำนิวไฮทุบสถิติปีก่อน 6.1 หมื่นล้านบาท ระบุรัฐไฟเขียวการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน6.8หมื่นล้านบาท ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของกลุ่มวัสดุก่อสร้าง
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) เปิดเผยว่า บริษัทกำหนดงบลงทุน 5ปีข้างหน้า (2558-2562) วงเงินประมาณ 2-2.5 แสนล้านบาท ไม่รวมเงินลงทุนเพื่อใช้ซื้อกิจการ (M&A) ขนาดใหญ่ นับเป็นงบลงทุน 5ปีที่สูงกว่าในอดีตที่เคยกำหนดไว้ที่ 2 แสนล้านบาท โดยรวมการซื้อกิจการไว้แล้ว
ทั้งนี้ งบลงทุนดังกล่าว จะเน้นการลงทุนโครงการใหม่ (Greenfield Brownfield ) มากกว่าการซื้อกิจการ ทำให้ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง โดยจะเน้นการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมโครงการลงทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่ประเทศเวียดนาม มูลค่าเงินลงทุน 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐไว้แล้ว แต่หากเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีก็พร้อมที่จะเข้าซื้อกิจการ แม้ว่าจะในยุโรปและสหรัฐฯก็ตาม
"สนใจซื้อกิจการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทั้งปิโตรเคมี กระดาษและวัสดุก่อสร้าง เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ผลักดันให้บริษัทเป็นผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดได้ข้อสรุปเข้าไปลงทุนด้านไลฟ์สไตล์ โดยเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ไรซินโด คิดเป็นสัดส่วน 20%"
ที่ผ่านมา บริษัทใช้เงินลงทุนในการทำ M&A ช่วงปี 2554 ถึงไตรมาส 2/2557 อยู่ที่ 2.15-2.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นจำนวน 58 บริษัท โดยการซื้อกิจการอยู่ในต่างประเทศเกือบ 50% และส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ประสบปัญหาการขาดทุน
ส่วนเม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุนโครงการใหม่ (Greenfield Brownfield) ประมาณ 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงปูนซีเมนต์ 4 โรงในต่างประเทศ คิดเป็นกำลังผลิตรวม 6 ล้านตัน/ปี โดยโรงปูนที่กัมพูชาและโรงปูนที่อินโดนีเซียจะแล้วเสร็จในกลางปี 2558 นี้
นายกานต์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่เวียดนามว่า ในปลายปีนี้หรือต้นปี 2558 จะได้ข้อสรุปรายละเอียดและเงินลงทุนโครงการดังกล่าวที่แน่นอน และสรุปการจัดหาเงินกู้ได้ภายในไตรมาส 1/2558 หลังจากโครงการดังกล่าวล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้เดิมหลายปี
ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมปี 2558 วงเงิน 6.8 หมื่นล้านบาทนั้น เป็นทิศทางที่ดี จากการที่ได้พูดคุยกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ยืนยันว่ารัฐบาลให้เร่งรัดการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้เร็วขึ้นทั้งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและโครงการใหม่ ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างในอนาคตจะฟื้นตัวดีขึ้น
หลังจากช่วง 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา ความต้องการใช้ภายในประเทศไทยลดลง
"ไตรมาส 4 ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างน่าจะฟื้นตัวขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐว่าจะอัดฉีดงบประมาณได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ผลิตปูนซีเมนต์เต็มกำลังการผลิตที่ 22.5 ล้านตัน โดยส่วนหนึ่งก็ส่งออกไปต่างประเทศ"
ส่วนกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนอ่อนตัวไปอยู่ที่ 32.5 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่จะกลับมาอยู่ที่ 32.2 บาท/ดอลลาร์ บริษัทมีนโยบายป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) อยู่แล้ว คิดเป็น 50-70% ของเงินรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ โดยปัจจุบันทำเฮดจิ้งอยู่ที่ 50% แต่หากค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงก็อาจจลดการทำเฮดจิ้ง เพื่อที่จะได้เงินในรูปเงินบาทมากขึ้น แต่ถ้าค่าเงินบาทแข็งค่ามากขึ้นก็คงต้องขยายเพดานทำเฮดจิ้งมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ บริษัทมั่นใจว่าจะมีกำไรก่อนหักดอกเบี้่ย ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) ทุบสถิติสูงสุด มากกว่าปีก่อนที่สร้างประวัติศาสตร์ EBITDA สูงสุดมาแล้วที่ 6.12 หมื่นล้านบาท เนื่องจากสัดส่วนสินค้ามูลค่าเพิ่ม (HVA) มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นถึง 34% ของยอดขายและสินค้าHVAมีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 28% สูงกว่าสินค้าทั่วไปที่มีกำไรขั้นต้นเพียง 18% เท่านั้น โดยปีนี้คาดว่ายอดขายสินค้าHVA อยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ธุรกิจปิโตรเคมียังมีมาร์จินที่ดีอยู่ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบและแนฟธาจะอ่อนตัวลงมา แต่ราคาเม็ดพลาสติกยังไม่ปรับตัวลงมากนัก ทำให้ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกPEกับแนฟธา (สเปรด) อยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน ส่วนสเปรดเม็ดพลาสติกPP อยู่ที่ 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) เปิดเผยว่า บริษัทกำหนดงบลงทุน 5ปีข้างหน้า (2558-2562) วงเงินประมาณ 2-2.5 แสนล้านบาท ไม่รวมเงินลงทุนเพื่อใช้ซื้อกิจการ (M&A) ขนาดใหญ่ นับเป็นงบลงทุน 5ปีที่สูงกว่าในอดีตที่เคยกำหนดไว้ที่ 2 แสนล้านบาท โดยรวมการซื้อกิจการไว้แล้ว
