ระหว่างพิธีเปิดภาคเรียนของโรงเรียนมัธยม มีผู้หญิงลึกลับวัยกลางคน แต่งกายด้วยชุดแดงเริ่ดหรูปรากฏตัวเดินเข้ามาอย่างไม่สะทกสะท้านสายตาทุกคู่
บางคนก็คิดว่าเป็นครูคนใหม่ บ้างก็คิดว่าเป็นแม่ของนักเรียน แต่คงจะมีใครคาดได้บ้างว่า ผู้หญิงคนนี้คือนักเรียนม.ปลายคนใหม่อายุ 35 ปี ที่จะเข้าสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งกับ ครู โรงเรียน ตัวเธอ และเพื่อนร่วมชั้น
ด้วยวัยของเธอ เหตุใดเธอจึงต้องมาเรียน ม.ปลาย เหตุใดจึงต้องการหาเพื่อนให้ได้ 100 คน เหตุใดเธอจึงมีความหลังเป็นพิเศษกับการกลั่นแกล้ง หรือ ที่รู้จักในภาษาญี่ปุ่นว่า อิจิเมะ (いじめ) อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของเธอในการเข้ามาเรียน ม.ปลาย เพื่อแก้ปัญหาของครูนักเรียนหรือเพื่อแก้ปมปัญหาของเธอเอง?
ซานจูโกะไซ โนะ โคโคเซ (35歳の高校生) เป็นหนังชุดทางโทรทัศน์อีกเรื่องหนึ่งที่ โยเนะกุระ เรียวโกะ (米倉涼子) รับบท บาบะ อะยะโกะ (馬場亜矢子) นักเรียน ม.ปลายอายุ 35 ปี ซึ่งผมได้รู้จักและอยากจะแนะนำในสัปดาห์นี้
หลังจาก ไดม่อน มิชิโกะ (大門 未知子) หมอผ่าตัดที่ไม่เคยพลาด ในหนังชุดทางโทรทัศน์ Doctor X ภาคแรกจบลง นี่คือผลงานที่ติดตามมาของเธอในปี 2013 เป็นบทที่แปลกและแหวกแนวกว่าเรื่องราวพลอตเรื่อง ครู นักเรียน และโรงเรียน เท่าที่ผู้เขียนเคยสัมผัส แม้แต่เธอเองก็ไม่คาดคิดว่าจะต้องมาใส่ชุดนักเรียนเสื้อเบลเซอร์กระโปรงสั้นอีกครั้งในชีวิต
35歳の高校生 มิใช่เรื่องของเด็กเกเรกลับใจ หรือครูในอุดมคติเฉกเช่น ครูคิมพัดจิ หากแต่เป็นเรื่องของผู้ที่เคยหลงทางไปแล้วแต่พยายามจะกลับเข้ามาเดินในหนทางเดิมเพื่อแสวงหาสิ่งที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็น ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และระบบการศึกษา ที่ดูไปแล้วอาจจะบอกว่าได้ว่าสิ้นหวังเหมือนเช่นการพยายามหายใจในน้ำก็ว่าได้ อะไรคือเป้าหมายของเธอ 馬場亜矢子
การสร้างชาติของญี่ปุ่นนั้นเริ่มต้นจากการสร้างคนเป็นสำคัญ การศึกษาจึงเป็นรากฐานสร้างกล้ามเนื้อและสมองรองรับการพัฒนาให้ญี่ปุ่นเป็น “กบ” ที่สามารถก้าวกระโดดให้พ้นจากประเทศที่ล้าหลังและสูญสิ้นเกือบทุกสิ่งทุกอย่างหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาเป็นประเทศในโลกที่พัฒนาแล้วทัดเทียมกับประเทศตะวันตกอื่นๆ ในโลกได้ในชั่วระยะเวลาเพียง 20 ปีเศษเท่านั้น
ระบบการเรียนครึ่งวันและเล่นอีกครึ่งวันของญี่ปุ่นจึงสามารถสร้างคนให้มีทั้งความรู้และระเบียบวินัยให้กับประชาชนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ขณะที่ระบบแบบเต็มวันของไทยกลับไม่สามารถพัฒนาเด็กไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมได้
การเรียนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องและซ้ำซาก 12 ปีของเด็กไทยแต่ไม่สามารถนำไปใช้งานอะไรได้เลยโดยเฉพาะการฟังและพูดซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจของมนุษย์ นี่จึงเป็นตัวอย่างของความล้มเหลวและความสูญเปล่าได้เป็นอย่างดี จะลงทุนลงแรงเรียนตั้ง 12 ปีไปทำไม หากเรียนแล้วใช้งานไม่ได้ สู้ไปเรียนตอน ม.ปลายหรือหมาวิทยาลัยเมื่อต้องการเหมือนอีกหลายประเทศไม่ดีกว่าหรืออย่างไร
การพัฒนาของไทยหากว่าตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มา 11 แผนๆ ละ 5 ปี รวมแล้วกว่าครึ่งศตวรรษเข้าไปแล้ว แต่ไทยก็ยังไม่ได้ไปไหนแถมยังกำลังถดถอยอีกด้วยซ้ำ จะต้องรอถึงแผนที่ 20 หรืออย่างไร อะไรคือสาเหตุ หากมิใช่เราเอาแต่กระพี้ที่เป็น output สนใจแต่เพียงจำนวนหรือตัวเลขสวยๆ แต่มิได้สนใจ outcome ที่เป็นความสำเร็จที่เป็นเนื้อแท้ของการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจแต่อย่างใด
เมื่อสร้างคนได้ไม่มีคุณภาพแล้วจะสร้างกล้ามเนื้อให้เป็น “กบ” เพื่อก้าวกระโดดได้อย่างไร มีแต่จำนวนแต่ไม่ได้คุณภาพยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ นี่จึง “มิได้เข้าถึง มิได้เข้าใจ”
การถดถอยของญี่ปุ่นที่มีมาถึงในปัจจุบันจึงมิได้เริ่มที่สภาวะฟองสบู่แตกในปี 1989 แต่เพียงลำพัง หากแต่เริ่มมาจากที่โรงเรียนในยุคทศวรรษที่ 1980 ที่มีการ いじめ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก รุ่นพี่แกล้งรุ่นน้อง เพื่อนร่วมชั้นแกล้ง หรือแม้แต่จากพ่อแม่หรือครูในเรื่องการเรียนที่สร้างแรงกดดันให้กับลูกหรือลูกศิษย์ทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ สถิติการฆ่าตัวตายของผู้เยาว์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อทนแรงกดดันนี้ไม่ไหวก็เพราะ いじめ ที่เกิดได้ทั้งในและนอกโรงเรียนเป็นสาเหตุสำคัญ หาใช่เรื่องรักไม่สมหวังหรือศักดิ์ศรีสถาบันเหมือนเด็กไทยแต่อย่างใดไม่
เมื่อครูขาดไม้เรียว ขณะที่ศิษย์ก็ระเริงไปกับเสรีภาพโดยไม่รู้จักหน้าที่ มองเป็นเพียงผู้สอนเป็นลูกจ้างมิใช่ “ครู” เหมือนเช่นอดีต การเอาตัวรอดโดยเอาแต่สอนของครูและโรงเรียนส่วนใหญ่ ไม่ยอมรับรู้ปัญหา ปกปิด ปัดสวะ จึงอาจเป็นหนทางที่ปลอดภัยกว่าการสั่งสอนชี้ถูกผิดให้กับศิษย์ซึ่งเป็นหน้าที่ของตนเองรองจากพ่อแม่
เรียวโกะ (35) แสดงหนังชุดนี้เสี่ยงพอสมควรเพราะต้องประกบกับความอ่อนเยาว์ของเพื่อนร่วมชั้น แต่ก็สามารถเอาตัวรอดเป็นทั้งเพื่อนและพี่เลี้ยงในฐานะผู้มีประสบการณ์มาก่อนได้เป็นอย่างดี ขณะที่บทครูประจำชั้นที่แสดงโดย มิโซะ จุนเป (溝端淳平) แม้จะหล่อหน้าใสกลับเอาตัวไม่ค่อยรอด อาจเป็นเพราะตัวจริงก็มีอายุ (23) ไม่ห่างจากนักเรียนในชั้นสักเท่าใด
บาบะ นั้นรู้และเข้าใจตัวตนของเพื่อร่วมชั้นเป็นอย่างดีในทางกลับกันไม่มีใครรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเธอแม้แต่น้อย ไคลแมกซ์หรือจุดสุดยอดน่าจะอยู่ที่การเปิดเผยตัวตนของ บาบะ ว่าเธอนั้นเป็นใครและเข้ามาเรียนม.ปลายใหม่ทำไม ต้องยกประโยชน์ให้คนเขียนบทที่ทำให้คนดูเดาเรื่องต่อไปไม่ถูกเลยก็ว่าได้
หนังชุดเรื่องนี้แม้จะมีร้อยละผู้ชมไม่ด้อยกว่า Doctor X ภาคแรก สักเท่าไร แต่คงจะไม่มีภาคสองต่อไปเพราะเธอนั้นจบการศึกษาไปเสียแล้ว
รูปทั้งหมดจาก google
อ่านย้อนหลัง
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (10)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (9)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (8)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (7)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (6)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (5)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (4)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (3)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (2)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (1)
บางคนก็คิดว่าเป็นครูคนใหม่ บ้างก็คิดว่าเป็นแม่ของนักเรียน แต่คงจะมีใครคาดได้บ้างว่า ผู้หญิงคนนี้คือนักเรียนม.ปลายคนใหม่อายุ 35 ปี ที่จะเข้าสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งกับ ครู โรงเรียน ตัวเธอ และเพื่อนร่วมชั้น
ด้วยวัยของเธอ เหตุใดเธอจึงต้องมาเรียน ม.ปลาย เหตุใดจึงต้องการหาเพื่อนให้ได้ 100 คน เหตุใดเธอจึงมีความหลังเป็นพิเศษกับการกลั่นแกล้ง หรือ ที่รู้จักในภาษาญี่ปุ่นว่า อิจิเมะ (いじめ) อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของเธอในการเข้ามาเรียน ม.ปลาย เพื่อแก้ปัญหาของครูนักเรียนหรือเพื่อแก้ปมปัญหาของเธอเอง?
ซานจูโกะไซ โนะ โคโคเซ (35歳の高校生) เป็นหนังชุดทางโทรทัศน์อีกเรื่องหนึ่งที่ โยเนะกุระ เรียวโกะ (米倉涼子) รับบท บาบะ อะยะโกะ (馬場亜矢子) นักเรียน ม.ปลายอายุ 35 ปี ซึ่งผมได้รู้จักและอยากจะแนะนำในสัปดาห์นี้
หลังจาก ไดม่อน มิชิโกะ (大門 未知子) หมอผ่าตัดที่ไม่เคยพลาด ในหนังชุดทางโทรทัศน์ Doctor X ภาคแรกจบลง นี่คือผลงานที่ติดตามมาของเธอในปี 2013 เป็นบทที่แปลกและแหวกแนวกว่าเรื่องราวพลอตเรื่อง ครู นักเรียน และโรงเรียน เท่าที่ผู้เขียนเคยสัมผัส แม้แต่เธอเองก็ไม่คาดคิดว่าจะต้องมาใส่ชุดนักเรียนเสื้อเบลเซอร์กระโปรงสั้นอีกครั้งในชีวิต
35歳の高校生 มิใช่เรื่องของเด็กเกเรกลับใจ หรือครูในอุดมคติเฉกเช่น ครูคิมพัดจิ หากแต่เป็นเรื่องของผู้ที่เคยหลงทางไปแล้วแต่พยายามจะกลับเข้ามาเดินในหนทางเดิมเพื่อแสวงหาสิ่งที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็น ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และระบบการศึกษา ที่ดูไปแล้วอาจจะบอกว่าได้ว่าสิ้นหวังเหมือนเช่นการพยายามหายใจในน้ำก็ว่าได้ อะไรคือเป้าหมายของเธอ 馬場亜矢子
การสร้างชาติของญี่ปุ่นนั้นเริ่มต้นจากการสร้างคนเป็นสำคัญ การศึกษาจึงเป็นรากฐานสร้างกล้ามเนื้อและสมองรองรับการพัฒนาให้ญี่ปุ่นเป็น “กบ” ที่สามารถก้าวกระโดดให้พ้นจากประเทศที่ล้าหลังและสูญสิ้นเกือบทุกสิ่งทุกอย่างหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาเป็นประเทศในโลกที่พัฒนาแล้วทัดเทียมกับประเทศตะวันตกอื่นๆ ในโลกได้ในชั่วระยะเวลาเพียง 20 ปีเศษเท่านั้น
ระบบการเรียนครึ่งวันและเล่นอีกครึ่งวันของญี่ปุ่นจึงสามารถสร้างคนให้มีทั้งความรู้และระเบียบวินัยให้กับประชาชนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ขณะที่ระบบแบบเต็มวันของไทยกลับไม่สามารถพัฒนาเด็กไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมได้
การเรียนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องและซ้ำซาก 12 ปีของเด็กไทยแต่ไม่สามารถนำไปใช้งานอะไรได้เลยโดยเฉพาะการฟังและพูดซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจของมนุษย์ นี่จึงเป็นตัวอย่างของความล้มเหลวและความสูญเปล่าได้เป็นอย่างดี จะลงทุนลงแรงเรียนตั้ง 12 ปีไปทำไม หากเรียนแล้วใช้งานไม่ได้ สู้ไปเรียนตอน ม.ปลายหรือหมาวิทยาลัยเมื่อต้องการเหมือนอีกหลายประเทศไม่ดีกว่าหรืออย่างไร
การพัฒนาของไทยหากว่าตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มา 11 แผนๆ ละ 5 ปี รวมแล้วกว่าครึ่งศตวรรษเข้าไปแล้ว แต่ไทยก็ยังไม่ได้ไปไหนแถมยังกำลังถดถอยอีกด้วยซ้ำ จะต้องรอถึงแผนที่ 20 หรืออย่างไร อะไรคือสาเหตุ หากมิใช่เราเอาแต่กระพี้ที่เป็น output สนใจแต่เพียงจำนวนหรือตัวเลขสวยๆ แต่มิได้สนใจ outcome ที่เป็นความสำเร็จที่เป็นเนื้อแท้ของการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจแต่อย่างใด
เมื่อสร้างคนได้ไม่มีคุณภาพแล้วจะสร้างกล้ามเนื้อให้เป็น “กบ” เพื่อก้าวกระโดดได้อย่างไร มีแต่จำนวนแต่ไม่ได้คุณภาพยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ นี่จึง “มิได้เข้าถึง มิได้เข้าใจ”
การถดถอยของญี่ปุ่นที่มีมาถึงในปัจจุบันจึงมิได้เริ่มที่สภาวะฟองสบู่แตกในปี 1989 แต่เพียงลำพัง หากแต่เริ่มมาจากที่โรงเรียนในยุคทศวรรษที่ 1980 ที่มีการ いじめ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก รุ่นพี่แกล้งรุ่นน้อง เพื่อนร่วมชั้นแกล้ง หรือแม้แต่จากพ่อแม่หรือครูในเรื่องการเรียนที่สร้างแรงกดดันให้กับลูกหรือลูกศิษย์ทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ สถิติการฆ่าตัวตายของผู้เยาว์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อทนแรงกดดันนี้ไม่ไหวก็เพราะ いじめ ที่เกิดได้ทั้งในและนอกโรงเรียนเป็นสาเหตุสำคัญ หาใช่เรื่องรักไม่สมหวังหรือศักดิ์ศรีสถาบันเหมือนเด็กไทยแต่อย่างใดไม่
เมื่อครูขาดไม้เรียว ขณะที่ศิษย์ก็ระเริงไปกับเสรีภาพโดยไม่รู้จักหน้าที่ มองเป็นเพียงผู้สอนเป็นลูกจ้างมิใช่ “ครู” เหมือนเช่นอดีต การเอาตัวรอดโดยเอาแต่สอนของครูและโรงเรียนส่วนใหญ่ ไม่ยอมรับรู้ปัญหา ปกปิด ปัดสวะ จึงอาจเป็นหนทางที่ปลอดภัยกว่าการสั่งสอนชี้ถูกผิดให้กับศิษย์ซึ่งเป็นหน้าที่ของตนเองรองจากพ่อแม่
เรียวโกะ (35) แสดงหนังชุดนี้เสี่ยงพอสมควรเพราะต้องประกบกับความอ่อนเยาว์ของเพื่อนร่วมชั้น แต่ก็สามารถเอาตัวรอดเป็นทั้งเพื่อนและพี่เลี้ยงในฐานะผู้มีประสบการณ์มาก่อนได้เป็นอย่างดี ขณะที่บทครูประจำชั้นที่แสดงโดย มิโซะ จุนเป (溝端淳平) แม้จะหล่อหน้าใสกลับเอาตัวไม่ค่อยรอด อาจเป็นเพราะตัวจริงก็มีอายุ (23) ไม่ห่างจากนักเรียนในชั้นสักเท่าใด
บาบะ นั้นรู้และเข้าใจตัวตนของเพื่อร่วมชั้นเป็นอย่างดีในทางกลับกันไม่มีใครรู้จักตัวตนที่แท้จริงของเธอแม้แต่น้อย ไคลแมกซ์หรือจุดสุดยอดน่าจะอยู่ที่การเปิดเผยตัวตนของ บาบะ ว่าเธอนั้นเป็นใครและเข้ามาเรียนม.ปลายใหม่ทำไม ต้องยกประโยชน์ให้คนเขียนบทที่ทำให้คนดูเดาเรื่องต่อไปไม่ถูกเลยก็ว่าได้
หนังชุดเรื่องนี้แม้จะมีร้อยละผู้ชมไม่ด้อยกว่า Doctor X ภาคแรก สักเท่าไร แต่คงจะไม่มีภาคสองต่อไปเพราะเธอนั้นจบการศึกษาไปเสียแล้ว
รูปทั้งหมดจาก google
อ่านย้อนหลัง
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (10)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (9)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (8)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (7)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (6)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (5)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (4)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (3)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (2)
ผู้หญิงที่ผมรู้จัก (1)