ทั้งนี้ งบลงทุนดังกล่าว จะเน้นการลงทุนโครงการใหม่ (Greenfield Brownfield ) มากกว่าการซื้อกิจการ ทำให้ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง โดยจะเน้นการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมโครงการลงทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ ที่ประเทศเวียดนาม มูลค่าเงินลงทุน 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐไว้แล้ว แต่หากเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีก็พร้อมที่จะเข้าซื้อกิจการ แม้ว่าจะในยุโรปและสหรัฐฯก็ตาม
"สนใจซื้อกิจการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทั้งปิโตรเคมี กระดาษและวัสดุก่อสร้าง เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ผลักดันให้บริษัทเป็นผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดได้ข้อสรุปเข้าไปลงทุนด้านไลฟ์สไตล์ โดยเข้าซื้อหุ้นในบริษัท ไรซินโด คิดเป็นสัดส่วน 20%"
ที่ผ่านมา บริษัทใช้เงินลงทุนในการทำ M&A ช่วงปี 2554 ถึงไตรมาส 2/2557 อยู่ที่ 2.15-2.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นจำนวน 58 บริษัท โดยการซื้อกิจการอยู่ในต่างประเทศเกือบ 50% และส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ประสบปัญหาการขาดทุน
ส่วนเม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุนโครงการใหม่ (Greenfield Brownfield) ประมาณ 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงปูนซีเมนต์ 4 โรงในต่างประเทศ คิดเป็นกำลังผลิตรวม 6 ล้านตัน/ปี โดยโรงปูนที่กัมพูชาและโรงปูนที่อินโดนีเซียจะแล้วเสร็จในกลางปี 2558 นี้
นายกานต์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการลงทุนปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่เวียดนามว่า ในปลายปีนี้หรือต้นปี 2558 จะได้ข้อสรุปรายละเอียดและเงินลงทุนโครงการดังกล่าวที่แน่นอน และสรุปการจัดหาเงินกู้ได้ภายในไตรมาส 1/2558 หลังจากโครงการดังกล่าวล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้เดิมหลายปี
ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมปี 2558 วงเงิน 6.8 หมื่นล้านบาทนั้น เป็นทิศทางที่ดี จากการที่ได้พูดคุยกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ยืนยันว่ารัฐบาลให้เร่งรัดการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้เร็วขึ้นทั้งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและโครงการใหม่ ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างในอนาคตจะฟื้นตัวดีขึ้น
หลังจากช่วง 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา ความต้องการใช้ภายในประเทศไทยลดลง
"ไตรมาส 4 ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างน่าจะฟื้นตัวขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐว่าจะอัดฉีดงบประมาณได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ผลิตปูนซีเมนต์เต็มกำลังการผลิตที่ 22.5 ล้านตัน โดยส่วนหนึ่งก็ส่งออกไปต่างประเทศ"
ส่วนกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนอ่อนตัวไปอยู่ที่ 32.5 บาท/ดอลลาร์ ก่อนที่จะกลับมาอยู่ที่ 32.2 บาท/ดอลลาร์ บริษัทมีนโยบายป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) อยู่แล้ว คิดเป็น 50-70% ของเงินรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ โดยปัจจุบันทำเฮดจิ้งอยู่ที่ 50% แต่หากค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงก็อาจจลดการทำเฮดจิ้ง เพื่อที่จะได้เงินในรูปเงินบาทมากขึ้น แต่ถ้าค่าเงินบาทแข็งค่ามากขึ้นก็คงต้องขยายเพดานทำเฮดจิ้งมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ บริษัทมั่นใจว่าจะมีกำไรก่อนหักดอกเบี้่ย ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) ทุบสถิติสูงสุด มากกว่าปีก่อนที่สร้างประวัติศาสตร์ EBITDA สูงสุดมาแล้วที่ 6.12 หมื่นล้านบาท เนื่องจากสัดส่วนสินค้ามูลค่าเพิ่ม (HVA) มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นถึง 34% ของยอดขายและสินค้าHVAมีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 28% สูงกว่าสินค้าทั่วไปที่มีกำไรขั้นต้นเพียง 18% เท่านั้น โดยปีนี้คาดว่ายอดขายสินค้าHVA อยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ธุรกิจปิโตรเคมียังมีมาร์จินที่ดีอยู่ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบและแนฟธาจะอ่อนตัวลงมา แต่ราคาเม็ดพลาสติกยังไม่ปรับตัวลงมากนัก ทำให้ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกPEกับแนฟธา (สเปรด) อยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน ส่วนสเปรดเม็ดพลาสติกPP อยู่ที่ 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน